Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการ พักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการ
พักผ่อนนอนหลับ
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
สุขอนามัย (Hygiene)
หลักการและความรู้ของการ
คงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรคโดยการปฏิบัติกิจกรรม
ต่าง ๆ ในการส่งเสริมความสะอาดเพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี
สุขอนามัยส่วนบุคคล (Personal hygiene)
เรื่องราวที่ว่าด้วยการ
ดูแล ปรับปรุง ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคและมีการปฏิบัติตนให้อยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย
การดูแลความสะอาดและสุขภาพของ
ผิวหนัง ผม เล็บ ปาก ฟัน ตา หู จมูก และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของตนเอง
การอาบน้ำ (Bathing)
เป็นกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ เพื่อ
ชำระสิ่งสกปรกออกจากร่างกายโดยใช้น้ำเป็นตัวช่วยกิจกรรมที่ทำร่วมกับการอาบน้ำ ผลของการอาบน้ำคือ ร่างกายสะอาด สดชื่น และรู้สึกสุขสบาย
ชนิดของการอาบน้ำ
Complete bed bath
Sponge bath in the sink
Partial bed bath
Tub bath
Shower
Bag bath/travel bath
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
อาชีพ
ถิ่นที่อยู่
เศรษฐกิจ
ภาวะเจ็บป่วย
การศึกษา
สิ่งแวดล้อม
ภาวะสุขภาพ
ขนบธรรมเนียมประเพณี
และความเชื่อ
อายุ
ความชอบ
เพศ
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
การนวดหลัง
หลักการนวดหลัง
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ภาวะมีไข้ โรคผิวหนัง โรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ าเสมอ
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
การนวด
Stroking เป็นการลูบตามแนวยาวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางที่บริเวณ ก้นกบ ค่อยๆ ลูบขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ
Friction เป็นการใช้ฝ่ามือลูบแบบถูไปมาตามแนวยาวของกล้ามเนื้อไหล่ (trapezins) กล้ามเนื้อสีข้าง (latissimus dorsi) ทั้งสองข้างนิ้วชิดกัน
Kneading เป็นการบีบนวดกล้ามเนื้อ
Beating เป็นการกำมือหลวมๆ ทุบเบาๆ บริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น
Hackingเป็นการใช้สันมือสับเบาๆ ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยสับสลับกันเร็วๆ โดยการกระดกข้อมือสับขวางตามใยกล้ามเนื้อ
Clapping เป็นการใช้อุ้งมือตบเบาๆ โดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งสองข้างให้เกิดช่องว่างตรงกลางฝ่ามือตบเบาๆ สลับมือกัน
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath)
กำจัดสิ่งสกปรก ที่สะสมบนผิวหนังและส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกายของข้อต่าง ๆ
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การลูบตัวลดไข้ (Tepid sponge)
เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ใช้การลูบตัวด้วยน้ำและน้ำเป็นตัวกลางในการพาความร้อนออกจากร่างกายผู้ป่วย
การเช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว แลกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนัง
ช่วยให้ประสาทคลายความตึงเครียด ผ่อนคลาย
และลดอาการ กระสับกระส่าย
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ(Bathing in bath room/ Shower)
เป็นการช่วยเหลือพาผู้ปุวยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ โดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียงได้
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath)
เป็นการท าความสะอาดร่างกายผู้ปุวยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่สามารถอาบน้ าเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ปุวยไม่สารถเช็ดเองได้
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
กำจัดกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออกหรือฝ้าในช่องปาก
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5นาที เพื่อขจัดคราบหินปูน และเศษอาหารในเวลาเช้า หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
ผู้ปุวยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องท าความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ สำลีที่ใช้เช็ดทำความสะอาดต้องเปลี่ยนบ่อย
การดูแลความสะอาดของเล็บ
ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
ป้องกันการเกิดเล็บขบ
ล็บเป็นโครงสร้างจากโปรตีน ซึ่งจะงอกยาวตามเวลา จึงต้องทำการตัดให้สั้นตามเหมาะสมกับการใช้งาน
การดูแลความสะอาดของตา
กำจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
ผู้ปุวยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออก ไปวันละ 2-3 ครั้ง
การดูแลทำความสะอาดของหู
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟังต้องดูแลเป็นพิเศษ
ดูแลหูเฉพาะด้านนอกให้สะอาดปราศจากขี้ไคลบริเวณหลังใบหูหลังสระผมมักจะมีน้ำเปียกในช่องหูใช้ผ้าขนหนูนุ่ม เช็ดให้แห้ง
การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลังอาบน้ำควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้ง2 ข้าง
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
ป็นการทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อจมูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ปุวยที่คาสายไว้
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
เป็นการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะรวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาของเส้นผมและหนังศีรษะ
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง
ปกติจะชำระให้วันละ 1-2ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระเรียกสั้น ว่า P-careหรือ flushing
เพศชาย
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิดเพื่อความเป็นส่วนตัวและลดความเขินอาย
จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย (dorsal position) เปิดเฉพาะส่วนอวัยวะสืบพันธุ์
ให้ผู้ป่วยยกก้น สอดหมอนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก และจัดหม้อนอนตรงพอดีกับก้น
เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลระดับพื้นฐานการหมักหมม เปียกแฉะตลอดเวลา นอกจากจะท าให้เกิดการระคายเคือง การอักเสบ การติดเชื้อ ของระบบทางเดินปัสสาวะแล้วยังอาจเกิดแผลกดทับ (pressure sore)
โดยการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอทำให้ผู้ปุวยสุขสบาย มีคุณภาพชีวิตดี และมีความสุข
เพศหญิง
จัดผู้ปุวยให้นอนหงาย คลุมผ้าห่มตามแนวขวาง เลื่อนผ้านุ่งขึ้นไปถึงเอว ให้ผู้ปุวยนอนหงายชันเข่าขึ้น (dorsal recumbent position)เหน็บผ้าห่มคลุมขา(drape) ให้เรียบร้อย
การท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหญิง เป็นการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลระดับพื้นฐาน ที่ช่วยลดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้วิธีหนึ่ง เพราะท่อปัสสาวะของเพศหญิง ยาวประมาณ 2-4 นิ้ว การหมักหมม เปียกแฉะตลอดเวลา
นอกจากจะท าให้เกิดการระคายเคือง การอักเสบการติดเชื้อ แล้วยังอาจเกิดแผลกดทับ (pressure sore) โดยการท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอท าให้ผู้ปุวยสุขสบาย
กำจัดสิ่งขับถ่าย สิ่งสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ปุวยที่ได้รับ การสวนปัสสาวะคาไว้
เสริมสร้างความสุขบายให้กับผู้ป่วย
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การพักผ่อน(Rest)
การพักกิจกรรมการทำงานของร่างกาย หรือการพักการทำงานของอวัยวะต่าง โดยนั่งเฉย ชั่วขณะหนึ่ง อาจทำกิจกรรมเบา นันทนาการ เปลี่ยนอิริยาบท หรือชมวิว เพื่อให้อวัยวะได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความกังวล
ผ่อนคลายและมีความสงบทั้งจิตใจและร่างกายรวมถึงความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์ เพราะฉะนั้นการพักผ่อนไม่ได้หมายถึงการไม่มีกิจกรรม
Absolute bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใด ที่จะทำให้รู้สึกเหนื่อย ห้ามลุกออกจากเตียง การทำกิจกรรมการพยาบาล พยาบาลจะต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมให้
Bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ปุวยนอนอยู่บนเตียง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย
การนอนหลับ
ระดับการรู้สติลดลง มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าและการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง อวัยวะทุกส่วนทำงานลดลง รวมทั้งสภาวะจิตใจ และมีการเอนกายลงในท่าสงบนิ่งและหลับตา เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว ปลุกให้ตื่นได้โดยมีการ กระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่เหมาะสม
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดยมีการสร้างและสะสมพลังงานในขณะหลับเวลาที่หลับสนิทในช่วงแรกในสามส่วนของการหลับทั้งคืนนั้นร่างกายจะสังเคราะห์โปรตีนเพิ่มมากขึ้นและเกิดการเผาผลาญกรดไขมันให้เป็นพลังงาน
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ช่วยส่งเสริมการหายของแผลรวมถึงมีการช่วยสะสมพลังงานไว้ใช้ในวันต่อไป
สงวนพลังงานพลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจ า เนื่องจากการนอนหลับในระยะ(Rapid eye movement sleep: REM)จะมีการท างานของระบบประสาทเต็มที่ มีการกระตุ้นให้ความจ าระยะสั้นเป็นความจ าระยะยาวได้ มีการปรับตัวต่อความเครียดได้ดี สดชื่นพร้อมที่จะเรียนรู้ในแต่ละวัน
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายโดยศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอยู่ใต้สมองส่วนไฮโปธาลามัสและต่อมใต้สมองส่วนหน้าท าหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่นอาการเมื่อยล้าคลื่นไส้อาเจียนท้องผูกปวดศีรษะวิงเวียนเหมือนบ้านหมุน(vertigo) ความทนต่อความเจ็บปวดลดลงกล้ามเนื้อคออ่อนแรงความคิดและการรับรู้บกพร่องเหนื่อยล้าเฉื่อยชาการพูดเสียไป
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่ายอาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิดโมโหง่ายเกิดความสับสนและความสามารถในการควบคุมตนเองจาก สิ่งเร้าลดลงมีอาการหวาดระแวงและหูแว่วไม่สามารถยับยั้งพฤติกรรมความก้าวร้าวของตนเองได้
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลงสมาธิไม่ดีและแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลทางสังคมได้แก่การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลงความมั่นใจในการทำงานลดลงและมีการใช้ระบบบริการทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
วงจรการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา (Non-rapid eye movement sleep: NREM)
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง)เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่ การนอน ในคนทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที -7 นาที
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติรู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง แม้ได้รับสิ่งเร้าจากภายนอกก็จะไม่ตื่นโดยง่าย ขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 -30 นาที
ระยะที่ 4 (หลับลึก)เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน ใช้เวลา 30 -50 นาที หากว่าร่างกายนอนหลับโดยปราศจากระยะที่ 4 นี้ อาจมีการนอนละเมอหรือฝันร้ายได้
ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep: REM)
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่าง ของร่างกายแทบจะหยุดการท างานกันหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ ร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่
ช่วงเวลาหลับฝันนี้จะกินเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากผ่านช่วงหลับฝันไปแล้ว ก็จะกลับเริ่มที่ระยะที่ 1 ของ NREM ใหม่ หมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย โดยแต่ละรอบจะใช้เวลา 80-120 นาที ในคืนหนึ่งที่เรานอนจะหมุนผ่านวงจรแบบนี้ไปหลายรอบ ขึ้นกับระยะเวลาการนอน
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
เพศ
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง จากสายยางและท่อระบายต่าง
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ความวิตกกังวล
ปัจจัยภายนอก
เสียง
อุณหภูมิ
แสง
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
กิจกรรมการรักษาพยาบาล
อาหารและยา
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและ การนอนหลับที่ผิดปกติ
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia)เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้น 3-5 วัน
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (Short term insomnia)เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia)เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ ซึ่งจะแสดงออกในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ เช่น หลับขณะขับรถยนต์ หรือรอรถติดไปแดง หลับในห้องประชุมหลับขณะรับประทานอาหาร เป็นต้น
การหลับที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถฝืนได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติต้องการการตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุ
Parasomnia
ความผิดปกติของการตื่น (around disorder)ได้แก่อาการสับสน (confusion arousals) ละเมอเดิน (sleepwalking) ฝันร้าย (sleep terror)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับได้แก่ อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ (hypnic jerks) ละเมอพูด (sleep talking) ศีรษะโขกกำแพง (head banging)
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตาได้แก่ ภาวะฝันร้าย (nightmares) ภาวะผีอำ (sleep paralysis) เป็นต้น
กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ การนอนกัดฟัน (sleep bruxism) การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ (sleep enuresis) การกรน (primary snoring) การไหลตาย (sudden unexplained nocturnal death) เป็นต้น
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
เมื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูกเวียนศีรษะ ทนต่อความเจ็บปวดได้ลดลง กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ภูมิต้านทานลดลง ระดับความรู้สึกตัวบกพร่อง
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM ได้แก่ ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะทำให้การทำงานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกายอ่อนล้า และขาดสมาธิการพักผ่อนและการนอนหลับ
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและน่าอยู่อาศัย
ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องใช้และเครื่องอำนวยความสะดวก
อุณหภูมิมีความเหมาะสมของอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียสมีการถ่ายเทระบายอากาศดี มีแสงสว่างส่องเพียงพอ
เสียงแหล่งก าเนิดเสียงจากภายนอกห้อง หรือเกิดจากผู้ให้บริการ หรือ จากญาติที่มาเยี่ยมไข้
กลิ่น
กลิ่นที่เหมาะส าหรับการสร้างความสุข คือ กลิ่นสะอาด และสดชื่น
กลิ่นเหม็น ได้แก่ กลิ่นที่ส่งออกมาจากสิ่งขับถ่ายภายในร่างกายของคน
ความเป็นส่วนตัว และมิดชิดอย่างปลอดภัย
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position (supine position) เป็นท่านอนหงายราบ ขาชิดติดกัน ใช้ในการตรวจร่างกายทั่วไป เป็นท่านอนที่จัดขึ้นเพื่อความสุขสบาย
Fowler’s position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา ท่านี้ลักษณะคล้ายท่านั่งบนเตียง สะดวกสำหรับให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบนเตียง
Prone position เป็นท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับผู้ป่วย ที่ไม่รู้สึกตัว แต่มีการหายใจปกติ ท่านี้จะช่วยให้น้ำลาย เสมหะไหลออก และลิ้นผู้ป่วยห้อย
Lateral position เป็นท่านอนตะแคงจัดเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย ที่ช่วยเหลือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้
sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบายส าหรับผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถ และพักผ่อนได้อย่างมีความสุข เพื่อความปลอดภัย และความสุขสบายควรมีที่เท้าแขน (arm chair)
การทำเตียง (Bed making)
เป็นการส่งเสริมการพักผ่อนกลการนอนหลับให้มีความสุข มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี
พยาบาลต้องดูแลจัดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยให้ผู้ปุวยนอนหลับได้อย่างมีความสุขตลอดระยะเวลาขณะที่นอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาด เรียบร้อย การทำเตีย
การทำเตียงว่าง (Close bed)
การทำเตียงผู้ปุวยลุกจากเตียงได้ (Open/unoccupied bed)
การทำเตียงผู้ปุวยลุกจากเตียงไม่ได้ (Occupied bed)
การทำเตียงรับผู้ปุวยหลังผ่าตัดและผู้ปุวยที่ได้รับยาสลบ(Surgical/ether/anesthetic bed)
การทำเตียงว่างเป็นการทำเตียงที่ผู้ปุวยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย เพื่อเตรียมรับผู้ป่วยใหม่ หรือทำเตียงที่ผู้ป่วยสามารถลงเดินช่วยเหลือตนเองได้