Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต, A1,…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
(End of life care in ICU)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแล
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่า
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ความไม่แน่นอนของอาการ
ทรัพยากรมีจำกัด
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
สิ่งแวดล้อมมักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
Professional culture
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ
ข้อดี
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในICUได้
ลดการเกิด “ICU strain” หรือ ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในICU
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
เป็นประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากICU
แบบผสมผสาน
หากมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษาและมีระบบให้คำปรึกษาในโรงพยาบาล ก็ควรให้ทีม palliative care เข้าดูแลร่วมด้วย
ทีมสุขภาพที่ทำงานในICUเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบ palliative care
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อดี
ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลแบบ palliative care โดยไม่จำเป็นต้องมีเกณฑ์ตัดสินและไม่คำนึงถึงการพยากรณ์โรค
ข้อจำกัด
รูปแบบการดูแลแบบนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราการครองเตียงได้
การดูแลแบบ ABCD
Behavior : ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติทั้งวัจนะ และ อวัจนะภาษาขณะพูดคุย ควรให้ความสำคัญ สบตา หลีกเลี่ยงศัพท์ทางการแพทย์ ไม่แสดงที่ท่ารีบร้อน
Compassion : มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน และพยายามแก้ไขให้ดีขึ้น
Attitude: การดูแลผู้ป่วยต้องระวังการนำประสบการณ์หรือทัศนคติของทีมผู้ดูแลมาใช้กับผู้ป่วยและญาติ การดูแลผู้ป่วยควรพิจารณาเป็นรายบุคคล
Dialogue : เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค กระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติได้มีโอกาสสะท้อนความรู้สึกต่าง ๆ
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
การประชุมครอบครัว (Family meeting) เป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี ระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรค
การทำประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย
สิ่งสำคัญก่อนทำการประชุมครอบครัวแพทย์ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ตัดสิน ญาติไม่ตำหนิญาติ
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น เช่น สารอาหารทางหลอดเลือด น้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก เช่น สายให้อาหารทางจมูก
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ควรปิดม่านให้มิดชิด
ยุติการเจาะเลือด
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
แพทย์ควรทำการเข้าเยี่ยมบ่อยๆเพื่อประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
พิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัว
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
ไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้” แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย และมีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อปรึกษาปัญหา
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่ อาการไม่สุขสบายที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต คือ หอบเหนื่อย ปวด ภาวะสับสน
การสื่อสาร
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในICU
การแจ้งข่าวร้าย
(Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการ ดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยหรือญาติจึงเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
รู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประเมินได้จากการพูด เช่น “อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน” “ฉันรู้ว่ามันร้ายแรง คงรักษา ไม่หาย แต่ฉันอยาก....”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น มีการแสดงออก เช่น ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคำตอบคำ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรืออาจร้องไห้ หงุดหงิดง่าย คิดหมกมุ่น เกี่ยวกับความตาย คิดว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และหน้าที่การงาน
ระยะโกรธ (Anger)
ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์ รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน “ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” “ไม่ยุติธรรมเลย ทำไมต้องเกิดกับเรา” ถ้าแพทย์หรือ ผู้เกี่ยวข้องไม่เข้าใจ ก็อาจจะโกรธตอบ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปดูแล
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และ มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
ระยะปฏิเสธ (Denial)
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
บทบาทพยาบาล
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาของโรค
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด และช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วย ต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความ ต้องการการช่วยเหลือ
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ เผชิญกับสิ่งที่ไม่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
นางสาวธัญญารัตน์ ศรีโชคสิทธิกุล 6001210118 เลขที่ 5 Sec.A