Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย2(ต่อ), joint pain, iStock-804154044_(1), padkorjung…
กลุ่มอาการโรคที่พบบ่อย2(ต่อ)
ปวดกล้ามเนื้อ
กลุ่มอาการปวดจากปมกล้ามเนื้อหดตัวซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและแสดงอาการปวดออกมาเฉพาะแบบตามแต่กล้ามเนื้อนั้นๆ และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ
สาเหตุ
กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างอยู่นานๆ (isometric work) กล้ามเนื้อเกร็งค้างนานๆ
มีภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ
การออกแรงอย่างหนักของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้กล้ามเนื้อล้าและปวด อาการปวดจะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ (muscle spasm)
ปัจจัยกระตุ้น
การบาดเจ็บไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง (Microtrauma)
ความเครียด (Psychological stress)
การบาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน (Macrotrauma)
โรคเรื้อรังต่างๆ (Chronic illness)
โรคของต่อมไร้ท่อ(Endocrine disorder)
แร่ธาตุและสารอาหารไม่เพียงพอ (Nutritional inadequate)
การวินิจฉัย
ประวัติ อาการปวด
ตรวจร่างกาย
กดเจ็บเฉพาะที่ (Regional pain) และแสดงอาการปวดร้าวไปตามอาการที่ปรากฏ (Reproducible refer pain) จำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ก่ออาการนั้นๆ
วิธีการรักษา
หาสาเหตุและแก้ปัจจัยกระตุ้นที่เป็นต้นเหตุเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
กำจัดปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งที่เกิดขึ้น
ป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
ปรับกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างตลอดเวลา
การออกกำลังด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานจะช่วยลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่น โอกาสที่ความปวดเมื่อยล้าและบาด-เจ็บจากการทำงานจะลดลง
ไม่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม
Myofascial pain syndrome (MPS)
กลุ่มอาการปวดร้าว (referred pain) และ/หรืออาการของระบบประสาทอิสระ (autonomic symptoms) อันเนื่องมาจาก myofascial trigger point(s) (TrP) ของกล้ามเนื้อ หรือเยื่อผังผืดโดยจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งบริเวณใด (regional pain) ของร่างกาย
อาการต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เรียกว่า chronic MPS
ลักษณะทางคลินิก
ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (regional pain) ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย เพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก
อาการของระบบประสาทอิสระซึงพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา
การวินิจฉัย
จากประวัติและตรวจร่างกายเป็นสำคัญ
การรักษา
การรักษาที่เหมาะสมควรจะพิจารณากรรมวิธีที่ผู้ป่วยพึงพอใจและไม่มีข้อห้ามเป็นอันดับแรกๆ
ส่วนการรักษาระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง เข้าถึงได้ง่าย สอดคล้องกับวิถีชีวิตและคุ้มค่า
การยืดกล้ามเนื้อที่มี TrP (stretching)
การนวด (massage)
การทำกายภาพบำบัด (physical therapy)
การฝังเข็ม (acupuncture)
การแทงเข็มที่ TrP (dry needling)
การฉีดยาที่ TrP (trigger point injection)
ยา (drugs) เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ vitamin antidepressants
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง Musculotendinous Strain
สาเหตุ
การมีการอักเสบหรือติดเชื้อ
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด
การได้รับอุบัติเหตุ
การมีเนื้องอกของประสาทไขสันหลังหรือมะเร็งที่แพร่กระจายมายังกระดูกสันหลัง
ขาดการออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด
อาการปวดร้าวมายังหลังจากโรคของอวัยวะในระบบอื่น ๆ
ความเสื่อมของกระดูกและข้อจากวัยที่สูงขึ้น
ปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียด และความวิตกกังวลในชีวิต
การใช้กิริยาท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้อง
การบาดเจ็บต่อสันหลัง
การอักเสบของกระดูกสันหลัง
กระดูกพรุน (Osteoporosis)
โรคกระดูกหลังเสื่อม
เส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง
การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ •แบบเฉียบพลัน •แบบเรื้อรัง มักเกิดจากเชื้อวัณโรค
โรคในช่องท้อง โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
อาการ
รู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ)
สิ่งตรวจพบ มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร
การรักษา
การรักษาแบบอนุรักษ์ คือ การรักษาโดยการไม่ผ่่าตัด ซึ่งได้ผลมากกว่าร้อยละ 90
:การรักษาโดยการผ่าตัด ในกลุ่มที่ไม่ได้ผลจากการรักษาโดยวิธีอนุรักษ์ แพทย์จึงจะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด
การป้องกันอาการปวดหลัง
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวต้องรับน้ำหนักมาก
บำรุงรักษาสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ร่วมกับการออกกำลัง
หลีกเหลี่ยงการใช้แรงงานมาก การยกของหนัก
ออกกำลังบริหารร่างกาย ป้องกันอาการปวดหลังอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ถึงแม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีอาการปวดหลัง
หลีกเหลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
ปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือสังเกตเห็นความผิดปกติ
เรียนรู้การใช้กิริยาท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
โรคปวดข้อ
โรคข้อเสื่อม
สาเหตุ อายุ อ้วน ข้อได้รับอุบัติเหตุ ข้อได้รับอุบัติเหตุ
อาการของข้อเสื่อม
ปวดข้อตลอดวันหรือปวดมากเวลาใช้งานเวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน
ข้อติดขณะพัก มักจะเป็นไม่นานพอขยับนิ้วสักพักจะดีขึ้น แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรคrheumatoid
ข้อติดขณะพัก มักจะเป็นไม่นานพอขยับนิ้วสักพักจะดีขึ้น แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรคrheumatoid
เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงอย่างช้าๆจนเป็นเหตุให้มีการ เปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้จำกัดรวมทั้งทำให้ เกิดอาการปวดและบวมที่ข้อได้
โรคของเนื้อเยื่อรอบข้อ เส้นเอ็นใกล้ข้อตลอดจนปลอกหุ้มข้อก็เกิดการอักเสบ ทำให้เจ็บปวดขึ้นได้ บริเวณที่ปวดมักจะเป็นหัวไหล่ ตะโพก และส้นเท้า รักษาได้โดยลดการเจ็บปวดด้วยยา
โรคเส้นเอ็นเสื่อม เส้นเอ็นเมื่อใช้งานมานานๆ ก็เสื่อมสภาพได้ แล้วก็จะมีหินปูนมาจับเกาะอยู่ที่เส้นเอ็น การรักษาใช้วิธีฉีดยาเป็นส่วนใหญ่ เพราะกินยาแล้วไม่ค่อยได้ผลแล้วยังมีผลข้างเคียงแถมมาอีก ปัจจุบันไม่นิยมผ่าตัดถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
นอกจากนี้ยังมีการเจ็บปวดบริเวณส้นเท้า ที่เรียกว่า "โรครองช้ำ"
โรคเก๊าต์ เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
โรคเก๊าต์เทียม ไม่ได้เกิดจากกรดยูริค แต่ เกิดจากการมีผลึกปูนเกาะที่ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง เป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Calcium pyrophosphate dihydrate สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเลียนแบบโรคเก๊าท์แท้ได้ จึงเรียกว่าโรคเก๊าท์เทียม
โรคไหล่ติด เกิดจากปลอกหุ้มข้อไหล่แข็งตัว มีการบีบรัดหดขนาดเล็กลงจนทำให้ข้อไหล่ติดเคลื่อนไหวได้น้อยลง
โรคปลายประสาทถูกพังผืดกดทับ Carpal tunnel syndrome
โรคกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อกระดูกจะน้อยลงหรือบางลง โรคนี้ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน การรักษาคือป้องกันไว้ก่อนด้วยมุ่งเน้นการกินแคลเซียม และวิตามินดีให้พอตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาวการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิง ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ที่เป็นห่วงคือมะเร็งมดลูกและมะเร็งเต้านมที่อัตราสูงขึ้น
โรคตะคริว สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด มีหลายทฤษฎี อาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ ทำให้มีการหดรั้ง เกร็งได้ง่ายเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากความผิดปกติ ของระบบภูมิคุมกันของร่างกาย โดยมีการหลั่งสารออกมาทำลายเยื่อบุข้อ ทำให้เยื่อบุข้อมีการอักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการปวด บวม แดงร้อนที่ข้อและข้อฝืดแข็ง
โรคลูปัส หรือเอส แอล อี สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคยังไม่ทราบแน่นอน จากการวิจัยค้นคว้าอย่างมากมายทั้งในคนและสัตว์ทดลอง พอจะสรุปได้ว่ามีเหตุปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน โดยส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ของผู้ป่วยร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
นางสาวทิพย์สุดา สนิทพจน์ รหัสนักศึกษา 601410067-1