Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕
มาตรา ๔
“โรงเรียน” หมายความว่า สถานศึกษาของเอกชนที่จัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในระบบ หรือโรงเรียนนอกระบบ ที่มิใช่เป็นสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
“โรงเรียนในระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกําหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสําเร็จการศึกษาที่แน่นอน
“โรงเรียนนอกระบบ” หมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกําหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสําคัญของการสําเร็จการศึกษา
“นักเรียน” หมายความว่า ผู้รับการศึกษาในโรงเรียน
“ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน
“ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการของโรงเรียนในระบบ
“ผู้อํานวยการ” หมายความว่า ผู้อํานวยการของโรงเรียนในระบบ
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้บริหารของโรงเรียนนอกระบบ
“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทําหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียน
“ผู้สอน” หมายความว่า ผู้ทำหน้าที่ด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในโรงเรียนนอกระบบ
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทําหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในโรงเรียน
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนหรือผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบหมาย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
“ตราสารจัดตั้ง” หมายความว่า ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลของโรงเรียนในระบบ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว้า ข้าราชการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕
พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(๑) สถานศึกษาที่มีนักเรียนรวมกันไม่เกินเจ็ดคน
(๒) สถานศึกษาที่คณะสงฆ์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษาอบรม และสั่งสอนพระธรรมวินัย
(๓) สถานศึกษาอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวงตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
มาตรา ๖
ในกรณีมีเหตุจําเป็นรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการจะประกาศให้โรงเรียนใดได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใดก็ได้
มาตรา ๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกําหนดกิจการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง นั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
มาตรา ๙
ให้กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) และ (๕) มีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสามปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่
มาตรา ๑๐
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) และ (๕) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย
(๔) ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการในประเภทนั้น
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ถูกจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
ในกรณีที่ตําแหน่งกรรมการว่างลง และยังมิได้ดําเนินการให้ได้มาซึ่งกรรมการแทนตําแหน่งที่ว่างให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๘
ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลางและอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
(๓) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนสมาคมเกี่ยวกับโรงเรียนเอกชนสองคน
(๔) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ได้รับคัดเลือกจากผู้รับใบอนุญาต ผู้อํานวยการ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ฝ่ายละหนึ่งคน
(๕) กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิสี่คน ในจํานวนนั้นจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษสําหรับคนพิการหนึ่งคน
ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นกรรมการและเลขานุการ
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการตาม (๓) (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๑๑
ในกรณีที่กรรมการตามมาตรา ๘ (๓) (๔) หรือ (๕) พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ ให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่โดยเร็ว เว้นแต่วาระการดํารงตําแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดําเนินการแต่งตั้งแทนก็ได้ และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม้อยู่ในตําแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒
ให้นํากฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับการประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาเอกชน การพัฒนาและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
(๒) กํากับดูแลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กําหนดมาตรฐานและแผนพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเอกชน
(๔) กําหนดมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียน ครู ผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตาม (๑)
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานของโรงเรียน
(๖) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการวินิจฉัยการร้องทุกข์และการคุ้มครองการทํางาน
(๘) ออกระเบียบเกี่ยวกับการยื่นอุทธรณ์ การรับอุทธรณ์ วิธีพิจารณาอุทธรณ์และกําหนดเวลาพิจารณาอุทธรณ์
(๙) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๑๐) ปฏิบัติงานอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกําหนดหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๔
ให้มีสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง และรับผิดชอบการดําเนินงานของสํานักงานคณะกรรมการส้งเสริมการศึกษาเอกชน
สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบงานธุรการ และสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการ
(๒) เสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาการศึกษาเอกชนต่อคณะกรรมการ
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาเพื่อประกันคุณภาพการศึกษาเอกชน
(๔) รับผิดชอบการดําเนินการเกี่ยวกับกองทุน
(๕) ดําเนินการจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาเอกชนตามมาตรการที่คณะกรรมการกําหนดตามมาตรา ๑๓ (๔)
(๖) เป็นศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนข้อมูล และทะเบียนกลางทางการศึกษาเอกชนตลอดจนติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาเอกชน
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๑๕
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใดในจังหวัดสมควรมีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน และจังหวัดที่ถือว่าเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนด
ในกรณีที่จังหวัดใดมีความจําเป็นต้องมีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษามากกว่าหนึ่งเขตพื้นที่การศึกษาให้กระทําได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ โดยคํานึงถึงความสะดวก การประหยัด และความเป็นเอกภาพของนโยบายการศึกษาเอกชน
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชน ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้มีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนเป็นส่วนราชการในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตใดเขตหนึ่ง มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชนที่อยู่ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๑๖
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใดมีกลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชนตามมาตรา ๑๕ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานั้นมีกรรมการเพิ่มขึ้นอีกสองคน โดยเป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาตหนึ่งคนและผู้แทนครูหนึ่งคน
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้แทนครูตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
หมวด ๒
โรงเรียนในระบบ
ส่วนที่ ๑
การจัดตั้งและเปิดดําเนินการ
มาตรา ๑๗
ประเภทและระดับของโรงเรียนในระบบ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๘
การจัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตแต่ละประเภทและแต่ละระดับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องแนบตราสารจัดตั้งและรายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบมาพร้อมกับคําขอด้วย
มาตรา ๑๙
ตราสารจัดตั้งตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุประสงค์
(๒) ชื่อ ประเภท ระดับ ของโรงเรียนในระบบ
(๓) รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ตั้ง และแผนผังแสดงบริเวณและอาคารของโรงเรียนในระบบ
(๔) เงินทุนและทรัพย์สินที่ใช้ในการจัดตั้ง
(๕) รายการอื่นตามที่กําหนดในพระราชบัญญัตินี้และที่กําหนดในกฎกระทรวง
ผู้อนุญาตจะต้องพิจารณาคําขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ยื่นคําขอ
ผู้รับใบอนุญาตจะเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่งไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐
รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบตามมาตรา ๑๘ วรรคสอง อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการและแผนการดําเนินงาน
(๒) หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการศึกษา
(๓) อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่น
(๔) คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าสอน ค่าชดเชย ค่าตอบแทน หลักเกณฑ์การจ้างและเลิกจ้าง และสวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่ง (๒) ให้กระทําได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
การเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๓) และ (๔) ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
มาตรา ๒๑
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
(๔) มีความประพฤติเรียบร้อยไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๕) เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๖) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๗) ไม่เคยถูกออกจากราชการโดยมีความผิด เว้นแต่ได้ถูกออกจากราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
(๘) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน เว้นแต่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
(๙) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๑๐) ไม่เคยได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกและได้พ้นโทษมาแล้วไม่ถึงห้าปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๒๒
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่เป็นนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา เว้นแต่นิติบุคคลที่ขอจัดตั้งนั้นเป็นองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
(๒) นิติบุคคลที่เป็นบริษัทมหาชนจํากัด บริษัทจํากัดหรือห้างหุ้นส่วน ต้องมีจํานวนหุ้นหรือทุนเป็นของผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนหุ้นหรือทุนทั้งหมด และจะต้องมีจํานวนผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(๓) นิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการบริหารทั้งหมด
(๔) นิติบุคคลที่เป็นสมาคมหรือสหกรณ์ จะต้องมีกรรมการที่มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด และสมาชิกของสมาคมหรือสหกรณ์ต้องมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมด
(๕) ผู้จัดการของนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑
มาตรา ๒๓
ผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบต้องมีหลักฐานแสดงได้ว่าเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว โรงเรียนจะได้รับการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือสิทธิเหนือพื้นดินหรือสิทธิเก็บกินที่มีกําหนดเวลาไม่น้อยกว่าสิบปีหรือสิทธิการเช่าที่มีสัญญาเช่าไม่น้อยกว่าสิบปี
