Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
บทที่3 การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
ความหมายและความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
สุขอนามัยส่วนบุคคล คือ การดูแลตนเอง เช่น การอาบน้ า การขับถ่ายปัสาวะ อุจจาระ การดูแลสุขอนามัยทั่วไปของร่างกาย การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า การออกก าลัง และการพักผ่อนนอนหลับ ซึ่งขึ้นอยู่กับุคคลในการตัดสินใจ ให้คุณค่า และปฎิบัติตนเองในชีวิตประจ าวันของมนุษย์ในขณะที่บุคคลนั้นมีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วย จะไม่มีความสุขทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจพยาบาลจะเป็นผู้ให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายแก่บุคคลเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยนั้นการดูแลสุขอนามัยเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และเป็นสิ่งที่พยาบาลควรตระหนักถึงเนื่องจากความสุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสุขกายสุขใจสามารถอดทนเผชิญต่อความเจ็บป่วยได้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน เช่น เด็กเล็กไม่สามารถดูแลสุขอนามัยได้ด้วยตนเอง ผู้ปกครองต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
เพศ
ความแตกต่างของเพศมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน เช่น เพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ และไวต่อความรู้สึกกว่าเพศชาย
ภาวะสุขภาพ
มื่อมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือเจ็บปวดหรือมีการเจ็บป่วยทางสุขภาพจิต ทำให้ขาดความสนใจ หรือละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล หรืออาจมีปัญหาสุขภาพ ร่างกายอ่อนเพลีย
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทราบถึงประโยชน์ และโทษของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เศรษฐกิจ
บุคคลที่มีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผม ปาก ฟัน และให้เวลากับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความส าคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เช่น การดำเนินชีวิตในเขตเมือง และเขตชนบท จะมีการใช้ชีวิตและมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันส่งผลให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมีความแตกต่างกัน
ภาวะเจ็บป่วย
ในภาวะการเจ็บป่วย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง เช่น โรคหัวใจ
สิ่งแวดล้อม
ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงทำให้รู้สึกร้อนอบอ้าว อากาศร้อนทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
ป็นผลต่อการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ห้ามสระผมขณะมีไข้เพราะจะทำให้เจ็บป่วยมากขึ้น
ความชอบ
ความชอบของแต่ละบุคคล อาจไม่เหมือนกัน บางคนชอบโกนหนวดก่อนอาบน้ำ แต่บางคนชอบโกนหนวดหลังอาบน้ำ บางคนชอบอาบน้ำอุ่น หรือการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพต่าง ตามความต้องการ
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
ช่วงเวลาในการดูแลสุขอนามัย
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรดึก เมื่อผู้ป่วยตื่นนอนแล้วพยาบาลจะต้องดูแลผู้ป่วย ช่วยเหลือเรื่องปัสสาวะ อุจจาระ การทำความสะอาดร่างกาย เช่น การเช็ดหน้า ล้างมือ ล้างหน้าและแปรงฟัน
การพยาบาลตอนเช้า
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้าที่จะให้การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้า หากทำกิจกรรมภายในช่วงก่อนเวลา 16.00 น.หากทำในช่วงตอนเย็น จะเป็นหน้าที่ของเวรบ่ายในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม
การพยาบาลตอนก่อนนอน
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่าย การดูแลเรื่องการให้หม้อนอนหรือกระบอกปัสสาวะ จัดท่าให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างสุขสบาย
การพยาบาลเมื่อจำเป็น
การพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยตลอด24ชั่วโมง เช่นถ้าปู้ป่วยปัสสาวะรดที่นอนเปียกทั้งตัว พยาบาลจะช่วยเช็ดตัว ทำความสะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้า และผ้าปูที่นอนให้ผู้ป่วย
การดูแลความสะอาดร่างกาย
หลักการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การดูแลความสะอาดของผิวหนังและการอาบน้ำ
การอาบน้ำ ชนิดของการอาบน้ำ แบ่งตามสภาวะของผู้ป่วย
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
