Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บบที่ ๑๐ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐, นางสาวรูสลีนา ยูนุ๊ เลขที่…
บบที่ ๑๐ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“โรงเรียน” หมายความว่า สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบ
“โรงเรียนในระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา
“โรงเรียนนอกระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา
“นักเรียน” หมายความว่า ผู้รับการศึกษาในโรงเรียน
ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการของโรงเรียนในระบบ
“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทําหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียน
มาตรา ๕ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน
(๒) สถานศึกษาที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรม
(๓) สถานศึกษาอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวงตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
มาตรา ๖ ในกรณีมีเหตุจําเป็นรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการจะประกาศให้โรงเรียน
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๑ คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๓) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชนสองคน
(๔) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกจากผู้รับใบอนุญาต
(๕) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสี่คน
มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) และ (๕) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย
(๔) ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการในประเภทนั้น
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) หรือ (๕) พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่โดยเร็ว เว้นแต่วาระการดํารงตําแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๒ ให้นํากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมกา
(๑) เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน การพัฒนาและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน (๒) กํากับดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กําหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน
(๔) กําหนดมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน และบุคลากร
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานของโรงเรียน
(๖) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการวินิจฉัยการร้องทุกข์และการคุ้มครองการทํางาน
(๘) ออกระเบียบเกี่ยวกับการยื่นอุทธรณ์ การรับอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนด
มาตรา ๑๔ ให้มีสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชา
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีอํานาจหน้าที่
(๑) รับผิดชอบงานธุรการ และสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการ
(๒) เสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษาเอกชนต่อคณะกรรมการ
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเพื่อประกัน
คุณภาพการศึกษาเอกชน
(๔) รับผิดชอบการดําเนินการเกี่ยวกับกองทุน
(๕) ดําเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนตามมาตรการที่คณะกรรมการกําหนดตามมาตรา ๑๓ (๔)
หมวด ๒ โรงเรียนในระบบ
สวนที่ ๑ การจัดตั้งและเปิดดําเนินการ
มาตรา ๑๗ ประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๘ การจัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๑๙ ตราสารจัดตั้งตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๒) ชื่อ ประเภท ระดับ ของโรงเรียนในระบบ
(๑) วัตถุประสงค์
(๓) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคาร
(๔) เงินทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดตั้ง
มาตรา ๒๐ รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง
อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการและแผนการดําเนินงาน
(๒) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
(๓) อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
(๔) คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าสอน ค่าชดเชย ค่าตอบแทน หลักเกณฑ์การจ้างและเลิกจ้าง
มาตรา ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) สาเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี
(๔) มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๕) เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) ไม่เคยถูกออกจากราชการโดยมีความผิด
มาตรา ๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา
นิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจํากัด
นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ผู้จัดการของนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติ
ส่วนที่ ๒ ทรัพย์สินและบัญชี
มาตรา ๔๔ ให้โรงเรียนในระบบจัดให้มีกองทุนสํารอง และจะจัดให้มีกองทุนอื่นตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้โดยเฉพาะตามที่คณะกรรมการบริหารกําหนดด้วยก็ได้
มาตรา ๔๕ ผลกําไรที่ได้จากการดําเนินกิจการของโรงเรียนในระบบในแต่ละปี ให้คณะกรรมการบริหารจัดสรร ดังต่อไปนี้
(๑) ให้โรงเรียนในระบบที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐจัดสรรเงินจากผลกําไรเข้ากองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบตามที่คณะกรรมการกําหนดซึ่งต้องไม่เกินร้อยละสาม
(๒) จัดสรรเข้ากองทุนสํารองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ
(๓) จัดสรรให้แก่ผู้รับใบอนุญาตไม่เกินร้อยละสี่สิบ
(๔) ในกรณีที่มีกองทุนอื่น ให้จัดสรรกําไรสวนที่เหลือเข้ากองทุนอื่นนั้น
มาตรา ๔๖ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดวางระบบและจัดทําบัญชีของโรงเรียนในระบบ
มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต้องบการเงิน
ส่วนที่ ๓ การอุดหนุนและส่งเสริม
มาตรา ๔๘ รัฐพึงให้การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียนในระบบนอกเหนือจากเงินอุดหนุนตามมาตรา ๓๕ ได้ตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ โดยเฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้
จัดบุคลากรทางการศึกษาพร้อมทั้งค่าตอบแทนบุคลากรดังกล่าวให้
จัดครูพร้อมทั้งค่าตอบแทนครูให้
ลดหย่อนหรือยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าประเภทครุภัณฑ์และอุปกรณที่ใช้
ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕
ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ส่วนที่ ๔ กองทุน
มาตรา ๔๙ ให้มีกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสําหรับการให้กู้ยืมเงินแก่โรงเรียนในระบบ
เงินที่โอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อวิทยาคารสงเคราะห์สําหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
เงินที่โอนมาจากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเอกชน
เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
เงินที่ได้รับจากการจัดสรรตามมาตรา ๔๕ (๑)
เงินค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และเงินค่าปรับเนื่องจากผิดนัดชําระหนี้กู้ยืม
เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้บริจาคให้กองทุน
ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน
ส่วนที่ ๕ การสงเคราะห์
มาตรา ๕๔ ให้มีกองทุนสงเคราะห์เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อสงเคราะห์ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา โดยรวมถึง
(๑) การจ่ายเป็นเงินทุนเลี้ยงชีพให้แก่ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
(๒) การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
(๓) การส่งเสริมการออมทรัพย์ของผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
(๔) การจ่ายเงินสวัสดิการสงเคราะห์
มาตรา ๕๕ กองทุนสงเคราะห์ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) เงินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕
(๒) เงินที่ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๗๓ (๑)
(๓) เงินที่โรงเรียนในระบบส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๗๓ (๒)
(๔) เงินสมทบที่กระทรวงศึกษาธิการส่งสมทบตามมาตรา ๗๓ (๓)
ส่วนที่ ๖ การคุ้มครองการทํางาน
มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
การคุ้มครองการทํางาน การจัดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองการทํางานและประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ําของผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ ๗ การกํากับดูแล
มาตรา ๘๗ ห้ามผู้รับใบอนุญาต ผู้อํานวยการ ผู้จัดการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาใช้หรือยอมให้ผู้อื่นใช้อาคาร สถานที่ และบริเวณของโรงเรียนในระบบเพื่อการอันมิชอบ
มาตรา ๘๘ ห้ามโรงเรียนในระบบทําหรือยินยอมให้บุคคลอื่นทําการใดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง
มาตรา ๙๔ การโฆษณาของโรงเรียนในระบบต้องไม่เป็นเท็จ เกินความจริงหรือขัดต่อความสงบ
มาตรา ๙๖ ผู้อนุญาตมีอํานาจออกคําสั่งให้โรงเรียนในระบบอยู่ในความควบคุมของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(๑) โรงเรียนในระบบไม่มีทุนเพียงพอที่จะดําเนินกิจการต่อไป
(๒) โรงเรียนในระบบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติน
(๓) โรงเรียนในระบบฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของผู้อนุญาต
(๔) โรงเรียนในระบบไม่ปฏิบัติตามตราสารจัดตั้ง และอาจทําให้เกิดความเสียหาย
หมวด ๔
พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๑๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปในโรงเรียนในระหว่างเวลาทําการ และมีหนังสือเรียกผู้ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคํา
มาตรา ๑๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๑๑๗ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๑๓๐ ผู้ใดจัดตั้งโรงเรียนในระบบโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๓๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๙ วรรคสาม มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๒ โรงเรียนในระบบใดจัดการเรียนการสอนผิดไปจากรายละเอียดที่ระบุไว้ตามมาตรา ๒๐ (๒) หรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมผิดไปจากอัตราที่ระบุไว้
มาตรา ๑๓๓ โรงเรียนในระบบใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่แต่งตั้งผู้อํานวยการหรือไม่แจ้งตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๑๓๗ ผู้ใดปลอมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๓๙ (๔) หรือ (๕) ขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารหลักฐานดังกล่าว
นางสาวรูสลีนา ยูนุ๊ เลขที่ 14
กลุ่ม 05 รหัส 6220160405