ในกรณีที่ที่ดินที่จะใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนในระบบเป็นที่ดินของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์หรือองค์กรทางศาสนาอื่นผู้ขอรับใบอนุญาตจะแสดงหลักฐานการอนุญาตให้ใช้ที่ดินอย่างอื่นที่มิใช้สัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าที่มีระยะเวลาน้อยกว่าสิบปีก็ได้
ที่ดินตามวรรคหนึ่งต้องมีขนาดตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๔
เมื่อได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบแล้ว ให้โรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต และให้ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา ๒๕
เมื่อโรงเรียนในระบบเป็นนิติบุคคลตามมาตรา ๒๔ แล้ว ให้ผู้รับใบอนุญาตดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) โอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองในที่ดิน สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกินหรือสิทธิการเช่า ที่ปลอดจากภาระผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในคําขอรับใบอนุญาตให้แก่โรงเรียนในระบบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับใบอนุญาต
(๒) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๘ วรรคสองและที่กําหนดไว้ในใบอนุญาตเฉพาะในส่วนที่ต้องดําเนินการก่อนเปิดดําเนินกิจการโรงเรียนในระบบใหม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนด
(๓) โอนเงินและทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทุนนอกจากที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนด
(๔) ดําเนินการให้มีคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๓๐ ให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ผู้อนุญาตกําหนด
ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ผู้อนุญาตมีอํานาจเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบได้
ในกรณีที่ดินที่จะโอนหรือที่เป็นของโรงเรียนในระบบมีจํานองเป็นประกันหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนในระบบหรือหนี้ของโรงเรียนในระบบ มิให้ถือว่าที่ดินนั้นมีภาระผูกพันตาม (๑)
มาตรา ๒๖
เมื่อผู้รับใบอนุญาตได้ดําเนินการตามมาตรา ๒๕ แล้ว และพร้อมที่จะเปิดดําเนินกิจการโรงเรียนในระบบ ให้แจ้งให้ผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันเปิดดําเนินกิจการ
เมื่อผู้อนุญาตตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้รับใบอนุญาตดําเนินการถูกต้องตามมาตรา ๒๕ ให้แจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบเพื่อเปิดดําเนินกิจการได้ แต้ในกรณีที่ผู้อนุญาตเห็นว่าผู้รับใบอนุญาตยังดําเนินการไม่ถูกต้องตามมาตรา ๒๕ จะสั่งให้โรงเรียนในระบบชะลอการเปิดดําเนินกิจการไปก่อนจนกว่าจะดําเนินการให้ถูกต้องก็ได้ ทั้งนี้ ผู้อนุญาตต้องแจ้งก่อนวันเปิดดําเนินกิจการโรงเรียนในระบบไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตมิได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากผู้อนุญาตตามกําหนดเวลาตามวรรคสองให้โรงเรียนในระบบนั้นเปิดดําเนินกิจการได้ตามกําหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้
มาตรา ๒๗
การโอนกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่โรงเรียนในระบบเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งปวงตามประมวลกฎหมายที่ดินและภาษีอากรตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากรกําหนดไว้
การยกเว้นค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งให้รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์กลับคืนให้กับผู้รับใบอนุญาต เมื่อโรงเรียนในระบบเลิกกิจการ
มาตรา ๒๘
ชื่อของโรงเรียนในระบบต้องใช้อักษรไทยขนาดใหญ่พอสมควรติดไว้ที่บริเวณโรงเรียนในระบบ ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย โดยต้องมีคําว่า “โรงเรียน” ประกอบชื่อด้วย ในกรณีที่มีอักษรต่างประเทศกํากับ ต้องไม่มีขนาดใหญ่กว่าอักษรไทย
มาตรา ๒๙
โรงเรียนในระบบอาจจัดตั้งสาขาได้ การจัดตั้ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
ห้ามไม่ให้โรงเรียนในระบบกระทําการใดให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าเป็นตัวแทน เครือข่ายหรือสาขาของโรงเรียนในระบบ สถาบันหรือสถานศึกษาอื่นในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต
มาตรา ๓๐
ให้โรงเรียนในระบบมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้รับใบอนุญาตผู้จัดการ ผู้อํานวยการ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู และผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยหนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคนเป็นกรรมการ ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลเดียวกับผู้จัดการหรือผู้อํานวยการ หรือเป็นบุคคลเดียวกันทั้งสามตําแหน้ง ให้ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหรือสองคน แล้วแต่กรณี
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหากรรมการ การเลือกประธานกรรมการ วาระการดํารงตําแหน่งและการพ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในตราสารจัดตั้ง
ในวาระเริ่มแรกที่จัดตั้งโรงเรียนในระบบและยังไม่มีผู้แทนผู้ปกครองให้คณะกรรมการบริหารตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยกรรมการอื่นเท่าที่มีอยู่
มาตรา ๓๑
ให้คณะกรรมการบริหารของโรงเรียนในระบบมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของโรงเรียนในระบบ
(๒) ให้ความเห็นชอบนโยบาย และแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในระบบ
(๓) ให้คําแนะนําการบริหารและการจัดการโรงเรียนในระบบด้านบุคลากร แผนงาน งบประมาณวิชาการ กิจกรรมนักเรียน อาคารสถานที่ และความสัมพันธ์กับชุมชน
(๔) กํากับดูแลให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนในระบบ
(๕) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้อํานวยการ
(๖) ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงินครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันเกินร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าของทรัพย์สินที่โรงเรียนในระบบมีอยู่ขณะนั้น
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารไม่ให้ความเห็นชอบการกู้ยืมเงิน คณะกรรมการตองเสนอทางเลือกที่ปฏิบัติได้ให้แก่โรงเรียนในระบบด้วย เว้นแต่คณะกรรมการจะเห็นว่าการกู้ยืมเงินนั้นมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการดําเนินกิจการโรงเรียนในระบบ
(๗) ให้ความเห็นชอบการกําหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบ
(๘) ให้ความเห็นชอบรายงานประจําปี งบการเงินประจําปี และการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(๙) พิจารณาคําร้องทุกข์ของครู ผู้ปกครองและนักเรียน
(๑๐) ดําเนินการอื่นตามที่กฎหมายระบุให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
มาตรา ๓๒
การกําหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นของโรงเรียนในระบบให้คํานึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดการการศึกษา ค่าตอบแทนครูที่มีความรู้และความสามารถที่ดี และค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขยายกิจการและผลตอบแทน
ผลตอบแทนตามวรรคหนึ่งต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามวรรคหนึ่งให้ประกาศไว้ในที่เปิดเผยในโรงเรียนในระบบ และโรงเรียนในระบบจะเรียกเก็บเงินอื่นใดจากผู้ปกครองหรือนักเรียนนอกจากที่กําหนดตามวรรคหนึ่งไม่ได้
มาตรา ๓๓
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการกําหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นตามมาตรา ๓๒ ของโรงเรียนในระบบมีลักษณะเป็นการแสวงหากําไรเกินควร และโรงเรียนในระบบดังกล่าวไม่สามารถแสดงได้ว่ามิได้เป็นการแสวงหากําไรเกินควร คณะกรรมการมีอํานาจสั่งให้ลดค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา ๓๔
ในกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าธรรมเนียมอื่นที่โรงเรียนในระบบกําหนดตามมาตรา ๓๒ เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร จะสั่งให้โรงเรียนในระบบลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวลงตามที่เห็นสมควรก็ได้
มาตรา ๓๕
โรงเรียนในระบบใดไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาหรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาต่ำกว่าอัตราที่พึงเรียกเก็บตามที่คํานวณได้ตามมาตรา ๓๒ เพราะเหตุเป็นโรงเรียนการกุศลหรือเพื่อให้ผู้ยากไร้ได้รับการศึกษา ให้กระทรวงศึกษาธิการอุดหนุนทางการเงินและให้ความช่วยเหลือด้านอื่นเพื่อให้โรงเรียนในระบบดังกล่าวสามารถดําเนินการต่อไปได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๖
คณะกรรมการบริหารต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละภาคการศึกษาปกติ
การประชุมของคณะกรรมการบริหาร ให้นําความในมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๗
ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งผู้อํานวยการคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการโรงเรียนในระบบ และแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบพร้อมกับส่งหลักฐานการแต่งตั้งผู้อํานวยการภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแต่งตั้ง
ผู้อํานวยการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และสามารถทํางานให้กับโรงเรียนในระบบได้เต็มเวลา
ผู้รับใบอนุญาตจะทําหน้าที่เป็นผู้อํานวยการโดยไม่แต่งตั้งผู้อํานวยการตามวรรคหนึ่งก็ได้
มาตรา ๓๘
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๗ วรรคสาม ผู้รับใบอนุญาตจะแต่งตั้งรองผู้อํานวยการคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้อํานวยการมอบหมายก็ได้
รองผู้อํานวยการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับผู้อํานวยการ
มาตรา ๓๙
ผู้อํานวยการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลรับผิดชอบงานด้านวิชาการของโรงเรียนในระบบ
(๒) แต่งตั้งและถอดถอน ครู บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนในระบบตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
(๓) ควบคุมปกครองครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนของโรงเรียนในระบบ
(๔) จัดทําทะเบียนครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ นักเรียน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
(๕) จัดทําหลักฐานเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษาตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเกี่ยวกับวิชาการตามระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ รวมทั้งตราสารจัดตั้ง นโยบาย ระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียน และหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๐
ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งผู้จัดการคนหนึ่ง มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลรับผิดชอบงานด้านงบประมาณของโรงเรียนในระบบ
(๒) ดูแลรับผิดชอบการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนในระบบ
(๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นอันเกี่ยวกับการบริหารงานตามตราสารจัดตั้ง นโยบาย ระเบียบ และข้อบังคับของโรงเรียนในระบบ และหน้าที่อื่นตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับใบอนุญาตจะทําหน้าที่ผู้จัดการโดยไม่แต่งตั้งผู้จัดการตามวรรคหนึ่งก็ได้
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งผู้จัดการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๑
ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นบุคคลธรรมดาและไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่าในกรณีใดให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๑ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หากมิได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนไว้ ให้ผู้อํานวยการเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน