Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
8.2 การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU) -…
8.2 การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต
(End of life care in ICU)
หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติหรือไอซียู
มีศักยภาพสูงในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต
จุดประสงค์
การรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยรอดพ้นภาวะวิกฤต
เพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้สูงขึ้น
การดูแลรักษาของทีมแพทย์และพยาบาล
การมุ่งรักษาให้ผู้ป่วยหาย
ไม่ได้มุ่งเน้นที่การหายจากตัวโรค
การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
palliative care
เป้าหมาย
เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต
โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์
ประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ
นิยามของ palliative care
ไม่ใช่การเร่งการตาย ไม่ยื้อความตาย
การยอมรับสภาวะที่เกิดขึ้น
ยอมให้ผู้ป่วยเสียชีวิตตามธรรมชาติ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย palliative careในหอผู้ป่วยวิกฤต
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบาย
ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture
บุคลากรของทีมสุขภาพ
คุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วย
มุ่งให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
ภาวะหมดไฟ (burn out)
เกิดความกังวลจากหน้าที่การงานได้ง่าย
การรักษาที่ส่งมอบให้ผู้ป่วยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย
ส่งผลเสียต่อทรัพยากรบุคคลในภาพรวม
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลง
อย่างเฉียบพลัน
ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง
ความไม่แน่นอนของอาการ
มีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
ผู้ป่วย ครอบครัว และทีมสุขภาพ
อาจเข้าใจว่าเมื่อแย่ลงก็จะสามารถกลับมาดีขึ้นเหมือนเดิมได้
อาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป
Multidisciplinary team
ทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา
แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ
ไม่ได้มองผู้ป่วยแบบองค์รวม
ไม่ได้รับการดูแลแบบ palliative care
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มถูกละเลย
เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
พิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้น
ลดอัตราการครองเตียงในหอผู้ป่วยวิกฤติ
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ไอซียูเป็นหอผู้ป่วยที่มีอัตราการตายสูง
แต่สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย
มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา
ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การสื่อสาร
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อดี
ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลแบบ palliative care
ข้อจำกัด
องค์ความรู้ด้าน palliative care ของแพทย์แต่ละสาขาพี่ทำงานในไอซียูยังไม่เท่ากัน
หลัก “ABCD”
Attitude
ทัศนคติของทีมสุขภาพ
การนำประสบการณ์หรือทัศนคติของทีมผู้ดูแลมาใช้กับผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยควรพิจารณาเป็นรายบุคคล
คำนึงเสมอว่าผู้ป่วยและญาติก็อาจจะมีทัศนคติหรือประสบการณ์ที่ต่างไปจากมุมมองของทีมสุขภาพ
Behavior
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติ
ปฏิบัติอย่างให้เกียรติ ทั้งวัจนะ และอวัจนะภาษา
ขณะพูดคุยหรือประชุมครอบครัว
ควรให้ความสำคัญ สบตา หลีกเลี่ยงศัพท์ทางการแพทย
Compassion
ความปรารถนาที่จะช่วยให้ผู้ป่วยและญาติไม่ทุกข์ทรมาน
หาให้พบว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยนั้นกระทบผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง
ทั้งทางกาย จิตใจ และเศรษฐกิจ
เมื่อพบแล้วก็ควรพยายามแก้ไขให้ดีขึ้น
Dialogue
เนื้อหาของบทสนทนาควรมุ่งเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วย
มิใช่ตัวโรค
พยายามหาให้พบว่าสิ่งที่สำคัญของผู้ป่วยจริงๆ คืออะไร
กระตุ้นให้ผู้ป่วยและญาติได้มีโอกาสสะท้อนความรู้สึกต่าง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
ลดการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
สามารถลดการเกิดปัญหาระหว่างทีมสุขภาพกับครอบครัวได้
สามารถลดอัตราการครองเตียงในไอซียูได้
ลดการเกิด “ICU strain”
ความเครียดที่เกิดจากการทำงานในไอซียู
เป็นผลเสียต่อการรักษาผู้ป่วย
ทีม palliative care เป็นทีมที่ชำนาญมีความรู้
เป็นประโยชน์ต่อการดูแลต่อเนื่องหลังจากออกจากไอซียู
เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจไม่ต้องการรักษาตัวในไอซียู
ทีม palliative care สามารถให้ดูแลต่อเนื่องหลังย้ายออกจากไอซียู
หอผู้ป่วยทั่วไป หรือที่บ้าน
การดูเเลแบบไม่มีรอยต่อ
แบบผสมผสาน
แพทย์เวชบำบัดวิกฤตมีความรู์ความสามารถในการดูแลแบบ palliative care
เมื่อใดก็ตามมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษาและมีระบบให้คำปรึกษาในโรงพยาบาล
ควรให้ทีม palliative care เข้าดูแลร่วมด้วย
องค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
เพื่อให้ครอบครัวได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และมีการเตรียมตัวมาก่อนล้วงหน้า
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว ไม่มีการรบกวน
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจ
ให้เสนอความคิดเห็น
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
เปิดโอกาสให้ครอบครัวเล่ารายละเอียดความเป็นตัวตนของผู้ป่วย
มุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับเป็นสำคัญ
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
ฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
วันที่ 1
หาดูว่าใครคือผู้แทนทางสุขภาพของผู้ป่วย
หรือใครจะเป็นผู้ตักสินใจการรักษาหลัก
สอบถามว่าผู้ป่วยเคยทำพินัยกรรมชีวิตหรือไม่
ให้แผ่นพับ ข้อมูลการรักษาตัวในไอซียู
ประเมินอาการไม่สุขสบายเสมอ
จัดอาการไม่สุขสบายต่างๆ
วันที่ 3
สำรวจความต้องการจองผู้ป่วยและครอบครัว
สอบถามถึงเ้าประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยครั้งนี้
เสนอการช่วยเหลือทางจิตวิญญาณ
การเสนอพิธีกรรมทางศาสนา
เสนอการช่วยเหลือทางสังคม
ถ้าหากผู้ป่วยอาการแย่ลงใน3 วันแรก
อาจเริ่มวางแผนสุขภาพในอนาคต
วันที่ 5
นัดทำการประชุมครอบครัวกับทีมสุขภาพ
สรุปประเด็นเป้าประสงค์ในการรักษาผู้ป่วยครั้งนี้
เสนอการช่วยเหลือทางจิตวิญญาณ
เสนอการช่วยเหลือทางสังคม
ถ้าหากผู้ป่วยอาการยังไม่ดีขึ้น
ควรเริ่มวางแผนสุขภาพในอนาคต
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการ
การจัดการการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
หอบเหนื่อย
ปวด
ภาวะสับสน
การวางแผนหรือการตั้งเป้าหมายการรักษา
แพทย์เป็นผู้ให้ข้อมูลโรคหรือสภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ผลการรักษาที่น่าจะเป็นไปได้อย่างครบถ้วน
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องติดตามการเต้นหัวใจ
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
สารอาหารทางหลอดเลือด น้ำเกลือ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ
นำสายต่างๆที่ไม่จำเป็นออก
สายให้อาหารทางจมูก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)
เนื่องจากเป็นยาที่บดบังความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
มอร์ฟีน ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine ยาลดเสมหะ
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
วิธีการจัดการช่วงเวลานี้
แพทย์ควรทำการเข้าเยี่ยมบ่อยๆ
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
เป็นการทำให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิต
ทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย
ดังนั้นไม่ควรพูดคำบางคำ “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้”
เอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและจิตใจผู้สูญเสีย
มีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อปรึกษาปัญหา