Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย - Coggle Diagram
บทที่ 8 การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ความหมาย
ข่าวที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิตและอนาคต จะส่งผลรุนแรงเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ความคาดหวัง และความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รวมไปถึงความเชื่อและวัฒนธรรม
การแจ้งข่าวร้าย
แพทย์
เป็นหน้าที่สำคัญของแพทย์ในการแจ้งข่าวร้าย ข้อพิจารณาที่แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดยไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง คือ ผู้ป่วยเป็น
โรคทางจิต เด็ก และมีแนวโน้มจะทำร้ายตนเองหากได้รับข่าวร้าย
พยาบาล
พยาบาลจะคอยรับช่วงต่อ ภายหลังจากการที่แพทย์แจ้งข่าวร้ายแล้ว จะคอยอธิบายหรือรับฟังผู้ป่วยและญาติต่อจากแพทย์
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ในขั้นตอนนี้ผู้ป่วยมักจะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้างหรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาจเพื่อขอต่อเวลาหรือขอให้เกิดปาฏิหารกับตนเองหรือคนในครอบครัว จะเป็นเชิงอ้อนวอน หรือวิงวอน
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับ ความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
ระยะโกรธ (Anger)
เป็นธรรมชาติของการเยียวยาตนเองหลังจากความสูญเสีย ผู้ป่วยจะรู้สึกโกรธ และอาจแสดงปฏิกิริยาก้าวร้าวต่อบุคลากรได้ ดังนั้นบุคลากรควรมีความเข้าใจว่าเป็นหนึ่งในปฏิกิริยาของผู้ป่วย ไม่ควรแสดงปฏิกิริยาตอบโต้หรือเบื่อหน่ายในการที่จะเข้าไปให้การพยาบาล
ระยะยอมรับ (Acceptance)
ผู้ป่วยเริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น จะมีการปรับตัว และเรียนรู้เพื่อจะดำเนินชีวิตต่อไป
ระยะปฏิเสธ (Denial)
ผู้ป่วยจะรู้สึกตกใจ ช็อค และไม่เชื่อผลการตรวจ อาจขอย้ายโรงพยาบาลเพื่อไปตรวจวินิจฉัยยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
บทบาทพยาบาล
ให้ความช่วยเหลือให้ผู้ป่วยและญาติผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติด้วยความเข้าใจ โดยไม่ตัดสินในระยะที่ผู้ป่วยโกรธ
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจด้วยความเห็นอกเห็นใจ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริงที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเอง โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิต จะทำให้ผู้ป่วยและญาติรู้สึกมีคุณค่า และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้
ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย เช่น ควบคุมความเจ็บปวดของผู้ป่วย ให้สุขสบายที่สุด
ให้ความเชื่อมั่นว่าบุคลากรทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ เพื่อความสุขทางใจของผู้ป่วยและญาติ
ช่วยเหลือจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
สัมพันธภาพทางสังคมไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่สามารถยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงได้
ภาวะซึมเศร้าเนื่องจากไม่สามารถแสดงบทบาทหัวหน้าครอบครัวได้จากการเจ็บป่วยรุนแรง
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกำลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
ท้อแท้ ผิดหวังต่อโชคชะตาเนื่องจากคิดว่าถูกพระเจ้าลงโทษหรือไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสิงศักดิ์สิทธิ์
การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสำคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
Palliative care
ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย ไม่ใช่การุณฆาต แต่เป็นการยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น และยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย palliative care
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อย
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษา
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Multidisciplinary team
ทั่วไป
ดูแลอย่างเป็นองค์รวม
ICU
ดูแลเฉพาะสาขาที่ตนรับผิดชอบ ไม่เป็นองค์รวม
ผู้ป่วยมีแนวโน้มถูกละเลย
ทั่วไป
ดูแลแบบองค์รวม
ICU
เน้นที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ความไม่แน่นอนของอาการ
ทั่วไป
อาการขึ้นอยู่แต่ละบุคคล โรค การรักษา
ICU
มีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
ทรัพยากรมีจำกัด
ทั่วไป
มักไม่ค่อยได้ใช้อุปกรณ์เฉพาะบ่อยเท่า ICU
ICU
มีอุปกรณ์จำกัด จะพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นก่อน
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ทั่วไป
มักเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับการดูแลแบบ palliative มาก่อนหน้า
ICU
ขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลง
อย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้น ไม่ต้องการการรักษาแบบ palliative care
สิ่งแวดล้อม
ทั่วไป
หากเป็นห้องพิเศษจะมีความเป็นส่วนตัว แต่หากเป็นวอร์ดธรรมดา ก็จะมีเสียงหรือแสงรบกวนคล้ายกับ ICU
ICU
พลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา
Professional culture
ทั่วไป
ทีมสุขภาพจะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยรอดชีวิต
ICU
เกิดความกังวลจากหน้าที่การงานได้ง่าย เนื่องจากการรักษาที่ส่งมอบให้ผู้ป่วยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ปรึกษาทีม palliative care มาร่วมดูแล
ข้อดี
เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
สามารถลดอัตราการครองเตียงได้
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
ลดการเกิด “ICU strain” หรือ ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน
ประโยชน์ในการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซียู
ข้อจำกัด
ทีม palliative care อาจไม่ได้มีในทุกโรงพยาบาล
อาจเกิดปัญหาระหว่างผู้ร่วมงานกันเอง
แบบผสมผสาน
บุคลากรในไอซียูควรมีความรู้ในเรื่องของ palliative care แต่หากมีทีมก็ควรให้เป็นหน้าที่ของทีม palliative care
ทีมไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
ข้อดี
ทุกคนจะได้รับการดูแลแบบ palliative care
ข้อเสีย
ยังไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดอัตราการครองเตียงได้
หลัก ABCD
Compassion มีความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
Behavior การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ ควรให้ความสำคัญไม่รีบร้อน
Attitude ทัศนคติต้องพิจารณาเป็นรายเคส ไม่ใช่ทุกคน
Dialogue เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย ไม่เน้นโรค
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
การวางแผนการรักษา
บางครั้งอาจไม่ใช่การประชุมเพียงครั้งเดียว เนื่องจากญาติบางคนอยากจะยื้อชีวิตของคนในครอบครัวให้นานที่สุด หากการยื้อชีวิตผู้ป่วยในการ CPR หรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่ส่งผลดีต่อการรักษา ควรบอกครอบครัวอย่างสุภาพ หากการรักษาทั้งหมดที่ทำมาไม่สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้อีก
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ปิดเครื่องหรือถอดอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ
หยุดเจาะเลือด
ปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย
นำสายต่างๆที่ไม่จำเป็นออก
ให้ยาแก้ปวดหรือยานอนหลับที่ควรได้รับตามอาการ
อธิบายอาการที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนี้ให้ครอบครัวทราบ
แพทย์ควรเข้าไปเยี่ยมเป็นระยะเพื่อประเมินอาการ
ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะทำได้ ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่กับผู้ป่วยเท่านั้น
การจัดการอาการไม่สุขสบาย
หัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care คือ การใส่ใจประเมินอาการและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้
การสื่อสาร
มีความเห็นใจครอบครัว
สนทนาควรเน้นที่ตัวของผู้ป่วยมากกว่าโรค
ฟังอย่างตั้งใจและเปิดโอกาสให้ครอบครัวเสนอความคิดเห็น
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้คิดทบทวน
เลี่ยงการใช้คำศัพท์แพทย์
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
ปิดเครื่องมือสื่อสาร และพูดคุยกับครอบครัวในสถานที่ส่วนตัว
แบ่งช่วงเวลาที่จะพูดคุยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การเริ่มประชุมครอบครัวควรทำอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
ควรมีแผ่นพับแนะนำถึงการเตรียมตัวก่อนการประชุมครอบครัว