Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด - Coggle Diagram
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สาเหตุ
เป็นอาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น
เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทาให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทาให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้น เช่นภาวะไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่จัด, โรคความดันโลหิตสูง , โรคเบาหวาน , โรคเกาต์ , ความอ้วน, การขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติว่ามีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
อาการ
เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้
อาการเจ็บมักร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทางาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที
อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนอาจมีอาการใจสั่น หอบเหนื่อย ร่วมด้วย
การรักษา
การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ
การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน
การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน
4.การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการรักษาทางยาส่วนใหญ่มักได้ผลดี แต่ในภาวะรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาโดยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ หรือผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือด
การปฏิบัติตัว
รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง
รับประทานผัก ผลไม้และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร
รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง
ควรออกกำลังกายอย่างสม่าเสมอ และการออกกำลังกายที่ดีที่สุด คือการเดิน
ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด
งดดื่มสุรา น้ำชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนานๆ
เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้น ๆ ทันทีและอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้าได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ได้ทันที
การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควนหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน - กะทิ รวมทั้งไข่แดง
ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ
ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและเพิ่มความถี่ในการออกกาลังกาย
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
ตรวจเช็คสุภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์