Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ, pngtree-physical…
บทที่ 3
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
3.1 การส่งเสริมสุขอนามัย
ความหมาย
สุขอนามัย (Hygiene)
หลักการและความรู้ของการคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและ
การป้องกันโรค โดยการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ในการส่งเสริมความสะอาดเพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี
สุขอนามัยส่วนบุคคล (Personal hygiene)
ปฏิบัติตน ดังนี้
การดูแลตนเอง เช่น การอาบน้ า การขับถ่าย
ปัสาวะ อุจจาระ การดูแลสุขอนามัยทั่วไปของร่างกาย การแต่งตัว สวมใส่เสื้อผ้า การออกกำลัง
การพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง การคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค โดยการดูแลความสะอาดส่วนต่าง ของร่างกาย
3.1.1 ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
ส่งเสริมให้ผู้ปุวยเกิดความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพที่ดี และมีความสุข
พยาบาลจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาล เพื่อช่วยขจัดสิ่งที่ทำให้ ผู้ป่วยไม่สุขสบาย
3.1.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
อายุ
เช่น เด็กเล็กไม่สามารถดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลได้ด้วยตนเองผู้ปกครองต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
เพศ
เพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ และไวต่อความรู้สึกกว่าเพศชายความต้องการการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บป่วยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือเจ็บปวดหรือมีการเจ็บปุวยทางสุขภาพจิต ทำให้ขาดความสนใจ หรือละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคค
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
เศรษฐกิจ
บุคคลที่มีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผม ปาก ฟัน และให้เวลากับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน
ภาวะเจ็บป่วย
เช่น โรคหัวใจ ระยะที่ร่างกายอ่อนเพลียทำให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
สิ่งแวดล้อม
อากาศร้อนทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
เช่น ห้ามสระผมขณะมีไข้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยมากขึ้น
11.ความชอบ
ปลูกฝังจนเป็นอุปนิสัยในการดูแลตนเองด้านความสะอาดร่างกาย และความชอบของแต่ละบุคคล
3.1.3 การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
1. การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด
(Early morning care)
เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรดึก
ช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การให้กระบอกปัสสาวะ การทำความสะอาดร่างกาย
2. การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/ A.M care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้า
เป็นการพยาบาลเพื่อดูแล
สุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวัน
อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
เล็บมือและเล็บเท้า เส้นผมและทรงผม
การเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน
3. การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/ P.M. care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้า และเวรบ่าย
ทำความสะอาดปากและฟัน
การล้างมือ ล้างหน้า
หวีผม สระผม
4. การพยาบาลตอนก่อนนอน (Evening care/ Hour of sleep care/ H.S. care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่าย
การให้หม้อนอนหรือกระบอกปัสสาวะ
การล้างมือ ล้างหน้า ทำความสะอาดปากฟัน
การนวดหลัง การจัดท่าให้ผู้ปุวยได้พักผ่อนอย่างสุขสบาย
5. การพยาบาลเมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ (As needed care/ P.r.N. care)
พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ปุวยตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ป่วยปัสสาวะรดที่นอน
พยาบาลจะช่วยเช็ดตัว ท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ผ้าปูที่นอนให้ผู้ปุวย
เปลี่ยนเสื้อผ้า
3.1.4 การดูแลความสะอาดร่างกาย
3.1.4.1 การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/ การอาบน้ำ (Bathing)
1. การอาบน้ำที่ห้องน้ำ (Bathing in bath room/ Shower)
โดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย
เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียงได้ พยาบาลช่วยพยุงเดินไปห้องน้้ำ ช่วยเตรียมของใช้ให้พร้อม เปิดก๊อกน้ำให้ปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม จัดที่นั่งในห้องน้ าให้สะดวก
2. การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath)
เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สารถเช็ดเองได้
บริเวณหลัง โดยอาจใช้การนั่งข้างเตียง
3. การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath)
เป็นการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมด
โดยพยาบาลเป็นผู้อาบน้ำให้
จุดประสงค์
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
กำจัดสิ่งสกปรก ที่สะสมบนผิวหนังและส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกาย
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและปูองกันแผลกดทับ
การนวดหลัง (Back rub or back massage)
ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและมีสัมพันธภาพที่ดีกับพยาบาล
หลักการนวดหลัง
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ปุวยโรคหัวใจ ภาวะมีไข้
โรคผิวหนัง โรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่่ำเสมอ
เลือกใช้แป้งหรือโลชันหรือครีม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบทที่ 3 การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตนเองบอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์
น้ำเครื่องใช้ต่าง มาวางที่โต๊ะข้างเตียง กั้นม่านให้มิดชิด
ล้างมือ
จัดท่านอนคว่ำและชิดริมเตียงด้านพยาบาลยืนมีหมอนเล็ก รองใต้หน้าอก
ในท่าที่สบายและพยาบาลนวดหลังได้สะดวก
เลื่อนผ้าห่มมาบริเวณก้นกบ ปูผ้าเช็ดตัวทับบนผ้าห่ม ถ้านอนตะแคงให้ปู
ทาแป้งหรือทาครีม หรือโลชั่น (เพียงอย่างเดียว)
นวดบริเวณหลัง
เรียงลำดับตามขั้นตอน ดังนี้
7.1 Stroking เป็นการลูบตามแนวยาวใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางที่บริเวณก้นกบ ค่อย ลูบขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ ให้น้ำหนักกดลงที่ปลายนิ้วแล้วอ้อมมาที่ไหล่ สีข้าง และตะโพกทำช้า เป็นจังหวะประมาณ 3-5 ครั้ง
7.2 Friction เป็นการใช้ฝุามือลูบแบบถูไปมาตามแนวยาวของกล้ามเนื้อไหล่ (trapezins) กล้ามเนื้อสีข้าง (latissimus dorsi) ทั้งสองข้างนิ้วชิดกัน วางฝุามือทั้งสองข้างลงบนกล้ามเนื้อแล้วถูขึ้นลงสลับกันตามกล้ามเนื้อ ทำอย่างน้อย 12 ครั้ง
7.3 Kneading เป็นการบีบนวดกล้ามเนื้อ
วิธีที่ 1
วางนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วชี้ แนบแนวกระดูกสันหลัง พร้อมปลายนิ้วหัวแม่มือบีบกล้ามเนื้อไข สันหลัง (erector spinous) เข้าหากัน ทำพร้อมกันทั้งสองมือ
วิธีที่ 2
ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางทั้งสองมือกดและบีบข้างกระดูกสันหลังเข้าหากันและคลายออกทำ ซ้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
7.4 Beating เป็นการก ามือหลวม ทุบเบา บริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น (gluteal muscle) แก้มก้น ทำอย่างน้อย 12 ครั้งใช้กำมือหลวม ทั้งสองข้างทุบเบา และเร็ว สลับขึ้นลงบริเวณกล้ามเนื้อ
7.5 Hacking เป็นการใช้สันมือสับเบา ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยสับสลับกันเร็ว โดยการกระดกข้อมือสับขวางตามใยกล้ามเนื้อบริเวณตะโพก ก้นและต้นขาทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
7.6 Clapping เป็นการใช้อุ้งมือตบเบา โดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งสองข้าง ให้เกิดช่องว่างตรงกลางฝุามือตบเบา สลับมือกัน โดยกระดกข้อมือขึ้นลงทั่วบริเวณหลังทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
7.7 Stroking ทำเหมือนข้อ 7.1 ท าซ้ าประมาณ 5-6 ครั้ง
3.1.4.2 การดูแลความสะอาดปากและฟัน
วัตถุประสงค์
เพื่อ
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
จัดการกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออก
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5 นาที
ผู้ปุวยที่มีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้งทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ปุวยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ
วิธีการทำความสะอาดปากและฟันผู้ป่วยที่ช่วยตนเองได้
ปฏิบัติดังนี้
พยาบาลแนะนำตนเอง บอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์
นำเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ปุวย เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง หรือท่านั่ง เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย
ล้างมือและสวมถุงมือ เพื่อปูองกันจุลินทรีย์
ปูผ้ากันเปื้อนใต้คาง วางชามรูปไตใต้คาง ให้ผู้ป่วยช่วยถือไว้ หรือวางบนโต๊ะ คร่อมเตียง (over bed)
เพื่อปูองกันเสื้อผ้าและที่นอนเปียก
ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด และแปรงฟัน
ได้แก่
6.1 แปรงฟันบนด้านนอกและด้านใน วางแปรงหงายขึ้น วางขนแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน เอียงแปรงทำมุม 45 องศา บนฟัน
2-3 ซี่ และปัดขนแปลงลงล่าง ผ่านตลอด ตัวฟัน ทำจนครบทุกซี่ทั้งด้านนอกและด้านใน
6.2 แปรงฟันล่าง วางขนแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน เอียงแปรงทำมุม 45 องศา บนฟัน 2-3 ซี่ และปัดขนแปลงลงล่าง
ผ่านตลอด ตัวฟัน ทำจนครบทุกซี่ทั้งด้านนอก
6.3 วางขนแปรงบนด้านบนของฟันบดเคี้ยว แปรงถูไปมา ทั้งฟันบนและฟันล่าง
6.4 บ้วนปากด้วยน้ าสะอาด
6.5 ควรแปรงลิ้น (ถ้าทำได้) วางแปรงบริเวณกลางลิ้น ลากแปรงมาตามยาว ทางปลายลิ้นหลังแปรงฟันแล้ว เพื่อขจัดเศษอาหารและลดจำนวนแบคทีเรียในปาก
6.6 ให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก เพื่อให้ปากสะอาดสดชื่น
6.7 ถ้าริมฝีปากแห้ง ให้ทาด้วยวาสลินทาปาก หรือครีมป้องกันปากแห้งแตกเพื่อให้ริมฝีปากนุ่ม ไม่แตก
6.8 เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
6.9 ลงบันทึกทางการพยาบาล
วิธีทำความสะอาดปากฟันผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
ปฏิบัติดังนี้
ใช้ลูกสูบยางดูดน้ำฉีดล้างช่องปากและในซอกระหว่างกระพุ้งแก้มและฟัน
ตรวจดูสภาพของปากและฟัน
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาบ้วนปาก
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านนอก และเหงือกให้ทั่วอย่างถูกวิธี
ใช้ไม้กดลิ้น พันด้วยผ้าก๊อซเพื่อช่วยอ้าปาก เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดปาก ฟันด้านใน ด้านบดเคี้ยว และลิ้น
ตรวจดูสภาพของเยื่อบุปาก เหงือก ฟัน และลิ้น
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านใน
สูบฉีดล้างช่องปากให้ทั่ว ดูดน้ำออกให้หมด
เช็ดปากให้ผู้ปุวย ถ้าริมฝีปากแห้งทาด้วยวาสลิน
เครื่องใช้
ได้แก่
syringe 10 cc
ลูกสูบยางแดง (baby ball )
น้ำยาบ้วนปาก
แก้วน้ า
ไม้พันสำลี
ชามรูปไต
ไม้กดลิ้น หรือไม้กดลิ้นพันสำลี
3% hydrogen peroxide
สารหล่อลื่นทาริมฝีปาก เช่น วาสลินทาปาก เป็นต้น
3.1.4.3 การดูแลความสะอาดของเล็บ
จุดประสงค์
ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
ปูองกันการเกิดเล็บขบ
วิธีการปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
คลี่ผ้าเช็ดตัวรองอ่างน้ำ แช่มือ หรือเท้าสักครู่ เพื่อให้เล็บและขี้เล็บอ่อนตัว
ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว ถ้าเล็บสกปรกมากอาจใช้ปลายตะไบแคะสิ่งสกปรกออก
ยกอ่างน้ำออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
ปูกระดาษรอง ตัดเล็บให้ปลายเล็บตรงและข้างไม่โค้งไม่ตามซอกเล็บ
ใช้ตะไบถูเล็บให้ขอบเล็บเรียบ เพื่อปูองกันผิวหนังเกิดแผลถลอกจากการขีดข่วนของเล็บ
เปลี่ยนน้ำ ล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่ง เช็ดให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เก็บเศษเล็บทิ้งใน ถังขยะติดเชื้อ กรรไกรตัดเล็บและตะไบเล็บ ทำความสะอาดด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์70%
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ได้แก่
ถาดใส่สบู่ ผ้าถูตัว ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บ กระดาษรอง
อ่างใส่น้ำอุ่น
