Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) - Coggle Diagram
เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics)
ความหมาย-นิยาม (Definition)
บทนำ
ยาใช้การเดินทางที่ซับซ้อนผ่านร่างกายก่อนที่จะสร้างผลการรักษาที่ต้องการ
ระบบไหลเวียน
Site of action
กำจัดออกจากร่างกาย
เมื่อยาไปถึงบริเวณที่รับยาการกระทำทางชีวเคมีและสรีรวิทยาเกิดขึ้นผลทางเภสัชวิทยากำลังเรียกกลไกการออกฤทธิ์
คำนิยาม
เภสัชวิทยา
ศึกษายาเสพติดและการกระทำของพวกเขาในร่างกาย
เภสัช
กลไกที่ยาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีหรือสรีรวิทยาในร่างกาย
เภสัชจลนศาสตร์
การศึกษากระบวนการพื้นฐานที่กำหนดระยะเวลาและความเข้มของผลกระทบของยา (การดูดซึมการกระจายการเผาผลาญ (การเปลี่ยนรูปทางชีวภาพ) และการกำจัด)
เภสัชจลนศาสตร์
การเป็นไปของยาเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายหรือหมายถึงการที่ร่างกายจัดการกับยาที่ได้รับ (what the body does to the drug) ได้แก่
การดูดซึมของยาเข้าสู่ร่างกาย (absorption)
การกระจายตัวของยา (distribution)
การเปลี่ยนแปลงยา (metabolism)
การขับถ่ายยาออกจากร่างกาย (excretion)
ADME รวมกับ ขนาดยา เป็นสิ่งที่กำหนดถึงความเข้มข้นของยาในบริเวณที่ยาไปออกฤทธิ์และเป็นผลต่อเนื่องไปถึงความแรงของฤทธิ์ยาที่เกิดขึ้น เวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ (onset) และระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาในร่างกาย (duration of action)
Pharmacokinetic processes
2.1 Absorption
การดูดซึมยาจากบริเวณที่ให้ยา (site of administration) เข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้น การดูดซึมยาจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการใหิ้ยา ในทุกๆทางยกเว้นโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (intravenous injection)
Mechanism of absorption
ยาที่ดูดซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (lipid bilayer)ได้ง่ายต้องมีลักษณะดังนี้
High lipid solubility
Small size, Non-ionized
ยาที่มีคุณสมบัติต่างไปจากนี้ต้องใช้วิธีอื่น
site of administration
2 การให้ยาโดยการอมใต้ลิ้น (Sublingual administration)
3 การให้ยาทางทวารหนัก (Rectal Administration)
4 การให้ยาโดยการทาภายนอก (Application to epithelial surfaces)
5 การให้ยาโดยการสูดดม (Inhalation)
6 การฉีดยาเข้าทางเส้นเลือดดำ (Intravenous (IV) injection)
7 Bioavailability
1 การให้ยาทางปาก (Oral administration)
2.2 Distribution
ในช่วงแรกของการกระจายจะขึ้นกับ cardiac output และ blood flow โดยที่อวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก (well perfused organ) เช่น ตับ, ไต, สมอง ก็จะได้รับยาก่อน ส่วนอวัยวะอื่นๆเช่น กล้ามเนื้อ, อวัยวะภายใน, ผิวหนัง, ไขมัน ก็จะได้รับยาช้ากว่า
การกระจายของยานั้นขึ้นกับ physiological factors และ physicochemical properties ของยา
Blood circulation to site of action
2.3 Metabolism or Biotransformation
Phase II reaction: ปฏิกิริยา conjugation ซึ่งเป็นการเติม substituent group เข้าไปยังโมเลกุลของยา โดยผลที่เกิดขึ้นมักจะเป็น pharmacologically inactive และมี lipid soluble น้อยลงและทำให้ถูกขับออกทางน้ำดีหรือทางปัสสาวะได้ดีขึ้น
ทั้งสอง Phase เกิดขึ้นเพื่อทำให้ยามี lipid solubility ที่ลดลงและถูกกำจัดออกไปทางไตได้ดีขึ้นPhase I และ Phase II reactions เกิดขึ้น
Phase I reaction : ปฏิกิริยา oxidation, reduction, และ hydrolysis ซึ่งมักเป็นการเติมreactive group เข้าไปในโมเลกุล ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมักจะมี chemically reactive มากขึ้นและอาจมี toxicityมากขึ้น
2.4 Excretion
Routes: urine, feces, bile, milk,
ยาอาจถูกกำจัดออกจากร่างกายทั้งในรูปที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกเปลี่ยนแปลงก็ได้
อวัยวะหลักในการกำจัดยา คือ ไต ซึ่งสารที่เป็น polar compound จะถูกกำจัดออกได้ดีกว่าสารที่มี high lipid solubility ดังนั้น จึงเห็นว่ายาที่เป็น lipid soluble จะถูกเปลี่ยนแปลงยาให้ได้เป็นสาร polar compound ก่อนจึงจะถูกขับออกมาได้ นอกจากการขับออกทางไตโดยปัสสาวะแล้ว ยาบางอย่างอาจขับออกได้ทางอุจจาระ, ทางน้ำนม, และทางปอดได้ โดยทางปอดนั้นโดยมากเป็นทางในการกำจัดยาที่เป็น gas หรือ vapor
Basic clinical pharmacokinetics
สมมติฐานพื้นฐานของ Clinical pharmacokinetics คือ การตอบสนองทางเภสัชวิทยาหรือการเกิดพิษจากยา (Pharmacological or toxic response) มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของยาในร่างกาย (ในเลือด)....
Clinical pharmacokinetics จะช่วยให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของขนาดยาที่ให้และฤทธิ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดฤทธิ์ที่ต้องการในการรักษา โดยการเลือกขนาดยาและปรับขนาดยาให้เหมาะสม
ขนาดยามาตรฐาน (standard dose)
ได้จากการทดลองในอาสาสมัครที่ร่างกายสมบูรณ์ และผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง ซึ่งขนาดยาดังกล่าวอาจไม่ใช่ขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคน ปัจจัยทางสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยาของผู้ป่วยแต่ละคนจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อ Pharmacokinetics และส่งผลต่อขนาดยาที่ใช้
Pharmacokinetic parameter ที่สำคัญในการปรับขนาดยาให้แก่ผู้ป่วยได้แก่
1.Clearance (CL)
การกำจัดยา หรือ Drug clearance (CL) มีหลักการเช่นเดียวกับการวัดการทำงานของไตโดย creatinine clearance (CLcr) ซึ่งเป็นการวัดอัตราการกำจัด creatinine ในปัสสาวะ เมื่อเทียบกับความเข้มข้นของ creatinine ในเลือด
Systemic clearance หรือ clearance ที่ได้จากการกำจัดยาทุกทางจะได้จาก CL ของแต่ละ route รวมกัน
CLsys = CLrenal + Clliver + Clother
Clearance ของยาชนิดหนึ่ง หมายถึง อัตราการกำจัดยาออกจากร่างกายในทุกทาง (route) ต่อความเข้มข้นของยาในเลือดหรือ plasma (biological fluid)
CL บ่งบอกถึงปริมาตรของ biological fluid (เลือดหรือ plasma) ที่ถูกกำจัดเอายาออกไปในหนึ่งหน่วยเวลา ดังนั้นหน่วยของ CL จะเป็น volume per unit of time เช่น ml/min
โดยส่วนมาก CL ของยาจะเป็นสัดส่วนที่คงที่ในช่วงความเข้มข้นของระดับยาในเลือดที่ใช้ในการรักษา เนื่องจากระบบการกำจัดยาออกจากร่างกายไม่อิ่มตัวโดยง่าย
การกำจัดยาออกจึงเป็นสัดส่วน (fraction) โดยตรงกับความเข้มข้นของยา หรือเรียกว่ามี “1st order kinetic” คือยาจะถูกกำจัดออกในสัดส่วนที่คงที่แม้ว่าความเข้มข้นของยาจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
ส่วนการกำจัดยาที่ไม่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มข้นของยา หรือเป็นการกำจัดยาในปริมาณที่คงที่จัดเป็นการกำจัดยาที่มีการอิ่มตัว (Capacity limited elimination) ซึ่งอาจเรียกว่ามี “Zero order kinetics” ยาบางชนิดมีการกำจัดยาเช่นนี้
ตัวอย่างเช่น alcohol, phenytoin, aspirin เป็นต้น ซึ่งสาเหตุของการเกิด saturation kinetics นี้เกิดจากการอิ่มตัวของ protein binding, hepatic metabolism หรือ active renal transport
2.Volume of distribution (Vd)
Volume of distribution (Vd) หมายถึง ปริมาตรของของเหลวที่ต้องการที่จะละลายยาทั้งหมดในร่างกายให้ได้ความเข้มข้นของยาเท่ากับความเข้มข้นของยาใน plasma
Vd = Amount of drug in the body
C
3.Bioavailability
Maintenance dose (MD) เป็นขนาดยาที่ให้เพื่อคงระดับยาใน plasma ให้อยู่ภายใน steady state concentration โดยจะให้ยาแก่ผู้ป่วยเป็นช่วงๆติดต่อกัน หรืออาจให้แบบ intravenous infusion เพื่อคงระดับยาที่ steady state ใน plasma ให้อยู่ในช่วงความเข้มข้นที่มีฤทธิ์รักษาตลอดเวลา
Loading dose (LD) เป็นการให้ยาในขนาดสูงไปในช่วงแรกเพื่อให้ระดับยาสูงถึงระดับที่ต้องการ การให้ loading dose มีข้อเสียคือ การให้ยาในขนาดสูง อาจทำให้ระดับยาสูงขึ้นถึงระดับที่เป็นพิษ และต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่ระดับยานั้นจะลดลงมา
loading dose นี้มีความสำคัญและจำเป็นในกรณียาที่มีค่า t1/2 ยาวนานมาก เพราะยาจะเกิดระดับคงที่ที่ steady state จะต้องใช้เวลา 3-4 t1/2
การให้ loading dose ต้องคำนึงถึง Rate of administration ด้วยว่าจะก่อให้เกิด toxicity หรือไม่