Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ - Coggle Diagram
การส่งเสริมสุขอนามัยและการพักผ่อนนอนหลับ
การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขอนามัยส่วนบุคคล
เพศ
ความแตกต่างของเพศจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
อาชีพ
บุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจะมีความรู้ความเข้าใจจึงให้ความใส่ใจต่อการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดี
การศึกษา
บุคคลที่มีการศึกษาจะศึกษาค้นคว้าและมีความรู้ในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งแวดล้อม
ถิ่นที่อยู่
การดำเนินชีวิตในเขตเมืองและเขตชนบทจะมีการใช้ชีวิตและมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันส่งผลให้การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
อายุ
ความแตกต่างของอายุจะมีความต้องการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน
สิ่งแวดล้อม
อากาศร้อนทำให้คนเรามีเหงื่อไคลและกลิ่นตัวที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น
การดูแลความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกาย
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย เป็นบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถพิจารณากระทำได้ทันทีโดยไม่ต้องมีคำสั่งของแพทย์
การพยาบาลตอนเช้าตรู่หรือเช้ามืด
เมื่อผู้ป่วยตื่นนอนแล้วพยาบาลจะดูแลผู้ป่วยช่วยเหลือเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ และการทำความสะอาดร่างกาย
การพยาบาลตอนเช้า
หลังผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อย จะเป็นการพยาบาลเพื่อดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลประจำวัน
การพยาบาลตอนบ่ายหรือตอนเย็น
ในการดูแลทำความสะอาดปากและฟัน การล้างมือ ล้างหน้า หวีผม สระผม การให้บริการหม้อนอน หรือกระบอกปัสสาวะ ตลอดจนการรักษาพยาบาลอื่นๆ
การพยาบาลตอนก่อนนอน
การจัดท่าให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างสุขสบายเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเตรียมตัวเข้านอนช่วยให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนนอนหลับได้ดีขึ้น
การพยาบาเมื่อผู้ป่วยต้องการ
พยาบาลให้การพยาบาลตามความต้องการของผู้ป่วยตลอด 24ชั่วโมง
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง/การอาบน้ำ (Bathing)
พยาบาลควรสังเกตผิวหนังขณะอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไรมีตุ่ม ผื่น รอยช้ำ หรือแผลหรือไม่ แล้วบันทึกรายละเอียดลงในบันทึกทางการแพทย์
การอาบน้ำ(Bathing) เป็นการขจัดของเสียที่ร่างกายขับออกมา
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
เป็นการช่วยเหลือ พาผู้ป่วยไปทำความสะอาดร่างกายในห้องน้ำ ส่วนมากเป็นการอาบโดยใช้ฝักบัว หรือตักน้ำอาบร่างกาย พยาบาลต้องประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยก่อนพาไปอาบน้ำที่ห้องน้ำเพราะผู้ป่วยอาจมีอาการหน้ามืดหรือเป็นลมในห้องน้ำได้
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงเฉพาะบางส่วน
เป็นการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ผู้ป่วยไม่สามารถอาบน้ำเช็ดตัวได้ครบทุกส่วน พยาบาลจึงจำเป็นต้องช่วยเช็ดบางส่วนในร่างกายที่ผู้ป่วยไม่สารถเช็ดเองได้
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงชนิดสมบูรณ์
ผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง หรือนอนติดเตียงในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกที่สะสมบนผิวหนัง และส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง
ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย สดชื่นและผ่อนคลาย
ประเมินการเคลื่อนไหวของร่างกายและส่งเสริมการออกกำลังกาย
สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง
กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและป้องกันแผลกดทับ
การนวดหลัง
เป็นศิลปะที่ใช้การสัมผัสด้วยมือที่นุ่มนวลมีจังหวะ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจและมีสัมพันธภาพที่ดีกับพยาบาล
ปฏิบัติดังนี้
จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย
ไม่นวดบริเวณที่ผู้ป่วยมีการอักเสบ
ไม่นวดแรงเกินไปจนผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ
นวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
ใช้เวลานวดประมาณ 5-10 นาที
จุดประสงค์
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ป้องกันแผลกดทับ
ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความตึงตัว
กระตุ้นผิวหนังและต่อมเหงื่อให้ทำงานดีขึ้น
สังเกตความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหลัง
เครื่องใช้
ครีม โลชั่นทาตัว หรือแป้ง
ผ้าห่ม 1 ผืน และผ้าเช็ดตัว 1ผืน
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตนเองบอกให้ผู้ป่วยทราบและอธิบายวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ
นำเครื่องใช้มาวางที่โต๊ะข้างเตียง กั้นม่านให้มิดชิด และล้างมือ
จัดท่านอนคว่ำและชิดริมเตียงด้านพยาบาลยืน มีหมอนเล็กๆจัดท่านอน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายและพยาบาลนวดหลังได้สะดวก
เลื่อนผ้าห่มมาบริเวณก้นกบ ปูผ้าเช็ดตัวทับบนผ้าห่มถ้านอนตะแคงให้ปูผ้าเช็ดตัวตามแนวยาวบนหลังผู้ป่วยเพื่อป้องกันผ้าปูที่นอนเปื้อนและไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกอาย
ทาแป้ง ทาครีมหรือโลชั่น อย่างใดอย่างหนึ่ง
นวดบริเวณหลัง
สวมเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยและจัดให้นอนในท่าที่สบาย
เก็บของเครื่องใช้ไปทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดปากและฟัน
เป็นความสะอาดพื้นฐานทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น และเมื่อสุขภาพของฟันแข็งแรง การเคี้ยวอาหารก็จะรับรู้ถึงความอร่อย
วัตถุประสงค์
กำจัดกลิ่นปากลมหายใจสดชื่นและป้องกันฟันผุ
ลดการอักเสบของเหงือกและกระพุ้งแก้ม
ปากและฟันสะอาด มีความชุ่มชื่น
การทำความสะอาดปากฟันในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย
วิธีทำความสะอาด
ใช้ลูกสูบยางดูดน้ำฉีดล้างช่องปากและในซอกระหว่างกระพุ้งแก้มและฟัน
ตรวจดูสภาพของปากและฟัน
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาบ้วนปาก
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านนอกและเหงือกให้ทั่วอย่างถูกวิธี
ใช้ไม้กดลิ้น พันด้วยผ้าก๊อซเพื่อช่วยอ้าปาก
ตรวจดูสภาพของเยื่อบุปาก เหงือก ฟัน และลิ้น
ทำความสะอาดเหมือนการแปรงฟันด้านใน
สูบฉีดล้างช่องปากให้ทั่ว ดูดน้ำออกให้หมด
เช็ดปากให้ผู้ป่วย ถ้าริมฝีปากแห้งทาด้วยวาสลิน
เก็บของใช้ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลความสะอาดของเล็บ
จำเป็นต้องการตัดให้สั้นตามเหมาะสมกับการใช้งานการทำความสะอาดเล็บและตัดให้เรียบร้อยช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
จุดประสงค์
ให้เล็บสะอาด และสุขสบาย
ป้องกันการเกิดเล็บขบ
เครื่องใช้
ถาดใส่สบู่ ผ้าถูตัว ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ ตะไบเล็บ และกระดาษรอง
อ่างใส่น้ำอุ่น
ถุงมือสะอาด และ mask
วิธีการปฏิบัติ
