Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
การส่งเสริมสุขอนามัย
สุขอนามัย
หลักการและความรู้ของการคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค โดยการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในการส่งเสริมความสะอาดเพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี
สุขอนามัยส่วนบุคคล
การดูแลตนเอง เช่น อาบน้ำ ขับถ่าย ปัสสาวะ อุจจาระ
การดูแลสุขอนามัยทั่วไปของร่างกาย เช่น การแต่งตัว ออกกำลัง และการพักผ่อนนอนหลับ ซึงขึ้นอยู่กับบุคคล และปฏิบัติตนเองในชีวิตประจำวันของมนุษย์ในขณะที่บุคคลนั้นมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
การส่งเสริมสุขอานามัย
ส่งเสริมให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง คงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค โดยการดูแลความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกาย ได้แก่ เล็บ ผิวหนัง ผม ปาก ฟัน ตา หู จมูก และอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
การทำความสะอาดร่างกายตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกๆวัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
พยาบาลจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาล เพื่อช่วยขจัดสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพที่ดีและมีความสุข
ปัจจัยที่มีอิทธิพล
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทราบประโยชน์และโทษ ผู้ป่วยต้องมีแรงจูงใจที่จะดูแลตนเอง เรียนรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ
เศรษฐกิจ
บุคคลมีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผม ปาก ฟันและให้เวลากับการดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล หากเศรษฐกิจไม่ดี ผู้ป่วยอาจต้องทำงานเพื่อหารายได้จนไม่มีเวลาดูแลตนเอง
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือ เจ็บปวด มีการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต ทำให้ขาดความสนใจ ละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน การดำเนินชีวิตในเขตเมืองและเขตชนบท จะมีการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันส่งผลให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมีความต่างกัน
การเจ็บป่วย
ในภาวะการเจ็บป่วย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
สิ่งแวดล้อม
อากาศร้อนทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
เพศ
ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
ความชอบ
เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลมาจากครอบครัว โรงเรียน และปลูกฝังจนเป็นอุปนิสัยในการดูแลตนเองด้านความสะอาดร่างกาย
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
ช่วงเวลาในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น(Afternoon care/P.M care)
การพยาบาลตอนก่อนนอน(Evening care/Hour of sleep care/H.S care)
การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/A.M care)
การพยาบาลเมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ(As needed care/P.r.N care)
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด( Early morning care)
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดของตา
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
การดูแลความสะอาดของเล็บ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล(Planning)
กำหนดวัตถุและเกณฑ์การประเมิน
เลือกกิจกรรมการดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาความต้องการของผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
ปฏิบัติการดูแลความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ การนวดหลัง การทำความสะอาดปากและฟัน เส้นผมและหนังศีรษะ และอวัยวะสืบพันธุ์
การวินิจฉัยทางการพยาบาล(Nursing diagnosis)
มีความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรค...
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่องจากเป็นอัมพาต...
ไม่สนใจดูแลความสะอาดร่างกายด้วยตนเองเนื่องจากมีความเครียด...
พร่องความสามารถในการดูแลความสะอาดร่างกายเนื่องจาก...
การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
การประเมินผู้ป่วย(Health assessment)
ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดูแล
ประเมินผิวหนัง ช่องปาก เส้นผมและหนังศีรษะ ตา หู จมูก
ประเมินความชอบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ป่วย
ประเมินระดับความสามารถในการดูแลตนเอง
การดูแลทำความสะอาดหู
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/การอาบน้ำ(Bathing)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน(Partial bath)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์(Complete bed bath)
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ(Bathing in bath room/Shower)