Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU) - Coggle…
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
Professional culture
ทีมสุขภาพจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต การตายของผู้ป่วยอาจทำให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเป็นความล้มเหลว
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยวิกฤติจะขาดการเตรียมตัวกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้ผู้ป่วยและญาติมีความคาดหวังสูงว่าอาการเจ็บป่วยจะดีขึ้น
ความไม่แน่นอนของอาการ
ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป
Multidisciplinary team
แพทย์แต่ละสาขาอาจทำให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ทีมสุขภาพมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจำกัด การใช้จึงควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ไม่ใช่ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติทุกราย
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่ จะวุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน
ลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการเกิดความเครียดที่เกิดจากการทำงานในไอซียู
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
เป็นประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซียู
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบำบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care ให้กับผู้ป่วยทุกคน
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
Behavior
หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ให้ความสำคัญ สบตา หลีกเลี่ยงศัพท์ทางการแพทย์
Compassion
หมายถึง มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Attitude
หมายถึง ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ควรคำนึงเสมอว่าผู้ป่วยและญาติก็อาจจะมีทัศนคติหรือประสบการณ์ที่ต่างไปจากมุมมองของทีมสุขภาพ
Dialogue
หมายถึง เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย ไม่ใช่ตัวโรค
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การวางแผนหรือ
การตั้งเป้าหมายการรักษา
แพทย์จะต้องเปrนผู้ให้ข้อมูลโรคหรือสภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมถึงบอกผลการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้อย่างครบถ้วนตรงจริงแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยไม่ถูกรบกวน
เสนอพิธีทางศาสนาให้ผู้ป่วยและครอบครัว
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย
มีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและจิตใจผู้สูญเสีย
และมีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัด
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์ ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจ
และให้เสนอความคิดเห็น
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากก่วาโรค
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด