Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news) - Coggle Diagram
การแจ้งข่าวร้าย
(Breaking a bad news)
หมายถึง
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ผู้ที่แจ้งข่าวร้ายเป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์ เนื่องจาก ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ตามทฤษฎีของ Elisabeth Kubler-Ross
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา หรือยังไม่ได้พูดอะไรกับใคร จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะซึมเศร้า (Depression)
จะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และหน้าที่การงาน
ระยะโกรธ (Anger)
อาจจะโกรธไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์ รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง มองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้นมองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
บทบาทพยาบาล
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมายและตระหนักว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อใคร บางคน หรือเพื่ออะไรบางอย่าง
ดูแลให้ได้รับความสุขสบาย ช่วยเหลือในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ และส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการดูแลผู้ป่วย
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้ความหวังที่เป็นจริง
ให้ความมั่นใจว่าแพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลการดำเนินโรค แนวทางการรักษา
ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก ไม่บังคับให้ความโกรธลดลงในทันที
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ให้ความช่วยเหลือให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ สอบถามความรู้สึกและความต้องการการช่วยเหลือ