Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การส่งเสริมสุขอนามัย
ความสำคัญของการส่งเสริมสุขอนามัย
สุขอนามัย (Hygiene)
หมายถึง หลักการและความรู้ของการคงไว้หรือรักษาไว้ซึ่งสุขภาพและการปูองกันโรค
สุขอนามัยส่วนบุคคล (Personalhygiene)
คือ การดูแลตนเอง เช่น การอาบน้ า การขับถ่าย
พยาบาลจึงจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงหลักการและเทคนิคปฏิบัติการพยาบาลเพื่อช่วยขจัดสิ่งที่ท าให้ผู้ปุวยไม่สุขสบายส่งเสริมให้ผู้ปุวยเกิดความสุขสบายทั้งร่างกายและจิตใจมีคุณภาพที่ดีและมีความสุข
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน เช่น เด็กเล็กไม่สามารถดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลได้ด้วยตนเองผู้ปกครองต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
เพศ
ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บปุวยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือเจ็บปวดหรือมีการเจ็บปุวยทางสุขภาพจิต ท าให้ขาดความสนใจ หรือละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
ภาวะสุขภาพ
เมื่อมีการเจ็บปุวยที่รุนแรงหรือเรื้อรัง หรือเจ็บปวดหรือมีการเจ็บปุวยทางสุขภาพจิต ท าให้ขาดความสนใจ หรือละเลยการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษา มักจะศึกษาค้นคว้า และมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทราบถึงประโยชน์ และโทษของการดูแลสุขอนามัย
เศรษฐกิจ
บุคคลที่มีฐานะดี ย่อมมีโอกาสเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บ ารุงผิว ผม ปาก ฟัน และให้เวลากับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมากขึ้น หากเศรษฐกิจไม่พอเพียง ผู้ปุวยอาจต้องท างานเพื่อหารายได้จนไม่มีเวลาดูแลตนเอง
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ ความเข้าใจและให้ความส าคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลต่อการด าเนินชีวิตประจ าวัน
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตภายใต้ถิ่นที่อยู่ที่แตกต่างกัน เช่น การด าเนินชีวิตในเขตเมือง และเขตชนบท
ภาวะเจ็บป่วย
ในภาวะการเจ็บปุวย อาจส่งผลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลลดลง
สิ่งแวดล้อม
ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูงท าให้รู้สึกร้อนอบอ้าวบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่อากาศร้อนก็จะอาบน้ า หรือลูบตัวบ่อยครั้ง
ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ
และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล จะเป็นผลต่อการดูแลตนเองเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล
ความชอบ
เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลมาจากครอบครัวโรงเรียน และปลูกฝังจนเป็นอุปนิสัยในการดูแลตนเองด้านความสะอาดร่างกาย และความชอบของแต่ละบุคคล
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด(Early morning care)
เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรดึก ที่ให้การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด เมื่อผู้ปุวยตื่นนอนแล้ว พยาบาลจะดูแลผู้ปุวย ช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ
การพยาบาลตอนเช้า (Morning care/A.M care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้าที่จะให้การพยาบาลภายหลังผู้ปุวยรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย เป็นการพยาบาลเพื่อดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลประจ าวัน
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น (Afternoon care/P.M.care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรเช้า หากท ากิจกรรมภายในช่วงก่อนเวลา 16.00 น. หากท าในช่วงเวลาตอนเย็น จะเป็นหน้าที่ของเวรบ่ายในการดูแลท าความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม สระผม
การพยาบาลตอนก่อนนอน (Evening care/Hour of sleep care/ H.S.care)
เป็นหน้าที่ของพยาบาลเวรบ่าย เป็นการพยาบาลที่ให้การดูแลเรื่องการให้หม้อนอน
การพยาบาลเมื่อจ าเป็นหรือเมื่อผู้ปุวยต้องการ (As neededcare/P.r.N.care)
พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ปุวยตลอด 24ชั่วโมง เช่น ถ้าผู้ปุวยปัสสาวะรดที่นอนเปียกทั้งตัวพยาบาลจะช่วยเช็ดตัว
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/การอาบน้ า(Bathing)
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ(Bathing in bath room/ Shower)
เป็นการช่วยเหลือพาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ โดยมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน (Partial bath)
เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ปุวยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ไม่สามารถอาบน้ าเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลต้องช่วยเช็ดบางส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถเช็ดเองได้
