Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิต - Coggle Diagram
ความดันโลหิต
กระบวนการพยาบาลในการประเมินสัญญาณชีพ
การประเมินสภาพ
ตรวจร่างกาย และประเมินสัญญาณชีพ
จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจพิเศษอื่นๆ
ซักประวัติการสัมผัสเชื้อ ระยะเวลา การรักษาก่อนมาโรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูง
มีภาวะติดเชื้อในร่างกาย (หากทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
การวางแผนการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายปกติ ป้องกันอาการชักจากภาวะไข้สูง และให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น และหากพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงจากการติดเชื้อการพยาบาลต้องรวมไปถึง เพื่อให้ภาวะติดเชื้อลดลงด้วย
การประเมินผลสัญญาณชีพ
ป่วยมีสีหน้าสดชื่น สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้ความร่วมมือในการ รักษาพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อชดเชยปริมาณสารน้ำที่สูญเสีย
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อาการถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นการลดการใช้พลังงาน
เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ควรใช้น้ำเย็นเพราะจะทำให้เส้นเลือดหดตัวทำให้การระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควร
ให้ยา Paracetmol ลดไข้/ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ (กรณีมีการติดเชื้อร่วมด้วย) ตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพ ได้แก่ อุณหภูมิ ชีพจร หายใจ และความดันโลหิต อย่างน้อยทุก 4ชั่วโมง หรือเมื่อจำเป็น
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ความหมายและปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
ความหมาย
แรงดันของเลือดที่ไปกระทบกับผนังเส้นเลือดแดง
มีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท (มม.ปรอท หรือ mm.Hg.)
ค่าความดันโลหิต
Systolic pressure
ความดันที่เกิดจากการหดรัดตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อฉีดเลือดออกจากหัวใจจึงเป็นความดันที่สูงสุด
Diastolic pressure
ความดันที่วัดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวจึงเป็นความดันที่ต่ำสุดและ
จะอยู่ระดับนี้ตลอดเวลาภายในหลอดเลือดแดง
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
อิริยาบถ
ความเครียดและการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
อายุ
ลักษณะของร่างกายและปัจจัยอื่น ๆ
รูปร่าง
คนอ้วนความดันโลหิตมักสูงกว่าคนผอม
พศ
เพศชายมักมีความดันโลหิตสูงกว่าเพศหญิงในวัยเดียวกัน
ยา
ยาที่มีผลต่อการหดรัดตัวของหลอดเลือด
การประเมินความดันโลหิต
เพื่อช่วยในการวินิจฉัย และเพื่อทราบปริมาณของเลือด
วิธีประเมินความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตโดยทางตรง (Central venous blood pressure: C.V.P)
โดยวิธีใส่สายสวนเข้าไปใน Superior Vena Cava และใช้เครื่องมือวัดความดันของเลือดที่จะเข้าหัวใจห้องบน ขวา
การวัดความดันโลหิตโดยทางอ้อม
แบบแท่งปรอท (Mercury Column)
วิธีการคลำ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความดันโลหิต Sphygmomanometer
แบบแท่งปรอท (Mercury Column)
แบบแป้นกลม ใช้ความ ดันอากาศแทนปรอท (Aneroid)
มีความแม่นยำน้อยกว่าแบบแท่งปรอท
ขั้นตอนในการวัดความดันโลหิตทางอ้อม
เหน็บปลายผ้าให้เรียบร้อย
ใส่หูฟังและวางแป้นของหูฟังตรงตำแหน่งชีพจรที่คลำได้
พันผ้าพันรอบแขนเหนือข้อพับขึ้นไป 1 นิ้ว ไม่ให้แน่นหรือหลวมจนเกินไป โดยให้ ตำแหน่งชีพจรที่คลำได้อยู่ระหว่างสายยาง 2 สาย เพื่อฟังเสียงความดันเลือดได้ชัดเจน
