Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news) - Coggle Diagram
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
หน้าที่สำคัญในการแจ้งข่าวร้ายนั้นเป็นหน้าที่ของหมอ โดยมีพยาบาลเป็นผู้รับรู้และคอยอยู่ในที่ประชุมนั้นด้วย
ข่าวร้าย
ข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต
และอนาคตของบุคคลนั้น
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะที่ผู้ป่วยหรือญาติไม่สามารถยอมรับความจริงได้ โดยจะแสดงออกมาเป็นคำพูด เช่น แน่ใจนะคะว่าเลือดผลบวก
ระยะโกรธ (Anger)
เป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์ รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วยจะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ เช่น ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามค าตอบค า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ไม่บีบบังคับให้ความโกรธลดลงในทันที
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
ที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative careในหอผู้ป่วยวิกฤต
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวขอแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
มุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทำให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว ดังนั้นจึงมี
แนวโน้มที่ทีมสุขภาพจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นสิ่งที่ทำให้ญาติเสียใจมาก
ความไม่แน่นอนของอาการ
ในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้งอาจส่งผลให้ผู้ป่วย
ครอบครัวเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้
Multidisciplinary team
แพทย์แต่ละสาขา
มุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทำให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
เตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจำกัดดังนั้นการดูแลแบบ palliative สามารถเข้ามาช่วยลดอัตราการครองเตียงในหอผู้ป่วยวิกฤติได้
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
มีสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ข้อจำกัด คือ รูปแบบการดูแลแบบนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราการครองเตียงได้
หลักการดูแลผู้ป่วยแบบ palliative care “ABCD”
Attitude ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ะควรคำนึงเสมอว่าผู้ป่วยและญาติก็อาจจะมีทัศนคติหรือประสบการณ์ที่ต่างไป
Behavior การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ทั้งวัจนะ ควรให้ความสำคัญ สบตา หลีกเลี่ยงศัพท&ทางการแพทย์ ไม่แสดงทีท่ารีบร้อน
Compassion มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Dialogue เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
ลดการเกิด “ICU strain” ซึ่งเป็นผลเสียต่อการรักษาผู้ป่วย
เป็นประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซีย
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบำบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care ให้กับผู้ป่วยทุกคน
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
ลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว และยังสามารถเพิ่มความเพิ่งพอใจในการให้บริการ
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
หัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care การใส่ใจประเมินอาการ และจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
แพทย์จะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลโรคหรือสภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงบอกผลการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้อย่างครบถ้วนตรงจริงแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีข้อมูลมากที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจการรักษาและตั้งเป้าหมายการรักษา
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
พิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัว แต่ในกรณีที่การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะเป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การพัฒนามาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและสามารถลดระยะเวลานอนโรงพยาบาลได้ควรทำในผู้ป่วยทุกคนที่เข้ารับการรักษาตัวในไอซียู มุ่งเน้นที่ความสุขสบายของผู้ป่วยและยุติการรักษาที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ทีมสุขภาพควรละลึกเสมอว่าผู้ป่วยทุกคนเป็นคน มิใช่เป็นโรค