เป็นการช่วยเหลือพาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ ส่วนมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย พยาบาลต้องระวังผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม โดยอยู่ใกล้ๆห้องน้ำ ไม่ควรใส่กลอนประตู
การอาบน้ำบนเตียงเฉพาะบางส่วน
พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดเองได้ เช่น บริเวณหลัง โดยอาจใช้การนั่งข้างเตียงหรือบนเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วย เช่น หลังผ่าตัดไส้ติ่ง กระดูกขาหักใส่เฝือก
การอาบน้ำบนเตียงชนิดสมบูรณ์
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกที่สะสมบริเวณผิวหนัง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่น
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกายของข้อต่างๆ
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
การนวดหลัง
มีขั้นตอน ดังนี้
1.จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
2.ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจภาวะมีไข้ โรคผิวหนังโรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
3.ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ปุวยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เลือกใช้แปูงหรือโลชันหรือครีมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
การดูแลและทำความสะอาดปากและฟัน
วัตถุประสงค์
1.ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
2.กำจัดกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ปูองกันฟันผุ
3.ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
4.สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้มลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออกหรือฝูาในช่องปาก
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
1.แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5นาที เพื่อขจัดคราบหินปูน และเศษอาหารในเวลาเช้า หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
2.ผู้ปุวยที่มีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้ง ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำทางปากได้ ต้องทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก2ชั่วโมง
3.ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ สำลีที่ใช้เช็ดทำความสะอาดต้องเปลี่ยนบ่อย
การดูแลความสะอาดของเล็บ
จุดประสงค์
1.ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
2.ป้องกันการเกิดเล็บขบ
วิธีการปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ปุวยทราบวัตถุประสงค์
2.ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ปุวย จัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
3.คลี่ผ้าเช็ดตัวรองอ่างน้ำ แช่มือ หรือเท้าสักครู่เพื่อให้เล็บและขี้เล็บอ่อนตัว ช่วยให้ตัดเล็บและแคะสิ่งสกปรกที่เล็บออกได้ง่ายขึ้น
4.ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว ถ้าเล็บสกปรกมากอาจใช้ปลายตะไบแคะสิ่งสกปรกออก
5.ยกอ่างน้ำออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
6.ปูกระดาษรอง ตัดเล็บให้ปลายเล็บตรงและข้างไม่โค้งไม่ตามซอกเล็บ ปลายเล็บควรปล่อยให้ยาวกว่าปลายนิ้ว
7.ใช้ตะไบถูเล็บให้ขอบเล็บเรียบเพื่อปูองกันผิวหนังเกิดแผลถลอกจากการขีดข่วนของเล็บ
8.เปลี่ยนน้ำ ล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่ง เช็ดให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเก็บเศษเล็บทิ้งใน ถังขยะติดเชื้อกรรไกรตัดเล็บและตะไบเล็บ ทำความสะอาดด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์70%
การดูแลความสะอาดของตา
จุดประสงค์
1.กำจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
2.ความสุขสบายของผู้ป่วย
3.ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
2.ยกของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้สะดวกในการใช้
3.จัดให้ผู้ป่วยนอนนอนตะแคงด้านที่ต้องการทำความสะอาดเพื่อปูองกันมิให้น้ำยาและสิ่งสกปรกจากตาข้างที่ต้องการทำความสะอาดไปปนเปื้อนตาอีกข้างหนึ่ง
4.ใส่ถุงมือสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
5.ใช้สำลีชุบ 0.9%NSS พอหมาด เช็ดจากหัวตาไปหางตา ถ้าขี้ตาแห้งติดหนังตาหรือขนตา ควรวางส าลีชุบ0.9%NSS ไว้บนหนังตาให้ขี้ตาอ่อนตัวก้อนสำลี 1 ก้อนใชครั้งเดียวแล้วทิ้งไป และการใช้สำลีก้อนใหม่เช็ดตาด้วยวิธีดังกล่าวจนสะอาดเพราะ0.9% NSS ไม่ท าให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา การเช็ดจากหัวตาไปหางตา เป็นการป้องกันมิให้สิ่งสกปรกถูกดันไป
6.พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงด้านตรงข้าม และทำความสะอาดตาอีกข้างหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน
7.สังเกตลักษณะและจำนวนของขี้ตา รวมทั้งสภาพของตาว่าบวม แดง หรือไม่เพื่อประเมินสภาพของตา ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขต่อไป
เก็บของใช้ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยสำลีทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลทำความสะอาดของหู
จุดประสงค์
1.กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
2.ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
2.ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
3.จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
4.สวมถุงมือและmask
ใช้สำลีชุบ0.9%NSSหรือน้ าสะอาดเช็ดทำความสะอาดในช่องหู ใบหู และหลังใบหู แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
จุดประสงค์
1.กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
2.ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
3.ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
2.ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
3.จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะสูง(ถ้าไม่มีข้อห้าม)เพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
4.สวมถุงมือและmask
5.ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก และเช็ดส่วนที่เป็นยางเหนียวของพลาสเตอร์บนผิวหนังออกให้หมด เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำเกลือ และเช็ดตามด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์ เพราะเบนซินช่วยละลายส่วนที่เป็นยางเหนียวของพลาสเตอร์ ทำให้ไม่เจ็บขณะเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก แต่จะมีคราบของเบนซินทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
6.ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำหรือ0.9% NSS บีบพอหมาด เช็ดในรูจมูกเบาโดยรอบ ถ้ามีสายคาที่จมูกอยู่ ให้เช็ดรอบสายที่คาอยู่ในจมูกเพื่อกำจัดสารคัดหลั่งและสิ่งสกปรกในรูจมูกถ้าไม่เช็ดออกจะท าให้สกปรก
7.ถ้ามีสายที่คาในรูจมูก ใช้ผ้าก๊อซเช็ดสายที่คาในจมูกส่วนที่อยู่นอกจมูก รวมทั้งบริเวณจมูกให้สะอาดและแห้งติดพลาสเตอร์ ยึดสายคาจมูกเปลี่ยนตำแหน่งของรอย การติดพลาสเตอร์กับผิวหนังระวังการตึงรั้ง หรือแน่นเกินไป
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
วัตถุประสงค์
1.ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
2.ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
3.ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยและรู้สึกมีความมั่นใจ
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
2.วางของใช้บนรถเข็นสระผมเคลื่อนที่นำไปที่เตียง จัดวางเครื่องใช้ให้สะดวกแก่การหยิบใช้
3.จัดผู้ป่วยนอนหงายทแยงมุมกับเตียง ให้ศีรษะอยู่ริมเตียง นำผ้าเช็ดตัวม้วนกลมรองไว้ใต้คอผู้ป่วย
4.รองผ้าเช็ดตัววางบนผ้าม้วนกลม แล้วรองผ้ายางบนผ้าเช็ดตัวผืนนั้น เพื่อช่วยซับน้ำหากหกไหลเลยผ้ายางออกไป และใช้เช็ดผมเมื่อสระเสร็จแล้ว
5.เลื่อนรถสระผมฯ เทียบกับขอบเตียงวางศีรษะผู้ป่วยบนผ้าผืนที่ม้วนรองใต้คอ จัดชายผ้ายางให้ลงในอ่างล้างผม ใช้ไม้หนีบผ้าหนีบผ้ายางให้ติดกัน
6.ใช้หวีหรือแปรงสางผมให้ทั่ว สำหรับผู้ป่วยที่ผมสกปรกมากและยุ่งเป็นสังกะตังให้ใช้น้ำมันมะกอกชโลมก่อนสระถ้าแก้ไขไม่ได้ควรตัดผมส่วนที่เป็นสังกะตังออก และตัดส่วนอื่นให้ดูรับกับใบหน้าเพื่อดูให้ไม่น่าเกลียด แต่ผมเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของผู้ป่วย ดังนั้นการตัดผม ต้องได้รับความยินยอมอนุญาตจากผู้ป่วยหรือญาติ(ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว)
ใช้สำลีชุบน้ำบีบให้หมาดใส่หูข้างละก้อน ป้องกันน้ำเข้าหู และใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กชุบน้ำบิดให้หมาด พับเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดตาผู้ป่วย
8.ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมพอเปียก เทแชมพูใส่มือถูกัน ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะใช้มือทั้งสองข้างเกาหนังศีรษะ บอกให้ผู้ป่วยเอียงศีรษะไปทางซ้ายพยาบาลใช้มือซ้ายประคองศีรษะ ใช้มือขวาเกาหนังศีรษะบริเวณ parietal,temporal และsubocciputของศีรษะด้านขวา จากนั้นบอกให้ผู้ป่วยเอียงศีรษะไปทางขวาพยาบาลใช้มือขวาประคองศีรษะ ใช้มือซ้ายเกาหนังศีรษะบริเวณ parietal,temporal และsubocciputของศีรษะด้านซ้ายบอกให้ผู้ป่วยหันศีรษะตรง
9.ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมให้ทั่วโดยราดน้ำที่ละครึ่งศีรษะ ใช้มือลูบฟองยาสระผมจนหมด ทำการสระผมอีกครั้ง ทำเหมือนข้อ 8และ 9
รวบปลายผมบิดให้หมาด เอาสำลีออกจากหู และคลี่ผ้าปิดตาทำเป็นสามเหลี่ยมโดยเอาสายผ้าแต่ละข้างเช็ดใบหู รูหูและหน้าหูและหลังหู จนสะอาดทั่ว
ปลดผ้ายางออกจากคอผู้ป่วย รวบลงอ่างสระผม ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนที่รองใต้ผ้ายางสระผม เช็ดผมให้หมาดพันรวบผม และบอกให้ผู้ป่วยลงนั่งหรือย้ายศีรษะผู้ป่วยวางบนหมอน
ใช้เครื่องเป่าผม เป่าผมให้แห้ง หวีผมให้ได้ทรง ถ้าผมยาวควรรวบผมมัดให้เรียบร้อย
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเศษผมและสำลีห้ามทิ้งลงอ่างล้างมือเด็ดขาด เพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำตัน ให้ทิ้งลงถังขยะติดเชื้อเท่านั้น
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชาย
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิดเพื่อความเป็นส่วนตัวและลดความเขินอาย
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือและmask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
4.จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย (dorsal position) เปิดเฉพาะส่วนอวัยวะสืบพันธุ์
5.ให้ผู้ป่วยยกก้น สอดหม้อนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก และจัดหม้อนอนตรงพอดีกับก้น
วางภาชนะใส่ขยะหรือกระโถนไว้ใกล้หม้อนอน และชุดชำระไว้ด้านปลายเท้า
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง มาที่เตียงให้ครบถ้วน วางไว้ในที่เหมาะสม หยิบใช้สะดวก เปิด P-care set
8.ใช้ forceps ใน setหยิบสำลีออกจากชามกลมวางบนผ้าห่อ 4ก้อนวางforcepsบนผ้าห่อ
9.เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลวบนสำลีในชามกลมพอประมาณ
ใช้มือข้างซ้ายจับองคชาต(penis )แล้วค่อยรูดหนังหุ้มปลาย
11.เท0.9% NSS หรือน้ าอุ่น บนสำลีในชามพอประมาณ
เลื่อนbed panออก คลุมด้วยbed pad และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
เอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่าที่สุขสบาย
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การประเมินผู้ป่วย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การพักผ่อน(Rest)หมายถึง ผ่อนคลายและมีความสงบทั้งจิตใจและร่างกายรวมถึงความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์ เพราะฉะนั้นการพักผ่อนไม่ได้หมายถึงการไม่มีกิจกรรม
การนอนหลับเป็นกระบวนการทางสรรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ช่วยส่งเสริมการหายของแผล
สงวนพลังงานพลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่นอาการเมื่อยล้าคลื่นไส้อาเจียนท้องผูกปวดศีรษะวิงเวียนเหมือนบ้านหมุน
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่ายอาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิดโมโหง่าย
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
มื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลงสมาธิไม่ดีและแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลทางสังคมได้แก่การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง
วงจรการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง)
ในคนทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที -7 นาที
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)
การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)
ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติรู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง
ระยะที่ 4 (หลับลึก)
เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน ใช้เวลา 30 -50 นาที
ช่วงหลับฝัน
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่าง ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ
ช่วงเวลาหลับฝันนี้จะกินเวลาประมาณ 30 นาที
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
เพศ โดยธรรมชาติแล้วเพศชายจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับได้เร็วและมากกว่าเพศหญิง 10-20 ปี
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด เป็นปัจจัยกวนการนอนหลับด้านร่างกายมากที่สุด
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง จากสายยางและท่อระบายต่าง เช่น สายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม ท่านอนมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ
อาการคลื่นไส้ อาเจียน มักพบหลังจากได้รับยาระงับรู้สึกทั่วร่างกาย
ภาวะไข้หลังผ่าตัด การมีอุณหภูมิร่างกายสูงหลังผ่าตัดเป็นปฏิกิริยา
