Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสำหรับบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่นที่ได้…
การพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพสำหรับบุคคลวัยเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุติเหตุ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน(Fracture and
ความหมาย
กระดูกหักหมายถึง ภาวะที่โครงสร้างหรือส่วนประกอบของกระดูกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกแยกโดยสิ้นเชิง หรือเป็นเพียงบางส่วน หรือเป็นเพียงการแตกร้าว
ข้อเคลื่อนหมายถึง ภาวะที่มีการเคลื่อนของผิวข้อออกจากที่ที่จะอยู่ หรือกระดูกหลุดออกจากเบ้า ซึ่งการบาดเจ็บของข้อและกระดูกยังส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบกระดูก หลอดเลือด น้ำเหลือง และเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
กระดูกไหปลำร้ำหัก(fracture of clavicle)
มีการหักมากที่สุด เกิดกับเด็กได้มากที่สุด โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า10 ปี มักเกิดจากการหกล้ม แขนเหยียดตรงเอาข้อมือเท้าพื้นแรง หรือหกล้มโดยด้านข้างของไหล่กระแทกพื้น หรือถูกของแข็งกระแทกไหล่
มีอาการปวดบริเวณไหล่ เด็กอาจหัวไหล่ตกและก้มมาข้างหน้า อาจสังเกตเห็นก้อนนูนที่กระดูกไหปลาร้า ซึ่งเป็นการโก่งงอของกระดูกร่วมกับ มีก้อนกระดูกเกิดขึ้นใหม่บริเวณกระดูกหัก
ในเด็กอายุมากกว่า3ปี อาจใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องคอ ห้อยแขนให้ข้อศอกงอ90 องศาเช่นกันและพันแขนให้ติดกับล าตัวด้วยผ้ายืดนานประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือพันไหล่ด้วยถุงผ้าที่มีสำลีเป็นไส้ในให้แน่นพอสมควรเป็นรูปเลข8เป็นการป้องกันไม่ให้กระดูก เคลื่อนไหวแยกห่างมากขึ้นและช่วยลดอาการปวด
การรรักษา
จะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง มีน้อยรายที่จะใช ผ่าตัด ในทารกและเด็กเล็กจะตรึงแขนข้างที่หักให้อยู่นิ่งโด ข้อศอกงอ90 องศา ให้ติดกับลำตัว พันนาน10-14วัน
กระดูกต้นแขนหัก(fracture of humerus)
ในทารกแรกเกิดมักเกิดในรายที่คลอดติดไหล่แล้วผู้ทำคลอดสอดนิ้วมือเข้าไปเกี่ยวออกมา ส่วนในเด็กโตอาจเกิดการหกล้มแล้วต้นแขน ข้อศอกกระแทกพื้นโดยตรง จะพบหัวไหล่เด็กบวม ซ้ำ เวลาจับไหล่หรือแขนให้มีการเคลื่อนไหวจะเจ็บปวด
การหักของกระดูกบริเวณนี้ เคลื่อนแยกออกจากกันไม่มาก อาจให้ห้อยแขนข้างที่หักไว้ ด้วยผ้าคล้องแขนนานประมาณ2-3 สัปดาห์
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส (pulled elbow)
เป็นการเคลื่อนที่ของหัวกระดูกเรเดียส ออกมาจากข้อradio-humeral ไม่หมด เกิดได้บ่อยในเด็กอายุต่ำ6ปี อาจเกิดเนื่องจากในขณะจูงมือเด็ก หยอกล้อ ดึงแขนหรือหิ้วเด็กขึ้นมาตรง ๆ ในขณะที่ข้อศอกและแขนท่อนปลายคว่ำมือ เด็กจะร้องปวด งอและเหยียดข้อศอกไม่ได้
ให้ตรึงโคนแขนของเด็กไว้ที่บริเวณเหนือข้อศอกด้วยมือหนึ่ง จับแขนท่อนปลายเด็กไว้ด้วยมืออีกข้างที่ถนัดแล้วค่อยๆหงายมือขึ้นและงอข้อศอกจะได้ยินเสียงกรึ๊บแสดงว่าข้อกลับเข้าที่แล้ว
กระดูกปลำยแขนหัก
พบบ่อยในเด็กหัดเดินไปจนถึงวัยรุ่น ส่วนมากเกิดจากแรงกระทำำทางอ้อม เช่น มือเท้าพื้น ตกจากที่สูง ซึ่งตำแหน่งของกระดูกแขนท่อนปล คือบริเวณปลายล่างๆ
ส่วนมากกระดูกปลายแขนหักในเด็กมักเป็นหักแบบไม่แยกจากกันโดยสมบูรณ์ ให้วางแขนเด็กให้ราบบนโต๊ะ ให้มุมโก่งอยู่ด้านบนแล้วใช้แรงกดให้แนบกับพื้นโต๊ะ เนื่องจากกระดูกส่วนที่ยังเชื่อมคาอยู่มีคุณสมบัติคล้ายสปริงแต่ถ้าหักผ่านเข้าข้อต้องผ่าตัดใส่เครื่องยึดดาม
กระดูกต้นขำหัก(fracture of femur)
พบได้ในทุกวัยโดยเฉพาะในช่วงอายุ2-3ปี ส่วนมากจะเกิดกับเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง เพราะซุกซนกว่า ตำแหน่งที่พบการหักบ่อยคือช่วงกลางของกระดูกต้นขา เด็กจะปวดบริเวณขาข้างที่หัก บวมตำแหน่งกระดูก
แก้ไขโดยในรายที่อายุต่ำกว่า3ปี ถ้าชิ้นกระดูกที่หักเคลื่อนออกจากกันไม่มาก ให้ใส่เฝือกขาแบบยาวนาน3-4 สัปดาห์ แต่ถ้ากระดูกหักเคลื่อนแยกจากกันมากให้รักษาด้วยวิธีBryant’s traction หรือGallow’s traction
ไฟไหม้น้ำร้อนลวก(Burn And Scald)
การประเมินสภาพ
ก. ประเมินความลึก
ระดับหนึ่ง(First degree burn) เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังถูกทำ บางส่วนเป็นชั้นตื้น มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อนเท่านั้น เช่น บาดแผลที่เกิดจากถูกน้ำร้อนลวก ถูกแสงแดดเผา ปวดจะหายใน 48-72 ชั่วโมง ส่วนบาดแผลหายภายใน2-5 วัน
ระดับสอง(Second degree) มีการทำลายของผิวหนังบางส่วนเช่นกัน แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน คือ ต่อมเหงื่อและรูขุมขนจะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้นมีผิวหนังพอง และมีน้ำเหลืองซึม เด็กจะปวดแสบปวดร้อนมาก แผลถูกลวกอาจถูกทำลายถึงระดับนี้ได้ บาดแผลจะหายภายใน2-6สัปดาห์ ขึ้นกับความลึกของบาดแผล ไม่มีแผลเป็น แต่มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว
ระดับสาม(third degree) ชั้นของผิวหนังจะถูกทำลายทั้งหมด บาดแผลจะลึกมากถึงชั้นหนังแท้ และอาจลึกถึงชั้นไขมัน ชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แผลเป็นสีขาว น้ำตาล และไหม้ดำ แต่ไม่เจ็บปวด เพราะปลายประสาทถูกทำลาย แผลชนิดนี้ไม่สามารถหายได้เอง ต้องใช้การปลูกถ่ายผิว และการงอกของเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน ทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้
ข.ประเมินความกว้าง
Lund and Browder's chart ซึ่งคิดสัดส่วนของพื้นที่ร่างกายตามอายุของเด็ก หรือพื้นที่บาดแผลได้อย่างคร่าวๆโดยถือว่า1ฝามือของเด็กเท่ากับร้อยละ1 ของพื้นที่ผิวของร่างกายทั้งหมด
ค.ตำแหน่งบาดแผล
บาดแผลบริเวณใบหน้า คอ บริเวณที่ต้องให้ความสำคัญแม้จะบริเวณไม่กว้างแต่มีอันตราย
ปัจจัยส่งเสริมความรุนแรงของการเกิดแผลไหม้
ความลึกของแผลไหม้(Depth of burn)
ความกว้างหรือขนาดของแผลไหม้(Extent of burn)
อายุ(Age)
ส่วนของร่างกายที่ถูกไหม้(Partof body burn)
บาดเจ็บร่วม(Concurrent injury)
ความเจ็บป่วยเดิม(Past medical history)
ประเภทของแผลไหม้(Type of burn)
กำรช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ
1.กำจัดสาเหตุของความร้อนที่เผาไหม้หรือลวกตัวเด็ก ถอดเสื้อผ้า พร้อมเครื่องประดับที่ได้รับความร้อนออก ถ้าถูกสารเคมีให้ล้างด้วยน้ำมากๆ ถ้าถูกไฟดูดต้องตัดทางเดินกระแสไฟก่อน
2.ใช้น้ำเย็น8-23องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรใช้น้ำแข็ง ประคบหรือชะโลม จะช่วยลดการทำลายของเนื้อเยื่อ ลดอาการปวดได้ ทำภายในเวลา 30 นาทีหลังถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก แต่ต้องระวังในเด็กที่มีบาดแผลกว้างมาก
3.ใช้น้ำสะอาดล้างตัวและบาดแผลได้ แต่ห้ามใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสารอื่น ๆ เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้นและเกิดการติดเชื้อได้ และขณะนำโรงพยาบาลควรใช้ผ้าสะอาดห่อตัวเด็กด้วยเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและให้ความอบอุ่น