Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8, นางสาวสลิลทิพย์ สุวรรณประสิทธิ์ 6001211054 เลขที่ 45 Sec B -…
บทที่ 8
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative careในหอผู้ป่วยวิกฤต
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
แนวโน้มที่ทีมสุขภาพจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ขณะเดียวกันทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียู อาจเกิดภาวะหมดไฟ (burn out) หรือเกิดความกังวลจากหน้าที่การงานได้ง่าย
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ&เจ็บป่วยที่รุนแรง การที่ผู้ป่วยมีอาการทรุด
ลงจากเดิม หรือมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ความไม่แน่นอนของอาการ
การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
Multidisciplinary team
แพทย์แต่ละสาขา
มุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ICU ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท่ายก่อนผู้ปวยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมืด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ข้อดี
ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลแบบ palliative care โดยไม่จำเป็นต้องมีเกณฑ์
ข้อจำกัด
ไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราการครองเตียงได้
หลักการดูแลผู้ป่วยแบบ palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤตสำหรับทีมสุขภาพ
คือ “ABCD”
Attitude
ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
Behavior
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ
Compassion
มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Dialogue
เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
ลดการเกิด “ICU strain”
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
สามารถลดความไม่จำเป็นในการใช้เครื่องพยุงชีพ สามารถลดระยะเวลานอนรักษาในไอซียู
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัว
เครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์
เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียด
. ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษา
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
ทักษะการสื่อสาร
และการพยากรณ์โรค (prognostication)
ข้อบ่งชี้อิงจากการพยากรณ์โรค
นอนไอซียูมากกว่า 5วัน
นอนไอซียูหลังจากนอนโรงพยาบาลมาแล้วมากกว่า 10 วัน
เคยนอนหอผู้ป่วยหนักมาก่อนหน้านี้แล้ว
decline in
function or cognitive status
อายุมากกว่า 80 ปี
โรคร่วมที่รุนแรงมากกว่า 1 โรค
การทำประชุมครอบครัวทุกครั้ง ควรมีการบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ และง่ายต่อการทบทวนเมื่อจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทีมผู้รักษา โดยข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้
ข้อบ่งชี้อิงจากการหัตถการ
ไม่สามารถหย่า
เครื่องช่วยหายใจหรือท่อช่วยหายใจได้
intra-aortic balloon pump (IABP),
left ventricular assisted device
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
ทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย
มีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและ
จิตใจผู้สูญเสีย
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด
แบบผสมผสาน
ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care ให้กับผู้ป่วยทุกคน
8.1 การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ต้องได้รับ
การฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย
มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา
ผลการรักษาและการ
ดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
บทบาทพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว สอบถามความรู้สึกและความ
ต้องการการช่วยเหลือ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ควรให้ความเคารพผู้ป่วย เข้าใจ เห็นใจ ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การด าเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความผาสุกทางจิตใจ
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
รู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่
ยอมรับความจริง
ระยะโกรธ (Anger)
ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์
รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง
หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ
ระยะซึมเศร้า (Depression)
การแสดงออกอาจมีหลายลักษณะ เช่น ออกห่างจากสังคมรอบข้างเบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคำตอบคำ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรืออาจร้องไห้
ระยะยอมรับ (Acceptance)
มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม (ก้าวร้าว ด่าว่า เอะอะโวยวาย) เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
มีภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วย รุนแรงของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความ
สำคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
นางสาวสลิลทิพย์ สุวรรณประสิทธิ์ 6001211054 เลขที่ 45 Sec B