Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย2(ต่อ), บทที่-561-บวม-Edema-1, original…
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย2(ต่อ)
กลุ่มโรคไขข้อสันหลังอักเสบจะมีอาการข้อส่วนปลายอักเสบ โรคนี้จะมีลักษณะเฉพาะ การวางแผนการรักษาตลอดจนการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษาก็ไม่เหมือนโรคอื่น
โรคปวดก้านคอ และโรคปวดหลังส่วนล่าง การเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของข้อสันหลังที่คอ และหลังไปด้วย จะมีอาการปวดคอปวดหลังเป็นระยะๆ หรืออาจปวดเรื้อรัง
โรคปวดกล้ามเนื้อจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
มีการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ การเกร็งของกล้ามเนื้อนี้มีทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง แต่ชนิดเรื้อรังไม่ค่อยพบในผู้สูงอายุ
เกิดขึ้นได้เพราะมีความเครียด หรือความเศร้าร่วมด้วย ในผู้สูงอายุอาจเกิดภาวะทางจิตใจเหล่านี้ได้
การรักษานอกเหนือจากการใช้ยา
การออกกำลังกายแบ่งอย่างกว้างๆ เป็น 2 แบบ
การออกกำลังกายเพื่อการรักษา
การออกกำลังกายเพื่อการสันทนาการ
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ควรได้มีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องทุกวัน นอกเหนือจากการรับประทานยา การออกกำลังกาย
กายภาพบำบัด / กิจกรรมบำบัด
พักผ่อน
ความร้อน และความเย็น
อาหาร
ภาวะบวม (Edema)
หมายถึง ภาวะที่มีสารน้ำขังอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (interstitial tissue) จนเกิดอาการบวมให้เห็นทางภายนอก โดยเกิดจากความผิดปกติของกลไกการควบคุมแรงดันในร่างกายที่มีอยู่ 2 ระบบ
Hydrostatic Pressure
Oncotic Presssure
สาเหตุ
Oncotic pressure ในหลอดเลือดลดลง พบได้ในภาวะที่มีโปรตีน โดยเฉพาะอัลบูมินในเลือดลดลง ซึ่งอาจเกิดจากการเสียโปรตีนทางปัสสาวะที่พบในกลุ่มโรคไตชนิดเนฟโฟรติก (nephrotic syndrome) หรือเกิดจากการสร้างโปรตีนได้น้อยที่พบในผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ที่มีภาวะ ขาดสารอาหารรุนแรง
ภาวะการคั่งของน้ำและเกลือแร่ (Salt and water retention) พบได้ในภาวะการทำงานของไตผิดปกติ มีการลดลงของการกรองโซเดียม
Hydrostatic pressure ในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้ภายในหลอดเลือดมีแรงดันสารน้ำออกสู่เนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น พบในภาวะที่มีการคั่งของเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะเลือดคั่งจากหัวใจล้มเหลวหรือภาวะที่ได้รับโซเดียมสูงเกินไป
การสูญเสียความสามารถในการซึมผ่านของสารน้ำในผนังหลอดเลือดฝอย (vascular permeability)
การอุดตันของต่อมน้ำเหลือง (Lymphatic obstruction) ส่งผลให้การดูดกลับสารน้ำส่วนเกินทางท่อน้ำเหลืองเสียไป ส่วนใหญ่แล้วการบวมจากสาเหตุนี้มักเป็นเฉพาะที่
โรคไต มีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในส่วนที่ทำหน้าที่กรองเลือด ทำให้โปรตีนในเลือดหรืออัลบูมินรั่วออกทางปัสสาวะ เมื่อโปรตีนในเลือดต่ำลงจะทำให้เกิดอาการบวม
โรคหัวใจ เกิดจากการที่หัวใจห้องขวาล่างทำงานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเข้าสู่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น
โรคตับ ตับแข็ง เริ่มแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และดีซ่าน ต่อมาจึงมีอาการบวมที่เท้าและขาทั้งสองข้าง และมีอาการท้องบวมโตกว่าปกติหรือที่เรียกว่า ท้องมาน เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สร้างโปรตีนตัวสำคัญคืออัลบูมิน เมื่อไม่สามารถสร้างอัลบูมินได้ ก็ขาดตัวดูดกลับหรือ Oncotic Presssure ลดลง ทำให้มีสารน้ำจำนวนมากคั่งในร่างกาย
โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมได้เช่นกัน
โรคติดเชื้อ เชื้อแบคที่เรีย เช่น Cellulitis
โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ
โรคเท้าช้าง มักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และ ท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อ เยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวม
โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน มักเกิดกับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องพึ่งขาทั้งสองข้างเป็นหลัก
การรักษาและข้อควรปฏิบัติ
หลักสำคัญการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ
ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปคั่งที่ขา
กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี และฟลาโวนอยด์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย
ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม และไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
ถ้าต้องยืนหรือนั่งนานๆ ควรขยับกล้ามเนื้อบริเวณน่องบ่อยๆ เพื่อดันให้เลือดไหลกลับขึ้นมาด้านบน และลดอาการข้อเท้าบวม
ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนอริยาบทบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงไม่ให้ขาสัมผัสกับความร้อน เช่น อาบน้ำที่ร้อนเกินไป ยืนบนพื้นร้อนๆ อาบแดดนานๆ
สวมรองเท้าสูงไม่เกิน 5 ซม.
ในกรณีที่ต้องยืนนานๆ ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุง และกระชับกล้ามเนื้อขา ซึ่งมีแรงบีบรีดไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตรปรอท และควรสวมตั้งแต่เท้าจนถึงเหนือเข่า
ยกเท้าสูงประมาณ 45 องศาขณะนอนพัก จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น จึงนอนต่อในท่าปกติ
นางงสาวทิพย์สุดา สนิทพจน์ รัสนักศึกษา 601410067-1