บีบลูกยางด้วยอุ้งมือให้ลมเข้าไปในผ้าพันแขน ดันให้ปรอทในเครื่องวัดสูงกว่าค่าปกติของ Systolic pressure ประมาณ 20 มิลลิเมตรปรอท (140+20-160) แรงดันปรอทที่บีบขึ้นไปไม่ ควรมากเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเพราะจะรัดแขนมาก
คลำชีพจรที่ข้อพับแขนด้านใน เป็นการหาตำแหน่งของเส้นเลือดแดงที่จะวัด เพราะเมื่อดันลมเข้าไปในผ้าพันแขนจะทำให้เส้นเลือดตีบเลือดผ่านไปเลี้ยงปลายแขนไม่ได้
ค่อย ๆ คลายเกลียวลูกยางปล่อยลมออกจากผ้าพันแขน โดยให้ระดับปรอท ค่อยๆ ลดลงช้าๆ และให้ตั้งใจฟังเสียงเต้นของผนังเส้นเลือด ซึ่งในตอนแรกจะยังไม่ได้ยินเสียงการเต้นของผนังเส้นเลือด แต่เมื่อปรอทถึงระดับหนึ่งจะได้ยินเสียงตุบ ๆ ของแรงดันเลือด เสียงตุบแรกที่ได้ยินระดับ ปรอทอยู่ที่ตำแหน่งใด ก็คือค่า Systolic pressure
ไล่ลมออกจากผ้าพันแขนให้หมด เพื่อป้องกันการอ่านค่าคลาดเคลื่อน
ค่อย ๆ ปล่อยลมออกจากลูกยางช้า ๆ สังเกตเสียงที่ดังเป็นระยะ ๆ เรียกว่า Korotkoff's sound จนถึงระยะหนึ่ง เสียงจะเริ่มเป็นเสียงฟู ๆ หรือหยุดหายไปเลย ให้นับค่าความดันปรอทที่เสียงเริ่มเปลี่ยน หรือเสียงหยุดหายไปเลย เป็นค่า Diastolic pressure
วางเครื่องวัดให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจของผู้ป่วย ผู้วัดควรอยู่ในท่านั่งหรือยืนโดยเครื่องวัดอยู่ตรงระดับสายตาห่างจากตาไม่เกิน 3 ฟุต เพื่อที่จะได้มองเส้นระดับของปรอทได้ ถูกต้อง ชัดเจน การอ่านค่าไม่คลาดเคลื่อน
เมื่อวัดเสร็จแล้วปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนให้หมด โดยให้ปรอทอยู่ในตำแหน่งที่เริ่มต้น ปลดผ้าพันแขนออก พับเก็บให้เรียบร้อย เตรียมของใช้ให้พร้อมที่จะใช้ในครั้งต่อไป
จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย โดยจัดให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนเหยียดแขนข้างที่จะวัดให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด พร้อมทั้งหงายมือขึ้นพับแขนเสื้อข้างที่จะวัดขึ้นไปเหนือข้อศอก
ทำความสะอาดหูฟังและแป้นของหูฟังด้วยสำลีชุบด้วย 70 % แอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าจะวัดความดันโลหิตที่บริเวณใด เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
ล้างมือให้สะอาดป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและลดการสัมผัสเชื้อ
บันทึกผลเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการดูแลและให้การดูแลได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อควรระวังในการวัดความดันโลหิต
ลำของปรอทที่วัดต้องตั้งฉากในขณะอ่านค่าความดันโลหิต ถ้าเอียงไปด้านใดด้าน หนึ่งจะได้ค่าที่ผิดพลาด
ขณะวัดความดันโลหิตแขนของผู้ป่วยควรวางในระดับเดียวกันกับหัวใจ ถ้าวางแขนสูงกว่าระดับหัวใจ ความดันโลหิตที่อ่านได้อาจต่ำกว่าค่าจริงประมาณ 10 มิลลิเมตรปรอท และถ้าวางแขนต่ำกว่าระดับหัวใจความดันโลหิตอาจอ่านค่าได้สูงกว่าค่าจริงประมาณ 10 มิลลิเมตรปรอท
ผ้าพันแขนต้องเลือกใช้ให้ถูกขนาดกับผู้ป่วย กว้างประมาณ 3 ใน 4 ของความยาวช่วงแขนตอนต้น หรือประมาณ 4.5 นิ้ว โดยกำหนดขนาดความกว้าง
ขนาดความกว้างของผ้าพันแขน 3 นิ้ว ใช้กับเด็กอายุ 2-8 ปี
ขนาดความกว้างของผ้าพันแขน 4 นิ้ว ใช้กับเด็กอายุ 7-12 ปี
ขนาดความกว้างของผ้าพันแขน 1.5 นิ้ว ใช้กับเด็กอายุไม่เกิน 1 ปี
ก่อนพันผ้าเพื่อวัดความดันโลหิตทุกครั้ง ควรพิจารณาแขนที่พันผ้าก่อนว่ามีข้อ ห้ามหรือไม่ ถ้าแขนทั้งสองข้างไม่สามารถใช้วัดความดันโลหิตได้ ต้องพิจารณาวัดทางขาแทน โดยให้ผู้ป่วยนอนคว่ำฟังเสียงจากเส้นเลือดที่ข้อพับขา (Popliteal artery) และขนาดของผ้าต้องยาวและกว้าง เหมาะสมกับต้นขาด้วย
ขณะปล่อยลมออก สายตาควรจับอยู่ที่เครื่องวัดตลอดเวลา เพื่อจะได้อ่านค่าได้ทันทีที่ได้ยินเสียงตุบ ถ้าอ่านได้ไม่ทันหรืออ่านค่าได้ผิดปกติ ควรวัดโดยปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนให้ หมดก่อนแล้วจึงบีบลมเข้าใหม่
การเก็บเครื่องวัดความดันโลหิต ต้องบีบลมออกจากผ้าพันให้หมด พันให้เรียบร้อยเก็บเข้าที่ โดยระวังไม่ให้สายยางหักพับงอ ถ้ามีกล่องใส่ซึ่งมีที่ล็อคก็ควรปิดให้สนิท เพื่อป้องกันการกระทบแตกของลำปรอทหรือหน้าปัดสำหรับอ่านค่าความดันโลหิต สำหรับเครื่องฟังควรเช็ดด้วยสาลีชุบ 70% แอลกอฮอล์ ทุกครั้งก่อนและหลังใช้
การรัดผ้าพันแขนต้องให้แนวของสายยางทั้งสองของผ้าพันแขนอยู่ระหว่าง ตำแหน่งของเส้นเลือดแดงพอดี (ตำแหน่งที่คลำชีพจรได้)
ลักษณะความดันโลหิตที่ผิดปกติ
Hypertension
พบมีอาการปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย ตาพร่า หรือมองไม่เห็น คลื่นไส้ อาเจียน ซักและหมดสติในที่สุด สามารถจำแนกระดับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูงได้
บทบาทพยาบาลที่สำคัญในการดูแลผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
พยายามรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
คำแนะนำ
จำกัดอาหารพวกแป้ง ไขมัน น้ำตาล
เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป และ เป็นการลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด
พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงภาวะเครียด
จำกัดเกลือ หรืออาหารเค็ม
เนื่องจากเกลือทำให้มีการคั่งของน้ำในกระแสเลือด มากขึ้น จึงมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงได้
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้การไหลเวียนของเลือดแรงขึ้น แต่ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
ความดันโลหิตสูง โดย Systolic สูงกว่า 140 mmHg และ Diastolic สูงกว่า 90 mmHg
Hypotension
พบมีอาการ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หน้าซีด เหงื่อออก ตัวเย็น เป็นลมหมดสติ สำหรับกรณีที่ความดันเลือดต่ำเนื่องจากพยาธิสภาพ มักเกิดการเสียเลือดมาก ๆ หรือโลหิตจางเรื้อรัง เมื่อได้รับการช่วยเหลือให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นอาการก็จะดีขึ้น
ถ้ามีการเสีย เลือดมากอย่างกะทันหัน อาจเข้าสู่ภาวะช็อค หมดสติได้ ส่วนใหญ่สาเหตุที่พบบ่อยจากการที่ลุกนั่ง หรือ
ยืนทันที หลังจากนอนนาน ๆ แล้วมีอาการหน้ามืดเหมือนจะเป็นลม
ความดันโลหิตต่ำโดย Systolic ต่ำกว่า 90 mmHgและ Diastolic ต่ำกว่า 60 mmHg
Orthostatic hypotension
ความดันโลหิตตกในท่ายืน การเปลี่ยนจากท่า นอนราบเป็นท่ายืนทันที มีผลทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลงทันที เกิดจากหลอดเลือดส่วนปลายขยาย แต่ไม่มีกลไกการปรับตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนเลือดที่ออกจากหัวใจ ทำให้ความดันโลหิตตก ส่งผลเป็นลมหน้ามืด
บทบาทของพยาบาลในการให้คำแนะนำดูแลแก่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
ควรมีการตรวจสัญญาณชีพ และตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุและมีการแก้ไข สาเหตุของการเกิดความดันโลหิตต่ำด้วย
ในผู้ที่ต้องนอนนาน ๆ ควรป้องกันภาวะวิงเวียนขณะลุก โดยค่อย ๆ ลุกนั่งและยืนช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัวทัน
จัดให้ผู้ป่วยนอนพัก เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง แต่มีความดันโลหิตค่อนข้างต่ำ ควรดูแลตนเองโดย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรเคร่งครัดในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เพียงพอ ช่วยให้ผนังเส้นเลือดมีการยืดหยุ่นดี และระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายดีขึ้น