Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศาสนาอิสลาม - Coggle Diagram
ศาสนาอิสลาม
หลักการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
แนวคิดสำคัญ : ความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพโดยทั่วไป
การช่วยผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการใส่เครื่องช่วยหายใจโดยผู้ป่วยมีภาวะเป็นผักเป็นเรื่องที่ไม่สนับสนุนให้ทำ
การผ่าศพชันสูตรเป็นสิ่งที่ต้องห้าม....ยกเว้นเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
การช่วยให้ฆ่าตัวตายหรือการุนฆาตเป็นเรื่องต้องห้าม
หลังคลอดจะมีการขอรกเอาไปฝังต้องแจ้งให้ทราบ หากมีข้อจำกัดไม่สามารถให้นำรกไปได้
การขลิบอวัยวะเพศชายเป็นเรื่องที่แนะนำให้ปฏิบัติ
ห้ามทำแท้ง การทำแท้งจะทำได้ในกรณีจำเป็นที่ต้องรักษาชีวิตของแม่
การให้บริการทางการแพทย์และพยาบาล
มุสลิมไม่ได้ห้ามการได้รับบริการสุขภาพจากเพศตรงข้าม
ผู้ให้บริการควรเป็นเพศเดียวกับผู้ป่วย
ผู้หญิงมุสลิมจะใส่เสื้อผ้าที่มีการปกคลุมร่างกายหากต้องการตรวจควรมีเสื้อคลุมที่ยาวสามารถปกผิดร่างกายได้ทั่ว หากไม่สามารถจัดหาให้ได้ควรจะอนุญาตให้ใส่เสื้อผ้าของตนเองได้
ถ้ามีความจำเป็นต้องให้บริการจากผู้รักษาเพศตรงข้าม เช่น แพทย์เป็นผู้ชายควรให้สามีของผู้ป่วยเข้าไปด้วย หรือเป็นผู้หญิงที่ผู้ป่วยอนุญาตให้เข้าไปได้
จำกัดการสบตาไม่จ้องผู้ป่วยมากเกินไป
การดูแลเรื่องอาหาร
การอดอาหารจะทำปีละครั้งช่วงเดือนรอมฎอน ยกเว้นผู้ป่วยและหญิงตั้งครรภ์
มุสลิมจะล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหารควรมีการเตรียมสถานที่
การดูแลอาหารเป็นอาหาร ฮาลาล
ไม่มีหมู
ไม่มีแอลกอฮอล์
มุสลิมจะใช้มือขวาในการจับอาหารและเครื่องดื่มในการประทาน หากผู้ดูแลสัมผัสอาหารควรใช้มือขวา
การดูแลทางจิตวิญญาณ
การสวดมนต์จะทำวันละ 5 ครั้ง
ผู้มีข้อจำกัดด้านสติปัญญา ผู้หญิงหลังคลอด และ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะเป็นข้อยกเว้น การสวดมนต์จะหันหน้าไปทางเมืองเมกกะ (หรือหันหน้าไปทางทิศตะวันตก)
มีสถานที่ล้างเท้าก่อนทำพิธี หรือจัดทำอ่างน้ำสำหรับอาบเพื่อทำการสวดทางศาสนา
ควรเอาสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาอื่นออกจากห้องผู้ป่วย
จัดสถานที่ละหมาด
การดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้าย
การให้การดูแลในทุกด้านของผู้ป่วย ที่กำลังใจเจ็บป่วยจากพยาธิสภาพที่กำลังลุกลามและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์มุ่งแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ บรรเทาความเจ็บปวด ปัญหาทางกายภาพต่างๆ ปัญหาทางสุขภาพจิต สังคม และจิตวิญญาณ โดยมุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ด้วยความรัก ความเมตตา เพื่อลดความทุกข์ทรมานและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ยังเหลืออยู่ให้แก่ผู้ป่วย มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล
ความเชื่อเกี่ยวกับความตายของมุสลิม
พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้ให้มนุษย์เกิดและให้มนุษย์ตาย
พระเจ้าเป็นผู้ทรงกำหนดอายุขัยของมนุษย์
ภาวะใกล้ตายเป็นภาวะที่มุสลิมต้องการอยู่ใกล้พระอัลเลาะฮ์มากที่สุด และเป็นการดูแลให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมาน
มนุษย์ไม่สามารถรู้ได้ว่าที่ใดและเมื่อใดเขาจะตาย
อิสลามไม่ให้มนุษย์ฆ่าตัวตาย แต่ทุกคนต้องรำลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อทุกคนได้เตรียมตัวเตรียมใจและพร้อมที่จะกลับไปสู่พระอัลเลาะฮ์ เปรียบเสมือนการก้าวผ่านจากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิตหนึ่ง
มนุษย์ต้องรำลึกถึงความตายให้มาก
ชีวิตมนุษย์มาจากพระองค์ประทานมาให้สุดท้ายต้องกลับไปหาพระองค์
ความตายเป็นข่าวดีและสบายใจสำหรับผู้ศรัทธา
เป็นภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทุกคนต้องเผชิญและยอมรับเพราะเป็นความประสงค์ของพระอัลเลาะฮ์
การจัดการศพตามวิถีอิสลาม
สำหรับมุสลิมที่ตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หรือด้วยพิษบาดแผลที่กำลังรักษาอยู่
ฝังในหลุมลึก คะเนพอไม่ให้มีกลิ่นขึ้น หรือสัตว์ป่าคุ้ยเขี่ยขึ้นมาได้
เมื่อฝังในที่ใดแล้ว ห้ามขุดศพนั้นขึ้นมาไม่ว่าประการใด ๆ
นำศพไปบรรจุในหีบศพถ้าหากอยู่ในที่กันดาร ไม่ใช้หีบศพก็ได้แต่ให้ทำหลุมเพื่อเตรียมฝัง
การฝังให้วางศพนอนตะแคงข้างขวา หันหน้าศพไปทางทิศตะวันตก แล้วนำดินที่ขุดขึ้นมากลบไปจนหมด
นำศพมาวางบนผ้าขาวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น นำมือทั้งสองไว้ที่ระดับอกให้มือขวาทับบนมือซ้ายแล้วห่อด้วยขาว ๓ ชั้น
หากจำเป็นต้องรักษาศพ ให้รักษาไว้ไม่ให้มีกลิ่นเหม็น ถ้าปล่อยให้มีกลิ่นเหม็นทางศาสนาถือว่าเป็นการบาป
ให้นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรกที่ติดอยู่รีดท้อง เพื่อให้สิ่งปรกภายในเคลื่อนที่ออกมา แล้วรดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
ข้อแนะนำในการไปเยี่ยมเคารพศพผู้นับถือศาสนาอิสลาม
กรณีศพอยู่ที่บ้าน
นำศพมาวางบนผ้าข้าวซึ่งปูไว้ ๓ ชั้น หรือนำศพบรรจุในหีบศพ
ผู้ไปเยี่ยมเคารพศพ ควรไปแสดงไว้อาลัยกับญาติที่มีชีวิตอยู่ เป็นการให้เกียรติแก่เจ้าภาพ
นำศพมาอาบน้ำชำระสิ่งสกปรก รดน้ำให้สะอาดทั้งตัว
ทำความเคารพศพ โดยกล่าวคำไว้อาลัยได้ (ไม่นิยมนำพวงหรีดไปวาง)
มอบเงินซองให้เจ้าภาพ
กรณีศพอยู่ที่มัสยิดหรือสุเหร่า
ผู้ร่วมพิธีมุ่งไปแสดงความเสียใจกับญาติ
พิธีฝังจะเป็นพิธีของญาติ ๆ
ผู้ร่วมพิธีจะรอเคารพศพก่อนพิธีละหมาด
มอบเงินซองให้เจ้าภาพ
พิธีศพ
ก่อนนำไปฝัง จะต้องนำไปยังมัสยิดเพื่อละหมาดให้ผู้ตายและอวยพรขอพรให้แก่ผู้ตาย
เมื่อเสร็จจากการละหมาดแล้ว จึงนำผู้ตายไปฝังยังหลุมที่ขุดเตรียมไว้ในท่านอน
ให้รีบไปส่งผู้ตายหรือศพยังสุสาน และให้รีบละหมาด(บทสวดสำหรับผู้เสียชีวิต/คนตาย)
ต้องจัดการฝังให้เรียบร้อยภายใน 24 ชั่วโมง
ให้แต่งกายธรรมดาไม่ต้องแต่งชุดดำ เพราะไม่มีการไว้ทุกข์ และการไปบ้านผู้ตาย จะต้องไม่ไปเป็นภาระแก่เจ้าของบ้านโดยไปรับประทานอาหารหรือแม้แต่น้ำ
ฝังเสร็จจะกลบดินหลุมฝังให้นูนขึ้นมา และปักไม้ธรรมดา ไว้ที่หลุมฝังศพ จะไม่มีการโบกปูนหรือทำให้ถาวรเพื่อการไปเคารพบูชาที่หลุมฝังศพอย่างเด็ดขาด
เมื่อมี “มัยยิสหรือมัยยัต” (คนตาย) ขึ้นในหมู่บ้าน เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้อง ไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือโดยไม่ต้องรอรับคำเชิญหรือการ์ดเชิญ
หลักการอันเป็นข้อบังคับ สำหรับมุสลิมทุกคนจะต้องรู้ จะต้องประพฤติ เริ่มตั้งแต่อายุ 3 ขวบเป็นต้นไป
หลักปฎิบัติหน้าที่ในศาสนา (อิบาดะห์)
การถือศีลอด
เป็นการเพิ่มพูนภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเคยชินกับความหิว และการรับประทานอาหารตรงตามเวลาใน 24 ชั่วโมง
ผู้ถือศีลอดจะรับประทานอาหารสองมื้อ คือ มื้อตอนดึกถึงก่อนฟ้ารุ่งสาง และมื้อค่ำตอนเมื่ออาทิตย์ลับขอบฟ้า
เป็นการอดอาหารในช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวนั้น จะทำให้ร่างกายได้ละลายส่วนเกินของไขมันที่สะสมเอาไว้
การถือศีลอดทำให้เกิดการประหยัดทั้งอาหารของโลก และสิ่งฟุ่มเฟือยสิ่งต่างๆ
เป็นการฝึกฝนให้ตัวเองมีจิตผูกพัน และยำเกรงต่อพระเจ้าเพื่อการดำเนินชีวิตในทุกด้านตามคำบัญชาของพระองค์
การบริจาคศาสนทานซะกาต
การละหมาด หรือ สวด (นมาซ หรือ นมัสการ) 5 เวลาต่อวัน
ละหมาดเป็นเวลา
เวลาเย็น
เวลาพลบค่ำ
เวลากลางวัน
เวลากลางคืน
เวลาย่ำรุ้ง
การประกอบพิธีฮัจญ
การปฏิญาณตนเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม
หลักคุณธรรม (อิห์ซาน)
ฮาลาล Halal คือ การกระทำที่อนุญาต
ฮารอม Harom คือ การกระทำที่ต้องห้าม
เป็นหลักเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่มุสลิมทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการดำเนินวิถีชีวิต
การแต่งกาย การปกปิดส่วนควรสงวนของร่างกาย โดยแยกออกเป็นเพศได้ดังนี้
เพศชาย ให้ปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า
เพศหญิง ให้ปิดทั้งร่าง ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
หลักศรัทธา ความเชื่อในศาสนา
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต หรือ ศาสดาซึ่งมี 258 ท่านที่ระบุไว้ในพระคัมภีร์ อัลกุรอาน
ศรัทธาในพระคัมภีร์อัลกุรอาน และมีคัมภีร์อื่นๆ เช่น นบีดาวูด(ดาวิด)
นบีมูซา (โมเสส) นบีอีซา (เยซู)
*
ศรัทธาในมลาอิกะฮ์ คือ บ่าวผู้สัตย์ซื่อของพระอัลลอฮ์ ไม่มีรูปกาย ไม่มีเพศ ไม่มีการดำเนินชีวิตเหมือนมนุษย์ เป็นสื่อกลางระหว่างพระอัลลอฮ์กับมนุษย์
ศรัทธาในวันกียามะฮ์ หรือ วันปรโลก วันคืนชีพ หลังจากวันสิ้นโลก มนุษย์ทุกคนรอวันตัดสินชำระความ
ศรัทธาในพระเจ้าเป็นฐาน ต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในพระเจ้า คือ พระอัลลอฮ์ อย่างไม่มีข้อสงสัย พระเจ้าทรงเป็นผู้อยู่ก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่งในเอกภพ พระเจ้าสร้างอดัม (อิสลามเรียกท่านนบีอาดัม)
ศรัทธาในการลิขิตขององค์พระผู้เป็นเจ้า
ทุกคนต้องเรียนรู้กลักการของศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อยกเว้นเป้นหน้าที่พึ่งปฎิบัติ
พิธีต่างๆ
พิธีสุหนัต
เด็กชายมุสลิมอายุระหว่าง 2-10 ขวบ จะต้องได้รับพิธีสุหนัต
การตัดหนังหุ้มปลายองคชาติซึ่งถือว่า เป็นหน้าที่และเป็นสิ่งควรสรรเสริญ ทั้งเป็นธรรมเนียมเบื้องต้นเพื่อประโยชน์สำหรับการแต่งงาน
ปัจจุบันนี้ เมื่อไปคลอดที่โรงพยาบาลอาจจะให้แพทย์ที่ทำคลอดทารกเพศชาย ตัดหนังหุ้มปลายองคชาตของทารกนั้น เป็นการทำพิธีสุหนัตด้วยเลยก็ได้
การบริจาคศาสนาทาน "ซะกาน"
เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพย์สินเงินทองหรือสินแร่ที่เหลือใช้ในรอบปี
ผู้มีสิทธิรับซะกาต 8 ประเภทคือ ผู้ขัดสน (คนยากจน แม่หม้าย เด็กพร้า) คนเข็ญใจ (พิการ) ผู้เข้าอิสลามและถูกญาติมิตรตัดขาด ผู้มีหนี้สินล้นตัว (ไม่ใช่มีหนี้เพราะประพฤติมิชอบ) ผู้พลัดถิ่น (ไม่สามารถกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม) ทาสหรือเชลยเจ้าหน้าที่ดูแลกองทุนซะกาต และเพื่อประโยชน์ต่อสังคมในวิถีของพระอัลลอฮ์
เพื่อผดุงสังคมลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
วัตถุประสงค์ของการบริจาคซะกาต
เพื่อปลูกฝังให้มุสลิมทั้งหลายเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งกันและกัน
เพื่อลดช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคมด้วยวิธีการสังคมสงเคราะห์
เพื่อชำระจิตใจของผู้บริจาคให้บริสุทธิ์ไม่ตกเป็นทาสแห่งวัตถุด้วยความโลภ และเห็นแก่ตัว
การบริจาคซะกาต (การจ่ายภาษีทางศาสนาแก่คนยากจน) คือ การจ่ายทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่งที่มุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับเมื่อครบปี
พิธีฮัจญ์
สำหรับชาวมุสลิมานะดีมีสุขภาพดีบรรลุศาสนภาพ
โดยผู้ที่ไปเข้าร่วมปฏิบัติในพิธีฮีจญ์
ชาย อายุ 15 ปี
หญิง อายุ 19 ปี
การประกอบพิธีฮัจญ์
คือการเดินทางไปประกอบศาสนกิจ ณ เมืองเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย
คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายเฉพาะอันหนึ่งในแง่กฎหมายของอิสลามคือการไปเยี่ยมหรือการเดินทางไปมักกะฮ์ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมทั่วโลก
เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
สัญญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม
รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวและดาวอยู่ข้างบน
เดือนครึ่งเสี้ยว คือเครื่องหมายของกาลเวลา เดือนส่งผลถึงระดับน้ำขึ้นลงที่แตกต่างกัน เดือน คือ การกำหนดเวลาเริ่มต้นของเดือนใหม่และสิ้นสุดเดือนเก่า เดือนคือเวลาที่ผ่านไปที่มนุษย์ต้องใคร่ครวญถึงการกระทำของตนเอง สัญลักษณ์รูปเดือนครึ่งเสี้ยวสำคัญที่สุด จะเป็นศิริมงคลที่สุดของมุสลิมคือ ในเดือนรอมฎอน ที่ต้องอาศัยการดูดวงจันทร์เพื่อเข้าสู่เดือนแห่งการถือศีล-อด
สองสิ่งนี้เป็นสิ่งเตือนใจและเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ชาติมุสลิมจึงให้ความสำคัญและนำมาเป็นสัญลักษ์ของอิสลาม
ดาว คือเครื่องหมายนำทาง บอกทิศเมื่อมนุษย์ต้องเดินทางกลางทะเล หรือทะเลทราย ชาวอาหรับสมัยก่อนเดินทางตอนกลางคืนเพราะกลางวันอากาศกลางทะเลทรายจะร้อนมาก ดาวคือเครื่องหมายบอกทิศทางในการเดินทาง
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งระบุให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการ
เป็นคณะผู้บริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี
กายซุนนี (Sunni) มีผู้นับถือ 75-90%
นิกายชีอะฮ์ หรือชิเอฮ์ (Shiah) มีผู้นับถือ 10-20%