Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาพุทธ - Coggle Diagram
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาพุทธ
พุทธศาสนากับความจริงสูงสุด 4 ประการ
กฏไตรลักษณ์ (The three characteristics of existence)
อนิจจัง
คือ ความไม่เที่ยง
ทุกขัง
คือ ความทุกข์ ถูกบีบคั้น ไม่สมอยาก ตั้งอยู่ไม่ได้
อนัตตา
คือ ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง
อริยสัจ 4 (Thr four noble truths)
ทุกข์
คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง มีความบกพร่อง
สมุทัย
คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ ดับความอยาก สิ้นราคะตัณหา สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ
มรรค
คือ ทางปฏิบัติในการออกจากทุกข์
สัมมาทิฏฐิ
: มีความเห็นถูกต้อง ความไม่รู้ก่อให้เห็นผิด
สัมมาสังกัปปะ
: มีความคิดถูกต้อง คู่กับสัมมาทิฏฐิ
สัมมาวาจา
: ควบคุมวาจาของตน ไม่กล่าวเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ
สัมมากัมมันตะ
: การประพฤติที่ถูกต้อง รักษากิริยาทางกาย ไม่ทำลายชีวิตผู้อื่น ไม่ลักขโมยฉ้อโกง ไม่ละเมิดทางเพศ อยู่ในกรอบศีลธรรมจรรยา
สัมมาอาชีวะ
: ประกอบอาชีพในทางสุจริต เว้นจากการค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ยาพิษ เนื้อ สุรา ไม่ข่มขู่ กินสินบน เจ้าเล่ห์
สัมมาวายามะ
: พยายามที่จะหยุดความคิดชั่ว ควบคุมตนเอง มีวินัยในตนเอง ไม่ปลุกเร้าและหยุดอกุศลวิตก
สัมมาสติ
: การรู้สึกตัวอยู่เสมอ ใจมีสติกำกับ กำหยดการเคลื่อนไหวของร่างกาย กำหนดที่ความรู้สึกเวทนา เจ็บ กำหนดความนึกคิด
สัมมาสมาธิ
: การที่จิตใจสงบ มีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน พร้อมที่จะพิจารณาสัจภาวะ
ปฏิจจสมุปบาท
กระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์
ใช้ในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์
นิพพาน (Nirvana)
การดับสนิทของตัณหา การสิ้นไปของราคะ โทสะ โมหะ อายตนะ (สิ่ง)นั้นจะไม่มีอยู่
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของพุทธศาสนิกชน
กาดูแลร่างกาย
: หมอชีวกโกมารภัจจ์ ดูแลให้พระพุทธเจ้าเสวยยาคูปรุง งา ข้าวสาร ถั่วเขียว และ ให้ทรงสรงน้ำร้อนละลายด้วยน้ำอ้อย
การดูแลจิตใจ
: พระพุทธเจ้าทรงฟังพระมหาจุนทะสาธยาย โพชฌงค์ที่เวฬุวัน แล้วหายจากอาการประชวร
การดูแลจิตวิญญาณ
: ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้าทรงประชวรหนักที่เวฬุคาม เมืองเวสาลี เมื่อใกล้ปรินิพพาน ทรงมีพระสติสัมปชัญญะไม่พรั่นพรึง
การดูแลด้านสังคม
: อัครสาวกของพระพุทธเจ้า คือ พระโมกคัลลานะ ดูแลรักษาพระสารีบุตร
พุทธศาสนากับการปฏิบัติการพยาบาล
ผู้ให้การดูแล/พยาบาล/รักษา ต้องเข้าใจผู้ป่วยในความทุกข์
ทุกข์จากอาการของโรค
ทุกข์จากความวิตกกังวล
ทุกข์จากภาวะเศรษฐกิจ
ผู้ป่วยต้องเข้าใจเรื่องความทุกข์ด้วยว่ามนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้
ผู้ป่วยเมื่อยามเจ็บป่วย ต้องรู้จักทำใจให้สงบ ร่วมมือกับผู้ให้การดูแล/รักษา เพื่อทำให้ทุกข์บรรเทาเบาบางหมดไป
การนำผลการปฏิบัติศีล 5 มาเป็นเครื่องมือในการดูแลสุขภาพ
ศีลข้อ1 งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วงไป
: การกินอาหารเจ คือการกินผักแทนเนื้อสัตว์
ศีลข้อ2 งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
: การไม่ต้องการอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน ส่งผลให้ไม่เกิดความเครียด
ศีลข้อ3 งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
: ทำให้ไม่ติดโรคทางเพศสัมพันธุ์
ศีลข้อ4 งดเว้นการกล่าวเท็จ
: หากมีการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ุแล้วไม่มีการบอกคนใกล้ชิด อาจส่งผลเสียทางด้านร่างกาย จิตใจและครอบครัวได้
ศีลข้อ5 งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย
: เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและโรคต่างๆที่เกิดจากสาเหตุการดื่มสุรา
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแนวทางพุทธศาสน์
กรรมอารมณ์
: คือ อารมณ์ของกรรมที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว ดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ในเวลาใกล้จะดับจิตอารมณ์อันนั้นแหละไว้แล้วนั้นแหละจะมาปรากฏทางด้านจิตใจของผู้ใกล้ตาย
กรรมนิมิต
: คือ เครื่องหมายของกรรมที่ตนได้กระทำไว้แล้ว ดีก็ตามไม่ดีก็ตาม ในเวลาใกล้จะดับจิต กรรมดีและกรรมชั่วที่ได้กระทำไว้นั้นจะมาปรากฏให้เห็นในเวลาเมื่อใกล้ตาย
คตินิมิต
: คือ เครื่องหมายภพภูมิที่จะเกิด มาปรากฏให้เห็นในเวลาเมื่อใกล้จะตาย
ความตายตามแนวทางพระพุทธศาสนา
ความตายเป็นทั้งความแน่นอนและไม่แน่นอน
ความตายเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
ความตายเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
ความตายเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส
ความตายมีทั้งมิติทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ
การประคองรักษาจิตให้สงบเป็นปกติท่ามกลางสภาพความเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน
การตายที่ดีทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่ตายอย่างไร สภาพไหน แต่อยู่ที่สภาพจิตก่อนตายว่าเป็นอย่างไร ให้ระลึกถึงสิ่งที่ดี
หลัก 7 ประการของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้าย
1.การให้ความรัก ความเข้าใจ ผู้ป่วยใกล้ตายมักจะมีความกลัวหลายอย่าง เช่นกลัวถูกทอดทิ้ง กลัวเป็นภาระ
2.ช่วบให้เขายอมรับความตายที่จะมาถึง การพูดให้เขายอมรับความตายที่จะมาถึง ซึ่งเป็นศิลปะ
3.ช่วยให้เขาจดจ่อในสิ่งที่ดีงาม
4.ช่วยให้เขาปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ อาจหมายถึง การแบ่งมรดก ความน้อยเนื้อต่ำใจคนใกล้ตัว ฯลฯ
5.ช่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
6.สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ใจสงบ
7.กล่าวคำอำลา แนะนำให้เขาปล่อยวาง
หลักการและแนวคิดในการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
1.ต้องดูแลผู้ป่วยและครอบครัวทุกๆด้าน
2.ต้องเริ่มตั้งแต่แรกทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
3.สิทธิของคนใกล้ตายต้องรับรู้ว่าตนเองเป็นอะไร ทำอะไรได้แค่ไหน ต้องมีการสื่อสารอย่างเหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย ทางเลือกขิงการรักษา ช่องทางที่คนไข้จะกลับมาหาเราหรือการดูแลเหมาะสม
4.การใส่อุปกรณ์ เอาออกเพื่อให้คนไข้เสียชีวิต
5.การทำงานเป็นทีม
6.การดำเนินของโรคทำให้เกิดเหตุการณ์ การเตรียมนับมือจะวางแผนจัดการอย่างไร
7.การบรรเทาความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
วัตถุประสงค์การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
1.ลดความทุกข์ทรมาน
2.ทำกิจวัตรสำคัญเท่าที่ทำได้
3.เป็นตัวของตัวเอง
4.อยู่อย่างมีคุณค่าในช่วงสุดท้ายของชีวิต
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความตาย
ขั้นที่1 มนุษย์ปุถุชนทั่วไป
คือ ยังไม่มีการศึกษาก็ระลึกถึงความตายด้วยความหวาดหวั่น เศร้าหดหู่ท้อแท้
ขั้นที่2 สูงขึ้นไป
คือ ผู้มีการศึกษาแล้วระลึกถึงความตายเป็นอนุสติสำหรับเตือนใจไม่ให้ประมาท เร่งขวนขวายปฏิบัติ ประกอบหน้าที่คุณงามความดีให้ชีวิตมีประโยชน์มีคุณค่า
ขั้นที่3 รู้เท่าทันความตาย
คือ มีคติเนื่องอยู่ในธรรมดาจะได้มีชีวิตที่ปราศจากความทุกข์ ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความรู้สึกหวาดหวั่น กลัวต่อความพลัดพราก
การพยาบาลผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต
การพยาบาลด้านร่างกาย
ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เต็มที่
หากพบว่าปากและริมฝีปากแห้ง
ให้ใช้สำลีชุบน้ำสะอาดแตะที่ริมฝีปากแล้วทาด้วยวาสลินหรือสีผึ้ง
หากพบว่าจมูกแห้ง
ให้หมั่นทำความสะอาดและรักษาความชุ่มชื้นไว้
หากพบว่าตาแห้ง
ให้หยอดด้วยน้ำตาเทียม
หากพบว่ามีเสมหะมาก
ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะเพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย
การพยาบาลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
ควรให้โอกาสคนใกล้ตายได้แสดงความรู้สึกและความต้องการ
อ่านหนังสือธรรมะให้ฟัง ท่องบทสวดมนต์หรือเปิดเทปสวดมนต์เบาๆให้ฟัง