Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Renal pathophysiology พยาธิวิทยาระบบทางเดินปัสสาวะ - Coggle Diagram
Renal pathophysiology
พยาธิวิทยาระบบทางเดินปัสสาวะ
Renal disease
Renal failure
Glomerulonephritis
การอักเสบของไตชนิดนี้พบได้บ่อยในเด็กอายุระหวา่ ง 2-12 ปี และพบมากในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2 : 1
สาเหตุ ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเช้ือโดยตรง แต่เกิดข้ึนตามหลังการติดเชื้ออื่นๆของร่างกายที่พบบ่อยคือ Pharyngitis จาก - Streptococcus gr. A. (Post-streptococcalglomerulonephritis) หรือการติดเช้ือจากผิวหนัง
Nephrotic syndrome
เกิดจากความผิดปกติที่ผนังหลอดเลือดที่ไตไม่สามารถกรองโปรตีนหรือไข่ขาวไว้ ทำให้มีไข่ขาวรั่วออกมาทางปัสสาวะจำนวนมาก
• Severe edema: มีอาการบวม
• Hyperlipidemia (high cholesterol): มีระดับซีรั่มคลอเสลโตรอล สูง (มักสูงกวา่ 300มก.ต่อซีซี)
• Hypo albuminemia: มีระดับซีรั่มอัลบูมินในเลือดต่ากว่า 30 กรัมต่อลิตร
• Lipiduria (Oval fat body in urine)
• Proteinuria:โปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่าวันละ 3.5 กรัม
อาการแสดงของไตก็จะเกิดขึ้นใน 3
ลักษณะดังนี้ คือ
มีความผิดปกติของระดับสารต่าง ๆ ในปัสสาวะ
หน่วยไตสร้างปัสสาวะประมาณวนั ละ 1,500 มล. สีเหลืองฟาง pH ประมาณ 4.8 – 8ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) (คือค่าความสัมพันธ์ระหว่างมวลของปัสสาวะเปรียบเทียบกบั มวลของน้ำ ซ่ึงวัดด้วยยูโรมิเตอร์ (urometer) ) มีค่า 1.010 – 1.040
น้าตาลในปัสสาวะ (glucosuria) ปกติจะมีได้บ้างเล็กน้อยกว่า 1.5 mg / dl.
บิลลิรูบินในปัสสาวะ (bilirubinuria) โดยปกติจะไม่พบ การที่พบเป็นการบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่ตับ
สารคีโตน (ketone) โดยปกติจะไม่พบในปัสสาวะ จะพบ ketonuriaในผู้
ป่วยที่มีภาวะ diabetic ketonacidosis อยู่ในช่วงลดน้าหนัก และบริโภคอาหารโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำ
เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ (pyuria) การพบจะบ่งบอกถึงภาวะการติดเช้ือ
โปรตีนในปัสสาวะ (albuminuria) ปกติพบน้อยกว่า 8 mg / dl.
แบคทีเรีย (bacteria) พบได้บ้างเล็กน้อย (few) หากพบมากก็บอกถึง
การติดเช้ือ
มีความผิดปกติในส่วนต่าง ๆ ของไต
ไตล้มเหลว เป็นภาวะที่ไตเสียหน้าที่ในการขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารออกจากกระแสเลือดส่งผลให้เกิดการสูญเสียความสมดุลของสารน้า, electrolytes และกรด-ด่างในร่างกาย ไตวายแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.ไตล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute renal failure)
เป็นภาวะไตสูญเสียหน้าทีทันทีทันใด ทำให้มีการคั่งของของเสียในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ หายใจ น้าและ electrolytes หากได้รับการรักษาทันท่วงที ไตก็จะสามารถกลับมาทำหน้าทีได้อย่างเดิม
จำแนกตามพยาธิสภาพได้ 3 ระดับ
Intrarenal
Postrenal
Prerenal
2.ไตล้มเหลวเรื้อรัง (Chronic renal failure)
• สาเหตุ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.โรคไตที่พบบ่อยคือการอักเสบที่ไตอย่างเรื้อรัง กรวยไตอักเสบ การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ
2.โรคของระบบอื่นที่มีผลต่อไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผลจากยาสารพิษ เช่นยาฆ่าแมลง เห็ดพิษ หรือภาวะติดเช้ือ เป็ นต้น
• ไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างช้าๆและเป็นไปอย่างถาวร มีการทำลายเน้ือไตติดต่อกัน เป็นเวลานานไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้
พยาธิสภาพของไตวายเรื้อรัง
อาการและอาการแสดงของไตวายเรื้อรัง จะปรากฎเมื่อหน้าที่ของไตเสียไปมากกวา่ร้อยกวา่ 75 – 80 ขั้นตอนของไตวายเร้ือรังแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
การทำงานของไตลดลง (diminished renal reserveเหลือประมาณร้อยละ 40ของปกติ แต่ยังไม่ปรากฏอาการอะไร ไม่มีการสะสมของเสียไว้ในเลือด
ไตเสื่อมสมรรถภาพ (renal insufficiency) เป็นระยะที่มีการลดอัตราการกรองไตทำหน้าที่ได้ประมาณร้อยละ 15 – 40 ระดับของเสียในเลือดเพิ่มข้ึนแต่ไม่เกิน 3 – 4เท่าของภาวะปกติ เลือดจางเล็กน้อย
ไตวาย (renal failure) เป็ นระยะที่มีระดับยูเรียในเลือดสูงข้ึนมีความไม่สมดุลของสารน้าและ อิเลคโตไลท์ ผู้ป่วยมักปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืนไตจะทำหน้าที่ได้เพียงร้อยละ 5 – 15 ของปกต
ไตวายระยะสุดท้ายหรือยูรีเมีย (uremia) เรียกว่า ESRD (End State RenalDisease) จะปรากฎอาการแทรกซ้อนเกือบทุกระบบของร่างกาย ไตทำหน้าที่ได้น้อยกวา่ 5 % ของปกติ
ผลกระทบของภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ : น้าท่วมปอด ปอดอักเสบ
ระบบประสาท
3.1 ระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการซึมลง ขาดสมาธิ การตัด สินใจไม่ดี
3.2 ระบบประสาทส่วนปลายมักพบวา่ มีอาการ restless leg syndrome ซึ่งเริ่มมีอาการร้อนที่เท้า ถูกต้องแล้วเจ็บ มีอาการขยับเท้าตลอดเวลา
ระบบหัวใจและหลอดเลือด:ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจล้มเหลวและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ระบบทางเดินอาหาร:พบว่ามีแผลในปาก กระเพาะอาหาร เบื่ออาหาร คลื่นไส้
ระบบเลือด :โลหิตจาง เลือดออกง่าย ความต้านทานโรคต่ำ
ระบบกล้ามเน้ือและกระดูก: กล้ามเนื้อ่อนแรง จากความไม่สมดุล
ของอิเลคโตรไลท์
ผิวหนัง: อาการคัน ผิวหนังแห้งตกสะเก็ด
ระบบสืบพันธุ์: ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็ นหมนั ในเพศหญิงไม่มีประจำเดือนหรือมาไม่สม่าเสมอ ระดับโปรเจสเตอร์โรนลดลง ในเพศชายระดับเทสโทสเตอร์โรนลดลง จานวนเช้ืออสุจิลดลง
ตา: มักพบตามีสีแดง (red eye syndrome) เนื่องจากแคลเซียมไปเกาะเยื่อบุตา อาจระคายเคืองและยังอาจพบมีความพิการของตา (retinopathy)
ความไม่สมดุลของอิเลคโตรลัยท์และความเป็ นกรด: กรดสูงโปตัส
เซียมสูงฟอสเฟตสูง แคลเซียมต่ำโซเดียมอาจสูงหรือต่ำ
ต่อมไร้ท่อ: ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ เช่น ต่อมไธรอยด์ พิทูอิตาลี
พาราไธรอยด์ ทำให้เด็กเติบโตช้า
มีความผิดปกติของระดับสารต่าง ๆ ในเลือด
BUN (blood urea nitrogen) ยูเรียไนโตรเจนในเลือดที่เพิ่มข้ึน แสดงภาวะการทำงานของไตที่ลดลง และการเพิ่มเมตาบอลิซึมของไนโตรเจนจากอาหาร
Cr. (serum creatinin) คริตินินในเลือดเป็นสารที่กล้ามเนื้อสร้างขึ้นและขับออกทางปัสสาวะ ระดับ Cr. ในเลือดประมาณ 0.6 – 1.5 mg / dl. ในผู้ชายและ 0.6 – 1.1mg / dl ในผู้หญิง ระดับ Cr. ในเลือดจะไม่เปลี่ยนแปลงจากอาหารหรือปัจจัยที่มีผลต่อการไหลเวียนเลือดเหมือนระดับ BUN จึงสามารถใช้แสดง ผลการทำงานของไตได้ แต่ไม่รวดเร็วนัก
Urinary obstruction and stasis
Neurogenic bladder disorder
Urinary incontinence
อาการและอาการแสดงของโรคในระบบ KUB
• Hematuria การมีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะมากกวา่ 8,000 เซลล์ ในน้าปัสสาวะ 1 cc.
• Proteinuria โปรตีนในปัสสาวะ:ปกติจะตรวจไม่พบโปรตีนเช่น
อัลบูมิน (Albumin,โปรตีนชนิดเดียวกับในไข่ขาว) ในปัสสาวะ เนื่องจากโมเลกลุใหญ่และไตจะกรองโปรตีนกลับคืนเข้าสู่ร่างกายเกือบหมด
• Polyuria ปัสสาวะมาก คือภาวะที่มีปัสสาวะมากกวา่ 3 L/day ในผู้ใหญ่ มากกวา่ 2 L/dayในเด็กปกติปัสสาวะออกประมาณ 40ml /kg /day
• Oliguria ปัสสาวะน้อย: น้อยกว่า วันละ 400 มิลลิลิตรหรือน้อยกว่า ชั่วโมงละ 20 ซีซี(ในผู้ใหญ่ คือ ปัสสาวะน้อยกวา่ 0.5 มล. ต่อ น้าหนักตัว 1 กก. ใน 1 ชม. / หรือ 17-21 มล.ใน 1 ชั่วโมง (ไม่คิดต่อน้าหนักตัว)
• Anuria ไม่มีปัสสาวะหรือ ปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 100 มิลลิลิตร
• Nocturia: คือการปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง หรือการตื่นมาปัสสาวะนั้นทำให้มีปัญหาจนรบกวนต่อการนอนหลบ
• Dysuria ปัสสาวะลำบาก
• Uremia ภาวะที่ปริมาณ Urea/ Creatinine (BUN/Cr) ตกค้างอยู่ ในเลือดเกินปกติเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทางสมอง อ่อนเพลีย เบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ กระสับกระส่ายกล้ามเน้ือกระตุก และอาจชกั หมดสติได
BUN สูงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคไตเสมอไปจึงต้องมีการคำนวณเพื่อจำแนกวา่ ผู้ป่วยBUN สูงจากภาวะไตเสื่อมหรือไม่ โดยเอาค่า BUN ตั้งหารด้วย Cr ดังสูตรต่อไปน้ี: BUN/Cr ถ้ามากกว่า 10 : ปัญหาน่าจะมาจากไต
BUN > 20 , Cr > 1.0 ในคนหนุ่มสาว, Cr > 1.5 ในคนสูงอายุ ให้สงสัยว่า อาจมีปัญหาเรื่องไต (BUN : 6 - 20 mg/dl, Cr: 0.6 - 1.5 mg/dl)
• Retention of urine การถ่ายปัสสาวะไม่ออก
โรคนิ่ว (Stones/Calculi)ในระบบทางเดินปัสสาวะ
• นิ่วในไต อาจเป็นก้อนหินแข็งเม็ดเดียว หรือหลายเม็ดอยู่ในกรวยไต หรือ calycesอาจอยู่ในกรวยไตและมีกิ่งก้านยื่นเข้าไปใน calyces มากกว่า 1 calyx เรียกว่า นิ่วเขากวาง หรือ stag horn stone
• หินปููนที่อยู่ในเนื้อไตแต่ไม่ได้อยู่ในกรวยไตหรือ calyces เรียกว่า nephrocalcinosis
• สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามตำแหน่งทีพบในทางเดินปัสสาวะ ดังนี้
โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง คือ นิ่วที่พบบริเวณ กระเพาะปัสสาวะ (bladder)และบริเวณท่อปัสสาวะ (urethra)
1.โรคนิวทางเดินปัสสาวะส่วนบน คือ นิ่วที่พบบริเวณ กลีบกรวยไต (renal calyces)กรวยไต (renal pelvis) และท่อไต (ureter)
Renal calculi
• ร้อยละ 14 เป็นเกลือ magnesium ammonium phosphate ซ่ึงเรียกว่า struvite
• ร้อยละ 10 เป็น uric acid-based
• ก้อนนิ่วที่พบส่วนมากประมาณร้อยละ 75 เป็นเกลือแคลเซียม เช่น calcium oxalate,calcium phosphate หรือส่วนผสมระหว่าง oxalate และ phosphate
• และอีกร้อยละ 1 เป็น cystine-based ซึ่งการเกิดผลึกมักพบเมื่อในร่างกายมีสารcalcium, cystine, uric acid, struvite หรือ oxalate อยู่
ในภาวะอิ่มตัวยิ่งยวด
• Calcium stone ได้แก่ calcium oxalate, calcium phosphate นิ่วใด ๆ ที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบมักจะทึบต่อแสงเอกซเรย์
• Struvite stone หรือ Infectious stone มักพบร่วมกับ มีการอักเสบเร้ือรังของระบบทางเดินปัสสาวะ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุมักเป็นพวก urease ทำให้ปัสสาวะมีฤทธ์ิ
อาการและอาการแสดงโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนบน
นิ่วในท่อไต จะมีอาการปวดบริเวณสีข้างและหลังกรณีนิ่วอยู่นของท่อไตนิ่วที่อยู่ตรง กลาง หรือส่วนล่างของท่อไตมัก ปวดร้าวมาท้องน้อย หน้าขา ถุงอัณฑะหรือแคมอวัยวะเพศหญิง
นิ่วในไต มักมีอาการปวดตื้อๆ หรือปวดรุนแรงบริเวณบั้นเอว อาจถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด
อาการและอาการแสดงโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ส่วนมากจะมีอาการปวดปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย สะดุดปัสสาวะเป็นเลือด อาจปวดบริเวณหัวเหน่าร่วมด้วย
นิ่วในท่อปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่ออก หรือเป็นหยด ปวดขณะปัสสาวะ
Urinary tract infection (UTI)
• การติดเช้ือเกิดข้ึนเมื่อเช้ือแบคทีเรียจากระบบทางเดินอาหารมาที่ทางเปิ ดของท่อปัสสาวะและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนข้ึน การติดเช้ือมักพบว่า เกิดจากแบคทีเรียเพียงคร้ังละชนิดเดียว
• ส่วนใหญ่แบคทีเรียจะอยู่ที่ท่อปัสสาวะ การติดเช้ือที่ท่อปัสสาวะเรียกว่าurethritisและย้อนข้ึนไปถึงกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะเรียก cystitis
• การติดเช้ือในระบบทางเดินปัสสาวะพบบ่อยเป็น อันดับที่สองรองจากการติดเช้ือในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าชาย
• ถ้า ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีการติดเช้ือข้ึนไปถึงท่อไต ไปที่ไตการ
ติดเช้ือที่ไตเรียกวา่ pyelonephritis
อาการของ UTI
• ในบางคนก็ไม่มีอาการ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการ dysuria คืออยากไปปัสสาวะบ่อยๆ ปวดร้อนบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
• อาการไข้แสดงถึงว่า มีการติดเช้ือไปถึงไต อาจปวดหลังบริเวณใต้กระดูกซี่โครง คลื่นไส้ อาเจียน
• การวินิจฉัย: Urine analysis/culture, film KUB
• การรักษา ให้ยาปฏิชีวนะ แก้ไขสาเหตุ