Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Right ureteric calculi with hydronephrosis (โรคนิ่วท่อไตและภาวะไตบวมน้ำ) …
Right ureteric calculi with hydronephrosis
(โรคนิ่วท่อไตและภาวะไตบวมน้ำ)
นิ่วที่ท่อไต (ureteric stone)
ทฤษฎี
โรคนิ่วเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะโรคนิ่วของทางเดินปัสสาวะ โดยเกิดเป็นก้อนหินปูนอยู่ภายในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะ โดยที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มจากไตสองข้างบริเวณชายโครงด้านหลัง และมีท่อไตลงมาถึงกระเพาะปัสสาวะ นิ่วส่วนใหญ่จะเกิดอยู่ที่ไต และไหลลงมา อาจติดอยู่ที่ท่อไต นิ่วที่ท่อไต เรียกว่า ureteric stone
ถ้าก้อนเล็กก็ลงมาเรื่อยๆ จนออกมากับปัสสาวะ โรคนิ่วพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน นิ่ว อาจมีขนาดต่างๆ กัน อาจมีเพียงก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ ส่วนมากมักเป็นที่ไตเพียงข้างเดียว ที่เป็นทั้งสองข้างอาจพบได้บ้างบางรายอาจเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็ได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 59 ปี 1 เดือนก่อนมีอาการปวดเอวด้านขวา ปัสสาวะสีขุ่น รับการรักษาที่โรงพยาบาลดอนตาลด้วยภาวะ UTI (Urinary Tract Infection) โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
3 อาทิตย์ก่อนพบแพทย์ตามนัด UTI มีปัสสาวะสีเข้ม เหมือนมีตะกอนนิ่วเล็กๆออกมากับปัสสาวะ หลังเปลี่ยน ATB เป็น Augmentin(625) 1x3 pc มีอาการเหนื่อยกว่ารอบที่ใช้ Ciprofloxacin(500) 1x2 pc แพทย์จึงส่งมารักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลมุกดาหาร มานอนโรงพยาบาลตามนัดของแพทย์เพื่อทำ Rt.Ureterolithotomy การผ่าตัดเอานิ่วที่ท่อไตออก
ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Rt. UC with HN with U/D DM (Right ureteric calculi with hydronephrosis with Underlying disease Diabetes Mellitus) (โรคนิ่วท่อไตและภาวะไตบวมน้ำและโรคเบาหวาน)
สาเหตุ
ทฤษฎี
ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตประกอบด้วยหินปูนหรือแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต, กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆ หรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไปซึ่งทำให้แคลเซียมในเลือดสูง
นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์ ซึ่งมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากเกินปกติส่วน กลไกของการเกิดนิ่วนั้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่า คงมีปัจจัยร่วมกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น การอยู่ในเขตร้อนที่ร่างกายสูญเสียเหงื่อง่าย แล้วดื่มน้ำน้อย ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของแคลเซียม, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, ความผิดปกติทางโครงสร้างของไต เป็นต้น พบว่าคนที่ชอบกินอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง หรือกินวิตามินซีขนาดสูงๆ ซึ่งจะกลายเป็นสารออกซาเลต ก็มีโอกาสเป็นนิ่วมากกว่าคนปกติ
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และมีดื่มน้ำน้อย ผู้ป่วยเล่าว่าแต่ก่อนเคยดื่มน้ำตามห้วยหนอง
อาการและอาการแสดง
ทฤษฎี
ปวดรุนแรงเป็นช่วงๆ บริเวณข้างลำตัวและหลัง บางครั้งอาจปวดช่องท้องด้านล่างลงไปจนถึงขาหนีบ
ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย น้ำปัสสาวะน้อยผิดปกติ
ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาลหรือสีชมพู
คลื่นไส้ อาเจียน
มีไข้ หนาวสั่น
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการปวดบั้นเอวด้านขวา มีปัสสาวะแสบขัด มีกลิ่นเหม็นคล้ายหนอง ผู้ป่วยเล่าว่าแต่ก่อนปัสสาวะมีก้อนนิ่วเล็กๆออกมาด้วย หลังจากผ่าตัดมีปัสสาวะปนเลือดและปัสสาวะยังมีตะกอนขุ่นเล็กน้อย
การวินิจฉัย
ทฤษฎี
โรคนิ่วสามารถวินิจฉัยได้จากอาการผิดปกติ ร่วมกับการตรวจปัสสาวะซึ่ง จะตรวจพบว่ามีมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมาก ตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสี (intravenous pyelogram หรือ IVP) และอาจตรวจพิเศษอื่นๆ
การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคไตอื่นๆ การที่จะเก็บปัสสาวะมาให้แพทย์ตรวจมีความสำคัญมากเพราะ การเก็บผิดวิธีก็ทำให้การตรวจผลผิดพลาดไป
