Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพแบบข้ามวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางวัตถุ
หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุนั้นเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์ เช่น ถ้วยชาม จาน ช้อน
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะประเพณีขนบธรรมเนียมการปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับว่าดีงามเหมาะสมเช่น ความคิด ความเชื่อ ภาษา
องค์ประกอบของวัฒนธรรม
องค์วัตถุ (Material)
ทั้งที่เป็นเครื่องมือและสัญลักษณ์ หมายถึงวัฒนธรรมในด้านวัตถุที่มีรูปร่างสามารถจับต้องได้เช่นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
องค์การหรือสมาคม (Organization หรือ Association)
หมายถึง วัฒนธรรมในส่วนของการจัดระเบียบเป็นองค์การ มีโครงสร้างซึ่งสามารถมองเห็นได้ มีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับ วิธีประพฤติปฏิบัติขององค์การ เช่น สถาบันทางสังคมต่างๆ
องค์พิธีหรือพิธีการ (Usage หรือ Ceremony)
หมายถึงวัฒนธรรมในส่วนของพิธีที่มนุษย์สร้างขึ้นนับตั้งแต่การเริ่มต้นของชีวิตคือการเกิดจนกระทั่งตาย เช่น พิธีรับขวัญเด็ก
องค์มติหรือมโนทัศน์ (Concepts)
หมายถึง วัฒนธรรมในด้านความคิดความเชื่อและอุดมการณ์ต่างๆซึ่งส่วนใหญ่ได้รับมาจากคำสอนทางศาสนา เช่น ความเชื่อในเรื่องบาปบุญ
ลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของวัฒนธรรม
1) วัฒนธรรมเป็นความคิดร่วม (Shared ideas) และค่านิยมทางสังคมเป็นตัวกำหนดมาตรฐานพฤติกรรม เช่น บายศรีสู่ขวัญ
2) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้ (Culture is learned) ซึ่งมนุษย์จะเรียนรู้ที่ละเล็กทีละน้อยในสังคมจนกลายเป็น มรดกสังคม
3) วัฒนธรรมมีพื้นฐานมาจากการใช้สัญลักษณ์ (Symbol) ซึ่งกล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์มีต้นกำเนิดมาจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น เงินตรา สัญญาณจราจร และภาษา ซึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้และถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
4) วัฒนธรรมเป็นองค์รวมของความรู้และภูมิปัญญาทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ใช้สมุนไพรรักษาโรค
5) วัฒนธรรมคือกระบวนการที่มนุษย์นิยามความหมายให้กับชีวิตและสิ่งต่างๆ
6) วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม
2) การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ค่านิยมของสังคมเจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
3) ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
4) ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมเพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของการคำรงชีวิต
5) ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
6) ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
7) ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์
วัฒนธรรม
หมายถึง ความเจริญงอกงามที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ สืบทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งจนกลายเป็นแบบแผน ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีอิสรภาพ
คุณค่าความเชื่อค่านิยมทางสังคมที่
มีผลต่อหลักในการดำเนินชีวิต
ความเชื่อ
หมายถึง การยอมรับคำอธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่บุคคลได้รับรู้และเรียนรู้ร่วมกันในสังคม และสืบทอดต่อกันมาจนเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมของสังคมนั้นด้วย อาจมีเหตุผลหรือไม่มี หรือหลักฐานมาสนับสนุนก็ได้
ประเภทของความเชื่อ
1) ความเชื่อในสิ่งที่ปรากฏอยู่จริง เช่น เชื่อว่าพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
2) ความเชื่อขั้นพื้นฐานของบุคคลมี2ลักษณะคือ เกิดจากประสบการณ์ตรง และเกิดจากการแลกเปลี่ยน
3) ความเชื่ความเชื่อแบบประเพณี เช่น ในภาคเหนือเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับผีและอำนาจเหนือธรรมชาติ
4) ความเชื่อแบบเป็นทางการ เช่น ความเชื่อที่มีต่อล่ะคำสอนในพระพุทธศาสนา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลความเชื่อ
1) ปัจจัยทางด้านจิตยา ได้แก่ การรับรู้ และการเรียนรู้
3) ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การขัดเกลาทางสังคม
การควบคุมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
2) ปัจจัยทางด้านบุคคล ได้แก่ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค
และวิธีการดูแลสุขภาพ
1) ความเชื่อแบบอำนาจเหนือธรรมชาติและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่นความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของผีการดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ใช้การประกอบพิธีกรรมเป็นหลัก
2) ความเชื่อแบบพื้นฐานและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการขาดสมดุลธาตุ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศ พี่ วิธีการดูแลสุขภาพแบบพื้นฐานจะมีการตั้งขันข้าวเป็นการไหว้ครูเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการรักษา
3) ความเชื่อแบบการแพทย์แผนตะวันตกและวิธีการดูแลสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรค วิธีการดูแลสุขภาพจะมีการวินิจฉัยหาสาเหตุความเจ็บป่วย
