Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม (Culture)
หมายถึงวิถีการดำเนินชีวิต (The Way of Life) ของคนในสังคม ซึ่งเป็น สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยม
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned)
มนุษย์จะเรียนรู้ทีละเล็กทีละน้อยใน สังคมจนกลายเป็น “มรดกสังคม”
วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol)
วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญา
วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง
มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ มีการวางกฎเกณฑ์แบบแผนในการดำเนินชีวิต
พฤติกรรมของมนุษย์มีต้นกำเนิด มาจากการใช้สัญลักษณ์
วัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภท
วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture)
สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการ ประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
เช่น ถ้วย ชาม จาน ช้อน ส้อม
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture)
วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตน
เช่น ความคิด ความเชื่อ ภาษา ศีลธรรม ปรัชญา และกฎหมาย
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์วัตถุ (Material)
วัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเขียน
องค์การหรือสมาคม (Organization หรือ Association)
วัฒนธรรมในส่วนของการ จัดระเบียบเป็นองค์การหรือสมาคม มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์
องค์พิธีหรือพิธีการ (Usage หรือ Ceremony)
วัฒนธรรมในส่วนของพิธีหรือพิธีการ ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิต คือ การเกิดจนกระทั่งตาย เช่น พิธีรับขวัญเด็ก พิธีโกนจุก
องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts)
วัฒนธรรมในด้านความคิด ความเชื่อ และ อุดมการณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา
เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ ความเชื่อในเรื่องกฎ แห่งกรรม
ความเชื่อ
หมายถึง การยอมรับคำอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ที่บุคคลได้จากการรับรู้ และเรียนรู้ร่วมกันในสังคม และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนตกผลึกเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น
ประเภทของความเชื่อ
ความเชื่อในสิ่งปรากฏอยู่จริง เช่น เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก น้ำทะเลมีรสเค็ม
ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคล มี 2 ลักษณะ คือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการ แลกเปลี่ยนพบปะสังสรรค์
ความเชื่อแบบประเพณี ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับป่า ภูเขาและลำน้ำ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระธาตุและผีวีรบุรุษ
ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องการมีสติ ความ ไม่ประมาท การบำเพ็ญเพียร
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม การควบคุมทางสังคม
ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคและวิธีการดูแลสุขภาพ
แบบอำนาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผี ความเจ็บป่วยเกิดจากเวทมนต์และคุณไสย ความเจ็บป่วยที่เกิดจากขวัญ
วิธีการดูแลสุขภาพแบบเหนือธรรมชาติ ส่วนใหญ่ใช้การประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก
แบบพื้นบ้านและวิธีการดูแลสุขภาพ
ความ เจ็บป่วยที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารแสลงโรค
วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน จะมีการทำพิธีตั้งขันข้าว
แบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพ
การเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค ความเจ็บป่วยเกิดจากพันธุกรรม ความเจ็บป่วยเกิดจากพฤติกรรม
วิธีการดูแลสุขภาพแบบแพทย์ตะวันตก จะมีการวินิจฉัยหาสาเหตุของความเจ็บป่วย ส่วนผู้ให้การดูแล รักษาในการแพทย์ตะวันตก
ค่านิยมทางสังคม
ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมอันดับแรกที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล
โรงเรียน คือสถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมาก
สถาบันศาสนา บุคคลและหน่วยงานของศาสนาต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยม
สังคมวัยรุ่นและกลุ่มเพื่อน การคบหาสมาคมกับเพื่อนในรุ่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพื่อนสนิท
สื่อมวลชน ในปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอันมาก
องค์การของรัฐบาล รัฐย่อมมีส่วนในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมให้แก่สังคมตามปกติ
แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
ป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือพิการ
ดูแลรักษาสุขภาพเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วยเป็นโรค
ฟื้นฟูสุขภาพให้เข้าสู่ภาวะปกติ
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
แบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมที่มีกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย หมายถึง การรับรู้ของบุคคลที่มีต่อความผิดปกติของ ร่างกาย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค ในแต่ละสังคมต่างมีระบบการดูแลสุขภาพ
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน
แบบพื้นบ้าน
แบบวิชาชีพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ
เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว การงดบริโภคอาหารแสลง
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
กระบวนการพัฒนารูปแบบการ ให้บริการทางสุขภาพ
หลัก ASKED
A = Awareness
การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural awareness) หมายถึง กระบวนการรู้คิดของ บุคลากร สุขภาพที่เล็งเห็นถึงความสําคัญของ การให้คุณค่า ความเชื่อ
S = Skill
การมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural skill) คือ ความสามารถของบุคลากรสุขภาพในการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ
K = Knowledge
การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม (cultural knowledge) คือ การแสวงหาความรู้พื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์ (world view) ของบุคคลที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม
E = Encounter
ความสามารถในการเผชิญและจัดการกับวัฒนธรรม (cultural encounter) หมายถึง การที่ บุคลากร สุขภาพมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสมสําหรับผู้รับบริการที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ แตกต่างกัน มีการสื่อสาร
D = Desire
ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรม (cultural desire) ของบุคลากรทางสุขภาพ ที่ทําให้ ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
ประโยชน์
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึง 2 ปี
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ว่าให้คุณหรือโทษ เช่น สังคมแอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นสาเหตุโรคพยาธิ โรคอุจจาระร่วง
แนวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรม
ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ (Professional health sector) เป็นส่วนของการปฏิบัติการ รักษาพยาบาลทางการแพทย์
ระบบการดูแลสุขภาพภาคพื้นบ้าน (Folk sector of care) หรือการดูแลแบบทางเลือก เป็นการ ปฏิบัติการรักษาที่มิใช่รูปแบบของวิชาชีพ ไม่มีการจัดองค์กร
ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน (Popular health sector) เป็นส่วนของการดูแลสุขภาพ ภาคประชาชนซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามวัฒนธรรม