Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
image - Coggle Diagram
เภสัชพลศาสตร์ หมายถึง การออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกายหรือการที่ยามีผลต่อร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งผลด้านชีวเคมี และสสรีรวิทยาของยา กลไกที่ทำให้เกิดผลทั้งด้านที่พึ่งประสงค์ คือฤทธิ์ในการรักษา และผลที่ไม่พึงประสงค์ คือ อาการข้างเคียงและพิษของยา
-
การออกฤทธิ์ผ่านตัวรับ
- Receptors คือ โมเลกุลหรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ จับกับยาหรือฮอร์โมนแล้วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์หรือเอนไซม์ receptors ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นพวกโปรตีน
ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา
- ปฏิกิริยาต่อกันของยาในลักษณะเพิ่มฤทธิ์ หรือเสริมฤทธิ์ ปฎิกิริยาในลักษณะนี้มักจะเกิดเมื่อเราใช้ยา 2 ชนิดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาเหมือนกันในเวลาเดียวกัน
- ปฏิกิริยาต่อกันของยาแบบต้านฤทธิ์กัน ปฏิกริยาแบบนี้เกิดเมื่อมีการให้ยา 2 ชนิดที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแบบตรงข้ามรวมกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือฤทธิ์ของยาชนิดหนึ่งจะถูกต้านด้วยฤทธิ์ของยาอีกชนิดหนึ่ง
- ปฏิกิริยาต่อกันของยาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงกลไกในการขนส่งยา ยาบางชนิดอาจถูกขัดขวางกระบวนการในการขนส่งยาโดยยาอีกชนิดหนึ่ง ทำให้ยาไม่สามารถไปยังอวัยวะ หรือตำแหน่งออกฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมาย ส่งผลให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้
- ปฏิกริยาต่อกันของยาอันเนื่องมาจากการรบกวนสมดุลของน้ำและอิเลคโตรไลท์
อาการไม่พึงประสงค์
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reaction: ADR) คือ การตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายและเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจเมื่อใช้ในขนาดปกติ ในมนุษย์ดพื่อป้องกัน วินิจฉัย หรือรักษาโรค หรือเปลี่ยนแปลงสรีระวิทยาของร่างกาย
- อาการข้างเคียงจากการใช้ยา(side effect) คือ ผลใดๆจากเภสัชภัณฑ์ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น เกิดในขนาดการใช้ยาปกติในมนุษย์ ซึ่งสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา
สรุป เภสัชพลศาสตร์
- เภสัชพลศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการตอบสนองของสิ่งมีชีวิตต่อยา ซึ่งเป็นการศึกษาถึงกลไกการออกฤทธิ์ของยา การด าเนินไปของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ขนาดของยา ความเข้มข้นของยา และตัวรับ กลไกการออกฤทธิ์ของยา (Mechanism of drugs) หมายถึง ฤทธิ์ของยา เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีของยานั้นๆ กับตัวรับของเนื้อเยื่อ ความหมาย ตัวรับ (Receptor) ทางเภสัชวิทยา ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจกล่าวได้ว่าฤทธิ์ของยาที่เกิดขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากปฏิกิริยาระหว่างยากับตัวรับ โดยปัจจัยที่ทำให้ิดความแตกต่างในการออกฤทธิ์ของยา ได้แก่ พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา การแพ้ยา การทนต่อยา อายุ ขนาดและน้ำหนักตัว ลักษณะทางกายวิภาคของระบบทางเดินอาหาร เพศ และอารมณ์
-
พิษของยา
- เกี่ยวข้อกับการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในระดับรุนแรงจนถึงขั้นเป็นพิษเป็นผลของยาที่ใช้ถ้ายังเพิ่มขนาดใช้ยาอาการพิษก็ยื่งเพิ่มขึ้นจนอวัยวะนั้นๆ พิการหรือเสื่อมสภาพไป หรือการใช้ยาในระยะเวลานานติดต่อกัน แม้จะใช้ในขนาดปกติ ก็เกิดเป็นพิษได้ เนื่องจากพิษของยาเอง เช่นแอสไพริยน สเตียรอยด์ ถ้าใช้นานๆหรือใช้ยาที่มีขนาดสูง อาจจะมีผลต่อระบบประสาท ระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด ได้เป็นต้น