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วยจัดวางให้เรียบร้อยเพื่อสะดวกในการใช้
คลี่ผ้าเช็ดตัวรองอ่างน้ำ แช่มือ หรือเท้าเพื่อให้เล็บและขี้เล็บอ่อนตัว
ใช้ผ้าเช็ดตัวถูสบู่พอกขัดตามซอกเล็บ ง่ามนิ้ว ถ้าเล็บสกปรกมากอาจใช้ปลายตะไบแคะสิ่งสกปรกออกมา
ยกอ่างน้ำออก เช็ดมือหรือเท้าให้แห้ง
ใช้ตะไบถูเล็บให้ขอบเล็บเรียบเพื่อป้องกันผิวหนังเกิดแผลถลอกจากการขีดข่วนของเล็บ
เปลี่ยนน้ำ และล้างมือหรือล้างเท้าอีกครั้งหนึ่งเช็ดให้แห้ง
การดูแลความสะอาดของตา
เพื่อแก้ปัญหาด้านอนามัยของตา
จุดประสงค์
กำจัดขี้ตาทำให้ดวงตาสะอาด
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย
เครื่องใช้
ถาดใส่อับสำลีชุบ 0.9% NSS และชามรูปไต
ถุงมือสะอาด และ mask
วิธีปฏิบัติ
จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงด้านที่ต้องการทำความสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาและสิ่งสกปรกจากตาข้างที่ต้องการทำความสะอาดไปปนเปื้อนตาอีกข้าง
ใส่ถุงมือสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ใช้สำลีชุบ 0.9%NSS พอหมาด เช็ดจากหัวตาไปหางตา
พลิกตัวผู้ป่วยตะแคงด้านตรงข้าม และทำความสะอาดตาอีกข้างหนึ่ง
ประเมินสภาพของตาถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้แก้ไขต่อไป
การดูแลทำความสะอาดของหู
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรกภายในช่องหู
ทำความสะอาดของใบหูและหลังใบหู
เครื่องใช้
สำลีสะอาด หรือไม้พันสำลี 4 อัน
ผ้าสะอาด
0.9%NSS หรือน้ำสะอาด
ชามรูปไต
กระดาษเช็ดปาก
วิธีปฏิบัติ
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย เอียงศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่ง
สวมถุงมือ และ mask
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียงของผู้ป่วยจัดวางให้สะดวกในการใช้
ใช้สำลีชุบ 0.9% NSS หรือน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดในช่องหู ใบหู และหลังใบหู แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย และลงบันทึกทางการพยาบาล
การดูแลทำความสะอาดของจมูก
เพื่อรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อจมูก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องคาสายไว้ในจมูก
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งขับถ่ายและสิ่งสกปรกภายในจมูก
ป้องกันสารคัดหลั่งแห้งยึดขนจมูกกับสายที่คาไว้
ป้องกันการเกิดแผลกดทับด้านในรูจมูก จากสายที่คาไว้
วิธีปฏิบัติ
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงาย ศีรษะสูง
สวมถุงมือ และ mask
ใช้สำลีชุบเบนซินเช็ดคราบพลาสเตอร์ออก และเช็ดส่วนที่เป็นยางเหนียวของพลาสเตอร์บนผิวหนังออกให้หมด
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำ หรือ 0.9% NSS บีบพอหมาดเช็ดในรูจมูกเบาโดยรอบ
ถ้ามีสายที่คาในรูจมูก ใช้ผ้าก๊อซเช็ดสายที่คาในจมูกส่วนที่อยู่นอกจมูก รวมทั้งบริเวณจมูกให้สะอาดและแห้ง
เก็บของใช้ไปทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
การดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
วัตถุประสงค์
ความสุขสบาย และสดชื่นของผู้ป่วย
ส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ป่วย และรู้สึกมีความมั่นใจ
ขจัดความสกปรกและสารที่ใส่บนผม และหนังศีรษะเพื่อการตรวจรักษา
วิธีปฏิบัติ
จัดผู้ป่วยนอนหงาย ทแยงมุมกับเตียงให้ศีรษะอยู่ริมเตียง และนำผ้าเช็ดตัวม้วนกลมรองไว้ใต้คอผู้ป่วย
รองผ้ายางบนผ้าเช็ดตัว เพื่อช่วยซับน้ำ และใช้เช็ดผมเมื่อสระเสร็จแล้ว
ใช้หวีหรือแปรงสางผมให้ทั่ว
