Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
palliative care ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตายไม่ใช่การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น
และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
การดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาล มุ่งรักษาให้ผู้ป่วยหาย แต่ palliative care ไม่ได้มุ่งเน้นที่การหายจากตัวโรค
ถ้าหากผู้ป่วยรายนั้นมีโอกาสรักษาแล้วจะหายจากภาวะวิกฤตได้ การดูแลแบบ palliative care
ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีโอกาสหายแล้ว บทบาทของการดูแลแบบ palliative care จะชัดเจนมากขึ้น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤต
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ความไม่แน่นอนของอาการ
Multidisciplinary team
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อดี คือ ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลแบบ palliative care คำนึงถึงผู้ป่วยแต่ละคนต้องการดูแลแบบ palliative care มากน้อยต่างกัน
ข้อจำกัด ยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราการครองเตียงได้
หลักการดูแลผู้ป่วยแบบ palliative care
Attitude หมายถึง ทัศนคติของทีมสุขภาพ
Behavior หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ
Compassion หมายถึง มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Dialogue หมายถึง เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ข้อบ่งชี้ในการปรึกษา
ICU admission after hospital stay at least 10 days
Multi-system/organ failure at least three systems
Diagnosis of active stage IV malignancy (metastatic disease)
Status post cardiac arrest
Diagnosis of intracerebral hemorrhage requiring mechanical ventilation
Terminal dementia
Surprise question "No"
ระบบนี้มีข้อดี
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
ลดการเกิด “ICU strain”
เป็นประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซียู
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบำบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่
ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย
แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติ
อาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกาย,จิตใจผู้สูญเสีย
มีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัด
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
ถ้าหากมีเวลาเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตหลายวัน พิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด
การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่นาน ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้นอาจเสนอพิธีทางศาสนา
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ้งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และวิธีการจัดการช่วงเวลานี้
แพทย์ควรทำการเข้าเยี่ยมบ่อย ๆ เพื่อประเมินความสุขสบาย ทำให้ญาติ
มั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลา
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
มีความเห็นใจครอบครัว
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัว
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษาคือทักษะการสื่อสาร
และการพยากรณ์โรครวมถึงบอก
ผลการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้อย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจการรักษาและตั้งเป้าหมายการรักษา
Surprise question ถ้าหากไม่ประหลาดใจ ควรได้รับการดูแลแบบ palliative care
ต้องคำนึงถึงสภาวะที่ผู้ป่วยจะดำรงต่อไปหลังจากภาวะวิกฤติ จะมีอวัยวะล้มเหลวเรื้อรัง ได้โดยไม่ต้องมีเครื่องพยุงชีพชีพหรือไม่ และผู้ป่วยจะมีความรับรู้มากน้อยเพียงใด
การประชุมครอบครัว เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี
ระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรค การดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคแนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เตรียมใจ ให้หมดหวัง หมดกังวล ควรทำการพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนและการคุยเป้าหมายการรักษา สาเหตุที่ควรใช้หัตถการต่าง ๆ มาเป็นข้อบ่งชี้ในการเริ่มพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายการรักษา ก่อให้เกิดความทรมานกับผู้ป่วย กับผลการรักษาที่อาจจะไม่ได้ผลดี
เปvาหมายในการรักษา อาจจะเป็นได้ในหลายรูปแบบ
ทำทุกอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิตให้นานที่สุดที่เป็นไปได้
ลองทำดูก่อน แล้วถ้าตอบสนองไม่ดี อาจพิจารณายุติการรักษาบางอย่าง
มุ่งเน้นให้สุขสบาย อาจทำบางอย่างที่อยู่ในบริบทที่ไม่เกิดความทุกข์ทรมาน
การบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์
สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม บุคคลใดคือผู้แทนสุขภาพ
ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิต
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ทั้งฝ่ายผู้ป่วยและทีมสุขภาพ
ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ เข้าใจการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
อะไรคือคุณค่าการดำรงชีวิตของผู้ป่วย
เป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษา
วัน เวลา สถานที่
ข้อควรระวัง พยากรณ์โรคแบบไม่มีอคติ ครอบครัวอาจจะมีความหวังที่จะดีขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ควรมีการเตรียมรับมือในกรณีที่ผลการรักษาไม่เป็นไปตามความคาดหวัง
จริยธรรมทางการแพทย์
การรักษาความเสมอภาพในการรักษา
การไม่ทำสิ่งที่อันตรายกับผู้ป่วย
ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วย
การเคารพในอัตภาพของผู้ป่วย
การแจ้งข่าวร้าย
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง กระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต อนาคตของบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับการแปลผลของผู้ป่วยและญาติ สัมพันธ์กับความหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ผู้แจ้งข่าวร้าย มีความสำคัญเนื่องจากกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วย ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์ในการแจ้งข่าวร้าย
ปฏิกริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะโกรธ ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ ขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว
ระยะต่อรอง การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะปฏิเสธ จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรุ้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง
ระยะซึมเศร้า เริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ
ระยะยอมรับ เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
อาจเกิดเรียงตามลำดับหรือสลับไปมา
พยาบาลมีบทบาท
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ช่วยเหลือในสิ่งที่ต้องการ ส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแล
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การด าเนินโรค แนวทางการรักษา
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
สร้างสัมพันธภาพที่ดี ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
กลัวตาย
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสมม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยรุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสำคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