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์ (Completebed bath)
เป็นการทำความสะอาดร่างกายโดยการอาบน้ำเช็ดตัวให้ผู้ปุวยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทั้งหมดหรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียงซึ่งต้องนอนบนเตียง หรือนอนติดเตียง (bed ridden)
จุดประสงค์การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
กำจัดสิ่งสกปรก ที่สะสมบนผิวหนังและส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกายของข้อต่างๆ
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
วัตถุประสงค์
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
กำจัดกลิ่นปาก ลมหายใจสดชื่น ป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือก กระพุ้งแก้ม
สังเกตฟัน เหงือก กระพุ้งแก้มลิ้น มีแผล หรือการติดเชื้อ หรือเลือดออกหรือฝ้าในช่องปาก
หลักการทำความสะอาดปากและฟัน
แปรงฟันทุกซี่ ทุกด้าน นาน 5นาที เพื่อขจัดคราบหินปูน และเศษอาหารในเวลาเช้า หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก มีแผล ปากแห้ง ไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ าทางปากได้ ต้องทำความสะอาดปากและฟันให้ทุก2ชั่วโมง
ผู้ปุวยที่ไม่รู้สึกตัวพยาบาลต้องทำความสะอาดปากและฟันให้เป็นพิเศษ สำลีที่ใช้เช็ดท าความสะอาดต้องเปลี่ยนบ่อย
วิธีการทำความสะอาดปากและฟันผู้ป่วยที่ช่วยตนเองได้
พยาบาลแนะนำตนเอง บอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์ และวิธีการทำความสะอาดปากและฟันอย่างง่ายเพื่อความร่วมมือ
นำเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง หรือท่านั่ง เพื่อความสะดวกของผู้ป่วย
ล้างมือและสวมถุงมือ เพื่อป้องกันจุลินทรีย์ จากน้ำในช่องปากผู้ป่วยสู่พยาบาล
ปูผ้ากันเปื้อนใต้คาง วางชามรูปไตใต้คาง ให้ผู้ป่วยช่วยถือไว้ หรือวางบนโต๊ะคร่อมเตียง (over bed)เพื่อป้องกันเสื้อผ้าและที่นอนเปียก
ให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด และแปรงฟันตามขั้นตอน
แปรงฟันบนด้านนอกและด้านใน วางแปรงหงายขึ้น วางขนแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน เอียงแปรงท ามุม 45องศา บนฟัน 2-3ซี่
แปรงฟันล่าง วางขนแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน เอียงแปรงทำมุม 45องศา บนฟัน 2-3ซี่ และปัดขนแปลงลงล่าง ผ่านตลอด ตัวฟัน ทำจนครบทุกซี่ทั้งด้านนอกและด้านใน
วางขนแปรงบนด้านบนของฟันบดเคี้ยว แปรงถูไปมาทั้งฟันบนและฟันล่าง
บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด
ควรแปรงลิ้น (ถ้าทำได้) วางแปรงบริเวณกลางลิ้น ลากแปรงมาตามยาวทางปลายลิ้นหลังแปรงฟันแล้ว เพื่อขจัดเศษอาหารและลดจำนวนแบคทีเรียในปาก
ให้บ้วนปากและกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อให้ปากสะอาดสดชื่น
ถ้าริมฝีปากแห้ง ให้ทาด้วยวาสลินทาปาก หรือครีมปูองกันปากแห้งแตก เพื่อให้ริมฝีปากนุ่ม ไม่แตก
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำความสะอาดปากฟันในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อยเครื่องใช้
syringe 10 cc
ลูกสูบยางแดง (baby ball หรือ syringe ball)
น้ำยาบ้วนปาก เช่นน้ำเกลือ น้ำยาบ้วนปาก (special mouth wash)
ก้วน้ำ ไม้พันสำลี ชามรูปไต ไม้กดลิ้นหรือไม้กดลิ้นพันสำลี
3%hydrogen peroxide สารหล่อลื่นทาริมฝีปาก
เช่น วาสลินทาปาก
วิธีทำความสะอาดปากฟันผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
ใช้ลูกสูบยางดูดน้ำฉีดล้างช่องปากและในซอกระหว่างกระพุ้งแก้มและฟัน ปล่อยให้น้ าไหลลงชามรูปไตที่รองไว้
ตรวจดูสภาพของปากและฟัน
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาบ้วนปาก
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านนอกและเหงือกให้ทั่วอย่างถูกวิธี
ใช้ไม้กดลิ้นพันด้วยผ้าก๊อซเพื่อช่วยอ้าปาก
ตรวจดูสภาพของเยื่อบุปาก เหงือก ฟัน และลิ้น ถ้าหาเยื่อบุช่องปากแห้ง มีคราบสกปรกในช่องปาก ควรใช้ไม้พันส าลีชุบ3%hydrogen peroxide ผสมน้ำ1เท่าตัวทำความสะอาดให้ทั่วปาก แล้วล้างออกให้หมดด้วยน้ำสะอาด
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านใน ด้านบดเคี้ยวให้ทั่ว
สูบฉีดล้างช่องปากให้ทั่ว ดูดน้ำออกให้หมด
เช็ดปากให้ผู้ป่วย ถ้าริมฝีปากแห้งทาด้วยวาสลิน
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดของเล็บ
จุดประสงค์
-ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
-ป้องกันการเกิดเล็บขบ
เครื่องใช้
-ถาดใส่สบู่ ผ้าถูตัว ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บ กระดาษรอง
-อ่างใส่น้ำอุ่น
ถุงมือสะอาด และmask
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
คลี่ผ้าเช็ดตัวรองอ่างนhe แช่มือ หรือเท้าสักครู่เพื่อให้เล็บและขี้เล็บอ่อนตัว ช่วยให้ตัดเล็บและแคะสิ่งสกปรกที่เล็บออกได้ง่ายขึ้น
ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว ถ้าเล็บสกปรกมากอาจใช้ปลายตะไบแคะสิ่งสกปรกออก
ยกอ่างน้ำออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
ปูกระดาษรอง ตัดเล็บให้ปลายเล็บตรงและข้างไม่โค้งไม่ตามซอกเล็บ ปลายเล็บควรปล่อยให้ยาวกว่าปลายนิ้ว
ใช้ตะไบถูเล็บให้ขอบเล็บเรียบเพื่อป้องกันผิวหนังเกิดแผลถลอกจากการขีดข่วนของเล็บ
เปลี่ยนน้ำล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่ง เช็ดให้แห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเก็บเศษเล็บทิ้งใน ถังขยะติดเชื้อกรรไกรตัดเล็บและตะไบเล็บ ทำความสะอาดด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์70%
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดของตา
จุดประสงค์
กำจัดขี้ตา ทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วยย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
เครื่องใช้
ถาดใส่อับสำลีชุบ 0.9% NSS และชามรูปไต
ถุงมือสะอาดและmask
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยยทราบ
ยกของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย จัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดให้ผู้ป่วยนอนนอนตะแคงด้านที่ต้องการทำความสะอาดเพื่อป้องกันมิให้น้ำยาและสิ่งสกปรกจากตาข้างที่ต้องการทำความสะอาดไปปนเปื้อนตาอีกข้างหนึ่ง
ใส่ถุงมือสะอาดเพื่อปูองกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ใช้สำลีชุบ 0.9%NSS พอหมาด เช็ดจากหัวตาไปหางตา ถ้าขี้ตาแห้งติดหนังตาหรือขนตา ควรวางสำลีชุบ0.9%NSS ไว้บนหนังตาให้ขี้ตาอ่อนตัวก่อน
พลิกตัวผู้ปุวยตะแคงด้านตรงข้าม และทำความสะอาดตาอีกข้างหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน
.สังเกตลักษณะและจำนวนของขี้ตา รวมทั้งสภาพของตาว่าบวม แดง หรือไม่เพื่อประเมินสภาพของตา ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขต่อไป
เก็บของใช้ทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยสำลีทิ้งลงถังขยะติดเชื้อ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลทำความสะอาดของหู
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดใบหูและหลังใบหู
เครื่องใช้
0.9%NSSหรือน้ าสะอาด
สำลีสะอาดหรือไม้พันสำลี 4 อัน
ผ้าสะอาด
ชามรูปไต
กระดาษเช็ดปาก
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
สวมถุงมือและmask
ใช้สำลีชุบ0.9%NSSหรือน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดในช่องหู ใบหู และหลังใบหู แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ด้านในรูจมูกจากสายที่คาไว้
เครื่องใช้
ถาดใส่แก้วใส่น้ำสะอาดหรือ 0.9%NSS
ไม้พันสำขนาดเล็ก4-8 อัน
ผ้าก๊อซ
ชามรูปไต
กระดาษเช็ดปาก
อับสำลีชุบแอลกอฮอล์70% สำลีชุบเบนซินและสำลีชุน้ำเกลือใช้ภายนอก
พลาสเตอร์ ถุงมือสะอาดและmask
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
จัดผู้ปุวยให้อยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะสูง(ถ้าไม่มีข้อห้าม)เพื่อจัดท่าที่เหมาะสม
สวมถุงมือและmask
ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก และเช็ดส่วนที่เป็นยางเหนียวของพลาสเตอร์บนผิวหนังออกให้หมด เช็ดด้วยสำลี
ชุบน้ำเกลือ และเช็ดตามด้วยสำลีชุบ แอลกอฮอล์
ใช้ไม้พันส าลีชุบน้ าหรือ0.9% NSS บีบพอหมาด เช็ดในรูจมูกเบาโดยรอบ ถ้ามีสายคาที่จมูกอยู่ ให้เช็ดรอบสายที่คาอยู่ในจมูก
ถ้ามีสายที่คาในรูจมูก ใช้ผ้าก๊อซเช็ดสายที่คาในจมูกส่วนที่อยู่นอกจมูก รวมทั้งบริเวณจมูกให้สะอาดและแห้งติดพลาสเตอร์
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
วัตถุประสงค์
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
ความสุขสบายและสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วยและรู้สึกมีความมั่นใจ
เครื่องใช้
ถาดใส่ยาสระผมหวีหรือแปรงผม ที่หนีบผ้า
รถเข็นสระผมเคลื่อนที่ พร้อมถังรองน้ำทิ้ง
ผ้ายางรองสระผม
เครื่องเป่าผม
ถุงมือสะอาดและmask
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
วางของใช้บนรถเข็นสระผมเคลื่อนที่นำไปที่เตียง จัดวางเครื่องใช้ให้สะดวกแก่การหยิบใช้
จัดผู้ปุวยนอนหงายทแยงมุมกับเตียง ให้ศีรษะอยู่ริมเตียง นำผ้าเช็ดตัวม้วนกลมรองไว้ใต้คอผู้ปุวย
รองผ้าเช็ดตัววางบนผ้าม้วนกลม แล้วรองผ้ายางบนผ้าเช็ดตัวผืนนั้น เพื่อช่วยซับน้ำหากหกไหลเลยผ้ายางออกไป และใช้เช็ดผมเมื่อสระเสร็จแล้ว
เลื่อนรถสระผมฯ เทียบกับขอบเตียงวางศีรษะผู้ป่วยบนผ้าผืนที่ม้วนรองใต้คอ จัดชายผ้ายางให้ลงในอ่างล้างผม ใช้ไม้หนีบผ้าหนีบผ้ายางให้ติดกัน
ใช้หวีหรือแปรงสางผมให้ทั่ว สำหรับผู้ป่วยที่ผมสกปรกมากและยุ่งเป็นสังกะตังให้ใช้น้ำมันมะกอกชโลมก่อนสระถ้าแก้ไขไม่ได้ควรตัดผมส่วนที่เป็นสังกะตังออก
ใช้สำลีชุบน้ำบีบให้หมาดใส่หูข้างละก้อน ป้องกันน้ำเข้าหู และใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กชุบน้ำบิดให้หมาด พับเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดตาผู้ป่วย
ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมพอเปียก เทแชมพูใส่มือถูกัน ชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะใช้มือทั้งสองข้างเกาหนังศีรษะบริเวณ frontal จนทั่วบริเวณหน้าผาก
ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมให้ทั่วโดยราดน้ำที่ละครึ่งศีรษะ ใช้มือลูบฟองยาสระผมจนหมด ทำการสระผมอีกครั้ง ทำข้อ 8และ 9
รวบปลายผมบิดให้หมาด เอาสำลีออกจากหู และคลี่ผ้าปิดตาท าเป็นสามเหลี่ยมโดยเอาสายผ้าแต่ละข้างเช็ดใบหู รูหูและหน้าหูและหลังหู จนสะอาดทั่ว
ปลดผ้ายางออกจากคอผู้ป่วย รวบลงอ่างสระผม ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนที่รองใต้ผ้ายางสระผม เช็ดผมให้หมาดพันรวบผม และบอกให้ผู้ป่วยลงนั่งหรือย้ายศีรษะผู้ป่วยวางบนหมอน
ใช้เครื่องเป่าผม เปุาผมให้แห้ง หวีผมให้ได้ทรง ถ้าผมยาวควรรวบผมมัดให้เรียบร้อย- เก็บของใช้ไปท าความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยเศษผมและสำลีห้ามทิ้งลงอ่างล้างมือเด็ดขาด เพราะจะทำให้ท่อระบายน้ำตัน ให้ทิ้งลงถังขยะติดเชื้อเท่านั้น
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
เครื่องใช้
ผ้าปิดตา
ถุงมือสะอาด
หม้อนอน(bed pan) พร้อมผ้าคลุมหม้อนอน (bed pad)ผ้ายางผืนเล็ก
ถาดใส่ของประกอบด้วย
- น้ำเกลือ (0.9% NSS) ใช้ภายนอกหรือน้ำสะอาด
น้ำสบู่ หรือสบู่เหลว
ชุดชำระ (P-careset)ประกอบด้วยชามกลม (bowl) ส าลีก้อนใหญ่สำหรับชำระ 7 ก้อนและปากคีบ (forceps) 1 ตัว
ภาชนะใส่ขยะ หรือกระโถน- กระดาษชำระ 2-3 ชิ้น
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและอธิบายให้ผู้ป่วยทราบวัตถุประสงค์
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิดเพื่อความเป็นส่วนตัวและลดความเขินอาย
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือและmask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย (dorsal position) เปิดเฉพาะส่วนอวัยวะสืบพันธุ์
ให้ผู้ป่วยยกก้น สอดหม้อนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก และจัดหม้อนอนตรงพอดีกับก้นวางภาชนะใส่ขยะหรือกระโถนไว้ใกล้หม้อนอน และชุดชำระไว้ด้านปลายเท้า
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มาที่เตียงให้ครบถ้วน วางไว้ในที่เหมาะสม หยิบใช้สะดวก เปิด P-care set
ใช้ forceps ใน setหยิบสำลีออกจากชามกลมวางบนผ้าห่อ 4ก้อนวางforcepsบนผ้าห่อ
เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลวบนสำลีในชามกลมพอประมาณ
ใช้มือข้างซ้ายจับองคชาต(penis )แล้วค่อยรูดหนังหุ้มปลาย(foreskin)หรือ (prepuce) ก้อนที่ 1 เช็ดบริเวณglans penis รูเปิดท่อปัสสาะ(meatus)ก้อนที่ 2 เช็ดรอบ องคชาติ ก้อนที่ 3 เช็ดลูกอัณทะ (scrotum)ถึงรูทวาร (anus)
เท0.9% NSS หรือน้ำอุ่น บนสำลีในชามพอประมาณเช็ดก้อนที่ 4, 5 และ 6 เช็ดเหมือน ก้อนที่ 1
-3ด้วย ส่วนก้อนที่ 7 ใช้เช็ดสะอาดให้เรียบร้อย
เลื่อนbed panออก คลุมด้วยbed pad และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
เอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่าที่สุขสบาย
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การประเมินผู้ปุวย(Health assessment)
ประเมินระดับความสารถในการดูแลตนเอง
ประเมินความชอบ ความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ป่วย
ประเมินผิวหนัง ช่องปาก เส้นผมและหนังศรีษะ ตา หู จมูก
ประเมินปัญหาและความเสี่ยงของการรักษาและอาการผิดปกติที่อาจ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ความหมายของการพักผ่อนและการนอนหลับ
การนอนหลับ
ป็นกระบวนการทางสรรีรวิทยาพื้นฐานที่สอดประสานกับจังหวะการทำงานของร่างกายด้านอื่น โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไปในทางผ่อนคลาย
การพักผ่อน(Rest)
หมายถึง การพักกิจกรรมการทำงานของร่างกาย หรือการพักการทำงานของอวัยวะต่าง
Absolute bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมใด
Bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดยมีการสร้างและสะสมพลังงานในขณะหลับ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่
สงวนพลังงานพลังงานที่ใช้ของร่างกายและสมองจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงตื่น
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อร่างกาย
ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่าง เช่นอาการเมื่อยล้าคลื่นไส้อาเจียนท้องผูกปวดศีรษะวิงเวียนเหมือนบ้านหมุน(vertigo)
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่ายอาจมีอาการเซื่องซึมและหงุดหงิดโมโหง่ายเกิดความสับสนและความสามารถในการควบคุมตนเองจาก สิ่งเร้าลดลง
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้
มื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำให้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลงสมาธิไม่ดีและแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม
บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลทางสังคมได้แก่การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง
วงจรการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา (Non-rapid eye movement sleep: NREM)
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง)
เป็นช่วงเริ่มหลับที่เปลี่ยนจากการตื่นไปสู่ การนอน ในคนทั่วไปใช้เวลาตั้งแต่ 30 วินาที -7 นาทีเป็นสภาพที่แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จะตื่น
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)
ทั้งคลื่นสมองและชีพจรจะเต้นช้าลง ความมีสติรู้ตัวจะหายไป การเคลื่อนไหวของตาจะหยุดลง แม้ได้รับสิ่งเร้าจากภายนอกก็จะไม่ตื่นโดยง่าย
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)
การหลับในช่วงต้น เป็นสภาพที่ไม่ได้ยินเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นระยะแรกที่มีการหลับอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน ระยะนี้จะถูกปลุกให้ตื่นได้โดยง่าย
ระยะที่ 4 (หลับลึก)
เป็นช่วงหลับสนิทของการนอน ใช้เวลา 30 -50 นาที หากว่าร่างกายนอนหลับโดยปราศจากระยะที่ 4 นี้ อาจมีการนอนละเมอหรือฝันร้ายได้
2) ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep: REM)
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่าง ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานกันหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ กล้ามเนื้อตา และกล้ามเนื้อเรียบ
โดยในช่วงนี้ตาจะกลอกไปซ้ายขวาอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่
ระยะนี้ช่วยจัดระบบความจำ ทำให้จำเรื่องบางเรื่องได้นานขึ้น ระยะนี้นี่เองเป็นระยะที่คนเราจะฝัน แต่ก็จะตื่นง่าย
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง โดยมีผลต่อวงจรการนอนหลับ
เพศ โดยธรรมชาติแล้วเพศชายจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับได้เร็วและมากกว่าเพศหญิง 10-20 ปี
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด พบว่าความเจ็บปวดเป็นปัจจัยกวนการนอนหลับด้านร่างกายมากที่สุด
การใส่สายยางและท่อระบายต่าง จากสายยางและท่อระบายต่าง ๆ
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความวิตกกังวล
ความกลัวและความวิตกกังวลในเรื่องต่าง เป็นปัจจัยรบกวนคุณภาพของการนอนหลับ อยู่ในระดับ 3.03 จากคะแนนเต็ม 5คะแนน
ปัจจัยภายนอก
เสียง
เสียงเสียงเป็นปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนอนในโรงพยาบาล แหล่งของเสียงรบกวนพบบ่อยที่สุด
อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่ายเพิ่มขึ้น และตื่นบ่อยขึ้น
แสง
แสงเป็นปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ โดยส่งผลต่อระยะการเริ่มต้นของการนอนหลับ
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
การเปลี่ยนที่นอนเกิดความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่
กิจกรรมการรักษาพยาบาล
จกรรมการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับตามเวลา ได้แก่ การทำหัตถการต่างๆ
ยา
ยาที่รบกวนการนอนหลับ ได้แก่ ยาบาบิทูเรต (barbiturates)
อาหาร
การรับประทานอาหารที่มีสารทริพโทแฟ็น(tryptophan) ซึ่งมีอยู่ในนมจะส่งเสริมการนอนหลับ
การประเมินคุณภาพการนอนหลับและ การนอนหลับที่ผิดปกติ
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว (Transient insomnia)
การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นช่วงเวลาสั้น 3-5 วัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บปุวยทางร่างกา
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น (Short term insomnia)
เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มีสาเหตุเดียวกับการนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราวแต่มีเวลานานกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง (Chronic insomnia)
การนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป มีสาเหตุจาก
โรคทางจิตเวช
โรคทางอายุรกรรม
อาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด
โรคของการนอนหลับโดยตรง
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ
Parasomnia
ความผิดปกติของการตื่น (around disorder)
อาการสับสน (confusion arousals) ละเมอเดิน (sleepwalking) ฝันร้าย (sleep terror)
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ
อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ (hypnic jerks) ละเมอพูด (sleep talking) ศีรษะโขกกำแพง (head banging)
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา
ภาวะฝันร้าย (nightmares) ภาวะผีอำ (sleep paralysis) เป็นต้น
กลุ่มอื่น ๆ
การนอนกัดฟัน (sleep bruxism) การปัสสาวะรดที่นอนขณะหลับ (sleep enuresis) การกรน (primary snoring) การไหลตาย (sudden unexplained nocturnal death)
การส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามและน่าอยู่อาศัย
ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องใช้และเครื่องอำนวยความสะดวก
อุณหภูมิมีความเหมาะสมของอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส
สียงแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอกห้อง หรือเกิดจากผู้ให้บริการ หรือ จากญาติที่มาเยี่ยมไข้ส่วนในห้องอาจเกิดจากอุปกรณ์ภายในห้อง
กลิ่น
กลิ่นหอม อาจคิดว่าเป็นเฉพาะน้ำหอมเท่านั้น
กลิ่นเหม็น ได้แก่ กลิ่นที่ส่งออกมาจากสิ่งขับถ่ายภายในร่างกายของคน
แสงสว่างสภาพแวดล้อมที่ดีต้องไม่มืดสลัวหรือสว่างจ้าจนเกินไป
ความเป็นส่วนตัว และมิดชิดอย่างปลอดภัย
ความอบอุ่น และความประทับใจในบุคลิกภาพของพยาบาล
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
การทำเตียง
หลักปฏิบัติการทำเตียง
เตรียมของพร้อมใช้ตามลำดับก่อนหลังและวางให้ง่ายในการหยิบใช้สะดวก
จัดบริเวณรอบ ให้สะดวกต่อการปฏิบัติ
วางผ้าให้จุดกึ่งกลางของผ้าทับลงตรงจุดกึ่งกลางของที่นอน
ควรทำเตียงให้เสร็จทีละข้าง โดยเริ่มจากผ้าปูที่นอน ผ้ายางขวางเตียง ผ้าขวางเตียง ใส่ปลอก
คลุมผ้าคลุมเตียง วางผ้าห่มและและผ้าเช็ดตัวที่ราวพนักหัวเตียง จัดโต๊ะข้างเตียงให้เรียบร้อย
ไม่ควรสะบัดผ้าหรือปล่อยให้เสื้อผ้าที่สวมอยู่สัมผัสกับเครื่องใช้ของผู้ป่วย
หากมีปูเตียงที่มีผู้ป่วยควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนการปฏิบัติ
รักษาท่าทางให้อยู่ในลักษณะที่ดี
หันหน้าไปทิศทางในงานที่จะทำไม่ควรบิดหรือเอี้ยวตัว
ควรใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในการหยิบของและควรย่อเข่าแทนการก้มทำงานอย่างนุ่มนวลและสม่ำเสมอ
ยึดหลักการทำเตียงให้เรียบ ตึง ไม่มีรอยย่น สะอาด ไม่เปียกชื้น
การทำเตียงว่าง
เป็นการทำเตียงที่ผู้ปุวยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย เพื่อเตรียมรับผู้ปุวยใหม่
จุดประสงค์
จัดสิ่งแวดล้อมสะอาดให้ส่งเสริมความสุขสบาย
จัดเตรียมความพร้อมเตรียมรับผู้ปุวยใหม่
เครื่องใช้
เครื่องผ้า โดยเรียงลำดับการปูเตียงก่อนหลัง
กระบอกฉีดน้ าผสมผงซักฟอก ถังน้ำสะอาด และผ้าเช็ดเตียง
ถังใส่ผ้าเปื้อน
ถุงมือสะอาด ผ้ากันเปื้อนพลาสติก และmask
วิธีปฏิบัติ
ล้างมือให้สะอาดก่อนจัดเตรียม
นำเครื่องผ้าที่เตรียมไว้ที่เรียงลำดับการใช้
ถอดนาฬิกา และสวมmask
สวมถุงมือและผ้ากันเปื้อนพลาสติก
นำถังที่สะอาด และกระบอกฉีดน้ำผสมผงซักฟอก และผ้าเช็ดเตียงวางไว้ใต้เตียง
ก็บเยือกน้ำ แก้วน้ำกระโถน และเครื่องใช้อื่น จัดบริเวณเตียงให้มีที่ว่างพอควร ไขเตียงให้ราบ
วางหมอนที่พนักหัวเตียงหรือบนตู้ข้างเตียง
รื้อผ้าทุกชิ้นโดยดึงชายผ้าที่เหน็บไว้ใต้ที่นอนออกมาทั้งหมด
ฉีดน้ำผสมผงซักฟอก เพื่อทำความสะอาดที่นอนและเตียง
ลี่ผ้าปูที่นอนให้รอยพับกึ่งกลางตามความยาวของผ้าอยู่ตรงกึ่งกลางที่นอน
ปูผ้ายางในลักษณะขวางกับเตียงบนผ้าปูที่นอนระหว่างกึ่งกลาง ของเตียงโดยให้ห่างจากหัวเตียงประมาณ 18 นิ้ว เพื่อปูองกันไม่ให้ผ้าปูที่นอนเปื้อน
ปูผ้าขวางเตียงทับบนผ้ายางในลักษณะเดียวกันแล้วเหน็บผ้าส่วนที่ขวางลงใต้ผ้ายางประมาณ 2 นิ้วเพื่อเป็นการปูองกันผ้ายางถูกผิวหนังผู้ปุวย
ปูผ้าห่ม แบบเดียวกับผ้าปูที่นอน คลุมหมอนให้มิดชิด แต่ทำชายธงเฉพาะปลายเตียงไม่ต้องเหน็บผ้าด้านข้าง
จัดเตียงและตู้ข้างเตียงให้เข้าที่ทิ้งผ้าที่เปลี่ยนแล้วในถังผ้าเปื้อน
ก็บเหยือก และแก้วน้ำทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่
ล้างผึ่งให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่
เก็บของใช้เข้าที่ให้เรียบร้อย
ถอดถุงมือ ถอดmask และล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้ง
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
เครื่องใช้
1.เครื่องผ้า เหมือนการทำเตียงว่าง ยกเว้น ผ้าห่มและผ้าคลุมเตียง
2.กระบอกฉีดน้ำผสมผงซักฟอก ถังน้ำสะอาด และผ้าเช็ดเตียง
3.ถังใส่ผ้าเปื้อน
4.ถุงมือสะอาด ผ้ากันเปื้อนพลาสติก และmask
วิธีปฏิบัติ
1.แนะนำตัวและบอกผู้ป่วยให้ทราบวัตถุประสงค์ของการทำเตียง
2.ถอดนาฬิกา ใส่maskผ้ากันเปื้อนพลาสติก และสวมถุงมือสะอาด
3.เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียง พาดผ้าที่พนักเตียง วางถังน้ำใต้เตียง
4.ไขเตียงลงให้ราบ เก็บที่ไขเตียงเข้าที่
5.เริ่มรื้อผ้าเหมือนการทำเตียงว่าง โดยม้วนด้านนอกไว้ด้านใน พาดผ้าที่รื้อออกไว้ที่พนักเตียงด้านล่าง หรือทิ้งลงถังผ้าเปื้อน
6.ฉีดน้ำผสมผงซักฟอก แล้วเช็ดทำความสะอาดหมอน ที่นอน เตียง ตู้ข้างเตียงและเก้าอี้ เช็ดตามด้วยน้ำสะอาด รอให้น้ำแห้ง
7.กลับที่นอนอีกด้านและเช็ดให้สะอาดเหมือนข้อ 6
8.ปูที่นอนใหม่ เหมือนการทำเตียงว่าง
9.พับผ้าห่มเป็นทับซ้อนกับไปมาคล้ายพัด (fan fold) ไว้ที่ปลายเตียง
10.จัดเตียงและตู้ข้างเตียงให้เข้าที่ทิ้งผ้าเก่าที่เปลี่ยนแล้วในถังผ้าเปื้อน
11.เติมน้ำในเยือกให้ใหม่ เปลี่ยนแก้วน้ำให้ใหม่ (กรณีที่ผู้ป่วยต้องบันทึกสารน้ำดื่มให้จดปริมาณน้ าที่ดื่มไปก่อน แล้วจึงเติมน้ำ)
ล้างถังน้ำ ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่
ถอดถุงมือ ถอดmask และล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้ง
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้
จุดประสงค์
ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย
2.ให้เตียงและสิ่งแวดล้อมสะอาด เรียบร้อย สวยงาม
เครื่องใช้
เครื่องผ้า เหมือนการทำเตียงว่าง ยกเว้น ผ้าห่มและผ้าคลุมเตียง
2.กระบอกฉีดน้ำผสมผงซักฟอก ถังน้ำสะอาด และผ้าเช็ดเตียง
3.ถังใส่ผ้าเปื้อน
4.ถุงมือสะอาด ผ้ากันเปื้อนพลาสติก และmask
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัวและบอกผู้ป่วยให้ทราบวัตถุประสงค์ของการทำเตียง
ถอดนาฬิกา ใส่ maskผ้ากันเปื้อนพลาสติก และสวมถุงมือสะอาด
เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียง พาดผ้าที่พนักเตียง วางถังน้ำใต้เตียง
ไขเตียงลงให้ราบ เก็บที่ไขเตียงเข้าที่
ทำเตียงที่ละด้าน โดยทำด้านตู้ข้างเตียงก่อน เดินอ้อมไปด้านตู้ข้างเตียงก่อน พลิกตัว
เดินกลับมาด้านตู้ข้างเตียง รื้อเตียงด้านตู้ข้างเตียง โดยดึงชายผ้าที่เหน็บใต้ที่นอนออกทุกชิ้น
ตลบม้วนผ้าขวางเตียงและผ้ายางให้ด้านบนของผ้าอยู่ด้านใน ม้วนชิดหลังผู้ป่วย
ตลบม้วนผ้าปูที่นอนเช่นเดียวกัน
ฉีดน้ำผสมผงซักฟอก เช็ดที่นอนด้วยน้ำผสมผงซักฟอก เช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด รอให้น้ าแห้ง
วางผ้าปูที่นอนตามยาวซีกด้านตู้ข้างเตียง ผ้าอยู่ตรงกลางที่นอน ปล่อยชายผ้าห้อยลง อีกครึ่งหนึ่งม้วนชิดหลังผู้ป่วย
เหน็บผ้าด้านหัวเตียง และปลายเตียงให้เรียบร้อย
ปูผ้ายางให้ม้วนด้านหนึ่งชิดหลังผู้ป่วยเหน็บชายผ้ายางเข้าใต้ที่นอน
ปูผ้าขวางเตียงให้สูงเลยขอบด้านบนของผ้ายางประมาณ 2 นิ้ว และให้ม้วนด้านหนึ่งชิดหลังผู้ปุวยเหน็บชายผ้าขวางเตียงเข้าใต้ที่นอน
พลิกตัวผู้ป่วยให้นอนหงายก่อน แล้วค่อยพลิกนอนตะแคง หันหน้าไปทางด้านที่เปลี่ยนผ้าใหม่ ยกเหล็กกั้นเตียงขึ้น เพื่อป้องกันผู้ป่วยตกเตียง
เดินอ้อมไปด้านตรงข้ามตู้ข้างเตียง พร้อมนำถังเช็ดเตียงไปด้วยรื้อผ้าออกโดยดึงชายผ้าที่เหน็บไว้ใต้ที่นอนออกทุกชิ้น
ดึงผ้าปูที่นอน ผ้ายาง และผ้าขวางเตียงชุดเก่าออกม้วนให้เข้าด้านใน ดึงออกม้วนทิ้งลงถังผ้าเปื้อน
เช็ดที่นอนซีกที่เหลือด้วยน้ำผสมผงซักฟอกให้สะอาด เช็ดแห้งด้วยน้ำสะอาดรอให้น้ำแห้ง
ดึงผ้าปูผ้าบนที่ม้วนชิดหลังผู้ป่วยไว้ทีละชิ้นจากชั้นล่างขึ้นมาทีละชิ้นดึงให้เรียบตึง ทำมุมและเหน็บผ้าเข้าใต้ที่นอนให้เรียบร้อย- พลิกตัวผู้ป่วยให้นอนหงาย - ห่มผ้าให้ผู้ป่วย หรือผ้า upper sheet ทำมุมผ้าปลายเตียงให้เรียบร้อย
ยกศีรษะผู้ป่วย เปลี่ยนปลอกหมอน การถอดและใส่ปลอกหมอน
นำผ้าเปื้อนทิ้งลงถังผ้าเปื้อน
เช็ด หัวเตียง ตู้ข้างเตียงเก้าอี้ และจัดของให้ เป็นระเบียบเรียบร้อย
เติมน้ำในเยือกให้ใหม่ เปลี่ยนแก้วน้ำให้ใหม่ (กรณีที่ผู้ป่วยต้องบันทึกสารน้ำดื่มให้จดปริมาณน้ำที่ดื่มไปก่อน แล้วจึงเติมน้ำ)
ล้างถังน้ำ ผึ่งให้แห้งก่อนเก็บเข้าที่
ถอดถุงมือ ถอดmask และล้างมือให้สะอาดเช็ดให้แห้ง
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การทำเตียงรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ
จุดประสงค์
เตรียมรับผู้ป่วยหลังจากไปรับการผ่าตัด หรือการตรวจพิเศษ
2.เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยสำลักหรือลิ้นตก และเมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะอันตราย
เครื่องใช้
เครื่องผ้าเหมือนกับการทำเตียงว่าง
2.ชามรูปไต และกระดาษเช็ดปาก
3.เครื่องวัดความดันโลหิตพร้อมหูฟัง
4.เครื่องใช้อื่น ตามความจำเป็น เช่น เสาน้ำเกลือ เครื่องดูดเสมหะ เครื่องดูดสารคัดหลั่ง
5.ถังบรรจุน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ฟอกล้างและผ้าเช็ดเตียง
วิธีปฏิบัติ
ถ้าเตรียมรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ให้พิงหมอนไวที่พนักหัวเตียง
พับผ้าคลุมเตียงซ้อนผ้าห่มทบไปมาไว้ที่ริมเตียง (fan fold) ด้านตรงข้ามที่จะรับผู้ป่วยขึ้นเตียง เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายขึ้นเตียง
วางเครื่องใช้ต่าง ใกล้เตียงหากผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารทางปาก ให้นำป้าย “งดน้ำและอาหารทางปาก” (NPO) ไว้ที่ปลายเตียง
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและปลอดภัย
เกณฑ์การประเมินผล
คุณภาพการนอนหลับเชิงปริมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
คุณภาพการนอนหลับเชิงคุณภาพผู้ป่วยนอนหลับสนิทได้มากขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
ประเมินสาเหตุและแบบแผนการนอนตามปกติ(แบบแผนที่ 5)
ประเมินคุณภาพการนอนหลับทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ แสงสว่างเพียงพอ ขจัดสิ่งรบกวน
จัดกิจกรรมการพยาบาลเป็นช่วง ไม่รบกวนการนอนของผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบเรื่องแขกผู้มาเยี่ยม เพื่อขอความร่วมมือ
ไม่ให้ดื่มน้ำหลัง 6โมงเย็น
งดกาแฟ ชา โค้ก ก่อนนอน
ให้มีกิจกรรมทำในตอนกลางวัน
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยไว้วางใจและระบายความวิตกกังวล
สอนเรื่องเทคนิคการคลายเครียด และการจัดการกับความเครียด
พิจารณาให้ยาคลายเครียด ตามแผนการรักษา และดูแลความปลอดภัย อาจเกิดอุบัติเหตุ
การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงปริมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงคุณภาพผู้ป่วยนอนหลับสนิทได้มากขึ้นผู้ป่วยบอกว่า “นอนหลับสบายดีนอนหลับเต็มอิ่ม”
การวางแผน
วางแผนให้ผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและปลอดภัย
ผลที่เกิดจาการนอนหลับผิดปกติ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด NREM ได้แก่ เมื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ท้องผูกเวียนศีรษะ
ผลจากการนอนไม่เพียงพอในการนอนชนิด REM ได้แก่ ความคิดบกพร่อง การรับรู้บกพร่อง ประสาทหลอน
ผลในภาพรวมจะทำให้การท างานของร่างกายขาดประสิทธิภาพจากร่างกายอ่อนล้า และขาดสมาธิ
การนวดหลัง(Back rub or back massage)
หลักการนวดหลัง
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่มีการอักเสบ มีแผล กระดูกหัก ผู้ป่วยโรคหัวใจภาวะมีไข้ โรคผิวหนังโรคมะเร็งระยะลุกลามแพร่กระจาย
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เลือกใช้แป้งหรือโลชันหรือครีมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์การนวดหลัง
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
เครื่องใช้
ครีมหรือโลชั่นทาตัวหรือแป้ง
ผ้าห่ม 1 ผืน และผ้าเช็ดตัว 1ผืน
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตนเองบอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์
นำเครื่องใช้ต่าง มาวางที่โต๊ะข้างเตียง กั้นม่านให้มิดชิด
ล้างมือ
จัดท่านอนคว่ำและชิดริมเตียงด้านพยาบาลยืนมีหมอนเล็ก รองใต้หน้าอก ศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง มือเหยียดตรงไปตามลำตัวถ้านอนคว่ำไม่ได้ให้นอนตะแคง เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายและพยาบาลนวดหลังได้สะดวก
เลื่อนผ้าห่มมาบริเวณก้นกบ ปูผ้าเช็ดตัวทับบนผ้าห่ม ถ้านอนตะแคงให้ปูผ้าเช็ดตัวตามแนวยาวบนหลังผู้ป่วยเพื่อปูองกันผ้าปูที่นอนเปื้อนและไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอาย
ทาแป้งหรือทาครีมหรือโลชั่น(เพียงอย่างเดียว)
นวดบริเวณหลัง
Stroking
เป็นการลูบตามแนวยาวใช้ฝุามือทั้งสองข้างวางที่บริเวณก้นกบ ค่อย ลูบขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ ให้น้ าหนักกดลงที่ปลายนิ้วแล้วอ้อมมาที่ไหล่ สีข้าง และตะโพกทำซ้ำเป็นจังหวะประมาณ 3-5ครั้ง
Friction
เป็นการใช้ฝุามือลูบแบบถูไปมาตามแนวยาวของกล้ามเนื้อไหล่(trapezins) กล้ามเนื้อสีข้าง(latissimus dorsi) ทั้งสองข้างนิ้วชิดกัน วางฝุามือทั้งสองข้างลงบนกล้ามเนื้อแล้วถูขึ้นลงสลับกันตามกล้ามเนื้อ ทำอย่างน้อย 12 ครั้ง
Kneading
เป็นการบีบนวดกล้ามเนื้อ
วิธีที่ 1 วางนิ้วก้อย นิ้วนางนิ้วกลางและนิ้วชี้ แนบแนวกระดูกสันหลัง พร้อมปลายนิ้วหัวแม่มือบีบกล้ามเนื้อไขสันหลัง (erector spinous) เข้าหากันทำพร้อมกันทั้งสองมือ
วิธีที่2ใช้ปลายนิ้วหัวแม่มือนิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองมือกดและบีบข้างกระดูกสันหลังเข้าหากันและคลายออกทำซ้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
Beating
เป็นการกำมือหลวม ทุบเบา บริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น (glutealmuscle)ใช้ก ามือหลวม ทั้งสองข้างทุบเบา และเร็ว สลับขึ้นลงบริเวณกล้ามเนื้อแก้มก้น ทำอย่างน้อย 12 ครั้ง
Hacking
เป็นการใช้สันมือสับเบา ใช้สันมือด้านนิ้วก้อยสับสลับกันเร็ว โดยการกระดกข้อมือสับขวางตามใยกล้ามเนื้อบริเวณตะโพก ก้นและต้นขาทำซ้ำประมาณ10 ครั้ง
Clapping
เป็นการใช้อุ้งมือตบเบา โดยห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งสองข้าง ให้เกิดช่องว่างตรงกลางฝุามือตบเบา สลับมือกัน โดยกระดกข้อมือขึ้นลงทั่วบริเวณหลัง ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
Stroking
ทำเหมือนข้อ 7.1ทำซ้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
สวมเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยและจัดให้นอนในท่าที่สบาย
เก็บของเครื่องใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล