Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 8.2 การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in…
บทที่ 8
8.2 การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
ในหออภบาลผู้ปป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professionalculture
บุคลากรของทีมสุขภาพที่ทํางานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มี ชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต การตายของผู้ป่วยอาจทําให้ทีมสุขภาพรู้สึกว่าเปrนความล้มเหลว ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่ทีมสุขภาพจะพยายามทําทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลง อย่างเฉียบพลัน
ความไม่แน่นอนของอาการ
การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง อาจส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพอาจเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้
Multidisciplinaryteam
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขา มุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ อาจทําให้ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม ถ้าไม่มีแพทย์ท่านใดดูแล ผู้ป่วยเป็นองค์รวม มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลยเนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจํากัด
เนื่องจากเตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ มีจํากัด การใช้จึงควรพิจารณาใช้กับ ผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได้ไม่ใช่ใช้กับผู้ป่วยวิกฤติทุกราย โดยไม่คํานึงถึงทรัพยากรที่มีจํากัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง แต่สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
Attitude หมายถึง ทัศนคติของทีมสุขภาพอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงาน กล่าวคือ การดูแล ผู้ป่วยแบบ palliative care นี้ต้องระวังการนําประสบการณ์หรือทัศนคติของทีมผู้ดูแลมาใช้กับผู้ป่วยและญาติ และควรคํานึงเสมอว่าผู้ป่วยและญาติก็อาจจะมีทัศนคติหรือประสบการณ์ที่ต่างไปจากมุมมองของทีมสุขภาพ ได้
Behavior หมายถึง การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ทั้งวัจนะ และ อวัจนะภาษาขณะพูดคุยหรือประชุมครอบครัว ควรให้ความสําคัญ สบตา
Compassion หมายถึง มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน พยายาม หาให้พบว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยนั้นกระทบผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง ท้ังทางกาย จิตใจ และเศรษฐกิจ
Dialogue หมายถึง เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย มิใช่ตัวโรค พยายาม หาให้พบว่าสิ่งที่สําคัญของผู้ป่วยจริง ๆ คืออะไร และกระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติได้มีโอกาสสะท้อนความรู้สึกต่างๆ
การปรึกษาทีมpalliativecareของโรงพยาบาลนั้นๆมาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ICU admission after hospital stay at least 10 days
Multi-system/organ failure at least three systems
Diagnosis of active stage IV malignancy (metastatic disease)
Status post cardiac arrest
Diagnosis of intracerebral hemorrhage requiring mechanical ventilation
Terminal dementia
Surprise question "No"
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบําบัดวิกฤตมีความรู้ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care ให้กับผู้ป่วยทุกคน และถ้าหากเมื่อใดก็ตามมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษาและมีระบบให้คำปรึกษาในโรงพยาบาล ก็ควรให้ทีม palliative care เข้าดูแลร่วมด้วย
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว เพื่อให้ครอบครัว ได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นหเองที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol
หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นท่ีตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความ เป็นตัวตนของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และมุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสําคัญ
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูดจากการศึกษาพบว่าการสนทนาที่แพทย์เป็นฝ่ายฟัง จะสร้างความพอใจให้กับญาติมากกว่าที่แพทย์เป็นฝ่ายพูด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
อาการไม่สุขสบายในผู้ป่วยวิกฤตพบได้หลายอย่าง อย่างไรก็ตามผ้ป่วยกล่มนี้ยังไม่ได้รับการจัดการ อาการอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care คือ การใส่ใจประเมินอาการ และจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่ อาการไม่สุขสบายที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
การวางแผนหรือตั้งเป้าหมายในการรักษานั้นเปrนเรื่องที่แพทย์และทีมสุขภาพ มีบทบาทอย่างมาก เป็นบุคคลสําคัญที่จะช่วยทําขั้นตอนนี้ให้สําเร็จโดยหัวใจสําคัญของการวางแผนการรักษาคือทักษะการสื่อสาร และการพยากรณ์โรค (prognostication)
การดูแลผู้ป่วยท่ีกําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
บรรยากาศในไอซียูมักเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ถ้าหากมีเวลาเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตหลายวัน อาจพิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถเข้าเยี่ยมได้ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัว
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย