Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular system) - Coggle Diagram
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular system)
หัวใจ
หัวใจอยู่ในช่องอกเยื้องไปทางด้านซ้าย และยึดอยู่ในช่องอกโดยหลอดเลือดขนาดใหญ่
ที่อยู่ทางด้านป้านเป็นส่วนฐาน (base)
ชี้ไปทางด้านแครนิโอ-ดอร์ซอล ด้านตรงกันข้ามเป็นปลายแหลม
เรียกว่า เอเพ็กซ์ (apex)
ชี้ไปทางด้านเวนโทร-คัวดอล หัวใจมีโครงสร้างหลายส่วน ได้แก่ ผนังหัวใจ ห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจ
โครงสร้างผนังของหัวใจ
ชั้นไมโอคาร์เดียม (myocardium)
เป็นชั้นกลาง เป็นชั้นกล้ามเนื้อหัวใจเป็นส่วนใหญ่
แต่มีเนื้อเยื่อบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่นำคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ
กลุ่มแรกเป็นเซลล์
พิเศษทำหน้าที่สร้างคลื่นไฟฟ้า
อีกกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่นำคลื่นไฟฟ้าให้กระจายไปทั่วทั้งหัวใจ
ชั้นเอนโดคาร์เดียม (endocardium)
ชั้นในสุด เป็นชั้นเยื่อบุภายในผนังของหัวใจ
เอนโดทีเลียมบุไปถึงลิ้นหัวใจและบุไปถึงผนังด้านในของหลอดเลือด
รวมไปถึงหลอดเลือดฝอยที่เหลือชั้นนี้เพียงชั้นเดียว ม้วนตัวประกอบกันเป็นท่อ
ชั้นอีพิคาร์เดียม (epicardium)
เป็นชั้นนอกสุด เป็นชั้นของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium)
วิสเซอรอล เพอริคาร์เดียม (visceral pericardium)อยู่ชั้นใน
ชั้นพาไรทอล เพอริคาร์เดียม (parietal pericardium)อยู่ชั้นนอก
หลอดเลือด
หลอดเลือดแดง ( Artery ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ
หลอดเลือดฝอย ( Capillary ) หมายถึง หลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ไปยังหลอดเลือดดำขนาดเล็ก
หลอดเลือดดำ ( Vein ) หมายถึง หลอดเลือดที่นำเลือดที่มีของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ร่างกายใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา
ผนังและลิ้นของหัวใจ
ลิ้นหัวใจ
ลิ้นคัสปิดหรือลิ้นเอ-วี กั้นระหว่างห้องบนกับห้องล่างของหัวใจ
ลิ้นไมทรัล (mitral valve) กั้นห้องบนและห้องล่างทางซีกซ้าย
ลิ้นไตรคัสปิด(tricuspid valve) กั้นห้องบนและห้องล่างซีกขวา
ลิ้นเซมิลูนาร์ (semilunar valve) ลิ้นชนิดนี้กั้นอยู่ตรงทางเปิดของหลอดเลือดที่อยู่ที่หัวใจห้องล่าง
ลิ้นพัลโมนารี (pulmonary valve) อยู่ที่ทางเปิดของหลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี
(pulmonary artery) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับเข้าห้องล่างขวา
ลิ้นเอออร์ติก (aortic valve) อยู่ที่ห้องล่างซ้ายตรงทางเปิดของหลอดเลือดเอออร์ตา ทำหน้าที่ป้องกัน
ผนัง
ผนังเอตริโอเวนตริคิวลาร์ (atrioventricular septum)เป็นโครงสร้างที่แยกห้องบนกับห้องล่าง
ผนังอินเตอร์เอเตรียล (interatrial septum) แยกห้องบนซ้ายกับห้องบนขวา
ผนังอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ (interventricular septum) แยกห้องล่างซ้ายกับห้องล่างขวา
4 ห้องหัวใจ (chambers)
หัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)
รับเลือดต่อจากหัวใจห้องบนขวา และส่งเลือดต่อไปยังปอดเพื่อทำการฟอก โดยผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี (pulmonary valve) และหลอดเลือดแดงพัลโมนารี (pulmonary arteries)
หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)
คอยรับเลือดที่ได้รับการฟอกจากปอดซ้ายและปอดขวา
หัวใจห้องบนขวา (Right atrium)
คอยรับเลือดจากร่างกายส่วนบนและส่วนล่างผ่านหลอดเลือดดำใหญ่ 2 เส้น คือ หลอดเลือดดำบน (superior vena cava) และหลอดเลือดดำล่าง (Inferior vena cava)
หัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)
หัวใจส่วนนี้มีผนังหัวใจที่หนาและแข็งแรงที่สุด ทั้งยังเป็นห้องหัวใจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงพอที่จะสูบฉีดเลือดออกไปทั่วร่างกายได้
การไหลเวียนเลือดในร่างกาย
การไหลเวียนเลี้ยงกาย
ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดที่ใช้แล้วกลับ
การไหลเวียนผ่านปอด
ส่งเลือดไปฟอกที่ปอดและรับเลือดกลับจากปอดมาหัวใจเพื่อเตรียมสูบฉีดต่อไปยังร่างกาย
ระบบน้ำเหลือง (LYMPHATIC SYSTEM)
ท่อน้ำเหลือง (Lymph duct)
เป็นท่อตันขนาดต่างๆ มีทั่วร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดดำ
มีลิ้นป้องกันการหลย้อนกลับของน้ำเหลือง
หน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่เลือดดำในระบบหมุนเวียนเลือด มีทิศทางไหลเข้าสู่หัวใจ
น้ำเหลือง (Lymph)
เป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอย (Capillary) ออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรืออยู่รอบๆเซลล์
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสารต่างๆระหว่างเซลล์กับหลอดเลือดฝอยเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์
ต่อมน้ำเหลือง (lymph node)
ต่อมไทมัส (Thymus gland) : จะมีขนาดใหญ่ตอนอายุยังน้อย และเมื่ออายุมากขึ้นจะค่อยๆเล็กลงและฝ่อไปในที่สุดมีหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว
ม้าม (Spleen) : เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุดมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก
ต่อมทอนซิล (Tonsil gland) : อยู่ใกล้คอหอย มี3 คู่ เป็นด่านสกัดไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่หลอดอาหารและกล่องเสียง