4) ความเชื่อในการดูแลสุขภาพในช่วงเปลี่ยนผ่านช่วงการชีวิต เช่น ระยะหลังคลอดความเชื่อเกี่ยวกับระยะนี้ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องกรรม การดูแลสุขภาพ ได้แก่ การอยู่ไฟ
ค่านิยมทางสังคม
ค่านิยมทางสังคม
หมายถึง ความคิด ความเชื่อ ความนิยม รวมทั้งพฤติกรรมและแบบแผนในการปฏิบัติ
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดค่านิยมทางสังคม
ครอบครัว
เป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างค่านิยมให้แก่บุคคล เพราะครอบครัวเป็นหน่วยแรกที่อบรมสั่งสอนพฤติกรรมสังคมให้แก่คนตั้งแต่เกิดจนโต
โรงเรียน
มีส่วนในการสร้างค่านิยมอันถูกต้องให้แก่เด็กเป็นอย่างมาก ในการสั่งสอนให้เด็กเกิดความคิด ความเชื่อ อันนำไปสู่แบบแผนการมีพฤติกรรมที่ดี
สถาบันศาสนา
มีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมและศีลธรรมอันถูกต้อง
สังคมวัยรุ่น และกลุ่มเพื่อน
และกิจกรรมที่ทำ
สื่อมวลชน
ปัจจุบันบุคคลได้รับความรู้และความคิดจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก บุคคลก็นำความรู้และความคิดเหล่านั้นไปยึดถือ
องค์การของรัฐบาล
รัฐควบคุมโรงเรียนและสนับสนุนสถาบันศาสนาให้ทำหน้าที่ด้านนี้ และยับตรากฎหมายให้สิทธิ์ครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็กการเผยแพร่ข่าวสารของสื่อมวลชนก็ควบคุมโดยรัฐ
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพและการแสวงหาการรักษาของประชาชนในภูมิภาคต่างๆของโลก
วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ
หมายถึง ความคิดความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่เชื่อมโยงตั้งแต่การดูแลสุขภาพตนเองการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านไปจนถึงการดูแลสุขภาพที่อยู่อาศัยความรู้วิทยาการหรือเทคโนโลยี
ประเภทของวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
1)วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะปกติ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การกินอาหารประเภทน้ำพริกผักจิ้มและธรรมชาติ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรค เช่น การบริโภคอาหารปรุงสุก
2) วัฒนธรรมการดูแลสุขภาพในสภาวะเจ็บป่วย
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค ในแต่ละสังคมต่างมีระบบการดูแลสุขภาพที่เชื่อมโยงกัน 3 ประเภท ได้แก่|ระบบดูแลสุขภาพภาคประชาชนแบบพื้นบ้าน และแบบวิชาชีพ
วัฒนธรรมเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น การดูแลการพักฟื้นของผู้ป่วยจากคนในครอบครัว
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
แนวคิดหลัก 5 ประการโดยใช้หลักASKED
Awareness
หมายถึง การตระหนักรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม คือ กระบวนการรู้คิดของบุคครากรสุขภาพ ที่เล็งถึงความสำคัญของการให้คุณค่า ความเชื่อ วิถีชีวิต พฤติกรรมและวิธีการแก้ปัญหาของผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรม หากบุคลากรสุขภาพไม่เข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมของตนเองก็จะมีโอกาสที่จะเกิดพฤติกรรมการบริการที่ไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้บริการต่างวัฒนธรรมได้
Skill
หมายถึง การมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรม คือ ความสามารถของบุคลากร ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปัญหาของผู้รับบริการ การประเมินสุขภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง
Knowledge
หมายถึง การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้สามารถศึกษาได้จากศาสตร์ต่างๆ รวมไปถึงลักษณะเฉพาะทางด้านร่างกายชีววิทยาและสรีระวิทยา
Encounter
หมายถึง ความสามารถในการเผชิญในการจัดการกับวัฒนธรรมมีความสามารถในการจัดบริการที่เหมาะสมสำหรับผู้รับบริการที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีการสื่อสารทางวัจนภาษาและอวัจนภาษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
Desire
ความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรสุขภาพที่ทำให้ต้องการเข้าไปสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการดูแลสุขภาพ
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น การให้ทารกกินนมแม่นานถึงสองปี
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่ได้ให้ประโยชน์ เช่น ห้ามหญิงมีครรภ์กินกล้วยแผด
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่แน่ใจว่าให้คุณหรือโทษ เช่น แอฟริกันบางสังคมให้เด็กกินดินหรือโคลน
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ให้โทษ เช่น การกินอาหารสุกๆดิบๆ เป็นสาเหตุของโรคพยาธิ
แนวทางการดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรม
1) ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพ เป็นส่วนของการปฎิบัติการรักษาพยาบาลทางการแพทย์มี
มีการจัดองค์กรที่เป็นทางการ
2)ระบบการดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้าน ใช้อำนาจเหนือธรรมชาติเช่นไสยศาสตร์ หรือที่ไม่ใช่อำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น สมุนไพร
3) ระบบการดูแลสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งถูกปลูกฝังถ่ายทอดกันมาตามทางความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพและความเจ็บป่วย จะได้รับการจัดการโดยตัวผู้ป่วยครอบครัวและเครือข่ายทางสังคมเกิดขึ้นตามการรับรู้และประสบการณ์