Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
บทที่ 3
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
1 การส่งเสริมสุขอนามัย
1.1 ความสาคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
การทำความสะอาดร่างกายตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกๆวัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่รวมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
1.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
เศรษฐกิจ บุคคลที่มีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บารุงผิวหากเศรษฐกิจไม่พอเพียง ผู้ป่วยอาจต้องทำงานเพื่อหารายได้จนไม่มีเวลาดูแลตนเอง
อาชีพ บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้และให้
ความสำคัญของการดูแลสุขอนามัย
การศึกษา บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
ถิ่นที่อยู่ การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน มีการใช้ชีวิตและมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันส่งผลให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
มีความแตกต่างกัน
ภาวะเจ็บป่วย ในภาวะการเจ็บป่วย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
สิ่งแวดล้อม อากาศร้อนทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับ
การดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
ภาวะสุขภาพ เมื่อมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือเจ็บปวดหรือมีการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต หรืออาจมีปัญหาสุขภาพร่างกายอ่อนเพลียทำให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลงหรือไม่ได้ปกติ
เพศ ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล จะเป็นผลต่อการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล
อายุ ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
ความชอบ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลมาจากครอบครัว
1.3 การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถพิจารณากระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคำสั่งของแพทย์ เมื่อผู้ป่วยเข้านอนรักษาโรงพยาบาลจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน
การพยาบาลในช่วงเวลาต่าง ๆ
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/ P.M. care)
การพยาบาลตอนก่อนนอน
(Evening care/ Hour of sleep care/ H.S. care)
การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/ A.M care)
การพยาบาลเมื่อจาเป็นหรือเมื่อผู้ปุวยต้องการ
(As needed care/ P.r.N. care)
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด (Early morning care)
1.4 การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/ การอาบน้ำ (Bathing)
การอาบน้ำ (Bathing)
จุดประสงค์ การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
1.การอาบน้ำที่ห้องน้ำ (Bathing in bath room/ Shower)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath)
การนวดหลัง (Back rub or back massage)
หลักการนวดหลัง
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ภาวะมีไข้ โรคผิวหนัง โรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เลือกใช้แป้งหรือโลชันหรือครีม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์การนวดหลัง
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
วิธีปฏิบัติ และ เครื่องใช้
เครื่องใช้
ครีมหรือโลชั่นทาตัวหรือแป้ง
ผ้าห่ม 1 ผืน และผ้าเช็ดตัว 1ผืน
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตนเองบอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์
นำเครื่องใช้ต่าง มาวางที่โต๊ะข้างเตียง กั้นม่านให้มิดชิด
ล้างมือ
จัดท่านอนคว่ำ มือเหยียดตรงไปตามลำตัวถ้านอนคว่าไม่ได้ให้นอนตะแคง
เลื่อนผ้าห่มมาบริเวณก้นกบ ปูผ้าเช็ดตัวทับบนผ้าห่ม
ทาแป้งหรือทาครีม หรือโลชั่น (เพียงอย่างเดียว)
นวดบริเวณหลังเรียงลำดับตามขั้นตอนดังนี้
Stroking
เป็นการลูบตามแนวยาวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางที่บริเวณก้นกบ ค่อยๆ ลูบขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ ให้น้าหนักกดลงที่ปลายนิ้วแล้วอ้อมมาที่ไหล่ สีข้าง และตะโพกทำช้ำๆ เป็นจังหวะประมาณ 3-5 ครั้ง
Friction
เป็นการใช้ฝ่ามือลูบแบบถูไปมาตามแนวยาวของกล้ามเนื้อไหล่ กล้ามเนื้อสีข้าง ทั้งสองข้างนิ้วชิดกัน วางฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนกล้ามเนื้อแล้วถูขึ้นลงสลับกันตามกล้ามเนื้อ ทำอย่างน้อย 12 ครั้ง
Kneading
เป็นการบีบนวดกล้ามเนื้อ
2 more items...
Beating
เป็นการ
กำมือหลวมๆ ทุบเบาๆ
บริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น ทำสลับขึ้นลงบริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น ทำอย่างน้อย 12 ครั้ง
Hacking
เป็นการ
ใช้สันมือสับเบาๆ
ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยสับสลับกันเร็วๆ
Clapping
เป็นการ
ใช้อุ้งมือตบเบาๆ
โดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งสองข้าง ให้เกิดช่องว่างตรงกลางฝ่ามือตบเบาๆ สลับมือกัน
Stroking ทำเหมือนข้อ 7.1 ทาซ้าประมาณ 5-6 ครั้ง
สวมเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยและจัดให้นอนในท่าที่สบาย
เก็บของเครื่องใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การลูบตัวลดไข้ (Tepid sponge)
จุดประสงค์
ช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนของโลหิตและอวัยวะทางานดีขึ้น
ช่วยให้ประสาทคลายความตึงเครียด ผ่อนคลาย และลดอาการกระสับกระส่าย
ลดอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยป้องกันอาการชักเนื่องจากไข้สูงได้
เป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
การลูบตัวด้วยน้ำและน้าเป็นตัวกลางในการพาความร้อนออกจากร่างกายผู้ป่วย
การเช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัว และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนัง
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
วัตถุประสงค์
กำจัดกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออกหรือ ฝ้าในช่องปาก
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5 นาที เพื่อขจัดคราบหินปูน และเศษอาหาร
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก ต้องทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ สำลีที่ใช้เช็ดทำความสะอาดต้องเปลี่ยนบ่อยๆ
การดูแลความสะอาดของเล็บ
จุดประสงค์
ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
ป้องกันการเกิดเล็บขบ
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
3.แช่มือ หรือเท้าสักครู่ เพื่อให้เล็บและขี้เล็บอ่อนตัวช่วยให้ตัดเล็บและแคะสิ่งสกปรกที่เล็บออกได้ง่ายขึ้น
ยกอ่างน้าออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
ปูกระดาษรอง ตัดเล็บให้ปลายเล็บตรงและข้างไม่โค้งไปตามซอกเล็บ
ปลายเล็บควรปล่อยให้ยาวกว่าปลายนิ้ว
ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว ถ้าเล็บสกปรกมากอาจใช้ปลายตะไบแคะสิ่งสกปรกออก
ใช้ตะไบถูเล็บให้ขอบเล็บเรียบ
เปลี่ยนน้ำ ล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่ง เช็ดให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทาความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดของตา
จุดประสงค์
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
กาจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
วิธีปฏิบัติ
5.เช็ดจากหัวตาไปหางตา เป็นการปูองกันมิให้สิ่งสกปรกถูกดันไป ใน nasolacrimal duct
พลิกตัวผู้ปุวยตะแคงด้านตรงข้าม และทำความสะอาดเหมือนอีกข้าง
ใส่ถุงมือสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
สังเกตลักษณะและจำนวนของขี้ตาถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขต่อไป
ให้ผู้ป่วยนอนนอนตะแคงด้านที่ต้องการทำความสะอาดป้องกันไม่ให้
สิ่งสกปรกเข้าตา
เก็บของใช้ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย สำลีทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ
ยกของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้สะดวกในการใช้
ลงบันทึกทางการพยาบาล
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
การดูแลทำความสะอาดของหู
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
วิธีปฏิบัติ
สวมถุงมือ และmask
5.ใช้สำลีชุบ 0.9% NSS หรือน้ำสะอาด เช็ดทาความสะอาดในช่องหู ใบหู และหลังใบหู แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้ง
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
ลงบันทึกทางการพยาบาล
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
จุดประสงค์
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
วิธีปฏิบัติ
ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก และเช็ดส่วนที่เป็นยางเหนียวของพลาสเตอร์บนผิวหนังออกให้หมด เช็ดด้วยสาลีชุบน้ำเกลือ และเช็ดตามด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์
ใช้ไม้พันสาลีชุบน้ำ หรือ 0.9% NSS บีบพอหมาด เช็ดในรูจมูกเบาโดยรอบ
สวมถุงมือ และmask
ถ้ามีสายที่คาในรูจมูก ใช้ผ้าก๊อซเช็ดสายที่คาในจมูกส่วนที่อยู่นอกจมูก
รวมทั้งบริเวณจมูกให้สะอาดและแห้ง
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะสูง (ถ้าไม่มีข้อห้าม)เพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
เก็บของใช้ไปทาความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ยกของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้สะดวกในการใช้
ลงบันทึกทางการพยาบาล
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
จุดประสงค์
ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยและรู้สึกมีความมั่นใจ
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
วิธีปฏิบัติ
จัดผู้ป่วยนอนหงายทแยงมุมกับเตียง ให้ศีรษะอยู่ริมเตียง
รองผ้าเช็ดตัววางบนผ้าม้วนกลม แล้วรองผ้ายางบนผ้าเช็ดตัวผืนนั้น เพื่อช่วยซับน้าหากหกไหลเลยผ้ายางออกไป
2.จัดวางเครื่องใช้ให้สะดวกแก่การหยิบใช้
เลื่อนรถสระผม เทียบกับขอบเตียงวางศีรษะผู้ป่วย
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ใช้หวีหรือแปรงสางผมให้ทั่ว
ใช้สำลีชุบน้าบีบให้หมาดใส่หูข้างละก้อน ป้องกันน้าเข้าหู
ใช้แก้วน้าตักน้ำราดผมพอเปียก ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะใช้มือทั้งสองข้างเกาหนังศีรษะบริเวณ frontal
ใช้แก้วน้ำตักน้าราดผมให้ทั่ว โดยราดน้ำที่ละครึ่งศีรษะ
รวบปลายผมบิดให้หมาด เอาสำลีออกจากหู เช็ดใบหู รูหูและหน้าหูและหลังหู จนสะอาดทั่ว
ปลดผ้ายางออกจากคอผู้ป่วย
ใช้เครื่องเป่าผม เป่าผมให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหญิง
จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย คลุมผ้าห่มตามแนวขวาง เลื่อนผ้านุ่งขึ้นไปถึงเอว ให้ผู้ป่วยนอนหงายชันเข่าขึ้น (dorsal recumbent position) เหน็บผ้าห่มคลุมขา (drape) ให้เรียบร้อย
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งขับถ่าย สิ่งสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะคาไว้
เสริมสร้างความสุขสบายให้กับผู้ป่วย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกชาย
เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง เช่น ขาหนีบ ฝีเย็บ และบริเวณทวารหนัก ปกติจะชำระให้วันละ 1-2 ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เรียกสั้นว่า P-care หรือ flushing
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การประเมินผู้ปุวย (Health assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
2 การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
2.1 ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การพักผ่อน (Rest) หมายถึง ผ่อนคลาย และมีความสงบทั้งจิตใจและร่างกาย รวมถึงความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์
การนอนหลับ เป็นกระบวนการทางสรรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย
2.2 ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
สงวนพลังงาน
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
2.3 ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
สังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลทางสังคม ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง ความมั่นใจในการทำงานลดลง และมีการใช้ระบบบริการทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
จิตใจอารมณ์
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ได้ง่าย อาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิด โมโหง่าย
ร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่นอาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดศีรษะ
สติปัญญาและการรับรู้
เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลง สมาธิไม่ดี และแก้ไขปัญหาได้ช้า
2.4 วงจรการนอนหลับ
วงจรการนอนหลับปกติ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
1) ช่วงหลับธรรมดา (Non-rapid eye movement sleep: NREM)
แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่หลับตื้นไปจนถึงหลับลึก
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)
การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน ระยะนี้จะถูกปลุกให้ตื่นได้โดยง่าย
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)
ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง
ความมีสติรู้ตัวจะหายไป
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง)
เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่ การนอน
ระยะที่ 4 (หลับลึก)
เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน
2) ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep: REM)
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด
ระยะนี้ช่วยจัดระบบความจำ ทำให้จำเรื่องบางเรื่องได้นานขึ้น ระยะนี้นี่เองเป็นระยะที่คนเราจะฝัน แต่ก็จะตื่นง่าย เพราะสมองยังทำงานเหมือนระยะที่ 1 ของ NREM
สรีรวิทยาของการนอนหลับ
อัตราการเต้นของชีพจรจะลดลง 10-30 ครั้งต่อนาที
การหายใจจะลดลง หายใจลึกและอัตราไม่สม่ำเสมอ
ความดันเลือดซิสโตลิค (Systolic) จะลดลง 20-30 mmHg ขณะหลับสนิท
กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ คลายตัว
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 0.5-1.0 องศาฟาเรนไฮต์
ความเจ็บปวด การได้ยิน การสัมผัส กลิ่น และการมองเห็นจะลดลง
ตากลอกขึ้นหรือเหมือนลืมตา รูม่านตาหดตัว
การผลิตความร้อนลดลง 10-15%
จำนวนปัสสาวะลดลง
2.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
1.1 ปัจจัยภายในส่วนบุคคล
อายุ
เพศ
1.2 ความไม่สุขสบาย
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง ๆ
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความเจ็บปวด
1.3 ความวิตกกังวล
ปัจจัยภายนอก
2.3 แสง
2.4 ความไม่คุ้นสถานที่
2.2 อุณหภูมิ
2.5 กิจกรรมพยาบาล
2.1 เสียง
2.6 อาหาร
2.7 ยา
2.6 การประเมินคุณภาพการนอนหลับและ การนอนหลับที่ผิดปกติ
Hypersomnia เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ
ซึ่งจะแสดงออก ในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ
Insomnia เป็นความผิดปกติของการนอนหลับที่พบบ่อยที่สุด มี 3ลักษณะ คือ
2) การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (Short term insomnia)
3) การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia)
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป มีสาเหตุจาก
โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคสมองเสื่อม วัยทอง
โรคหอบหืดอาการปวด เป็นต้น
อาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด เช่น
สเตียรอยด์ คาเฟอีน ยาแอมเฟตามีน เป็นต้น
โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า (depression)
และภาวะวิตกกังวล (anxiety) เป็นต้น
โรคของการนอนหลับโดยตรง เช่น อาการขากระตุกเป็นพักๆ ระหว่างหลับการหยุดหายใจเป็นพัก ระหว่างหลับ การนอนเกิดขึ้นช้าและตื่นสายกว่าคนทั่วไป
1) การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia)
Parasomnia เป็นพฤติกรรมที่ควรเกิดขณะตื่นแต่กลับเกิดขณะหลับ
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ
ได้แก่ อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ ละเมอพูด ศีรษะโขกกำแพง
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
ได้แก่ ภาวะฝันร้าย ภาวะผีอำ
ความผิดปกติของการตื่น (around disorder)
ได้แก่ อาการสับสน ละเมอเดิน ฝันร้าย
กลุ่มอื่น ๆ
ได้แก่ การนอนกัดฟัน การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ การกรน
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM
ผลในภาพรวมจะทำให้การทางานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกายอ่อนล้า และขาดสมาธิ
1.ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM
2.7 การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และมีความปลอดภัย
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วยเพื่อความสุขสบาย
ท่านอนราบศีรษะสูง (Fowler’s position)
ท่านอนคว่ำ (Prone position)
ท่านอนหงายราบ (Dorsal position หรือ Supine position)
ท่านอนตะแคง (Lateral position)
การส่งเสริมให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
สิ่งแวดล้อมที่ดี
2.8 การทำเตียง
การทำเตียง หมายถึง การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาด เรียบร้อยการทำเตียง มี 4 ชนิด คือ
2) การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้ (Open/unoccupied bed)
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาอาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้ดี หรือต้องพึ่งผู้อื่นในบางส่วน หรือสามารถนั่งได้เป็นเวลานาน
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
3) การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้ (Occupied bed)
เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือได้ต้องพึ่งผู้อื่นในการทากิจกรรม
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
1) การทำเตียงว่าง (Close bed)
เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ปุวย เพื่อเตรียมรับ
ผู้ป่วยใหม่ หรือทำเตียงที่ผู้ป่วยสามารถลงเดินช่วยเหลือตนเองได้
จุดประสงค์
จัดสิ่งแวดล้อมสะอาดให้ส่งเสริมความสุขสบาย ให้หอผู้ป่วยเป็นระเบียบเรียบร้อย
สวยงามน่าอยู่พักอาศัย
จัดเตรียมความพร้อมเตรียมรับผู้ป่วยใหม่
4) การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ปุวยที่ได้รับยาสลบ (Surgical/ether/anesthetic bed)
เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ
จุดประสงค์
เตรียมรับผู้ป่วยหลังจากไปรับการผ่าตัด หรือการตรวจพิเศษ
เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยสาลักหรือลิ้นตก
และเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะอันตราย
2.9 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)