อัลตราซาวด์ เป็น การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจดูลักษณะของทางเดินปัสสาวะ สามารถให้ข้อมูลได้ใกล้เคียงกับภาพเอ็กซเรย์ที่ฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด แต่การตรวจด้วยอัลตราซาวน์ไม่ต้องฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือด และไม่มีอันตรายใดๆ อัลตราซาวน์ใช้คลื่นเสียงเข้าไปเพื่อที่จะให้คลื่นเสียงนั้นสะท้อนออกมา และแปรผลจากคลื่นเสียงเป็นภาพการตรวจด้วยอัลตราซาวน์จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแพ้สารทึบแสง จะ เลือกใช้การอัลตราซาวน์กับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้สารไอโอดีน และสารอื่นๆ ที่จะทำให้ไตวายได้ ผู้ป่วยที่จะตรวจควรจะงดน้ำ และอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน อัลตราซาวน์จะช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิ่ว มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ โรคมะเร็ง และโรคไตบางชนิดหรือไม่
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับการตรวจ UA ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ Microscopy
Appearance: moderate turbid
Blood : 3+
Protein(UA): 1+
Leukocyte: 3+
RBC (UA): 5-10 /HPF
WBC (UA) : > 100 /HPF
Bacteria: moderate
การรักษา
ทฤษฎี
• การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่วจนก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และหลุดออกมากับปัสสาวะ
• การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Ureteroscopy) โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีกล้องติดอยู่ผ่านเข้าไปตามท่อปัสสาวะเพื่อขบนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำออกทางมาทางท่อ วิธีนี้ใช้ในกรณีที่นิ่วอยู่บริเวณท่อไตใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ
การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้
กรณีศึกษา
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด Rt.Ureterolithotomy การผ่าตัดเอานิ่วที่ท่อไตออก
ได้รับยา
cef-3 1 gm. (v) q 12 hr.
Glipizide (5) 1x1 oral ac
metformin (500) 2x2 oral pc
Enalapril (5) 1x1 oral pc
NSS 1,000 ml.(v) rate 80 ml/hr.
Paracetamol (500) 1 tab oral pc
Ampicillin 2 gm iv q 6 hr.
Buscopan 1x2 oral prn
การป้องกัน
ดื่มน้ำให้มากและให้ได้ปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่วสูง ได้แก่ อาหารที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ยอดผัก ผักโขม ผักกระเฉด ถั่ว ชา ช็อกโกแลต พริกไทยดำ
และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล
และอาหารที่มีสารซีสทีนสูง เช่น นม ไก่ เป็ด นอกจากนี้ควรจำกัดการบริโภคเกลือให้อยู่ในปริมาณน้อย
ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานวิตามินและเกลือแร่เสริมอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียม
เข้ารับการตรวจติดตามโรคตามกำหนดทุกครั้ง โดยแพทย์อาจนัดติดตามผลการรักษาทุก 3 - 6เดือน
ปัญหาที่พบ
มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากมีปัสสาวะขังที่ไต
มีโอกาสเกิดอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนมีเลือดออกจากแผลมากผิดปกติหลังการผ่าตัด
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการทำผ่าตัดในระยะแรก เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ ผลของยาสลบและยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวทำให้ร่างกายขับออก (Secretion) คั่งค้างอยู่ในถุงลม
มีความไม่สุขสบายจากภาวะการเจ็บปวดจากการทำผ่าตัด และจากการระคายเคืองของสายสวนปัสสาวะที่ใส่ค้างไว้
เสี่ยงต่อภาวะการขาดสารอาหาร เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย และเจ็บปวดจากการผ่าตัดนิ่วที่ท่อไต
มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเป็นนิ่วซ้ำอีก เนื่องจากเคยเป็นนิ่วแล้วมีโอกาสที่อาจเกิดเป็นนิ่วซ้ำได้อีก และไม่ทราบถึงวิธีป้องกันมิให้เกิดเป็นซํ้าได้อีก
ผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากไม่เคยได้รับการผ่าตัด
พยาธิสภาพ
การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและการอักเสบในท่อไต ส่งผลให้เซลล์บุท่อไตถูกทำลาย ตำแหน่งที่ท่อไตถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึดและรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด