Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บบที่ ๑๑ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔, นางสาวรูสลีนา…
บบที่ ๑๑ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน ฉบับที่ ๒
พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “โรงเรียนนอกระบบ” ในมาตรา ๔แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““โรงเรียนนอกระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการสําเร็จการศึกษา และให้หมายความรวมถึงศูนย์การศึกษาอิสลามประจํามัสยิด (ตาดีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ”
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๔ ให้มีสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดีและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน”
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๑) โอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือสิทธิการเช่าที่ปลอดจากภาระผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในคําขอรับใบอนุญาตให้แก่โรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับใบอนุญาต”
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “บุคลากรทางการศึกษา” และ “ผู้อนุญาต”ในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
““บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทําหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในโรงเรียนได้แก่ ผู้ปฏิบัติหน้าที่บรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่งานแนะแนว ผู้ปฏิบัติหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษาผู้ปฏิบัติหน้าที่งานทะเบียนวัดผล ผู้ปฏิบัติหน้าที่บริหารงานทั่วไป หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า
(๑) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(๒) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย หรือ
(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย”
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๗ การโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินตามมาตรา ๒๕ (๑) รวมทั้งทรัพย์สินใด ๆ ที่จะต้องใช้ในกิจการของโรงเรียนให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ผู้โอนและผู้รับโอนได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และได้รับยกเว้นภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกําหนดไว้
มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
“มาตรา ๒๗/๑ การบริจาคที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบ ให้ผู้บริจาคได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และได้รับยกเว้นภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกําหนดไว้
ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินที่มีผู้บริจาคให้แก่โรงเรียนในระบบจะต้องจัดการตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนในระบบและเงื่อนไขที่ผู้บริจาคได้กําหนดไว้ แต่ถ้ามีความจําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าว
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๒๘ ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคําว่า “โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศกํากับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย และสําหรับโรงเรียนในระบบที่จัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอาจใช้คําว่า“วิทยาลัยอาชีวศึกษา” หรือ “วิทยาลัยเทคโนโลยี” ประกอบชื่อแทนคําว่า “โรงเรียน” ก็ได้”
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๓๐ ให้โรงเรียนในระบบมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการ ผู้อํานวยการ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลเดียวกับผู้จัดการหรือผู้อํานวยการหรือบุคคลเดียวกันทั้งสามตําแหน่ง ให้ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหรือสองคน ทั้งนี้ จํานวนและคุณสมบัติของกรรมการต้องสอดคล้องกับขนาดและประเภทของโรงเรียนในระบบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกมาตรา ๔๔ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๖ ให้ผู้จัดการเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดวางระบบและจัดทําบัญชีการเงินและบัญชีอื่นของโรงเรียนในระบบตามแบบและระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด”
มาตรา ๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๔๗ ให้คณะกรรมการบริหารดําเนินการให้มีการตรวจสอบบัญชีของโรงเรียนในระบบเพื่อตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของโรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชี
มาตรา ๑๕ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน
พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๔) ลดหย่อนหรือยกเว้นเงินภาษีเงินได้ของผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ ตามที่กําหนดในประมวลรัษฎากร”
มาตรา ๑๖ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของวรรคสองของมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติ
โรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๖ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๘๖ กิจการของโรงเรียนในระบบเฉพาะในส่วนของผู้อํานวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๑๗ ในกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และประธานกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานครคนหนึ่งซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งเป็นกรรมการ
มาตรา ๑๙ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๑๒๗ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(๓) บทบัญญัติส่วนที่ ๖ ส่วนที่ ๗ ส่วนที่ ๘ ส่วนที่ ๙ และส่วนที่ ๑๑ ของหมวด ๒ทั้งนี้ ไม่รวมถึงมาตรา ๘๖”
มาตรา ๒๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๕๙ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๑๕๙ ให้โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนนอกระบบแล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนนิติบุคคลและได้รับยกเว้น ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
ให้โรงเรียนในระบบที่ได้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้รับเงินคืนเมื่อได้หักหนี้สินที่โรงเรียนในระบบดังกล่าวค้างชําระกองทุนแล้วให้คืนแก่โรงเรียนนั้น
มาตรา ๒๒ ในกรณีที่โรงเรียนในระบบใดแสดงได้ว่าสามารถจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานที่สูงกว่าสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของกองทุนสงเคราะห์
มาตรา ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์แก่ผู้อํานวยการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาในกรณีที่โรงเรียนในระบบใดไม่เคยส่งเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๒๔ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่มิใช่ครูใหญ่หรือผู้อํานวยการ หรือครูของโรงเรียนนานาชาติซ่ึงเป็นโรงเรียนในระบบตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเคยเป็นผู้ประกันตน
มาตรา ๒๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
นางสาวรูสลีนา ยูนุ๊ เลขที่ 14
กลุ่ม 05 รหัส 6220160405