Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ำคล่ำ…
บทที่6 การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของรก น้ำคล่ำ และความผิดปกติของทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ(Poly Dramnios / Oligohydramnios)
ครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
การวินิจฉัย
การซักประวัติอาการ และอาการแสดงการเกิดภาวะครรภ์แฝดน้ํา
การตรวจร่างกาย
การรักษา
การเจาะดูดน้ําคร่ําออก (amnioreduction)
ประเมินภาวะความผิดปกติของทารกแต่กำเนิน
ผลกระทบ
มารดา
1.เกิดความไม่สุขสบายจากการกดทับของมดลูกที่มีขนาดใหญ่
3.ช็อคจากความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็ว
4.ตกเลือดหลังคลอด
5.ติดเชื้อหลังคลอด
ทารก
1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพิการ และการคลอดก่อนกำหนด
2.เกิดภาวะ fetal distress
3.ทารกอยู่ท่าผิดปกติและไม่คงที่
การพยาบาล
ประเมินการเกิดภาวะตั้งครรภ์แฝดน้ําจากการซักประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย
ดูแลเพื่อบรรเทาอาการอึดอัดแน่นท้อง จากการขยายตัวของมดลูก
ให้นอนพักบนเตียง เพื่อป้องกันภาวะน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด
ฟัง FHSในระยะ latent ทุก 30 นาที และระยะ active ทุก 15 นาที
สาเหตุ
1)สาเหตุที่เกี่ยวกับทารก ความพิการของทารก ความผิดปกติอื่น ๆ เช่น trisomy 18, ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis
2)สาเหตุที่เกี่ยวกับมารดา ได้แก่ มารดาเป็นเบาหวาน เป็นต้น
3)ไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นความแปรปรวนของครรภ์ปกติ
ภาวะน้ำคร่ำน้อย(oligohydramnios)
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ทารกในครรภ์มีภาวะผิดปกติ ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น trisomy 18, turner syndrome รกเสื่อมสภาพ การตั้งครรภ์เกินกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR)
การวินิจฉัย
การวัดโพรงน้ําคร่ําที่ลึกที่สุดในแนวดิ่ง
การวัดดัชนีน้ําคร่ํา
การรักษา
การเติมน้ําคร่ํา (amnioinfusion)
การประเมินภาวะความผิดปกติแต่กําเนิด
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับการใส่สารน้ําเข้าไปในถุงน้ําคร้ํา (amnioinfusion) ตามแผนการรักษาของแพทย์
ผลกระทบ
มารดา
มีโอกาสผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องมากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
ทารก
มีโอกาสคลอดก่อนกําหนด
ภาวะปอดแฟบ
Amniotic band syndrome
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า(Intra Uterine Growth Restriction: IUGR)
สาเหตุ
1.สาเหตุด้านมารดา มารดามีรูปร่างเล็ก ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะโลหิตจางรุนแรง มารดามีภาวะติดเชื้อการตั้งครรภ์แฝด เป็นต้น
ด้านทารก ความพิการแต่กำเนิดความผิดปกติของโครงสร้าง และอวัยวะของร่างกาย การติดเชื้อในระยะ ความผิดปกติของโครโมโซม
ทารกที่มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ไม่เป็นไปตามปกติ ถึงแม้อายุครรภ์จะครบกำหนดแล้วก็ตาม โดยน้ำหนักแรกคลอดของทารกต่ำกว่า10% ที่อายุครรภ์นั้นๆ
การจำแนก
1.ทารกโตช้าในครรภ์แบบได้สัดส่วน (symmetrical IUGR)
2.ทารกโตช้าในครรภ์แบบไม่ได้สัดส่วน (asymmetrical IUGR)
การรักษา
ค้นหาและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตราย และภาวะแทรกซ้อนกับทารกในครรภ์
ตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
การพยาบาล
แนะนํามารดาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารเสพติด
แนะนําให้มารดาพักผ่อนมากๆ โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้าย ซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนเลือดที่รกดีขึ้น ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น
ประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด
การตั้งครรภ์ที่ทารกมีจํานวนมากกว่า1 คน(Multiple/Twins pregnancy)ความหมาย
สาเหตุ
เชื้อชาติ หรือพันธุกรรม
มารดามีประวัติใช้ยากระตุ้นเร่งการตกไข่ เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก
ผลกระทบ
มารดา
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก มีภาวะโลหิตจางเนื่องจากครรภ์แฝดมีการเพิ่มขึ้นของ blood volume มากกว่าครรภ์เดี่ยวปกติ การตกเลือดก่อนคลอด ไม่สุขสบายจากอาการปวดหลังหายใจลําบากเส้นเลือดขอด เป็นต้น
ทารก
การแท้ง ทารกตายในครรภ์
ภาวะคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
ชนิด
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวหรือแฝดแท้ (monozygotic twins / identical twins)
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ หรือแฝดเทียม (dizygotic twins/ fratemal)
ความหมาย
-แฝด 2 คนเรียกว่าtwins
-แฝด 3 คน เรียกว่าtriplets
-แฝด 4 คน เรียกว่าquadruplets
-แฝด 5 คน เรียกว่าquintuplets
แนวทางการดูแลรักษา
1.ต้องวินิจฉัยให้ได้เร็วที่สุด (early diagnosis)
2.ป้องกันการคลอดก่อนกําหนด
3.ดูแลการเจริญเติบโตของทารกอย่างใกล้ชิด ตรวจหาและวินิจฉัยภาวะ IUGR
4.ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอันตรายต่อทารกในระยะคลอด และทารกแรกคลอดได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
การพยาบาล
เฝ้าระวังการเกิดภาวะโลหิตจางอาจให้โฟลิคเสริม เช่น ธาตุเหล็กวันละ 60-90 mg กรดโฟลิควันละ 1 mg
ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หากติดตามจากระดับยอดมดลูกอาจจะประเมินได้ลําบาก ควรติดตามด้วยการทํา อัลตราซาวด์
เฝ้าระวังการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์
ทารกตายในครรภ์(Fetal demise)
การตายหรือเสียชีวิตเองโดยธรรมชาติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด โดยไม่คํานึงถึงอายุครรภ์
สาเหตุ
มาดาาร
มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์โรคทางอายุรศาสตร์ มารดาอายุมากกว่า 35 ปี ภาวะทางสูติกรรม ไม่มาฝากครรภ์ หรือมาฝากครรภ์ไม่ครบตามกําหนดมีภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด รกเกาะต่ําความผิดปกติของสายสะดือได้รับอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บขณะตั้งครรภ์ ยาหรือสารเสพติดอื่นๆ
ทารก
มีภาวะพิการแต่กําเนิด เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม หรือความพิการอื่น ๆ เช่นspinabifida, gastroschisis, hydrocephalus ทารกมีภาวะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR) มีการกดทับสายสะดือจากสายสะดือย้อย
การวินิจฉัย
จากการซักประวัติมารดาพบทารกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง หรือสังเกตได้ว่าอาการของการตั้งครรภ์หายไป
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการ ultrasound
ผลกระทบ
ด้านร่างกาย
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว (coagulopathy) หรืออาจเรียกว่าภาวะ“fetal death syndrome”
ด้านจิตใจ
ทําให้เกิดความรู้สึกสูญเสีย ตกใจ ซึมเศร้า โทษตัวเอง
การรักษา
-ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ขนาดของมดลูกโตไม่เกิน 14 สัปดาห์ทําการ dilatation and curettageหรือ suction curettage
-ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เหน็บยา prostaglandin ได้แก่ PGE2 และ misoprostolทางช่องคลอด หรือให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดํา
-ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ให้oxytocin ปริมาณความเข้มข้นสูง ทางหลอดเลือดดํา
การพยาบาล
1.ให้การประคับประคองทางด้านจิตใจ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ใช้คําพูดที่สุภาพ และนุ่มนวล
2.แนะนําให้สามีและครอบครัวให้กําลังใจ ปลอบใจ เพื่อให้มารดามีกําลังใจและการปรับตัวอย่างเหมาะสม
3.ประเมินความต้องการสัมผัสกับทารกแรกคลอดที่เสียชีวิต
4.ดูแลให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ติดตามผลการตรวจเลือดเพื่อหาระยะการแข็งตัวของเลือด clottingtime ระดับของfibrinogen ในกรณีที่ทารกตายในครรภ์เกิน 2 สัปดาห์
6.ให้ได้รับยายับยั้งการหลั่งน้ํานมตามแผนการรักษาของแพทย์
ทารกพิการ(Fetal anormaly)
มีความพิการที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอกหรือความพิการที่อยู่ในอวัยวะภายใน ความพิการแต่กําเนิดในบางรายสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ แต่บางรายไม่สามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุ
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
ความผิดปกติของโครโมโซม
ความผิดปกติของยีนเดียว
ความผิดปกติชนิดพหุปัจจัย
สิ่งแวดล้อม ทําให้เกิดความผิดปกติแก่ทารก ส่วนใหญ่ความพิการจะเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
ชนิด
ปากแหว่งเพดานโหว่
ดาวน์ซินโดรม
ทารกศีรษะบวมน้ําหรือภาวะน้ําคั่งในโพรงสมอง(Hydrocephalus)
ทารกศีรษะเล็ก(Microcephaly)
ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects: NTDs)
เยื่อหุ้มไขสันหลังยื่น (Spina bifida)
การพยาบาล
ตรวจสอบความพิการของทารกในครรภ์
ดูแลให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจเมื่อผลการตรวจวินิจฉัยพบภาวะผิดปกติ
ประเมินความต้องการสัมผัสทารก
ให้ได้รับการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ตามแผนการรักษาของแพทย์