ใช้สำลีชุบน้ำ บีบให้หมาดแล้วนำไปใส่หูข้างละก้อน ป้องกันน้ำเข้าหู
ใช้แก้วน้ำตักน้ำและราดผมพอเปียก เทแชมพูใส่มือชโลมแชมพูให้ทั่วศีรษะ
ใช้แก้วน้ำตักน้ำราดผมให้ทั่ว โดยราดน้ำที่ละครึ่งศีรษะ
รวบปลายผมบิดให้หมาด เอาสำลีออกจากหู
ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนที่รองใต้ผ้ายางสระผม เช็ดผมให้หมาดพันรวบผม
ใช้เครื่องเป่าผมเป่าผมให้แห้ง หวีผมให้ได้ทรงถ้าผมยาวควรรวบผมมัดให้เรียบร้อย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายและหญิง
เพศชาย
วิธีปฏิบัติ
ยกเครื่องใช้ไปที่เตียง ปิดประตูหรือกั้นม่านให้มิดชิดเพื่อความเป็นส่วนตัว
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ mask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
จัดผู้ป่วยให้นอนหงาย เปิดเฉพาะส่วนอวัยวะสืบพันธุ์
ให้ผู้ป่วยยกก้น สอดหม้อนอนด้านแบนเข้าใต้ตะโพก
วางภาชนะใส่ขยะหรือกระโถนไว้ใกล้หม้อนอน และชุดชำระไว้ด้านปลายเท้า
ใช้ forceps ใน set หยิบสำลีออกจากชามกลมวางบนผ้าห่อ 4ก้อน วาง forceps บนผ้าห่อ
เลื่อน bed panออก คลุมด้วย bed pad และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
ใช้มือข้างซ้ายจับองคชาติ แล้วค่อยๆรูดหนังหุ้มปลาย ใช้สำลีแต่ละก้อน้ช็ดบริเวณ รูท่อปัสสาวะ องคชาติ เช็ดลูกอัณฑะถึงรูทวารหนัก
เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลวบนสำลีในชามกลมพอประมาณ
เท 0.9% NSS หรือน้ำอุ่น บนสำลีในชามพอประมาณ
เอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่าที่สุขสบาย
เพศหญิง
จุดประสงค์
ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับ การสวนปัสสาวะคาไว้
เสริมสร้างความสุขบายให้กับผู้ป่วย
กำจัดสิ่งขับถ่าย สิ่งสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์
วิธีปฏิบัติ
จัดผู้ป่วยให้นอนหงายคลุมผ้าห่มตามแนวขวาง เลื่อนผ้านุ่งขึ้นไปถึงเอว ให้ผู้ป่วยนอนหงายชันเข่าขึ้น
ให้ผู้ป่วยยกก้นสอดหม้อนอนด้านแบบเข้าใต้ตะโพก
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือและmask และใช้ผ้าปิดตาผู้ป่วย
ใช้ forceps ใน set หยิบสำลี 4 ก้อน
เทน้ำสบู่ หรือสบู่เหลวบนสำลีในชามกลมพอประมาณ
ใช้สำลีแต่ละก้อนทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงจากข้างนอกเข้าไป
เท 0.9% NSS หรือน้ำสะอาดบนสำลีในชามกลมพอประมาณเช็ดอวัยวะสืบพันธุ์
เลื่อน bed panออก คลุมด้วยbed pad ปิด และเลื่อนผ้ายางผืนเล็กออก
ให้ผู้ป่วยวางขาลงเอาผ้าปิดตาออก จัดใส่เสื้อผ้าให้เรียบร้อยและจัดให้นอนในท่านอนหงายราบ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมสุขอนามัยส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
ลงบันทึกการพยาบาล
ความหมายและความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
สุขอนามัย (Hygiene)
หมายถึงหลักการและความรู้หรือรักษาไว้ของสุขภาพและการป้องกันโรค
สุขอนามัยส่วนบุคคล (Personalhygiene)
คือ การดูแลตนเอง
การขับถ่าย
การอาบน้ำ
การทำความสะอาดร่างกายตนเองเป็นพฤติกรรมสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ทุกวันเพื่อสร้างความมั่นใจ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
การส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
ประเมินคุณภาพการนอนหลับ การนอนหลับที่ผิดปกติ
Hypersomnia
เป็นการนอนหลับมาก หรือง่วงนอนมากกว่าปกติ
Parasomnia
เป็นพฤติกรรมที่ควรเกิดขณะตื่น แต่กลับเกิดขึ้นในขณะหลับ
ความผิดปกติของการตื่น ได้แก่ อาการละเมอเดิน การฝันร้าย
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงจากหลับมาตื่น หรือจากตื่นมาหลับ ได้แก่ อาการขากระตุกขณะกำลังหลับ
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นขณะหลับชนิดที่มีการกรอกตา ได้แก่ ภาวะฝันร้าย ภาวะผีอำ
กลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ การนอนกัดฟัน การที่ปัสสาวะรดที่นอน
Insomnia
การนอนหลับไม่เพียงพอระยะสั้น เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์
การนอนหลับไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง เป็นการนอนหลับไม่เพียงพอเกิดขึ้นนานกว่า 1 เดือนขึ้นไป
โรคทางจิตเวช
โรคทางอายุรกรรม
อาการข้างเคียงไปพึ่งประสงค์ของยารักษาโรคบางชนิด
โรคของการนอนหลับโดยตรง
การนอนหลับไม่เพียงพอชั่วคราว เป็นช่วยระยะเวลาสั้นๆ 3-5 วัน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาตึงเครียดในชีวิต อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย
การส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับ
การจัดสิ่งแวดล้อม
เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย พักผ่อนได้ และหายจากโรคเร็วขึ้น
ความพร้อมของอุปกรณ์
ความสะอาด
เสียง
อุณหภูมิ
แสงสว่าง
กลิ่น
ความอบอุ่น
ความเป็นส่วนตัว
การจัดท่าทางสำหรับผู้ป่วย
เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมความสุขสบายเมื่อนอนอยู่บนเตียง
Dorsal position เป็นท่านอนหงายราบขาชิดติดกัน
Fowler’s position เป็นท่านอนราบศีรษะสูง 30-90 องศา เป็นท่านอนที่สุขสบายและเพื่อการรักษา
Prone position เป็นท่านอนคว่ำ เป็นท่านอนที่สุขสบายสำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวแต่มีการหายใจปกติ
Lateral positio เป็นท่านอนตะแคงจัดเพื่อความสุขสบายของผู้ป่วย ที่ช่วยเหลือหรือเคลื่อนไหวด้วยตนเองไม่ได้
Sitting position เป็นท่านั่งที่สุขสบาย สำหรับผู้ป่วยได้เปลี่ยนอิริยาบถ และพักผ่อนได้อย่างมีความสุข
ปัจจัยที่มีผลต่อการพักผ่อนและการนอนหลับ
ปัจจัยภายใน
ความไม่สุขสบาย
ความเจ็บปวด
การใส่สายยางและท่อระบายต่างๆ
ท่านอนที่ไม่เหมาะสม
ภาวะไข้หลังผ่าตัด
ความวิตกกังวล
ปัจจัยส่วนบุคคล
อายุ
เพศ เพศชายจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการนอนหลับได้เร็วและมากกว่าเพศหญิง
ปัจจัยภายนอก
อุณหภูมิ
แสง
เสียง
ความไม่คุ้นเคยต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล
กิจกรรมการรักษาพยาบาล
ยา
อาหาร
การทำเตียง
เป็นการส่งเสริมการพักผ่อนการนอนหลับให้มีความสุข มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี
หมายถึง การเปลี่ยนเครื่องผ้าที่ใช้กับเครื่องนอนให้สะอาด เรียบร้อย
แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
การทำเตียงว่าง เป็นการทำเตียงที่ผู้ป่วยจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วย เพื่อเตรียมรับผู้ป่วยใหม่
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงได้ เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ ไม่จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา อาจเป็นผู้ป่วยที่แข็งแรง ช่วยเหลือตนเองได้ดี
การทำเตียงผู้ป่วยลุกจากเตียงไม่ได้ เป็นการทำเตียงให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกจากเตียงได้ จำเป็นต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและช่วยเหลือตนเองไม่ได้
การทำเตียงผู้ป่วยหลังผ่าตัดและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ เป็นการทำเตียงหลังจากส่งผู้ป่วยไปรับการผ่าตัดหรือการตรวจและได้รับยาสลบ
หลักปฏิบัติการทำเตียง
วางผ้าให้จุดกึ่งกลางของผ้าทับลงตรงจุดกึ่งกลางของที่นอน
ควรทำเตียงให้เสร็จทีละข้าง
จัดบริเวณรอบๆให้สะดวกต่อการปฏิบัติ
คลุมผ้าคลุมเตียง
เตรียมของพร้อมใช้ตามลำดับก่อน-หลัง
ไม่ควรสะบัดผ้าหรือปล่อยให้เสื้อผ้าที่สวมอยู่สัมผัสกับเครื่องใช้ของผู้ป่วย
ยึดหลักการทำเตียงให้เรียบ ตึง ไม่มีรอยย่น สะอาด ไม่เปียกชื้น
วงจรของการนอนหลับ
ช่วงหลับธรรมดา
ระยะที่ 2 (หลับตื้น)
ระยะที่ 3 (หลับปานกลาง)
ระยะที่ 1 (เริ่มมีความง่วง)
ระยะที่ 4 (หลับลึก
ช่วงหลับฝัน
เป็นช่วงที่กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายแทบจะหยุดการทำงานหมด แต่ระบบการทำงานของหัวใจ กระบังลมเพื่อการหายใจ
กระบวนการพยาบาลในการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลและการส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล พักผ่อนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากมีความวิตกกังวล
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและปลอดภัย
เกณฑ์การประเมินผล
คุณภาพการนอนหลับเชิงปริมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
คุณภาพการนอนหลับเชิงคุณภาพผู้ป่วยนอนหลับสนิทได้มากขึ้น
การวางแผน วางแผนให้ผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและปลอดภัย
การประเมินภาวะสุขภาพ
S: นอนไม่หลับมา 3 วัน บางคืนหลับได้สักครู่ก็สะดุ้งตัวตื่น
O: จากการตรวจร่างกายพบ ท่าทางอิดโรย ไม่สดชื่น ขอบตาทั้งสองข้างเขียว เหมือนคนอดนอนมาหลายวัน วัดสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีไข้ ชีพจร และการหายใจปกติ ความดันโลหิตปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ แสงสว่างเพียงพอ ขจัดสิ่งรบกวน
ไม่ให้ดื่มน้ำหลัง 6โมงเย็น เพื่อไม่ให้ลุกขึ้นถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืน
จัดกิจกรรมการพยาบาลเป็นช่วง ไม่รบกวนการนอนของผู้ป่วย
ให้มีกิจกรรมทำในตอนกลางวัน เช่น การอ่านหนังสือ ดูทีวี
การประเมินผลการพยาบาล
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงปริมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับเชิงคุณภาพ ผู้ป่วยนอนหลับสนิทได้มากขึ้นผู้ป่วยบอกว่า นอนหลับสบายดีนอนหลับเต็มอิ่ม และพยาบาลสังเกตว่าผู้ป่วยนอนหลับได้มากขึ้น และไม่แสดงอาการอ่อนเพลีย
ความหมายและความสำคัญการพักผ่อนนอนหลับ
คือ การผ่อนคลายและมีความสงบทั้งจิตใจ และร่างกายรวมถึงความไม่วิตกกังวล สงบหรือผ่อนคลายโดยไม่มีความเครียดทางอารมณ์
การพักผ่อนของผู้ป่วยในโรงพยาบาล
Absolute bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ไม่ให้ร่างกายออกแรงในกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้รู้สึกเหนื่อย
Bed rest
เป็นการพักผ่อนโดยให้ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามความสามารถของผู้ป่วย
ความสำคัญของการพักผ่อนและการนอนหลับ
สงวนพลังงาน
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และความจำ
ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ส่งเสริมการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ผลกระทบจากปัญหาการนอนหลับ
ผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น อาการเมื่อยล้าคลื่นไส้ ปวดศรีษะ
ผลกระทบต่อจิตใจและอารมณ์ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ง่าย
ผลกระทบต่อสติปัญญาและการรับรู้ เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอทำห้การปฏิบัติกิจกรรมในช่วงกลางวันลดลงสมาธิไม่ดีและแก้ไขปัญหาได้ช้า
ผลกระทบทางสังคม บุคคลที่นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลทางสังคม ได้แก่การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมลดลง