Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบวม (Edema) - Coggle Diagram
ภาวะบวม (Edema)
อาการบวมสารน้ำ
หมายถึง
- ภาวะที่มีสารน้ำขังอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ (interstitial tissue) จนเกิดอาการบวมให้เห็นทางภายนอก โดยเกิดจากความผิดปกติของกลไกการควบคุมแรงดันในร่างกายที่มีอยู่ 2 ระบบ คือ
-
2.Oncotic Presssure หรือแรงดูดกลับ คือ แรงที่ทำหน้าที่ในการดึงดูดน้ำไว้ภายในหลอดเลือด แรงนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนภายในเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัลบูมิน (Albumin)
สาเหตุ
- Hydrostatic pressure ในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
- Oncotic pressure ในหลอดเลือดลดลง
- ภาวะการคั่งของน้ำและเกลือแร่ (Salt and water retention)
- การสูญเสียความสามารถในการซึมผ่านของสารน้ำในผนังหลอดเลือดฝอย (vascular permeability)
- การอุดตันของต่อมน้ำเหลือง (Lymphatic obstruction)
โรคไต
- โรคไตบางชนิดมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในส่วนที่ทำหน้าที่กรองเลือด ทำให้โปรตีนในเลือดหรืออัลบูมินรั่วออกทางปัสสาวะ เมื่อโปรตีนในเลือดต่ำลงจะทำให้เกิดอาการบวม
- อาการบวม อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด เช่น โรคไตอักเสบชนิดเนโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome) ซึ่งเป็นโรคที่มีการรั่วของโปรตีนออกมากับปัสสาวะในปริมาณมาก หรือโรคไตเรื้อรังที่มีการเสื่อมของไต ทำให้มีการคั่งของน้าและเกลือแร่ในร่างกาย
โรคหัวใจ
- การบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยมากมักเกิดจากการที่หัวใจห้องขวาล่างทางานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเข้าสู่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น
- อาการบวมที่เกิดกับผู้ป่วยโรคหัวใจจะมีลักษณะสมมาตรคือจะบวมที่ขาทั้งสอง ข้าง และมีอาการหายใจหอบเหนื่อย ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือมีปัญหาที่หลอดเลือดดาที่ขา
โรคตับ
- ตับแข็ง เริ่มแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และดีซ่าน ต่อมาจึงมีอาการบวมที่เท้าและขาทั้งสองข้าง และมีอาการท้องบวมโตกว่าปกติหรือที่เรียกว่า ท้องมาน เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สร้างโปรตีนตัวสาคัญคืออัลบูมิน เมื่อไม่สามารถสร้างอัลบูมินได้ ก็ขาดตัวดูดกลับหรือ Oncotic Presssure ลดลง ทำให้มีสารน้ำจำนวนมากคั่งในร่างกายดังนั้น ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีแขนขาและลำตัวดูซูบผอม แต่จะมีอาการท้องบวมซึ่งอาการอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)
- ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทาให้เกิดอาการบวมได้
โรคติดเชื้อ
- เชื้อแบคที่เรีย เช่น Cellulitis
- โรคข้ออักเสบ เช่น โรคเก๊าต์ เอ็นอักเสบ พังผืดอักเสบ
โรคเท้าช้าง
- อาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซำาหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อม และ ท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อ เยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวม
- อาการขาโตเกิดจากการที่มีพยาธิโรคเท้าช้างตัวแก่ที่ตายแล้วหรือยังมีชีวิต อยู่ได้เข้าไปอุดตันท่อน้ำเหลือง ทำให้เกิดการระคายเคืองในท่อน้ำเหลือง รวมทั้งปล่อยสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ
-
การรักษาและข้อควรปฏิบัติ
- หลักสำคัญการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ
- ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน เพื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปคั่งที่ขา
- กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี และฟลาโวนอยด์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย
- ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม และไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
- ถ้าต้องยืนหรือนั่งนานๆ ควรขยับกล้ามเนื้อบริเวณน่องบ่อยๆ เพื่อดันให้เลือดไหลกลับขึ้นมาด้านบน และลดอาการข้อเท้าบวม
- ไม่ควรยืนนิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนอริยาบทบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงไม่ให้ขาสัมผัสกับความร้อน
- สวมรองเท้าสูงไม่เกิน 5 ซม.
- ในกรณีที่ต้องยืนนานๆ ควรสวมถุงน่องที่ช่วยพยุง และกระชับกล้ามเนื้อขา
- ยกเท้าสูงประมาณ 45 องศาขณะนอนพัก จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น จึงนอนต่อในท่าปกติ