ถุงมือสะอาด และmask
3.1.4.4 การดูแลความสะอาดของตา
ผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกไปวันละ 2-3 ครั้ง
จุดประสงค์
เพื่อ
กำจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
ยกของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดให้ผู้ป่วยนอนนอนตะแคงด้านที่ต้องการทำความสะอาด เพื่อปูองกันมิให้น้ำยาและสิ่งสกปรกจากตาข้างที่ต้องการทำความสะอาดไปปนเปื้อนตาอีกข้างหนึ่ง
ใส่ถุงมือสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ใช้สำลีชุบ 0.9% NSS พอหมาด เช็ดจากหัวตาไปหางตา
พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงด้านตรงข้าม และทำความสะอาดตาอีกข้างหนึ่งด้วย
สังเกตลักษณะและจำนวนของขี้ตา รวมทั้งสภาพของตาว่าบวม แดง หรือไม
เก็บของใช้ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย สำลีทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ถาดใส่อับสำลีชุบ 0.9% NSS และชามรูปไต
ถุงมือสะอาด และmask
3.1.4.5 การดูแลทำความสะอาดของหู
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
สวมถุงมือ และmask
ใช้สำลีชุบ 0.9% NSS หรือน้ำสะอาด เช็ดทำความสะอาดในช่องหู ใบหู และหลังใบหู แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ได้แก่
0.9% NSS หรือน้ำสะอาด
สำลีสะอาด หรือไม้พันสำลี 4 อัน
ผ้าสะอาด
ชามรูปไต
กระดาษเช็ดปาก
3.1.4.6 การดูแลทำความสะอาดของจมูก
จุดประสงค์
เพื่อ
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ปุวยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ปุวยจัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะสูง (ถ้าไม่มีข้อห้าม) เพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
สวมถุงมือ และmask
ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ า หรือ 0.9% NSS บีบพอหมาด เช็ดในรูจมูกเบาๆ
ถ้ามีสายที่คาในรูจมูก ใช้ผ้าก๊อซเช็ดสายที่คาในจมูกส่วนที่อยู่นอกจมูก รวมทั้งบริเวณจมูกให้สะอาดและแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ได้แก่
ถาดใส่แก้วใส่น้ำสะอาดหรือ 0.9% NSS
ไม้พันสำลีขนาดเล็ก 4-8 อัน
ผ้าก๊อซ
ชามรูปไต
กระดาษเช็ดปาก
อับสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% สำลีชุบเบนซิน และสำลีชุบน้ำเกลือใช้ภายนอก
พลาสเตอร์ ถุงมือสะอาด และmask
3.1.4.7 การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
วัตถุประสงค์
เพื่อ
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยและรู้สึกมีความมั่นใจ
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
วางของใช้บนรถเข็นสระผมเคลื่อนที่ นำไปที่เตียง จัดวางเครื่องใช้ให้สะดวก
จัดผู้ปุวยนอนหงายทแยงมุมกับเตียง ให้ศีรษะอยู่ริมเตียง นำผ้าเช็ดตัวม้วนกลมรองไว้ใต้คอผู้ป่วย
รองผ้าเช็ดตัววางบนผ้าม้วนกลม แล้วรองผ้ายางบนผ้าเช็ดตัวผืนนั้น เพื่อช่วยซับน้ำหากหกไหลเลยผ้ายางออกไป และใช้เช็ดผมเมื่อสระเสร็จแล้ว
ใช้หวีหรือแปรงสางผมให้ทั่ว
ใช้สำลีชุบน้้ำบีบให้หมาดใส่หูข้างละก้อน ป้องกันน้ำเข้าหู
ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมพอเปียก เทแชมพูใส่มือถูกัน ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะ
ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมให้ทั่ว โดยราดน้ำที่ละครึ่งศีรษะ ใช้มือลูบฟอง ยาสระผมจนหมด
รวบปลายผมบิดให้หมาด เอาสำลีออกจากหู
ปลดผ้ายางออกจากคอผู้ป่วย ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนที่รองใต้ผ้ายางสระผม เช็ดผมให้หมาดพันรวบผม
ใช้เครื่องเป่าผม เป่าผมให้แห้ง หวีผมให้ได้ทรง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ถาดใส่ยาสระผม หวี หรือแปรงผม ที่หนีบผ้า
รถเข็นสระผมเคลื่อนที่ พร้อมถังรองน้ำทิ้ง
ผ้ายางรองสระผม
เครื่องเป่าผม
ถุงมือสะอาด และmask
3.1.4.8 การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
1.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชาย
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อความเป็นส่วนตัวและลดความเขินอาย
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ และmask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย (dorsal position) เปิดเฉพาะส่วนอวัยวะสืบพันธุ์
ให้ผู้ป่วยยกก้น สอดหม้อนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก และจัดหม้อนอนตรงพอดีกับก้น
วางภาชนะใส่ขยะหรือกระโถนไว้ใกล้หม้อนอน และชุดชำระไว้ด้านปลายเท้า
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง มาที่เตียงให้ครบถ้วน วางไว้ในที่เหมาะสม หยิบใช้สะดวก เปิด P-care set
ใช้ forceps ใน set หยิบส าลีออกจากชามกลมวางบนผ้าห่อ 4 ก้อน วาง forceps บนผ้าห่อ
เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลว บนสำลีในชามกลมพอประมาณ
ใช้มือข้างซ้ายจับองคชาต (penis ) แล้วค่อย รูดหนังหุ้มปลาย (foreskin)
เท 0.9% NSS หรือน้ำอุ่น บนสำลีในชามพอประมาณ
เลื่อน bed pan ออก คลุมด้วย bed pad และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
เอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่าที่สุขสบาย
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
2.ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง
จุดประสงค์
เพื่อ
กำจัดสิ่งขับถ่าย สิ่งสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนปัสสาวะคาไว
วิธีปฏิบัติ
ดังนี้
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิด เพื่อความเป็นส่วนตัวและลดความเขินอาย
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือและmask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
. จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย คลุมผ้าห่มตามแนวขวาง เลื่อนผ้านุ่งขึ้นไปถึงเอว ให้ผู้ป่วยนอนหงายชันเข่าขึ้น (dorsal recumbent position) เหน็บผ้าห่มคลุมขา (drape) ให้เรียบร้อย
ให้ผู้ปุวยยกก้น สอดหม้อนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก และจัดหม้อนอนพอดีตรงก้น
วางภาชนะใส่ขยะหรือกระโถนไว้ใกล้หม้อนอน และชุดชำระไว้ด้านปลายเท้า
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง มาที่เตียงให้ครบถ้วน วางไว้ในที่เหมาะสม หยิบใช้สะดวก เปิด P-care set
ใช้ forceps ใน set หยิบสำลี 4 ก้อน ออกจากชามกลม สำลีวางบนผ้าห่อของ แล้ววาง forceps บนผ้าห่อของด้วย
เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลว บนสำลีในชามกลมพอประมาณ
ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างซ้ายแหวก labia ออก
เท 0.9% NSS หรือน้ำสะอาดบนสำลีในชามกลมพอประมาณเช็ดอวัยวะสืบพันธุ์
เลื่อน bed pan ออก คลุมด้วย bed pad ปิด และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
ให้ผู้ปุวยวางขาลง เอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่านอนหงายราบ
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
เครื่องใช้
ได้แก่
ผ้าปิดตา
ถุงมือสะอาด
หม้อนอน (bed pan) พร้อมผ้าคลุมหม้อนอน (bed pad) ผ้ายางผืนเล็ก
ถาดใส่ของ
3.1.4.9 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
1. การประเมินผู้ป่วย (Health assessment)
ได้แก้
ประเมินระดับความสารถในการดูแลตนเอง
ประเมินความชอบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ปุวย
ประเมินผิวหนัง ช่องปาก เส้นผมและหนังศรีษะ ตา หู จมูก
ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดูแล
2. การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
ได้แก่
ไม่สนใจดูแลความสะอาดร่างกายด้วยตนเองเนื่องจากมีความเครียดเกี่ยวกับ......
มีความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรค…..
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่องจากเป็นอัมพาต...
พร่องความสามารถในการดูแลความสะอาดร่างกายเนื่องจาก...
3. การวางแผนการพยาบาล (Planning)
ใช้ข้อมูลจากการ
ประเมินผู้ป่วย แล้วทำการ
กำหนดวัตถุประสงค์ และเกณฑ์การประเมิน
เลือกกิจกรรมการดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่กับปัญหาความต้องการของผู้ป่วย
4. การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ปฏิบัติการดูแลความสะอาดร่างกาย การอาบน้ำ การนวดหลัง การทำความปากและฟัน เส้นผมและหนังศรีษะ และอวัยวะสืบพันธุ์
5. การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
💚
💚
💚
💚
💚
🧡
🧡
🧡
🧡
🧡
🧡
🧡
🧡
🧡
นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่ 11 Section B วิชา พบ.213 การพยาบาลพื้นฐาน