Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
•การพักผ่อน การผ่อนคลายและมีความสงบทั้งจิตใจ
ความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์
สรีรวิทยาของการนอนหลับและวงจรของการนอนหลับ
การทำงานของสมองส่วน Medulla, Pons และสมองส่วนกลาง รวมถึงก้านสมอง มีแขนงของเซลล์ประสาท Reticular formation อยู่ในสมองส่วนกลาง กระตุ้นให้สมองทำหน้าที่ ตอบสนองสิ่งเร้ารวมถึงการหลับ การตื่น และวงจรการหลับ-ตื่น
ระยะของการนอนหลับ (stages of sleep)
การนอนหลับชนิดไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็ว (Non-rapid eye movenment : NREM)
ระยะที่ 2 การนอนยังเป็นแบบไม่ลึกหรือเป็นระยะที่เริ่มหลับ การกลอกลูกตาช้าๆจะหายไป
ระยะที่ 3 เป็นการหลับลึกปานกลาง
ระยะที่ 1 จะมีความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองอย่างช้าๆ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงยกเว้นหน้า และคอคุณภาพในการนอนระยะนี้มีน้อยมากเพราะอยู่ระหว่างการตื่นและการหลับซึ่งระหว่างที่นอนสามารถตื่นได้ง่าย
ระยะที่ 4 เป็นการหลับลึกที่สุด
การนอนหลับชนิดมีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็ว (Rapid eye movenment : REM)
อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าเวลาตื่นนอนและการหายใจไม่สม่ำเสมอ
การนอนหลับระยะนี้จะมีช่วงเวลายาวนาน
เกิดขึ้นหลังจากการเริ่มนอนหลับชนิดไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกตาอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
2.สังคม
3.จิตใจอารมณ์
1.ร่างกาย
4.สติปัญญาและการรับรู้
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
สงวนพลังงาน
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
. 2.ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
1.ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
สรีรวิทยาของการนอนหลับ
อุณหภูมิของร่างกายลดลง 0.5-1.0 องศาฟาเรนไฮต์
ความดันเลือดซิสโตลิค (Systolic) จะลดลง 20-30 mmHg ขณะหลับสนิท
การผลิตความร้อนลดลง 10-15%
อัตราการเต้นของชีพจรจะลดลง 10-30 ครั้งต่อนาที
ในขณะที่นอนหลับ ร่างกายจะมีเหงื่อออกมากขึ้น ปัสสาวะเข้มข้นขึ้น
การหายใจจะลดลง หายใจลึกและอัตราไม่สม่ำเสมอ
กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ คลายตัว
ความเจ็บปวด การได้ยิน การสัมผัส กลิ่น และการมองเห็นจะ ลดลง ตากลอกขึ้นหรือเหมือนลมืตา รูม่านตาหดตัว
จำนวนปัสสาวะลดลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายนอก
เสียง
อุณหภูมิ
แสง
ความไม่คุ้นสถานที่
กิจกรรมพยาบาล
อาหาร
ยา
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายในส่วนบุคคล
อายุ
เพศ
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่างๆ
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความวิตกกังวล
การประเมินคุณภาพการนอนหลับ
การประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงปริมาณ
ระยะเวลาการนอนหลับในแต่ละคืน
จำนวนครั้งที่ถูกรบกวนขณะนอนหลับ
ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอนจนกระทั่งหลับ
ประสิทธิภาพในการนอน
การประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงคุณภาพ
ใช้การประเมินความรู้สึกต่อการนอนหลับ
ใช้แบบประเมินแบบแผนการนอนหลับ
เป็นแบบแผนที่ 5 ของแบบประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน ของกอร์ดอน
การนอนหลับที่ผิดปกติ
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมากหรือง่วงนอนมากกว่าปกติซึ่งจะแสดงออกในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ
เช่น หลับขณะขับรถยนต์หรือรอรถติดไปแดง หลับในห้องประชุม หลับขณะรับประทานอาหาร
Parasomnia
เป็นพฤติกรรมที่ควรเกิดขณะตื่นแต่กลับเกิดขณะหลับ
2) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ
อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ ละเมอพูด ศีรษะโขกกำแพง
3) กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
ภาวะฝันร้าย ภาวะผีอำ
1) ความผิดปกติของการตื่น
อาการสับสน ละเมอเดิน ฝันร้าย
4)กลุ่มอื่นๆ
การนอนกัดฟัน การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ การกรน การไหลตาย
Insomnia
2) การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (Short term insomnia) เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์
สาเหตุเดียวกับการนอนหลับ ไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
3) การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia) เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป
สาเหตุ
1)โรคทางจิตเวช
2)โรคทางอายุรกรรม
3) อาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด
4)โรคนอนไม่หลับโดยตรง เช่นอาการขากระตุกเป็นพักๆระหว่างนอนหลับ
1) การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia) เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้น 3- 5 วัน
สาเหตุมาจากปัญหาด้านอารมณ์ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อม
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM
ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะท าให้การท างานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกาย อ่อนล้า และขาดสมาธิ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM
เมื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เวียนศีรษะ ทนต่อความเจ็บปวดได้ลดลง
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย พักผ่อนได้และหายจากโรคเร็วขึ้น ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลย่อมมีความรู้สึกไม่สบายทั้งร่างกายและจิตใจ
2.การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถของผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมความสุข สบาย เมื่อนอนอยู่บนเตียงหรือลุกออกจากเตียง
การทำเตียง การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาด เรียบร้อย
2) การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้ (Open/unoccupied bed) เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาอาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรงช่วยเหลือตนเองได้ดี รือต้องพึ่งผู้อื่นในบางส่วนหรือสามารถนั่งได้เป็นเวลานาน
3) การทำเตียงผู้ปุวยลุกจากเตียงไม่ได้ (Occupied bed) เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือได้ต้องพึ่งผู้อื่นในการทำกิจกรรม จุดประสงค์และเครื่องใช้เหมือนการทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
1) การทำเตียงว่าง (Close bed) เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยเพื่อเตรียมรับ ผู้ป่วยใหม่หรือทำเตียงที่ผู้ป่วยสามารถลงเดินช่วยเหลือตนเองได้
4) การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ (Surgical/ ether/anesthetic bed) เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย การทำความสะอาดร่างกาย ตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกวัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการอยู่รวมกับสังคมได้อย่างมีความสุข เมื่อบุคคลอยู่ในภาวะเจ็บป่วยพยาบาลจึงจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาล เพื่อช่วยขจัดสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย ส่งเสริมให้ผู้ปุวยเกิดความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจ มีคุณภาพที่ดีและมีความสุข
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
เศรษฐกิจ
อาชีพ
การศึกษา
ถิ่นที่อยู่
ภาวะสุขภาพ
ภาวะเจ็บปุวย
เพศ
สิ่งแวดล้อม
อายุ
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
ความชอบ
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถพิจารณากระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคำสั่งของแพทย์เมื่อผู้ป่วยเข้านอนรักษาโรงพยาบาลจนถึงจำหน่ายกลับบ้าน
3.การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/ P.M. care) เป็นหน้าที่ของ พยาบาลเวรเช้าภายในช่วงก่อนเวลา16.00 น. หากทำในช่วงเวลาตอนเย็นจะเป็นหน้าที่ของเวรบ่ายในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม สระผม การ ให้บริการหม้อนอนหรือกระบอกปัสสาวะตลอดจนการรักษาพยาบาลอื่นที่มีในเวรบ่าย
4.การพยาบาลตอนก่อนนอน (Evening care/ Hour of sleep care/ H.S. care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่ายเป็นการพยาบาลที่ให้การดูแลเรื่องการให้หม้อนอนหรือกระบอก ปัสสาวะ การล้างมือ ล้างหน้าทำความสะอาดปากฟัน การนวดหลัง การจัดท่าให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน อย่างสุขสบาย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเตรียมตัวเข้านอน ช่วยให้พักผ่อนนอนหลับได้ดีขึ้น
2.การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/ A.M care) เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้าถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้บ้างหรือทำไม่ได้เลยพยาบาลจะช่วยเหลือในการอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงให้บริการหม้อนอนในผู้ป่วยหญิง หรือกระบอกปัสสาวะในผู้ป่วยชาย การทำความสะอาดปากฟัน การนวดหลัง การดูแลเล็บมือและเล็บเท้า เส้นผมและทรงผม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก การเปลี่ยนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน การจัดท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมภายในห้อง
5.การพยาบาลเมื่อจ าเป็นหรือเมื่อผู้ปุวยต้องการ (As needed care/ P.r.N. care) พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ปุวยตลอด 24 ชั่วโมง
1.การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด (Early morning care) เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรดึก เมื่อผู้ปุวยตื่นนอนแล้วพยาบาลจะดูแลผู้ป่วยช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ การให้กระบอกปัสสาวะหรือหม้อนอน การทำความสะอาดร่างกายเช่นการเช็ดหน้า ล้างมือ ความสะอาดปากและฟัน เป็นต้น
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดปากและฟัน เป็นความสะอาดพื้นฐานทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการสื่อสารด้วยวาจาและเมื่อสุขภาพของฟันแข็งแรง การเคี้ยวอาหารก็จะรับรู้ถึงความอร่อย ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
การดูแลความสะอาดของเล็บ เล็บเป็นโครงสร้างจากโปรตีน ซึ่งจะ งอกยาวตามเวลา จึงต้องท าการตัดให้สั้นตามเหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากการท าความสะอาด เล็บและตัดให้เรียบร้อยยังเป็นการช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/การอาบน้ำ (Bathing)
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath) เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้างไม่สามารถอาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สารถเช็ดเองได้ อาจใช้การนั่งข้างเตียงหรือบนเตียง ในกรณีที่ผู้ป่วย เช่นหลังการผ่าตัดไส้ติ่ง กระดูกขาหักใส่เฝือก
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Complete bed bath) เป็นการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมดหรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียงต้องนอนบนเตียงหรือนอนติดเตียงในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยพยาบาลเป็นผู้อาบน้ำให้
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ (Bathing in bath room/ Shower) เป็นการช่วยเหลือพาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำโดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัวหรือตักน้ำอาบร่างกาย เมื่อผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียงได้ พยาบาลช่วยพยุงเดินไปห้องน้ำช่วยเตรียมของใช้ให้พร้อม เปิดก๊อกน้ำให้ปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม จัดที่นั่งในห้องน้ำให้สะดวกต่อการช่วยตนเองในการอาบน้ำพยาบาลต้องประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้ชาย เป็นการท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียงเช่น ขาหนีบ ฝีเย็บ และ บริเวณทวารหนักปกติจะชำระให้วันละ 1-2 ครั้งและหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง เป็นการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียงเช่น ขาหนีบ ฝีเย็บ และบริเวณทวารหนักปกติจะชำระให้วันละ 1-2 ครั้งและหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ เป็นการทำความสะอาดเส้นผมและหนังศีรษะรวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาของเส้นผมและหนังศีรษะซึ่งในที่นี้หมายถึงการสระผมให้ผู้ป่วยบนเตียง
การทำความสะอาดจมูก เป็นการทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพ ของเนื้อเยื่อจมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่คาสายไว้
การดูแลความสะอาดของตา เป็นการทำความสะอาดตา รวมทั้งการกระทำเพื่อแก้ปัญหาด้านอนามัยของตา ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการทำความสะอาดตาที่มีขี้ตาและการดูแลอนามัยของตาในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
การดูแลทำความสะอาดหู หูเป็นอวัยวะรับรู้สึกที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัวโดยปกติคนทั่วไปจะดูแลหูเฉพาะด้านนอกให้สะอาดปราศจากขี้ไคลบริเวณหลังใบ หู หลังสระผมมักจะมีน้ำเปียกในช่องหูใช้ผ้าขนหนูนุ่ม เช็ดให้แห้ง การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลัง อาบน้ำควรใช้ไม้พันสาลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้ง 2 ข้าง
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
1.การประเมินผู้ป่วย