Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
💊ยาต้านเชื้อรา💊 - Coggle Diagram
💊ยาต้านเชื้อรา💊
Systemic antifungal drugs for systemic infections (ยาต้านเชื้อราในร่างกาย)
Amphotericin B
คือ
เป็นยาฆ่าเชื้อรา ที่ได้จากเชื้อ Streptomyces nodosus ซึ่งเป็นแบทีเรียแกรมบวก ไม่ละลายน้ำและดูดซึมได้ไม่ดีจากทางเดินอาหาร จึงนิยมให้ยาทางหลอดเลือดดำ
กลไกการออกฤทธิ์
ยาออกฤทธิ์โดยการเข้าจับกับ ergosterol ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ cell membrane ของเชื้อราส่งผลให้เซลล์เกิดรู และเปลี่ยนการซึมผ่านของเซลล์เมมเบรน ทำให้สารต่างๆ ไหลออกนอกเซลล์ทำให้ตายในที่สุด
ข้อบ่งใช้
เป็นยาที่เหมาะที่สุดในการใช้รักษาการติดเชื้อราที่รุนแรง เช่น เชื้อราในช่องคลอด โรคปอดอักเสบจากเชื้อรา เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา
หากให้ยาโดยการรับประทาน จะใช้รักษาการติดเชื้อราที่ GI lumen เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการฆ่าเชื้อราทาง systemic การให้ทางหลอดเลือดดำ ยาจะกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี แต่เข้าสู่ CSF ได้เพียงเล็กน้อย หากใช้รักษา fungal meningitis ต้องให้ยาทางช่องไขสันหลัง (intrathecal)
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่พบบ่อย
มีอาการหนาวสั่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ วิตกกังวล ปวด ความคิดสับสน
หลอดเลือดดำอักเสบ
คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร
ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย
ผมร่วง รอยฟกช้ำ เนื้อเยื่ออักเสบ ผิวหนังแห้ง
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้ที่ภูมิไวเกินต่อยาหรือส่วนประกอบใน liposomal amphotericin B
Flucytocine (5-FC)
ผลข้างเคียง
อาการที่พบ
Anemia โลหิตจาง
Leukopenia เม็ดเลือดขาวต่ำ
Thrombopenia เกล็ดเลือดต่ำ
คลื่นไส้ อาเจียน
ผื่นแพ้
กลไกการ
ออกฤทธิ์
5-FC ถูกนำเข้าเซลล์เชื้อราจะถูกเปลี่ยนเป็น 5-FU ซึ่งอยู่ในรูปของ active form และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์ DNA และ RNA
5-FC
มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่แคบกว่า Amphotericin B
ให้โดยการรับประทาน
สูตรโครงสร้างที่คล้ายกับ 5-Fluorouracil
(5-FU: ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง)
ยาดูดซึมได้ดีและกระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดีรวมทั้ง CSF ยาถูกขับออกทาง glomerular filtration ที่ไต ระดับยาจะเพิ่มขึ้นสูงมากในผู้ป่วยที่มี renal impairment และอาจทำให้เกิดพิษจากยาได้
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาการติดเชื้อราที่รุนแรงภายในร่างกาย
มักจะใช้ร่วมกับยาอื่น
คำแนะนำใช้ยา
ใช้ครีมกันแดดหรือเสื้อผ้าเพื่อป้องกันผิวจากรังสียูวี
เนื่องจากยาทำให้ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดด
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์
อาจทำให้ทารกพิการ
Azoles / เอโซล
ketoconazole
เป็นยาตัวแรกในกลุ่ม azole
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต รังไข่และอัณฑะ ทำให้เกิดผลคือ gynecomastia (ภาวะเต้านมโตในเพศชาย)ในเพศชาย และinfertility(ภาวะมีบุตรยาก)
ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงยาหรึอทำลายยา ทำให้ยาหลายชนิดถูกเปลี่ยนแปลงได้น้อยลง มีระดับยาเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดพิษจากยามากขึ้น
ข้อบ่งใช้
ใช้ยาเม็ดในการรักษาเชื้อราที่ศีรษะ ผิวหนัง เล็บ กลากเกลื้อน ราที่เกิดในทางเดินอาหาร ตกขาวจากเชื้อรา ใช้ป้องกันการติดเชื้อราในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง
ผลข้างเคียง
ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตไม่เพียงพอ รบกวนระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง ระคายเคืองผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ รู้สึกแสบร้อน เกิดผื่นคัน ผื่นลมพิษ เกิดอาการบวม การแพ้ยาแบบ anaphylaxis ปวดศีรษะ มึนงง ง่วงนอน เป็นไข้ เกร็ดเลือดต่ำ ประจำเดือนมาไม่ปกติ กดการทำงานของต่อมหมวกไต เต้านมโตในเพศชาย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มความดันในกระโหลก ไวต่อแสง ค่าการทำงานของตับเพิ่มขึ้น อาการที่ไม่พึงประสงค์รุนแรง ได้แก่ การเกิดพิษต่อตับ
ข้อห้ามใช้
• ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
• ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
• ห้ามใช้ยาคีโตโคนาโซลชนิดรับประทานในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีการทดสอบการใช้ยากับสัตว์ทดลองที่ตั้งครรภ์แล้วพบว่ายานี้ก่อให้เกิดความพิการของตัวอ่อนในครรภ์ได้ ซึ่งหากนำมาใช้กับหญิงตั้งครรภ์ก็อาจก่อให้เกิดความพิการต่อทารกหรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้
• ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด
คำแนะนำในการใช้ยา
หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ในเด็กจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
หากจำเป็นต้องรับประทานยาคีโตโคนาโซลร่วมกับยาลดกรด ให้รับประทานยาลดกรดหลังจากรับประทานยาคีโตโคนาโซลไปแล้ว 2 ชั่วโมง
การใช้ยานี้ให้ได้ผลจะต้องรับประทานยาตามขนาดกำหนด รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่ควรลืมรับประทานยา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนดตามที่แพทย์สั่ง ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม
หากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดอื่นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะยาลดการสร้างกรดของกระเพาะอาหาร
ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในรูปแบบรับประทานเป็นยาอันดับแรกในการรักษาโรคเชื้อรา
ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ควรรับประทานยานี้พร้อมกับอาหารเพื่อให้ยาดูดซึมได้ดีขึ้น
ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากรับประทานยามาแล้ว 1-2 สัปดาห์
หากรับประทานยานี้ไปแล้ว 2 สัปดาห์ ให้ปรึกษาแพทย์ และควรมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับหลังจากใช้ยาคีโตโคนาโซลไปแล้ว 2 สัปดาห์
ผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยาคีโตโคนาโซลเป็นเวลานาน หรือผู้ที่เป็นโรคตับจะต้องเข้ารับการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับเป็นระยะ
Itraconazole
กลไกการออกฤทธิ์
กดการสร้าง ergosterol โดยยับยั้ง 14α-demthylase เกิดการสะสมของ 14α-methylsterols ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของ membrane เชื้อราหยุดเจริญเติบโต
เป็นยาที่มี activity ดีต่อ Aspergillus ยาจะดูดซึมได้ดีในภาวะที่เป็นกรด ให้ทานยาพร้อมกับอาหารจะช่วยเพิ่มการดูดซึม ยาผ่านเข้าสู่ CSF ได้ไม่ดี ไม่มีผลต่อการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมน รบกวนเอนไซม์ที่ตับน้อยกว่า Ketoconazole และ itraconazole
ผลข้างเคียง
กระหายน้ำ ปากแห้ง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร อารมณ์เปลี่ยน ปัสสาวะน้อยครั้ง หายใจลำบาก ริมฝีปาก มือหรือเท้าเป็นเหน็บและมีอาการชา เจ็บหรือเกร็งกล้ามเนื้อ การเต้นหัวใจผิดปกติ ชัก หมดแรงหรืออ่อนเพลีย
ผลข้างเคียงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ ปอดบวมน้ำ ตับอักเสบหรือภาวะหัวใจวาย
คำแนะนำในการใช้ยา
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องจักรหรือการขับรถขณะใช้ยา Itraconazole เพราะอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะ หรือมีปัญหากับการมองเห็น เช่น ภาพไม่ชัดหรือภาพซ้อน
ควรรับประทานยาในปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด
ควรเก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง หรือประมาณ 15-25 องศาเซลเซียส ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีความร้อน ความชื้น และไม่ควรสัมผัสแสงโดยตรง
ควรกินทั้งแคปซูลหรือเม็ด ไม่ควรเปิด เคี้ยวหรือบดยา
การกินยาเวลาเดิมทุกวันช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น
ควรกินยาตามแพทย์สั่งให้ครบ เพื่อรักษาการติดเชื้อให้หายขาดและป้องกันการเป็นซ้ำ
หากลืมกินยา ควรรีบกินยาทันทีที่รู้ตัว แต่หากใกล้จะถึงเวลากินยาครั้งต่อไปแล้ว ให้ข้ามยาที่ลืมกินนั้นไป และห้ามเพิ่มปริมาณยาที่จะกินในครั้งต่อไป
Fluconazole
ใช้รักษา cryptococcal meningitis, candidiaemia
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้ง 14α-demthylase เหมือนกับ Itraconazole
ผลข้างเคียง
ปวดศีรษะ ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และลิ้นเปลี่ยนรส
หากทานยาเกินขนาดอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนก หวาดกลัว หรือมีสภาพจิตใจที่เปลี่ยนแปลง อาจเห็นภาพหลอน หูแว่ว หรือมีสัมผัสผิดเพี้ยน
ผู้ที่แพ้ยาจะมีอาการค่อนข้างรุนแรง โดยจะมี ผื่นขึ้น คัน หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ใบหน้าบวม
ข้อห้ามใช้
ที่มีประวัติแพ้ยาแอสเทมมีโซล ซิซาไพรด์ หรือสารในกลุ่มเออร์กอตแอลคาลอยด์ ไม่ควรใช้ยานี้
สตรีมีครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรแจ้งกับแพทย์ก่อนได้รับยาชนิดนี้
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ ตับ และไต ควรแจ้งแพทย์ก่อนใช้ยา
ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โรคเบาหวาน มะเร็ง และปัญหาเกี่ยวกับเกลือแร่ในเลือด ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทำการรักษาด้วยยาชนิดนี้
ควรหลีกเลี่ยงในการใช้ยากับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร
คำแนะนำการใช้ยา
ควรรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องและตรงเวลา
ไม่ควรรับประทานยากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรกล
สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และควรรับประทานห่างจากยาลดกรดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
สำหรับสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิด ยานี้อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลง จึงควรใช้วิธีคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
Voriconazole
มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อรา มีผลต่อ candida โดยเฉพาะที่ดื้อต่อยา fluconazole,dimorphic fungi, pathogenic molds, Aspergillus
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้ง 14α-demthylase เหมือนกับ Itraconazole
ข้อบ่งใช้
ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อรา เช่น การติดเชื้อราแคนดิดาแบบลุกลาม การติดเชื้อแอสเปอร์จิลลัสแบบลุกลาม และการติดเชื้อรารุนแรงอื่นๆ ยานี้มักจะใช้กับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลข้างเคียง
อาจเกิดปฏิกิริยาผิวหนังที่รุนแรง
กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)
โรคท็อกซิกอีพิเดอร์มัลเนโครไลซิส (toxic epidermal necrolysis
อาการไม่พึงประสงค์คือ visual disturbance
คำแนะนำในการใช้ยา
หลีกเลี่ยงการขับรถ เพื่อลดอุบัติเหตุเพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น เวียนศรีษะ
อาจมีอาการแดดเผาได้ง่ายขึ้น ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันจากแสงแดด
ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และการให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ
อาจเกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง Fungal cytochrome P 450 enzyme ทำให้เกิดการลดลงของการสังเคราะห์ ergosterol ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์เมมเบรนของเชื้อรา ยามีความชอบต่อ fungal enzyme มากกว่า humen enzyme แต่ imidazole มีความจำเพาะเจาะจงต่อ fungal enzyme น้อยกว่า จึงมีโอกาสที่ยับยั้ง humen enzyme จะก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า
ผลข้างเคียง
ยา imidazole มีความจำเพราะเจาะจงต่อ fungal enzyme น้อยกว่า จึงมีโอกาสที่จะยับยั้ง humen enzyme จะก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้มากกว่า
ยากลุ่มนี้ส่วนมากไม่ก่อพิษต่อร่างกาย แต่อาจก่อต่อตับได้ โดยทำให้ค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น จนทำให้เกิด hepatitis ได้
แบ่งตามสูตรโครงสร้าง
Triazole
Itraconazole
Fluconazole
Voriconazole
ยากลุ่ม Triazole ทุกตัวเป็นยาใช้ภายใน(กินและฉีด) รักษาการติดเชื้อราในอวัยวะภายใน ยกเว้นTerconazole ที่อยู่ในรูปครีมใช้ทาและยาเหน็บใช้ภายนอก
Imidazole
Ketoconazole
Miconazole
Clotrimazole
ยากลุ่ม Imidazole ทุกตัวเป็นยาใช้ภายนอกสำหรับกลาก-เกลื้อน ยกเว้นKetoconazole ซึ่งใช้กินหรือเหน็บ
ยาทั้งสองกลุ่มมีโครงสร้างคล้ายกัน แต่กลุ่ม Imidazoles
มีผลยับยั้งการสังเคราะห์ testosterone ของคนด้วย
จึงมีการพัฒนากลุ่ม Triazole ให้ไม่มีผลดังกล่าว อีกทั้งยังมีฤทธิ์ที่แรงขึ้น สามารถฆ่าเชื้อราได้กว้างขวางกว่า ดังนั้นยากลุ่มนี้
จึงสงวนไว้ใช้ภายในเท่านั้น
ข้อบ่งใช้ยา
ยาเม็ด Ketoconazole และ Itraconazole
ควรรับประทานหลังอาหารทันที
ยาน้ำ Itraconazole ควรรับประทานตอนท้องว่าง
สำหรับคนที่มีกรดในกระเพาะอาหารน้อย
ควรจะละลายยาในสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด
เพื่อให้การดูดซึมยาได้ดีขึ้น
คำแนะนำการใช้ยา
แจ้งประวัติการแพ้ยาให้แพทย์ทราบ
ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ควรใช้ยาคุมกำเนิดระหว่างทานยานี้ด้วย และคุมกำเนิดต่ออีก 2 สัปดาห์หลังหยุดยา
เด็กสามารถใช้ยานี้ได้แต่ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ควรระมัดวังอย่างมากหากใช้ในผู้สูงอายุ
การนำไปใช้ทางคลินิก
Candida speices ก่อโรคผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ
Cryptococus neoformans ก่อโรคฉวยโอกาสที่ติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะ
Blastomycosis ก่อโรคบลาสโตไมโคสิส
Coccidioidomycosis ก่อโรคค็อกสิดิออยโดไมโคสิสหรือโรคไข้วาลเลย์
Histoplasmosis ก่อโรคฮิสโตพลาสโมซิส
Dermatophytes เชื้อราก่อโรคผิวหนัง
Aspergillus ก่อโรคปอดอักเสบจากเชื้อรา
Topical drugs for mucocutaneous infection (ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก)
Topical Azoles
เช่น ketoconazole,clotrimazole,miconazole มีทั้งในรูปแบบครีมและใช้ทาสำหรับ dermatophytic infections มีในรูปแบบ troches สำหรับ oral thrush ยามีอาการไม่พึงประสงค์น้อยเนื่องจากยาไม่ค่อยดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
ข้อห้ามใช้ สตรีมีครรภ์และอยู่ในช่วงให้นมบุตร
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา คืออาการปวดศีรษะ ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง คลื่นไส้
Nystatin/ไนสแตติน
ยาในรูปครีม ointment,suppositories,ถ้าไม่ถูกดูดซึมทาง skin,mucous membrane ดังนั้นจึงมีผลข้างเคียงน้อยได้ผลต่อ Candida species เป็นส่วนใหญ่
ออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิด pore forming เกิดรูที่ cell membrane
ข้อบ่งชี้ Oral candidiasis และ Vaginal candidiasis
คำแนะนำการใช้ยา ใช้ยาตามฉลากและตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยานี้ในปริมาณมากกว่า น้อยกว่า หรือติดต่อกันนานกว่าที่แพทย์แนะนำ หากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ
Topical allylamines
Terbinafine และ Naftifine เป็นยากลุ่มallylamine ที่อยู่ในรูป ครีมทา ทาภายนอกใช้ในการรักษาเกลื้อน
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง squalene epoxidase ทำให้มีการคั่งของ squalene ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์เชื้อรา ทำให้เซลล์ตาย จึงมีฤทธิ์เป็น fungicidal
ผลข้างเคียงพบได้น้อย ได้แก่ การระคายเคือง ของทางเดินอาหาร ใช้ได้ผลดีมากต่อเชื้อกลาก
การพยาบาลผู้ป่วยได้รับยาต้านเชื้อรา
2.ให้ยาโดยคำนึงถึงหลัก 7 right ทุกครั้งที่ให้ยา
3.การให้ยาต้านเชื้อราชนิดต่างๆ
Fluconazole
ยาถูกทำลายที่ตับน้อยมาก และขับออกทางไตฟในรูปแบบเดิมประมาณ 80% ดังนั้นจึงควรปรับขนาดยาให้ลดลง ในรูปผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง
Griseofulvin
จะถูกดูดซึมทางเดินอาหารได้ดีการรับประทานพร้อมอาหารที่มีไขมันสูงจะเพิ่มการดูดซึม 2 เท่า
Ketoconazole
ไม่ใช้ร่วมกับยาอื่นที่มีผลลดความเป็นกรดของกระเพาะอาหาร
Itaconazole
การรับประทานพร้อมอาหารจะเพิ่มการดูด การใช้ยาร่วมกับ H-antagonist หรือ antacid จะลดการดูดซึมของ Itraconazole เช่นเดียวกับ Ketoconazole
Amphotericin B
ห้ามผสมยาในเกลือแร่หรือผสมยาปฏิชีวนะว่าจะทำให้ยาตกตะกอน
1.ประเมินลักษณะของรอยโรค การติดต่อเชื้อราในร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจพิเศษต่างๆ
Systemic Antifungal Drugs for Mucocutaneous Infections
(ยาต้านเชื่อราบริเวณผิวหนังและเยื่อบุชนิดรับประทาน)
Griseofulvin/กริซีโอฟุลวิน
เป็นรักษาโรค dermatophytosis (โรคกลาก)
กลไกการออกฤทธิ์ของยายังไม่แน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการแบ่งเซลล์ของเชื้อรา
ยาสะสมได้ดีที่ ผิวหนัง ผม เล็บที่สร้างขึ้นใหม่
ยาจะจับกับ keratin ทำให้ไม่เกิดการติดเชื้อขึ้น
การรักษาใช้เวลาเป็นเดือนขึ้นไป
เซลล์ที่ติดเชื้อถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่
อาการไม่พึงประสงค์
allergic syndrome (อาการแพ้)
hepatitis (ตับอักเสบ)
การใช้ยาลดลง เนื่อจาก มีการใช้ยา itraconazole / terbinafine แทนมากขึ้น
ข้อห้ามในการใช้
ห้ามใช้ยากับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
หรือน้ำหนักตัวต่ำกว่า 15 กิโลกรัม
ห้ามใช้ยานี้หากกำลังตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์
คำแนะนำในการใช้ยา
ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างใช้ยานี้
ระหว่างใช้ยานี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดง
Terbinafine/เทอร์บินาฟีน
เป็น allylamine รูปแบบการรับประทาน
รักษา dermatophyter (โรคกลาก)
ยามีฤทธิ์เป็น fungicidal จับกับ keratin ได้
ยาออกฤทธิ์คล้ายกับ azole รบกวนกระบวน ergosterol biosynthesis
อาการไม่พึงประสงค์
GI upset
headache
ไม่มีผลต่อเอนไซม์ cytochrome P 450
ไม่พบว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เคยแพ้ยานี้ หรือส่วนประกอบของยานี้
ห้ามใช้ในกรณีเคยเป็นหรือปัจจุบันเป็นโรคตับเรื้อรัง
คำแนะนำในการใช้ยา
ระหว่างการใช้ยาควรเลี่ยงการสัมผัสของแสงแดด ควรทาครีมกันแดด
เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
ระมัดระวังการใช้ยาในหญิงที่ให้นมบุตร
ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาและอาหารบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ กาแฟ ซ็อคโกแลต