Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกลอกตัวก่อนกำหนด(placenta abruption) - Coggle Diagram
รกลอกตัวก่อนกำหนด(placenta abruption)
ประวัติอาการ และอาการแสดงดังนี้
สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง (จากการวัด BP = 170/10 mmHg).
มีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับมี อาการปวดท้องมาก
มดลูกหดรัดตัวมาก (tetanic contraction) หรือแข็งเกร็ง
คลำส่วนของทารกในครรภ์ไม่ชัดเจนเนื่องจากหน้าท้องแข็งตึง
ฟัง FHS ไม่ได้
การตรวจพิเศษที่สำคัญเพื่อวินิจฉัยแยกโรค
1.การชักประวัติ ได้แก่ ประวัติการมีเลือดออกทางช่องคลอด ร่วมกับอาการเจ็บครรภ์
การตรวจร่างกาย ส่วนใหญ่พบมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับอาการเจ็บครรภ์ (painful bleeding) มีเลือดปนในน้ำคร่ำ อาจพบอาการและอาการแสดงของการเสียเลือดมากโดยไม่สัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด เช่น อาการซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาเร็ว เป็นตัน
การตรวจครรภ์พบการหดรัดตัวของมดลูกถี่รุนแรง หนังท้องแข็งตึง (tetany) เจ็บครรภ์มาก กดเจ็บบริเวณมดลูก คลำส่วนของทารกได้ยากหรือไม่ได้ แบบแผนการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติจากการขาดออกซิเจน หรือ ฟังไม่ได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจพบฮีโมโกลบินลดต่ำลง กรณีเสียเลือดมากควรตรวจสอบการทำหน้าที่ของตับและไต และตรวจการแข็งตัวของเลือดและตรวจหา fibrinogen
5.การตรวจพิเศษสำหรับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงใช้ตรวจหาตำแหน่งที่รกเกาะ การเจริญเติบโตของทารก และปริมาณน้ำคร่ำ ไม่นิยมใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะรกลอกตัว เนื่องจากมีความไวต่ำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้แก่ ภาวะช็อคจากการเสียเลือดและภาวะ Fetal distress
ข้อมูลสนับสนุน
S: -
O: จากการตรวจร่างกายมีอาการบวมที่เท้ากดบุ๋ม วัด BP = 170/10 mmHg. Pulse 100 ครั้ง/นาที RR = 20 ครั้งต่อนาที พบระดับยอดมดลูก ¾ เหนือสะดือ ท้องแข็ง คลาส่วนของทารกในครรภ์ไม่ได้ ฟัง FHS ไม่ได้ จากการซักประวัติ 1 วันก่อนมาเริ่มมีอาการบวมที่เท้ากดบุ๋ม ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว แต่ไม่มีจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ ร่วมกับมีอาการปวดท้องมาก มีเลือดออกทางช่องคลอด
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก
กิจกรรมการพยาบาล
11.ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยและทารกไม่มีอันตราย แนวทางการรักษา ได้แก่ การให้ coricosteroid
รับฟังสิ่งที่สตรีตั้งครรภ์พูดคุยด้วยท่าทีที่สนใจ เป็นกันเอง ปลอบโยน ให้เกิดกำลังใจ และความมั่นใจ ตอบข้อซักถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง
ดูแลให้สตรีตั้งครรภ์ รู้สึกผ่อนคลาย และได้รับ การตอบสนองตามความต้องการ
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ (fetal heart sound [FHS]) ทุก 1 ชั่วโมง
เจาะเลือดส่งตรวจหาระดับความเข้มข้นของ เลือดทั้ง ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต การนับเม็ดเลือดทุกชนิด การนับเกล็ดเลือด กลุ่มเลือด และอื่น ๆ
งดการตรวจภายในทางช่องคลอดและทาง ทวารหนัก รวมทั้งงดการสวนล้างช่อง คลอด การใช้ยาระบาย และงดการสวนอุจจาระในระยะ ก่อนคลอด
ให้งดน้ำและอาหารทางปาก ดูแลให้ได้สารน้ำและอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ใส่ผ้าอนามัยเพื่อประเมินเลือดที่ออกทาง ช่องคลอด โดยคาดคะเนจากเลือดที่ชุ่มผ้าอนามัย
จัดให้นอนพักผ่อนบนเตียงเพื่อลดการกระตุ้น การหดรัดตัวของมดลูก ควรมีกิจกรรมเท่าที่ จำเป็นและควรนอนตะแคงซ้าย
ประเมินอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิด เช่น อาการ และอาการแสดงของภาวะช็อค การประเมินสัญญาณชีพ เป็นระยะ
1.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบ และเข้าใจถึงภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น แนวทางการรักษา
เกณฑ์การพยาบาล
หญิงตั้งครรภ์ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค เช่นหน้ามืด ใจสั่น มือเย็น ซีด วิงเวียนศีรษะ
ฟังเสียงอัตราการของหัวใจทารกในครรภ์มีค่าปกติ 110-160 bpm
หญิงตั้งครรภ์มีสัญญาณชีพที่เป็นปกติ ได้แก่
Blood pressure systolic 90-120 mmHg. diastolic 60-90 mmHg
Respiratory rate 16-20 ครั้ง/นาที
Pulse rate 60-100 ครั้ง/นาที