Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัย และการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัย
และการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
เป็นการส่งเสริมให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง คงไว้ซึ่งสุขภาพและการป้องกันโรค โดยดูแลความสะอาดต่างๆ
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความสุขกายสบายใจ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วยบุคคล
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยที่แตกต่างกัน และอายุยังเป็นตัวกำหนดกายวิภาคและสรีระของร่างกายแต่ละคน
เพศ
เพศหญิง เป็นเพศที่อ่อนแอและไวต่อความรู้กว่าผู้ชาย ความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
จะต้องการความนุ่มนวล ละเอียดอ่อน
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง จะทำให้ขาดความสนใจ ละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การศึกษา
บุคคลมีการศึกษามักมีความรู้ในการดู้แลสุขอนามัยส่วนบุคคล แต่ความรู้อย่างเดียวไม่พอ
ต้องมีแรงจูงใจที่จะดูแลตัวเองด้วย
เศษรฐกิจ
บุคคลฐานะดีกว่าย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพและมีเวลาดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากกว่า
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้
ความเข้าใจ และให้ความสำคัญมากกว่าอาชีพอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่ต่างกัน การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลจะมีความแตกต่างกันอย่างเป็นรูปธรรม
ภาวะเจ็บป่วย
ในภาวะเจ็บป่วย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
สิ่งแวดล้อม
อุณหภูมิมีความเกี่ยวข้อง เช่น ฤดูร้อน จะมีเหงื่อไคล
ส่งผลให้เกิดความต้องการทำความสะอาดเพื่อดับร้อน และลดเหงื่อไคล
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
และวัฒนธรรมแต่ละบุคลล
เช่น ห้ามสระผมขณะมีไข้ จะทำให้เจ็บป่วยมากขึ้น
ความชอบ
แต่ละบุคคลจะได้การฝึกอบรมด้านการดูแลสุขวิทยาจาก ครอบครัว โรงเรียน และปลูกฝังจนเป็นอุปนิสัย ความชอบของแต่ละบุคคลอาจไม่เหมือนกัน
การดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
การดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วย เป็นบทบาทอิสระของพยาบาล ไม่ต้องรอคำสั่งจากแพทย์
ใช้กระบวนการพยาบาลการดูแลสุขอนามัย
ที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วงเวลาในการดูแลผู้ป่วย
เช้าตรู่หรือเช้ามืด
หน้าที่รับผิดชอบพยาบาลเวรดึก เมื่อผู้ป่วยตื่นนอน จะดูแลช่วยเหลือเรื่องการขับถ่าย การให้กระบอกปัสสาวะหรือหม้อนอน การทำความสะอาดร่างกายต่างๆ
เพื่อให้ผู้ป่วยสดชื่น พร้อมบพปะผู้คน รวมไปถึงการรับประทานอาหารเช้า
2.เช้า
หน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลเวรเช้า ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวัน
ถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้บ้างหรือไม่ได้เลย พยาบาลจะช่วยเหลือ
ในการอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง ให้บริการหม้อนอนในผู้ปุวยหญิง หรือกระบอกปัสสาวะ
ในผู้ป่วยชาย การทำความสะอาดปากฟัน การนวดหลัง เป็นต้น
ตอนบ่ายหรือตอนเย็น
หน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลเวรเช้า ในช่วงก่อนเวลา 16.00 น. หากทำในช่วงเวลาตอนเย็น จะเป็น หน้าที่รับผิดชอบของเวรบ่าย ในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม สระผม การให้บริการหม้อนอน หรือกระบอกปัสสาวะ
ตอนก่อนนอน
หน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลเวรบ่าย ดูแลเรื่องการให้หม้อนอนหรือกระบอกปัสสาวะ การล้างมือ ล้างหน้าทำความสะอาดปากฟัน การนวดหลัง
การจัดท่าให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างสุขสบาย
เมื่อจำเป็นหรือเมื่อผู้ป่วยต้องการ
ให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
การดูแลความสะอาดร่างกาย
ดูแลความสะอาดของผิวหนัง/ การอาบน้ำ
ผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ปกติของผู้ที่มีสุขภาพดีนั้น
ต้องไม่ฉีกขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อและจุลินทรีย์ที่ก่ออันตราย
พยาบาลควรสังเกตผิวหนังขณะอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไร
บันทึกรายละเอียดสิ่งที่ได้สังเกตเห็น ลงในบันทึกทางการพยาบาลให้ครบถ้วน
การอาบน้ำ (Bathing)
1. การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
Bathing in bath room/ Shower
โดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว พยาบาลต้องประเมินความสามารถ
ในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำ
เพราะอาจเกิดอาการหน้ามืดหรือเป็นลมในห้องน้ำได้ ไม่ควรล็อคกลอนประตูห้องน้ำ ควรเรียกผู้ป่วยเป็นครั้งคราว
2. การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน
Partial bath
ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
ไม่สามารถอาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน
พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดเองได้
3. การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์
Complete bed bath
ทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ป่วย
ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมด
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรก
ให้ผู้ปjวยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกาย
และส่งเสริมการออกกeลังกายของข้อต่าง
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การนวดหลัง
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ภาวะมีไข้ โรคผิวหนัง โรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เลือกใช้แป้งหรือโลชันหรือครีม เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
การดูแลความสะอาดปากและฟัน (Mouth care)
เป็นความสะอาดพื้นฐาน ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น
ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการสื่อสารด้วยวาจา
และเมื่อสุขภาพของฟันแข็งแรง การเคี้ยวอาหารก็จะรับรู้ถึงความอร่อย ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
หลักการ
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5 นาที เพื่อขจัดคราบหินปูน และเศษอาหารในเวลาเช้า หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้ง ไม่สามารถรับประทานอาหาร และน้ำทางปากได้ ต้องทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว พยาบาลต้องทำความสะอาดปาก
และฟันให้เป็นพิเศษ สำลีที่ใช้เช็ดทำความสะอาดต้องเปลี่ยนบ่อย
การดูแลความสะอาดของเล็บ (Nail care)
เล็บเป็นโครงสร้างจากโปรตีน ซึ่งจะงอกยาวตามเวลา
จึงต้องทำการตัดให้สั้นตามเหมาะสมกับการใช้งาน
นอกจากการทำความสะอาดเล็บและตัดให้เรียบร้อย
ยังเป็นการช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย
การดูแลความสะอาดของตา (Eye care)
ผู้ป่วยบางรายอาจมีขี้ตามากกว่าปกติ ขี้ตาอาจแห้งติดหนังตาหรือขนตา ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกไปวันละ 2-3 ครั้ง
การดูแลทำความสะอาดหู (Ear care)
คนทั่วไปจะดูแลหูเฉพาะด้านนอกให้สะอาดปราศจากขี้ไคลบริเวณหลังใบ
การเช็ดทำความสะอาดช่องหูหลังอาบน้ำ ควรใช้ไม้พันสำลีเช็ดทำความสะอาดในช่องหูทั้ง 2 ข้าง
สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ต้องดูแลเป็นพิเศษ การหยิบใช้หรือเช็ดทำความสะอาดส่วนประกอบของเครื่องช่วยฟัง การเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ การปรับเสียงต้องระมัดระวัง
การทำความสะอาดจมูก (Nose care)
ทำความสะอาดรูจมูกและรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อจมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ปุวยที่คาสายไว้
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
การสระผมให้ผู้ป่วยบนเตียง (shampoo in bed)
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้ชาย (Perineal care of male)
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง
ปกติจะชำระให้วันละ 1-2 ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เรียกสั้นๆว่า P-care หรือ flushing
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง (Perineal care of female)
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและบริเวณใกล้เคียง
ชำระให้วันละ 1-2 ครั้ง และหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เรียกสั้นๆว่า P-care หรือ flushing
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
1. การประเมินผู้ป่วย (Health assessment)
ประเมินระดับความสามารถในการดูแลตนเอง
ประเมินความชอบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ป่วย
ประเมินผิวหนัง ช่องปาก เส้นผมและหนังศรีษะ ตา หู จมูก
ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอาการผิดปกติที่อาจ เกิดขึ้นระหว่างการดูแล
2. การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
ไม่สนใจดูแลความสะอาดร่างกายด้วยตนเองเนื่องจากมีความเครียด
มีความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากเหนื่อยง่ายจากการเป็นโรค
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่องจากเป็นอัมพาต
พร่องความสามารถในการดูแลความสะอาดร่างกาย
3. การวางแผนการพยาบาล (Planning)
กำหนดวัตถุประสงค์ และเกณฑ์การประเมิน
เลือกกิจกรรมการดูแล เพื่อแก้ไขปัญหาให้ตรงตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
4. การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ดูแลความสะอาดร่างกาย การอาบน้้ำ การนวดหลัง
การทำความปากและฟัน เส้นผมและหนังศรีษะ และอวัยวะสืบพันธุ
5. การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การพักผ่อน
= พักกิจกรรมการทำงานของร่างกาย
เพื่อให้อวัยวะได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความกังวล
การพักผ่อนของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
Absolute bed rest
การพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง
ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใด ที่ทำให้ร่างกายเหนื่อย
การทำกิจกรรมการพยาบาล พยาบาลจะต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมให้
Bed rest
การพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง
สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย
การนอนหลับ
= เป็นกระบวนการทางสรรีรวิทยาพื้นฐาน
ที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่น
โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ ช่วยส่งเสริมการหายของแผลรวมถึงมีการช่วย สะสมพลังงานไว้ใช้ในวันต่อไป
สงวนพลังงาน พลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อร่างกาย
เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่น อาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
ปวดศีรษะ วิงเวียนเหมือนบ้านหมุน ความทนต่อความเจ็บปวดลดลง
กล้ามเนื้อคออ่อนแรง ความคิดและการรับรู้บกพร่อง เป็นต้น
ทำให้อุณหภูมิและภูมิต้านทานของร่างกายต่ำกว่าปกติ
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
อาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิด โมโหง่าย
เกิดความสับสนและความสามารถในการควบคุมตนเองจากสิ่งเร้า
ไม่สามารถยับยั้งพฤติกรรมความ ก้าวร้าวของตนเองได้
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลง สมาธิไม่ดี และแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม
ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง ความมั่นใจในการทำงานลดลง
และมีการใช้ระบบบริการทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
วงจรการนอนหลับ
1) ช่วงหลับธรรมดา
ระยะที่ 1
(เริ่มมีความง่วง)
เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่การนอน ในคนทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที - 7 นาทีเป็นสภาพที่แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จะตื่น
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)
การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน ระยะนี้จะถูกปลุกให้ตื่นได้โดยง่าย
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)
ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติ รู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง แม้ได้รับสิ่งเร้าจากภายนอกก็จะไม่ตื่นโดยง่าย
ขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที
ระยะที่ 4 (หลับลึก)
หลับสนิทของการนอนใช้เวลา 30 - 50 นาที หากว่าร่างกายนอนหลับโดยปราศจากระยะที่ 4 นี้ อาจมีการนอนละเมอหรือฝันร้ายได้
2) ช่วงหลับฝัน
กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด
ช่วงเวลาหลับฝันนี้จะกินเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากผ่านช่วงหลับฝันไปแล้ว
ก็จะกลับเริ่มที่ระยะที่ 1 ของ NREM ใหม่ หมุนเวียนอย่างนี้ไปเรื่อย
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
1) ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ ตั้งแต่ทารกถึงวัยผู้สูงอายุการนอนหลับจะลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพ
เพศ ชายจะมีการเปลื่ยนแปลงแบบแผน
การนอนหลับเร็วกว่าเพศหญิง
2) ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
3) ความวิตกกังวล
ความวิตกกังวลมักเกิดจากสิ่งที่คุกคามต่อสวัสดิภาพของร่างกายและจิตใจ
ปัจจัยภายนอก
1) เสียง
เสียงมีความสัมพันธ์ทางลบกับการนอนหลับ ทำให้ระยะเวลาเริ่มต้นการนอนหลับนานขึ้น เวลานอนหลับน้อยลง ตื่นบ่อยขึ้นทำให้คุณภาพการนอนหลับไม่ดี
2) อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไป จะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายเพิ่มขึ้นและตื่นบ่อยขึ้น
3) แสง
แสงเป็นปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ โดยส่งผลต่อระยะการ เริ่มต้นของการนอนหลับ
4) ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
5) กิจกรรมการรักษาพยาบาล
กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับตามเวลา ได้แก่ การทำหัตถการต่างๆ การพลิกตะแคงตัว การให้ยากินและฉีด การให้อาหาร และการตรวจวัดสัญญาณชีพ
6) อาหาร
รับประทานอาหารที่มีสารทริพโทแฟ็น ซึ่งมีอยู่ในนมจะส่งเสริมการนอนหลับ ส่วนเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน จะมีฤทธิ์กระตุ้น
และคงไว้ในร่างกาย 3-5 ชั่วโมง ซึ่งมีผลต่อการหลับและการตื่น
7) ยา
ยาที่รบกวนการนอนหลับ ได้แก่ ยาบาบิทูเรต (barbiturates) โดยยาจะไปออกฤทธิ์รบกวนการนอนหลับในระยะ REM เกิดฝันร้ายและภาพหลอน เป็นต้น
การประเมินคุณภาพการนอนหลับ
และการนอนหลับที่ผิดปกติ
Insomnia
1) การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว
2) การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น
3) การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง
Hypersomnia
การนอนหลับมากหรือง่วงนอนมากกว่าปกติ
ซึ่งจะแสดงออก ในแง่การนอนหลับในที่ไม่ควรหลับ
Parasomnia
1) ความผิดปกติของการตื่น
2) ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่นหรือจากตื่นมาหลับ
3) กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
จัดสิ่งแวดล้อม
ช่วยให้ผู้ปุวยสุขสบาย พักผ่อนได้ และหายจากโรคเร็วขึ้น
สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามและน่าอยู่อาศัย
ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องใช้ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ
อุณหภูมิ เหมาะสมอยู่ที่ 20-25 องศาเซลเซียส
เสียง
กลิ่น
แสงสว่าง สภาพแวดล้อมที่ดีต้องไม่มืดสลัวหรือสว่างจ้าจนเกินไป
ความเป็นส่วนตัว
ความอบอุ่น และความประทับใจในบุคลิกภาพของพยาบาล
จัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
Dorsal position
= เป็นท่านอนหงายราบ ขาชิดติดกัน ใช้ในการตรวจร่างกายทั่วไป เป็นท่านอนที่จัดขึ้นเพื่อความสุขสบาย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยเป็นอัมพาต
Fowler’s position
= ท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา ท่านี้ลักษณะคล้ายท่านั่งบนเตียง
สะดวกสำหรับให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบนเตียง
Prone position
= ท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบาย สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว แต่มีการหายใจปกติ
Lateral position
= ท่านอนตะแคง จัดเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้ ช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับด้านหลัง
Sitting position
= ท่านั่งที่สุขสบายสำหรับผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถ
การทำเตียง
ส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับให้มีความสุข
มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี