Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม - Coggle Diagram
การดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามมีต้นกำเนิดที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย
มีผู้นับถือมากเป็นอับสอง...รองจาก ศาสนาคริสต์
“อิสลาม” แปลว่า การยอมจำนน การปฏิบัติตาม และการนอบน้อม (ต่อพระเจ้าคือ พระอัลลอฮ์)
ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมูฮัมหมัด
พระคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม คือ อัลกุรอาน
ผู้นับถือศาสนาอิสลาม คือ มุสลิม เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า ผู้ที่นอบน้อม ยอมจำนนนต่อข้อบัญญัติพระอัลลอฮ์
ศาสนสถานของชาวมุสลิมคือ มัสยิด หรือ สุเหร่า (แปลว่า สถานที่กราบ) เป็นที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เป็นโรงเรียน เป็นที่พบปะชุมนุม ทำบุญ เลี้ยงฉลอง จัดพิธีมงคลสมรส สถานที่พักพิงของผู้ไร้ที่พำนัก
หลักการอันเป็นข้อบังคับ สำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ จะต้องประพฤติ เริ่มตั้งแต่อายุ 3 ขวบเป็นต้นไป
หลักศรัทธา ความเชื่อในศาสนา
หลักปฏิบัติหน้าที่ในศาสนา (อิบาดะห์)
หลักคุณธรรม (อิห์ซาน)
เป็นหลักเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่มุสลิมทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการดำเนินวิถีชีวิต
ฮาลาล Halal คือ การกระทำที่อนุญาต
การแต่งกาย การปกปิดส่วนควรสงวนของร่างกาย โดยแยกออกเป็นเพศได้ดังนี้
เพศชาย ให้ปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า
ฮารอม Harom คือ การกระทำที่ต้องห้าม
เพศหญิง ให้ปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
ทุกคนต้องเรียนรู้หลักการของศาสนาอิสลาม ไม่มีขอยกเว้นเป็นหน้าที่พึงปฏิบัติ
หลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม
ศรัทธาในพระเจ้าเป็นฐาน ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า คือ พระอัลลอฮ์ อย่างไม่มีข้อสงสัย พระเจ้าทรงเป็นผู้อยู่ก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งในเอกภพ พระเจ้าสร้างอดัม (อิสลามเรียกท่านนบีอาดัม)
ศรัทธาในมลาอิกะฮ์ คือ บ่าวผู้สัตย์ซื่อของพระอัลลอฮ์ ไม่มีรูปกาย ไม่มีเพศ ไม่มีการดำเนินชีวิตเหมือนมนุษย์ เป็นสื่อกลางระหว่างพระอัลลอฮ์กับมนุษย์
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต หรือ ศาสดาซึ่งมี 258 ท่านที่ระบุไว้ในพระคัมภีร์ อัลกุรอาน
ศรัทธาในพระคัมภีร์อัลกุรอาน และมีคัมภีร์อื่นๆ เช่น นบีดาวูด(ดาวิด) นบีมูซา (โมเสส) นบีอีซา (เยซู)
*
ศรัทธาในวันกียามะฮ์ หรือ วันปรโลก วันคืนชีพ หลังจากวันสิ้นโลก มนุษย์ทุกคนรอวันตัดสินชำระความ
ศรัทธาในการลิขิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า
สัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม
รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวและดาวอยู่ข้างบน
ดาว คือเครื่องหมายนำทาง บอกทิศเมื่อมนุษย์ต้องเดินทางกลางทะเล หรือทะเลทราย ชาวอาหรับสมัยก่อนเดินทางตอนกลางคืนเพราะกลางวันอากาศกลางทะเลทรายจะร้อนมาก ดาวคือเครื่องหมายบอกทิศทางในการเดินทาง
เดือนครึ่งเสี้ยว คือเครื่องหมายของกาลเวลา เดือนส่งผลถึงระดับน้ำขึ้นลงที่แตกต่างกัน เดือน คือ การกำหนดเวลาเริ่มต้นของเดือนใหม่และสิ้นสุดเดือนเก่า เดือนคือเวลาที่ผ่านไปที่มนุษย์ต้องใคร่ครวญถึงการกระทำของตนเอง สัญลักษณ์รูปเดือนครึ่งเสี้ยวสำคัญที่สุด จะเป็นศิริมงคลที่สุดของมุสลิมคือ ในเดือนรอมฎอน ที่ต้องอาศัยการดูดวงจันทร์เพื่อเข้าสู่เดือนแห่งการถือศีล-อด
สองสิ่งนี้เป็นสิ่งเตือนใจและเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ชาติมุสลิมจึงให้ความสำคัญและนำมาเป็นสัญลักษ์ของอิสลาม
ที่มา
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
เป็นคณะผู้บริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งระบุให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการ
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปีทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทน
นิกายซุนนี (Sunni)
มีผู้นับถือ 75-90%
ซุนนี แปลว่า มรรคา หรือจารีต เป็นนิกายของศาสนาอิสลามที่นับถือคัมภีร์เล่มหนึ่งชื่อ ”ซุมนา เป็นคัมภีร์อรรถกถาของคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้นับถือคัมภีร์นี้เป็นผู้ที่เคร่งครัด ต้องการให้คัมภีร์เดิมอ่านง่ายและเข้าใจง่ายขึ้นจึงได้แต่งอรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์เดิม
เป็นพวกออร์ธอดอกซ์ของอิสลาม และไม่ชอบให้ใครมาเปลี่ยนแปลงคำสอนที่มีอยู่เดิมในคัมภีร์
เพราะป้องกันการคลาดเคลื่อนในหลักคำสอนแท้จริง
พวกซุนนีถือว่าภายหลังจากที่นบีมุฮัมมัดเสียชีวิตแล้ว และได้มีกาหลิบที่สืบต่อมาอีกเพียง 4 คนเท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่มีกาหลิบสืบต่อ มีแต่ผู้นับถือศาสนาอิสลามธรรมดา
นิกายนี้ใช้หมวกสีขาวเป็นสัญลักษณ์และเป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดประมาณ 700 ล้านคน ถือว่าเป็นนิกายดั้งเดิม
ส่วนมากมีอยู่ในประเทศสาธารณรัฐตุรกี ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกา และชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย
นิกายชีอะฮ์ หรือชิเอฮ์ (Shiah)
มีผู้นับถือ 10-20%
ชีอะฮ์ หรือชิเอฮ์ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตาม หรือสาวก
แยกออกมาจากนิกายซุนนี พวกชีอะฮ์ถือว่าต่อจากกาหลิบอะลีมาแล้ว เชื้อสายของอาลีควรจะได้รับการแต่งตั้งหรือทำการเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าทางศาสนาออกมาอีก
เชื่อกันว่าอิหม่าม หมายถึง หัวหน้าสุเหร่าหรือมัสยิด ซึ่งเป็นผู้สืบต่อศาสนาจากนบีมุฮัมมัด
อิหม่ามเป็นผู้หมดมลทินจากบาป และ เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เป็นผู้แปลถ้อยคำของพระเจ้าที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน
นิกายชีอะฮ์มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศอิหร่าน อิรัก อินเดีย อัฟกานิสถาน และซีเรีย
หลักปฏิบัติหน้าที่ในศาสนาหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม เรียกว่า อิบาดะห์
แบ่งได้เป็น 5 ประการ คือ
การปฏิญาณตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม
การถือศีลอด
เป็นการฝึกฝนให้ตัวเองมีจิตผูกพัน และยำเกรงต่อพระเจ้าเพื่อการดำเนินชีวิตในทุกด้านตามคำบัญชาของพระองค์
เป็นการอดอาหารในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวนั้น จะทำให้ร่างกายได้ละลายส่วนเกินของไขมันที่สะสมเอาไว้
เป็นการเพิ่มพูนภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเคยชินกับความหิว และการรับประทานอาหารตรงตามเวลาใน 24 ชั่วโมง
ผู้ถือศีลอดจะรับประทานอาหารสองมื้อ คือ มื้อตอนดึกถึงก่อนฟ้ารุ่งสาง และมื้อค่ำตอนเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้า
การถือศีลอดทำให้เกิดการประหยัดทั้งอาหารของโลก และสิ่งฟุ่มเฟือยสิ่งต่างๆ
การบริจาคศาสนทานซะกาต
การละหมาด หรือ สวด
(นมาซ หรือ นมัสการ) 5 เวลาต่อวัน
เวลากลางวัน
เวลาเย็น
เวลาพลบค่ำ
เวลากลางคืน
การประกอบพิธีฮัจญ์
วัฒนธรรมแต่งกายของมุสลิม
ทั้งชายและหญิงมีสาระสำคัญเหมือนกันคือ มิดชิดและปิดศีรษะ เรียกว่า การสวมใส่ “ ฮิญาบ “
รูปแบบนั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องตามรูปแบบของอาหรับ หรือของประเทศใด จะเป็นรูปแบบใดก็ได้
นอกจาก ความมิดชิดแล้ว อิสลามยังบัญญัติไว้ในเรื่องของความสะอาด กล่าวคือเครื่องแต่งกายทุกชิ้นจะต้องสะอาดหมดจด ไม่มีกลิ่นอับ จะต้องหมั่นซักเป็นประจำ เมื่อมีรอยขาดก็จะเย็บหรือชุน
ขอให้อยู่ในลักษณะของการปกปิดโดยมิดชิดดังกล่าวเท่านั้น ถือเป็นการแต่งกายที่ผิดต่อบทบัญญัติของอิสลาม
พิธีสุหนัต
จะมีการเชิญญาติพี่น้องอย่างน้อย 2-3 คน มาร่วมเป็นสักขีพยาน
จะมีการสวมพวงมาลัยให้เด็กก่อนแล้วจึงผ่าหรือตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ เสร็จแล้วให้ของขวัญแก่เด็ก
การตัดหนังหุ้มปลายองคชาติซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่และเป็นสิ่งควรสรรเสริญ ทั้งเป็นธรรมเนียมเบื้องต้นเพื่อประโยชน์สำหรับการแต่งงาน
ปัจจุบันนี้ เมื่อไปคลอดที่โรงพยาบาลอาจจะให้แพทย์ที่ทำคลอดทารกเพศชาย ตัดหนังหุ้มปลายองคชาตของทารกนั้น เป็นการทำพิธีสุหนัตด้วยเลยก็ได้
เด็กชายมุสลิมอายุระหว่าง 2-10 ขวบ จะต้องได้รับพิธีสุหนัต
พิธีถือศีลอด
เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ชาวมุสลิมปฏิบัติในเดือนรอมฎอน ตลอด 1 เดือน
เป็นการอดอาหารการดื่มกินและเว้นการร่วมประเวณี และการทำชั่วต่างๆ อย่างเคร่งครัดเป็นพิเศษในช่วงถือศีลอด
มุสลิมทุกคนควรจะได้ถือปฏิบัติกันโดยเคร่งครัด (ยกเว้นผู้ป่วย / มีประจำเดือน / สตรีมีครรภ์)
ข้องดเว้นจากการกระทำต่างๆ ดังต่อไปนี้ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนถึงตะวันตกในเดือนรอมฎอนปี 2563 ในช่วงวันที่ 23 เม.ย. – 22 พ.ค.
งดการกินและการดื่ม
งดการใช้วัตถุภายนอกเข้าไปในอวัยวะภายใน
งดการมีเพศสัมพันธ์
งดการแสดงอารมณ์ร้ายและความผิดต่างๆ
มุสลิมที่บรรลุนิติภาวะทางร่างกายต้องละหมาดและต้องถือศีลอดทุกคน ยกเว้นสำหรับบุคคลบางประเภทต่อไปนี้
บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมกรแบกหาม
คนป่วยหรือสุขภาพไม่ดี
หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด
หญิงที่มีครรภ์ที่เกรงว่าจะเป็นอันตรายแก่บุตร
บุคคลที่อยู่ในระหว่างเดินทาง
คนชรา
การบริจาคศาสนทาน “ซะกาต”
การบริจาคซะกาต (การจ่ายภาษีทางศาสนาแก่คนยากจน) คือ การจ่ายทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่งที่มุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเมื่อครบปี
เพื่อผดุงสังคมลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพย์สินเงินทองหรือสินแร่ที่เหลือใช้ในรอบปี แล้วไม่ทำการบริจาคผู้นั้นเป็นบุคคลหนึ่งที่ทำผิดบทบัญญัติของอิสลาม
ผู้มีสิทธิรับซะกาต 8 ประเภทคือ ผู้ขัดสน (คนยากจน แม่หม้าย เด็กพร้า) คนเข็ญใจ (พิการ) ผู้เข้าอิสลามและถูกญาติมิตรตัดขาด ผู้มีหนี้สินล้นตัว (ไม่ใช่มีหนี้เพราะประพฤติมิชอบ) ผู้พลัดถิ่น (ไม่สามารถกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม) ทาสหรือเชลยเจ้าหน้าที่ดูแลกองทุนซะกาต และเพื่อประโยชน์ต่อสังคมในวิถีของพระอัลลอฮ์ (เสาวนีย์, 2535)
วัตถุประสงค์ของการบริจาคซะกาต
เพื่อชำระจิตใจของผู้บริจาคให้บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภ และเห็นแก่ตัว
เพื่อปลูกฝังให้มุสลิมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งกันและกัน
เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมด้วยวิธีการสังคมสงเคราะห์
พิธีฮัจญ์สำหรับชาวมุสลิมผู้มีฐานะดีมีสุขภาพดีบรรลุศาสนาภาพโดยผู้ที่ควรไปเข้าร่วมปฎิบัติในพิธีฮัจญ์ ได้แก่
ผู้ชายอายุ 15 ปี และผู้หญิง 19 ปี
ผู้หญิง 19 ปี
การประกอบพิธีฮัจญ์
คือการเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายเฉพาะอันหนึ่งในแง่กฎหมายของอิสลามคือการไปเยี่ยมหรือการเดินทางไปมักกะฮ์ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมทั่วโลก
เป็นสถานที่พบปะระหว่างมุสลิม คำนี้มีความหมายว่า ออกเดินทางไปประกอบ พิธีฮัจญ์ ในชีวิตหนึ่ง มุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ มหานครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบียอย่างน้อย 1 ครั้ง เป็นข้อบังคับสำหรับทุกคนที่มีความสามารถพอจะเดินทางไปได้ และไม่ทำให้ครอบครัวเดือดร้อนระหว่างเดินทาง กำหนดเวลาของการไปทำพิธีฮัจญ์ในปีหนึ่งๆ มุสลิมทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมกัน 1 ครั้ง
สถานที่ในการประกอบพิธีฮัจญ์มีเพียงแห่งเดียวโลกมุสลิม ไม่สามารถจะไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ
สถานที่นี้มีทั้งราชาและยาจก นายและบ่าว ผิวขาว ผิวดำ ทุกคนแต่งกายเหมือนกันด้วยผ้าขาวเพียง 2 ชิ้น ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นพี่น้องกัน หัวใจจำนวนล้านดวงในที่เดียวกันต่างมุ่งอยู่ที่พระเจ้าองค์เดียวกัน
ต่างอยู่ในความสำรวม ความนอบน้อมต่อพระองค์ ขอพรจากพระองค์ เป็นการมาหยุด มาพักแรมอยู่ด้วยกันด้วยความสงบ
บุคคลที่มีความสามารถในการประกอบพิธีฮัจญ์ หมายถึง มุสลิมที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญาที่สมบูรณ์ที่มีทรัพย์สินเพียงพอในการใช้จ่ายโดยมิต้องเป็นหนี้สินและเดือดร้อนบุคคลที่อยู่ข้างหลัง และเส้นทางที่เดินทางไปจะต้องปลอดภัย
ต้องเป็นผู้ที่ประกอบศาสนกิจนอกเหนือจากการละหมาด การถือศีลอด การบริจาคซะกาต การไปประกอบพิธีฮัจญ์มิใช่เพื่อโอ้อวดหรือเพื่อแสดงความมั่งคั่งของตน แต่เป็นการไปเพื่อทดสอบความศรัทธาและความเข้มแข็งอดทน
ผู้ประสงค์จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี พ.ศ.2563(ฮ.ศ.1441) สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอทุกแห่ง หรือลงทะเบียนผ่านผู้ประกอบกิจการฮัจย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม - 30 ธันวาคม 2562 โดยใช้หนังสือแสดงความประสงค์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในการลงทะเบียน
25 มิย.63 ประกาศจากสำนักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ให้ชะลอการลงนามไปก่อน เนื่องจากราชอาณาจักประเทศซาอุดีอาราเบียยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรค COVID19
แนวคิดสำคัญความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป
ห้ามทำแท้ง การทำแท้งจะทำได้ในกรณีจำเป็นที่ต้องรักษาชีวิตของแม่
การขลิบอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่แนะนำให้ปฏิบัติ
การช่วยให้ฆ่าตัวตายหรือการุนฆาตเป็นเรื่องต้องห้าม
การช่วยผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการใส่เครื่องช่วยหายใจโดยผู้ป่วยมีภาวะเป็นผักเป็นเรื่องที่ไม่สนับสนุนให้ทำ
การผ่าศพชันสูตรเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ยกเว้นเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
หลังคลอดจะมีการขอรกเอาไปฝังต้องแจ้งให้ทราบหากมีข้อจำกัดไม่สามารถให้นำรกไปได้
การให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล
มุสลิมไม่ได้ห้ามการได้รับบริการสุขภาพจากเพศตรงข้าม
ผู้ให้บริการควรเป็นเพศเดียวกับผู้ป่วย
ผู้หญิงมุสลิมจะใส่เสื้อผ้าที่มีการปกคลุมร่างกายหากต้องการตรวจควรมีเสื้อคลุมที่ยาวสามารถปกผิดร่างกายได้ทั่ว หากไม่สามารถจัดหาให้ได้ควรจะอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าของตนเองได้
ถ้ามีความจำเป็นต้องให้บริการจากผู้รักษาเพศตรงข้าม เช่น แพทย์เป็นผู้ชายควรให้สามีของผู้ป่วยเข้าไปด้วยหรือเป็นผู้หญิงที่ผู้ป่วยอนุญาตให้เข้าไปได้
จำกัดการสบตาไม่จ้องผู้ป่วยมากเกินไป
การดูแลเรื่องอาหาร
มุสลิมจะล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารควรมีการเตรียมสถานที่
การอดอาหารจะทำปีละครั้งช่วงเดือนรอมฎอน ยกเว้นผู้ป่วยและหญิงตั้งครรภ์
มุสลิมจะใช้มือขวาในการจับอาหารและเครื่องดื่มในการประทาน หากผู้ดูแลสัมผัสอาหารควรใช้มือขวา
การดูแลอาหารเป็นอาหาร ฮาลาล ไม่มีหมู "ไม่มีแอลกอฮอล์"
การดูแลทางจิตวิญญาณ
จัดสถานที่ละหมาด
มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทำพิธี หรือจัดทำอ่างน้ำสำหรับอาบเพื่อทำการสวดทางศาสนา
การสวดมนต์จะทำวันละ 5 ครั้ง
ผู้มีข้อจำกัดด้านสติปัญญา ผู้หญิงหลังคลอด และ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะเป็นข้อยกเว้น การสวดมนต์จะหันหน้าไปทางเมืองเมกกะ (หรือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก)
การดูแลผู้ป่วยระสุดท้าย
การให้การดูแลในทุกด้านของผู้ป่วย ที่กำลังใจเจ็บป่วยจากพยาธิสภาพที่กำลังลุกลามและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์มุ่งแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่
บรรเทาความเจ็บปวด
ปัญหาทางกายภาพต่างๆ
ปัญหาทางสุขภาพจิต
สังคม
จิตวิญญาณ
เป็นการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ด้วยความรัก ความเมตตา เพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ยังเหลืออยู่ให้แก่ผู้ป่วย มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล
เป้าหมายการดูแล
ยอมรับเรื่องการมีชีวิตและการตายตามบริบทของศาสนาและวัฒนธรรม
บูรณาการมิติทางสังคม จิตใจ และจิตวิญญาณ
ลดความเจ็บปวดและอาการไม่สบายต่างๆ
ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือญาติ
มีการทำงานเป็นทีมเพื่อการดูแลผู้ป่วยและญาติอย่างมีคุณภาพ
การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตชาวมุสลิม
มุสลิมต้องยอมรับการเจ็บป่วย ว่าเป็นสิ่งที่พระอัลลอฮ์กำหนดมาให้และต้องแสวงหาวิธีการรักษา การเจ็บป่วยเป็นสิทธิของพระอัลลอฮ์เพียงผู้เดียวเท่านั้น ศาสนาอิสลามได้สอนให้ทุกคนเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระอัลลอฮ์เพียงผู้เดียวทั้งหมด
2.ผู้ป่วยต้องอดทนต่อการเจ็บป่วย
การเจ็บป่วยย่อมได้รับการลดบาปและได้กุศล
ผู้ป่วยต้องเอามือตนเองวางบนส่วนที่ตนเจ็บ แล้วให้การละหมาด หรือขอพรจากอัลลอฮ์
ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อล ฯ เคยปฏิบัติเป็นตัวอย่างเมื่อท่านป่วยท่านเอามือของท่านเองวางบนส่วนที่ท่านรู้สึกปวด หลังจากนั้นก็ได้ขอพรสามครั้ง
ในระยะสุดท้ายของชีวิต นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การรำลึกถึงพระอัลลอฮ์ทำให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่สงบสุข ลดความทนทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดจากโรคที่เป็นอยู่หรือพ้นความทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะสุดท้ายของชีวิต อิสลามเน้นให้ผู้ป่วยรำลึกถึงพระอัลลอฮ์และใช้ความอดทนเป็นหลัก
คำขอพรดังกล่าวมีความว่า ในนามของพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮ์) ฉันได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองและให้อำนาจปกครองของพระองค์จากความร้ายแรงของโรคที่ฉันกำลังประสบและที่ฉันกำลังเจ็บปวด
4 .การขอพรจากพระอัลลอฮ์ พร้อมจับมือผู้ป่วยหรือสัมผัส ปลอบโยนให้ผู้ป่วยมีอายุที่ยืนยาวและลดความทุกข์จากการเจ็บป่วย การขอพรเป็นสิ่งที่ควรกระทำ เพื่อให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมาน
การส่งเสริมกำลังใจ ตักเตือนให้เขาระลึกถึงความอดทน ทำให้เขารู้สึกอบอุ่น และเชื่อมั่นว่าจะหายป่วย ดังคำกล่าวของท่านนบีมูฮำหมัด(ศ็อลฯ)เมื่อใดที่เจ้าไปเยี่ยมคนป่วย จงทำให้เขารู้สึกอยากมีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อไป และจงขอพรให้เขามีอายุที่ยืนยาวต่อไป ผู้ที่ปลอบโยนผู้ป่วยเขาจะได้เก็บผลไม้จากสรวงสวรรค์
6 ต้องไม่ตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ผู้ป่วยและไม่แสดงท่าทีรังเกียจ ญาติต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วย ถ้าไม่ดูแลถือว่าเป็นการกระทำที่สังคมรังเกียจ
การอาบน้ำศพ และ ห่อศพ
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายของมุสลิม
อิสลามไม่ให้มนุษย์ฆ่าตัวตาย แต่ทุกคนต้องรำลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อทุกคนได้เตรียมตัวเตรียมใจและพร้อมที่จะกลับไปสู่พระอัลเลาะฮ์ เปรียบเสมือนการก้าวผ่านจากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง
ภาวะใกล้ตายเป็นภาวะที่มุสลิมต้องการอยู่ใกล้พระอัลเลาะฮ์มากที่สุด และเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมาน
ชีวิตมนุษย์มาจากพระองค์ประทานมาให้สุดท้ายต้องกลับไปหาพระองค์
พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ให้มนุษย์เกิดและให้มนุษย์ตาย
เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกคนต้องเผชิญและยอมรับเพราะเป็นความประสงค์ของพระอัลเลาะฮ์
พระเจ้าเป็นผู้ทรงกำหนดอายุขัยของมนุษย์
มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ใดและเมื่อใดเขาจะตาย
มนุษย์ต้องรำลึกถึงความตายให้มาก
ความตายเป็นข่าวดีและสบายใจสำหรับผู้ศรัทธา
การจัดการศพตามวิถีอิสลาม
สำหรับมุสลิมที่ตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หรือด้วยพิษบาดแผลที่กำลังรักษาอยู่
นำศพมาวางบนผ้าขาวซึ่งปูไว้ 3 ชั้น นำมือทั้งสองไว้ที่ระดับอกให้มือขวาทับบนมือซ้ายแล้วห่อด้วยขาว 3 ชั้น
นำศพไปบรรจุในหีบศพถ้าหากอยู่ในที่กันดาร ไม่ใช้หีบศพก็ได้แต่ให้ทำหลุมเพื่อเตรียมฝัง
ให้นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรกที่ติดอยู่รีดท้อง เพื่อให้สิ่งปรกภายในเคลื่อนที่ออกมา แล้วรดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
ฝังในหลุมลึก คะเนพอไม่ให้มีกลิ่นขึ้น หรือสัตว์ป่าคุ้ยเขี่ยขึ้นมาได้
เมื่อฝังในที่ใดแล้ว ห้ามขุดศพนั้นขึ้นมาไม่ว่าประการใด ๆ
การฝังให้วางศพนอนตะแคงข้างขวา หันหน้าศพไปทางทิศตะวันตก แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมากลบไปจนหมด
หากจำเป็นต้องรักษาศพ ให้รักษาไว้ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ถ้าปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นทางศาสนาถือว่าเป็นการบาป
ข้อแนะนำในการไปเยี่ยมเคารพศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม
กรณีศพอยู่ที่บ้าน
นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรก รดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
นำศพมาวางบนผ้าข้าวซึ่งปูไว้ 3 ชั้น หรือนำศพบรรจุในหีบศพ
ผู้ไปเยี่ยมเคารพศพ ควรไปแสดงไว้อาลัยกับญาติที่มีชีวิตอยู่ เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพ
ทำความเคารพศพ โดยกล่าวคำไว้อาลัยได้ (ไม่นิยมนำพวงหรีดไปวาง)
มอบเงินซองให้เจ้าภาพ
กรณีศพอยู่ที่มัสยิดหรือสุเหร่า
ผู้ร่วมพิธีจะรอเคารพศพก่อนพิธีละหมาด
ผู้ร่วมพิธีมุ่งไปแสดงความเสียใจกับญาติ
พิธีฝังจะเป็นพิธีของญาติ ๆ
มอบเงินซองให้เจ้าภาพ
พิธีศพ
เมื่อมี “มัยยิสหรือมัยยัต” (คนตาย) ขึ้นในหมู่บ้าน เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้อง ไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอรับคำเชิญหรือการ์ดเชิญ
ให้แต่งกายธรรมดาไม่ต้องแต่งชุดดำ เพราะไม่มีการไว้ทุกข์ และการไปบ้านผู้ตาย จะต้องไม่ไปเป็นภาระแก่เจ้าของบ้านโดยไปรับประทานอาหารหรือแม้แต่น้ำ
ก่อนนำไปฝัง จะต้องนำไปยังมัสยิดเพื่อละหมาดให้ผู้ตายและอวยพรขอพรให้แก่ผู้ตาย
ให้รีบไปส่งผู้ตายหรือศพยังสุสาน และให้รีบละหมาด
(บทสวดสำหรับผู้เสียชีวิต/คนตาย)
เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว จึงนำผู้ตายไปฝังยังหลุมที่ขุดเตรียมไว้ในท่านอน
ต้องจัดการฝังให้เรียบร้อยภายใน 24 ชั่วโมง
ฝังเสร็จจะกลบดินหลุมฝังให้นูนขึ้นมา และปักไม้ธรรมดา ไว้ที่หลุมฝังศพ จะไม่มีการโบกปูนหรือทำให้ถาวรเพื่อการไปเคารพบูชาที่หลุมฝังศพอย่างเด็ดขาด
การอุทิศศพ เมื่อผู้ตายสั่งเสียมอบร่างกายศพ หรือบริจาคอวัยวะ
ผู้สั่งเสียต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบ คือ บรรลุนิติภาวะมีสติสัมปชัญญะจริงจัง และยินยอมในการบริจาคอวัยวะ
คำสั่งเสียบริจาคนั้นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร
จุดประสงค์ในการถ่ายอวัยวะนั้นเพราะความจำเป็นทางการแพทย์
จุดประสงค์ต้องไม่ใช่เพื่อการค้า แสวงหากำไร แลกเปลี่ยนหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ
อวัยวะที่ผู้สั่งเสียได้แสดงเจตนาบริจาคนั้น ต้องไม่ใช่ส่วนที่ค้านกับหลักการและคำสอน
คาดการณ์ได้ว่าการผ่าตัดถ่ายอวัยวะจากผู้ตายที่ได้สั่งเสียไว้ไปสู่ผู้ที่ยังมีชีวิต จะต้องประสบผลค่อนข้างสูง
ดำเนินการตามคำสั่งเสียได้ก็เมื่อผู้สั่งเสียตายเท่านั้น