ความวิตกกังวล
ความกลัวและความวิตกกังวลในเรื่องต่างๆเป็นปัจจัยรบกวนคุณภาพของการนอนหลับ
ปัจจัยภายนอก
เสียง
เป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนอนในโรงพยาบาล แหล่งของเสียงรบกวนพบบ่อยที่สุด
อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายเพิ่มขึ้น และตื่นบ่อยขึ้น
แสง
แสงเป็นปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ โดยส่งผลต่อระยะการเริ่มต้นของการนอนหลับ
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
การเปลี่ยนที่นอนเกิดความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่ เช่น ขนาดของเตียงนอน ผู้ปุวยพลิกตัวกลัวตกเตียง
กิจกรรมการรักษาพยาบาล
กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับตามเวลา ได้แก่ การทำหัตถการต่างๆ การพลิกตะแคงตัว
อาหาร
การรับประทานอาหารที่มีสารทริพโทแฟ็น(tryptophan) ซึ่งมีอยู่ในนมจะส่งเสริมการนอนหลับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา โคล่า ช็อคโกแลต
ยา
ยาที่รบกวนการนอนหลับ ได้แก่ ยาบาบิทูเรต (barbiturates) โดยยาจะไปออกฤทธิ์รบกวนการนอนหลับในระยะ REM เกิดฝันร้ายและภาพหลอน
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและ การนอนหลับที่ผิดปกติ
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้น 3-5 วัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง
โรคทางจิตเวช เช่นโรคซึมเศร้า
โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคสมองเสื่อม
อาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ ซึ่งจะแสดงออกในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ เช่น หลับขณะขับรถยนต์ หรือรอรถติดไปแดง
Parasomnia
ความผิดปกติของการตื่น
อาการสับสน ละเมอเดิน
ผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ
อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
ภาวะฝันร้าย
กลุ่มอื่น ๆ
การนอนกัดฟัน
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM ได้แก่ เมื่อยล้า คลื่นไส้
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM ได้แก่ ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะท าให้การท างานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกายอ่อนล้า และขาดสมาธิ
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและน่าอยู่อาศัย
ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องใช้และเครื่องอ านวยความสะดวกต่างๆ
อุณหภูมิมีความเหมาะสมของอุณหภูมิระหว่าง 20-25
สียงแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอกห้อง หรือเกิดจากผู้ให้บริการ หรือ จากญาติที่มาเยี่ยมไข้
กลิ่น
กลิ่นหอม
กลิ่นเหม็น
แสงสว่าง สภาพแวดล้อมที่ดีต้องไม่มืดสลัวหรือสว่างจ้าจนเกินไป แสงสว่างที่ดีที่สุดควรเป็นแสงธรรมชาติ
ความเป็นส่วนตัว และมิดชิดอย่างปลอดภัย
ความอบอุ่น และความประทับใจในบุคลิกภาพของพยาบาล
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position เป็นท่านอนหงายราบ ขาชิดติดกัน
Fowler’s position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา
Prone position เป็นท่านอนคว่ า เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับผู้ปุวย ที่ไม่รู้สึกตัว แต่มีการหายใจปกติ
Lateral position เป็นท่านอนตะแคงจัดเพื่อความสุขสบายของผู้ปุวย
Sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบายส าหรับผู้ปุวยได้เปลี่ยนอิริยาบถ และพักผ่อนได้อย่างมีความสุข
การทำเตียง
การทำเตียงว่าง
จุดประสงค์
จัดสิ่งแวดล้อมสะอาดให้ส่งเสริมความสุขสบายให้หอผู้ปุวยเป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงามน่าอยู่พักอาศัย
จัดเตรียมความพร้อมเตรียมรับผู้ป่วยใหม่
เครื่องใช้
ผ้าปูที่นอน
ผ้ายางขวางเตียง
ผ้าขวางเตียง
ปลอกหมอน
ผ้าคลุมเตียง
ผ้าห่ม
กระบอกฉีดน้ำผสมผงซักฟอก
ถังใส่ผ้าเปื้อน
ถุงมือสะอาด
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
เครื่องใช้
กระบอกฉีดน้ำผสมผงซักฟอก ถังน้ำสะอาด และผ้าเช็ดเตียง
ถังใส่ผ้าเปื้อน
ถุงมือสะอาด
เครื่องผ้า เหมือนการทำเตียงว่าง ยกเว้น ผ้าห่มและผ้าคลุมเตียง
การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ
เครื่องใช้
เครื่องผ้าเหมือนกับการทำตียงว่าง
ชามรูปไต และกระดาษเช็ดปาก
เครื่องวัดความดันโลหิตพร้อมหูฟัง
เครื่องใช้อื่น ตามความจำเป็น เช่น เสาน้ำเกลือ เครื่องดูดเสมหะ เครื่องดูดสารคัด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับ
การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและปลอดภัย
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล