Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา - Coggle Diagram
ความรู้พื้นฐานทางเภสัชวิทยา
ความหมายและความสำคัญของยา
ความหมายของยา
สำหรับใช้ในห้องวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ หรือการชันสูตรโรค ซึ่งมิได้กระทำโดยตรงต่อร่างกายของมนุษย์
สำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายมนุษย์หรือสัตว์
สำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์
ความสำคัญของยา
ยาเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน
แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและโทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และมีโทษน้อยสุด
แหล่งที่มาของยา (Source of Drug)
ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ได้แก่ พวกสมุนไพร
สัตว์ ได้จากอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ เช่น อินซูลินจากตับอ่อนของหมูและวัว
แร่ธาตุ เช่น คาโอลิน และกำมะถัน
พืช ได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ควินินสกัดจากเปลือกต้นซิงโคนาใช้รักษามาลาเรีย
ยาสังเคราะห์
สังเคราะห์ทางเคมี อาจเป็นยาสังเคราะห์เลียนแบบสารที่ได้จากธรรมชาติเช่น ยาคลอแรมเฟนิคอล หรือเป็นอนุพันธ์ของสารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ยาปฏิชีวนะ
วิถีทางและวัตถุประสงค์การให้ยา
วิถีทางในการให้ยา
การให้ยาผ่านทางเดินอาหาร
การอมใต้ลิ้น (Sublingual administration)ตัวยาจะถูกดูดซึมผ่านหลอดเลือดฝอยในช่องปากใช้ในกรณีที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วผู้ที่ใช้ยาด้วยวิธีนี้ที่ไม่ควรบ้วนน้ำลาย และกลืนน้ำลายให้น้อยที่สุด
การให้ยาทางทวารหนัก (Rectal administration) รูปของยาเหน็บหรือยาสวนทวารยาจะถูกดูดซึมที่บริเวณลำไส้ส่วนปลาย และมีการดูดซึมยาที่ไม่แน่นอน
การรับประทาน (Oral ingestion) เป็นวิธีที่ใช้ง่าย สะดวก และมีความปลอดภัย แต่การดูดซึมยาขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง
การให้ยาโดยไม่ผ่านทางเดินอาหาร
การให้ยาฉีด
การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous administration)ไม่ระคายเคือง และมีปริมาณที่ต้องการฉีดไม่มาก
การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ (Intramuscular injection)มีอัตราการดูดซึมยาสูงข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้ปวดมาก อาจเกิดฝี
การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous administration) ไม่ผ่านกระบวนการดูดซึม ยาเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรงองการควบคุมปริมาณยาที่ให้ต้องการให้ยาออกฤทธิ์ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การให้ยาเฉพาะที่ (Topical application)
การให้ยาผ่านผิวหนังยาผงโรยผิวหนัง หรือพลาสเตอร์
ยาหยอดยาหยอดตา และยาหยอดหู เป็นวิธีการให้ยาเพื่อหวังผลเฉพาะที่
ยาเหน็บช่องคลอดอกฤทธิ์เฉพาะที่ในบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
การให้ยาชนิดสูดดม (Inhalation)
สำหรับยาที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ ของเหลวที่ระเหยได้ในอุณหภูมิธรรมดา ของเหลวที่จ่ายในรูปหยดเล็ก (Aerosol) และยาผงละเอียดสาหรับสูดดม
วัตถุประสงค์ในการทำยาในรูปแบบต่างๆ
เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ติดต่อกันนาน ไม่ต้องรับประทานยาบ่อยครั้ง
ต้องการใช้เป็นยาภายนอก ใช้สำหรับผิวหนัง
ยาน้ำผสม ยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับเด็กหรือผู้สูงอายุที่กลืนยาเม็ด ยาแคปซูลไม่ได้
ใช้สอดเข้าช่องต่างๆ ของร่างกาย เช่น ยาเหน็บทวารหนัก
กลบรสตัวยาที่ไม่น่ารับประทาน เช่น ยาแคปซูล
ต้องการให้ยาเข้าสู่หลอดเลือด
ป้องกันการสลายตัวของยา
ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยผ่านระบบสูดดม
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประทานยาในขนาดที่ถูกต้อง ปลอดภัย
ต้องการให้ตัวยาออกฤทธิ์โดยระบบนำส่งผ่านผิวหนัง
คำย่อที่ใช้เกี่ยวกับยา
เพื่อบอกเวลาในการใช้ยา
After meals คำย่อ pc หลังอาหาร
At bed time คำย่อ hs ก่อนนอน
before meals คำย่อ ac ก่อนอาหาร
เพื่อบอกความถี่ในการใช้ยา
Two times a day คำย่อ bid วันละ 2 ครั้ง
Every….hour คำย่อ q…….hr ใช้ทุก.......ชั่วโมง
Once a day คำย่อ od วันละ 1 ครั้ง
การบริหารยาและหลักการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
การบริหารยา (Administration)
ยาหลังอาหารทันทีรับประทานหลังอาหารทันที เนื่องจากยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ยาพร้อมอาหารให้รับประทานอาหารครึ่งหนึ่งแล้วรับประทานยา แล้วจึงรับประทานอาหารต่อจนอิ่ม
ยาหลังอาหารควรรับประทานยาหลังอาหารไม่เกิน 15-30 นาที
ยาก่อนนอนหรือหลังอาหารเย็นควรรับประทานก่อนนอน 15-30 นาที
ยาก่อนอาหาร ก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที
ยารับประทานเวลามีอาการหากไม่มีอาการก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา
หลักการการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
หลักการใช้ยาที่ถูกต้อง 5 ประการ (5 Rights) ได้แก่ ใช้ยาถูกคน (Right patient) ใช้ยาถูกชนิด (Right drug) ใช้ยาถูกขนาด (Right dose) ใช้ยาถูกเวลา (Right time) และใช้ยาถูกวิธี (Right route)
คำนึงถึงวิธีการบริหารยาเพื่อให้ตัวยาสำคัญไปยังบริเวณที่ออกฤทธิ์ในขนาดที่ต้องการและเห็นผลในการรักษา
ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
คำนึงถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีของยา ตำแหน่งของยาที่จะออกฤทธิ์ วัตถุประสงค์ในการรักษา