Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน - Coggle Diagram
พรบ.ที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิภาพและสุขภาพของประชาชน
๕.๑ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
"สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล
"ปัญญา” หมายความว่า ความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนําไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
“ระบบสุขภาพ” หมายความว่า ระบบความสัมพันธ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ
มาตรา ๕ บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
มาตรา ๖ สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิงตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสม
มาตรา ๗ ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง
มาตรา ๘ ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้
มาตรา ๑๐ เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
มาตรา ๑๑ บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได
หมวด ๒ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาต
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “คสช.”
มาตรา ๑๔ กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา ๑๕ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้ดําเนินการ
มาตรา ๑๖ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามวิธีการที่คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะกําหนด
มาตรา ๑๗ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกําหนด
มาตรา ๑๘ การเลือกกรรมการตามมาตรา ๑๓ ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการ
มาตรา ๑๙ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ซึ่ง คสช. แต่งตั้ง
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา ๒๑ กรรมการตามมาตรา ๑๓ มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีโดยกรรมการตามมาตรา ๑๓ จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๒๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ พ้นจากตําแหน่งเมื่อพ้นจากตําแหน่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๕ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการตามมาตรา ๑๓ พ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการการประชุม คสช. และการปฏิบัติงานของ คสช. ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๒๕ ให้คสช. มีหน้าที่และอํานาจ
หมวด ๓ สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๖ ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๗ ให้สํานักงานมีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา ๒๘ รายได้ของสํานักงาน
มาตรา ๒๙ บรรดารายได้ของสํานักงานตามมาตรา ๒๘ ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนําส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้มีเลขาธิการคนหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารงานของสํานักงานขึ้นตรงต่อ คสช. มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งงานของสํานักงาน และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างในสํานักงาน โดยอาจมีรองเลขาธิการตามจํานวนที่คณะกรรมการบริหารกําหนดเป็นผู้ช่วย สั่งและปฏิบัติงานตามที่เลขาธิการมอบหมายก็ได้
มาตรา ๓๒ ให้เลขาธิการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันมิได้
มาตรา ๓๓ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระแล้ว เลขาธิการพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๓๔ เลขาธิการมีหน้าที่และอํานาจ
มาตรา ๓๕ เงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการให้คณะกรรมการบริหารกําหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๓๗ ให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร
มาตรา ๓๘ การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง การประชุมและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามระเบียบที่คสช. กําหนด
มาตรา ๓๙ คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอํานาจ
หมวด ๔ สมัชชาสุขภาพ
มาตรา ๔๐ การจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นหรือสนับสนุนให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นทีหรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คสช. กําหนด
มาตรา ๔๑ ให้คสช. จัดให้มีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
มาตรา ๔๒ ในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคณะหนึ่งมีจํานวนตามที่คสช. กําหนด
มาตรา ๔๓ ให้คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กําหนดวัน เวลาและสถานที่ในการประชุม ซึ่งต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันประชุม
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประสงค์จะเข้าร่วมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งใด ให้สมัครลงทะเบียนสําหรับการประชุมครั้งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ทีคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนดตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติกําหนด
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐนําไปปฏิบัติหรือนําไปพิจารณาประกอบในการกําหนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ให้เสนอต่อ คสช. เพื่อพิจารณาดําเนินการให้บรรลุผลตามควรแก่กรณีต่อไป
หมวด ๕ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๔๖ ให้คสช. จัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
มาตรา ๔๗ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ หรือมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๑ ให้นําบรรดาข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสํานักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติมาใช้
มาตรา ๕๒ ให้ถือว่าข้าราชการที่โอนมาตามมาตรา ๕๐ ออกจากราชการเพราะทางาเหน็จบํานาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ แล้วแต่กรณีราชการเลิกหรือยุบตําแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยบํา
มาตรา ๕๓ ให้นําความในมาตรา ๕๒ มาใช้บังคับกับการออกจากราชการหรือออกจากงานของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการที่สํานักงานรับเข้าทํางานด้วยโดยอนุโลมแต่ข้าราชการหรือลูกจ้างนั้นต้องแสดงความจํานงเป็นหนังสือสมัครเข้าาทํางานต่อสํานักงานภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๕๔ ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อํานวยการสํำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๕ ในวาระเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาตาม มาตรา ๑๙ ให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ตามหลักเกณฑ์
5.2 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี”หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคําแนะนําของคณะกรรมการหรือคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน แล้วแต่กรณีให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน” หมายความว่า คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล
“สถานบริการ” หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทยหน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆ และสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการกําหนดเพิ่มเติม
หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัตินี้
“เครือข่ายหน่วยบริการ” หมายความว่า หน่วยบริการที่รวมตัวกันและขึ้นทะเบียนเป็นเครือข่ายหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติ
“ค่าบริการ” หมายความว่า เงินที่ผู้รับบริการจ่ายให้แก่หน่วยบริการในการรับบริการสาธารณสุขแต่ละครั้ง
“ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข” หมายความว่า ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ ได้แก่
ค่ากินอยู่ในหน่วยบริการ
ค่าสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
ค่าตรวจวินิจฉัยโรค
ค่าตรวจและรับฝากครรภ์
ค่าบําบัดและบริการทางการแพทย์
ค่ายา ค้าเวชภัณฑ์ค่าอวัยวะเทียม และค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
ค่าทําคลอด
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสํานักงานสาขา แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอํานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ สิทธิการรับบริการสาธารณสุข
มาตรา ๕ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กําหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖ บุคคลใดประสงค์จะใชืสิทธิตามมาตรา ๕ ใหืยื่นคําขอลงทะเบียนต่อสํานักงานหรือหน่วยงานที่สํานักงานกําหนด เพื่อเลือกหน่วยบริการ เป็นหน่วยบริการประจํา
มาตรา ๗ บุคคลที่ได้ลงทะเบียนแล้ว ให้ใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขได้จากหน่วยบริการประจําของตนหรือหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายหน่วยบริการที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๘ ผู้ซึ่งมีสิทธิตามมาตรา ๕ ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา ๖ อาจเข้ารับบริการครั้งแรกทีหน่วยบริการใดก็ได้และให้หน่วยบริการที่ให้บริการแก่บุคคลดังกล่าวจัดให้บุคคลนั้นลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจําตามมาตรา ๖
มาตรา ๙ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคําสั่งใดๆ
มาตรา ๑๐ ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถผู้ใดใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการตามพระราชบัญญัตินี้เมื่อใดแล้ว ให้หน่วยบริการแจ้งการเข้ารับบริการนั้น้
หมวด ๒ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหjงชาติ
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกอบด้วย
ทรงคุณวุฒิจํานวนเจ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อํานวยการiสํานักงบประมาณ
ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหาiส่วนตําบลหนึ่งคนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน โดยให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทคัดเลือกกันเอง
มาตรา ๑๔ กรรมการตามมาตรา ๑๓ จะดํารงตําแหน่งกรรมการตามมาตรา ๔๘ ในขณะเดียวกันมิได
มาตรา ๑๕ กรรมการตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีวาระอยูสในตําแหนสงคราวละสี่ปีและอาจได้รับเลือกหรือแต่งตั้งใหม่อีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินกว่าสองวาระติดต่อกันไม
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่งแล้วกรรมการตามมาตรา๑๓ วรรคหนึ่ง (๓) (๔) (๕) และ (๖) พ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๑๗ การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกําหนดมาตรการในการดําเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ
ให้คําแนะนําต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติน
กําหนดประเภทและขอบเขตในการให่บริการสาธารณสุขที่จําเป็นต่อสุขภาพและการดํารงชีวิตและอัตราค่าบริการสาธารณสุขตามมาตรา ๕
กําหนดหลักเกณฑ์การดําเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ในการถอดถอนเลขาธิการตามมาตรา ๓๑ และกําหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการตามมาตรา ๓๒
ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๔๐
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทําผิดมิได
สนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ
นับสนุนและกําหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนและภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินการแสวงหาผลกําไร
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที่ควบคุมดูแลสํานักงานให้ดําเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้อํานาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบขึ้นคณะหนึ่งมีอํานาจหน้าที่ตรวจสอบการบริหารเงินและการดําเนินงานของสํานักงาน
มาตรา ๒๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการแล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๓ ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๓ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๒๔ ให้มีสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตร
มาตรา ๒๕ ให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร หรือในเขตจังหวัดใกล้เคียง
มาตรา ๒๖ ให้สํานักงานมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว และคณะกรรมการสอบสวน
เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานการบริการสาธารณสุข
จัดให้มีทะเบียนผู้รับบริการ หน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ
จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามที่คณะกรรมการกําหนดให้แก่หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๖
บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีหน่วยบริการประจํา และการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจํารวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วบริการ
กํากับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุขให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกําหนด และอํานวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน
มาตรา ๒๗ ทรัพย์สินของสํานักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๒๘ บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สํานักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสํานักงาน ให็เป็นกรรมสิทธิ์ของสํานักงาน
มาตรา ๒๙ ให้คณะกรรมการเสนอขอรับงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสํานักงาน
มาตรา ๓๐ การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสํานักงานให็เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๓๑ ให้สํานักงานมีเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการของสํานักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๒ เลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่คณะกรรมการกําหนด
ไม่เป็นหรือภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันได้รับแต่งตั้ง ไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้บริหารหรือผู้มีอํานาจในการจัดการหรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญาผู้เข้าร่วมงาน
ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากหนาวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือบริษัทมหาชนจํากัด เพราะทุจริตตาอหน้าที่
ไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจําของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจอื่น หรือกิจการอื่นที่แสวงหากำไร
ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
มาตรา ๓๓ เลขาธิการพ้นจากตําแหน่งเมื่อ
ตาย
ลาออก
ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๒
ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ขาดการประชุมคณะกรรมการเกินสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
คณะกรรมการถอดถอนจากตําแหน่งเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
ถูกเลิกสัญญาจ้าง
มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละสี่ปรและอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๓๕ ให้เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดํารงตําแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดําเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์
มาตรา ๓๖ เลขาธิการมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี
บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสํานักงาน
ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการดําเนินงานของสํานักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบข้อบังคับ ประกาศ ข้อกําหนด นโยบาย หรือมติของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๗ ให้มีสํานักตรวจสอบขึ้นในสํานักงานทําหน้าที่เป็นสํานักงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ
หมวด ๔ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
มาตรา ๓๙ กองทุนประกอบด้วย
เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
เงินที่ได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
เงินที่ได้รับจากการดําเนินการให้บริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้
เงินค่าปรับทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน
ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
เงินหรือทรัพย์สินใดๆ ที่กองทุนได้รับมาในกิจการของกองทุน
เงินสมทบอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔๐ การรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการนําเงินกองทุนไปจัดหาผลประโยชน์เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการกันเงินจํานวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ
มาตรา ๔๓ ภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ให้คณะกรรมการเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา
หมวด ๕ หน่วยบริการและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๔ ให้สํานักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ แล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ เพื่อดําเนินการลงทะเบียนเลือกเป็นหน่วยบริการประจําของตนตามมาตรา ๖
มาตรา ๔๕ ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
ให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งการใช้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยให้ความเสมอภาคและอํานวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณสุขที่จําเป็น
ให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขของผู้รับบริการตามที่ผู้รับบริการร้องขอและตามประกาศที่มีการกําหนดเกี่ยวกับสิทธิของผู้ป่วยและผู้รับบริการโดยไม่บิดเบื้อน
ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับชื่อแพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือผู้รับผิดชอบในการดูแลอย่างต่อเนื่องทางด้านสุขภาพกายและสังคม แก่ญาติหรือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้รับบริการอย่างเพียงพอ
รักษาความลับของผู้รับบริการจากการปฏิบัติหน้าที่ตาม (๑) และ (๒)อย่างเคร่งครัด เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ
มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
หมวด ๖ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
มาตรา ๔๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข” ประกอบด้วย
อธิบดีกรมการแพทย์เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ประธานสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และผู้อํานวยการกองการประกอบโรคศิลปะ
ผู้แทนแพทยสภา ผู้แทนสภาการพยาบาล ผู้แทนทันตแพทยสภา ผู้แทนสภาเภสัชกรรม และผู้แทนสภาทนายความ
ผู้แทนโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนหนึ่งคน
ผู้แทนเทศบาลหนึ่งคน องค์การบริการส่วนจังหวัดหนึ่งคน องค์การบริหารส่วนตําบลหนึ่งคนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นหนึ่งคน
ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทางสาขาสูตินรีเวช สาขาศัลยกรรม สาขาอายุรกรรม และสาขากุมารเวชกรรม สาขาละหนึ่งคน
ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์สาขากายภาพบําบัด สาขาเทคนิคการแพทย์สาขารังสีเทคนิค สาขากิจกรรมบําบัด สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
มาตรา ๔๙ การดํารงตําแหน่ง วาระการดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
มาตรา ๕๐ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี
ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตาม มาตรา ๔๕
กำกับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ในกรณีที่หน่วยบริการนั้นๆ
กำหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กําหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการตามมาตรา ๔๖
กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการร้องเรียนของผู้ซึ่งถูกละเมิดสิทธิจากการใช้บริการและวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
รายงานผลการตรวจตราและการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการต่อคณะกรรมการ
สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจตราและการควบคุมกํากับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
มาตรา ๕๑ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมอบหมายได้
มาตรา ๕๒ ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และคณะอนุกรรมการมีอํานาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือสั่งให้บุคคลใดที่เกี่ยวข้องมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง
มาตรา ๕๓ ให้กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานและอนุกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีกําหนด
หมวด ๗ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๕๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าไปใน สถานที่ของหน่วยบริการ หรือของเครือข่ายหน่วยบริการ ในระหว่างเวลาทําการ เพื่อตรวจสอบ สอบถามข้อเท็จจริง
มาตรา ๕๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจําตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจําตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๕๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๘ การกํากับมาตรฐานหน่วยบริการ
มาตรา ๕๗ ในกรณีที่สํานักงานตรวจสอบพบว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการ ให้บริการสาธารณสุขที่กําหนด ให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนพิจารณา
มาตรา ๕๘ ในกรณีที่ผลการสอบสวนตามมาตรา ๕๗ ปรากฏว่าหน่วยบริการใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรฐานที่กําหนด ให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานดําเนินการ ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่เป็นการกระทําโดยไม่เจตนาให้มีคําสั่งเตือนให้ปฏิบัติโดยถูกต้อง
ในกรณีที่มีเจตนากระทําผิด ให้มีคําสั่งให้หน้วยบริการนั้นชําระค้าปรับทางปกครองเป็นจํานวน ไม่เกินหนึ่งแสนบาท สําหรับการกระทําความผิดแต่ละครั้ง
แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดข้อกล่าวหาหรือข้อ กล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขซึ่งอาจมีส่วนรับผิดชอบในการกระทําผิดของหน่วยบริการ
มาตรา ๕๙ ในกรณีที่ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวกตามสมควรหรือตามสิทธิที่จะได้รับ บริการสาธารณสุขที่กําหนดตามพระราชบัญญัตินี้จากหน่วยบริการหรือหน่วยบริการเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่การกระทําผิดของหน่วยบริการตามมาตรา ๕๘ หรือมาตรา ๕๙ เป็นการกระทํา ผิดร้ายแรงหรือเกิดซ้ําหลายครั้ง ให้เลขาธิการรายงานต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานเพื่อพิจารณา
มาตรา ๖๑ ผู้ร้องเรียนหรือหน่วยบริการที่ได้รับคําสั่งจากคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานตามหมวดนี้ ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหรือวันที่ได้รับทราบ คําสั่ง แล้วแต่กรณี
หมวด ๙ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐาน คณะอนุกรรมการของคณะกรรมการดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติ หน้าที่ตามมาตรา ๕๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้ง ปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๖๕ ในวาระเริ่มแรก มิให้นําบทบัญญัติมาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๑๑ และ มาตรา ๑๒ มาใช้บังคับ จนกว่าจะได้มีการจัดเตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามบทบัญญัติดังกล่าว
มาตรา ๖๖ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และหากไม่แล่วเสร็จให้ขยายระยะเวลาได้ครั้งละหนึ่งปี
มาตรา ๖๗ ให้กระทรวงสาธารณสุขดําเนินการให้มีการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา
มาตรา ๖๙ ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิด รวมทั้งเงินงบประมาณของกระทรวง สาธารณสุข ในส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ไปเป็นของสํานักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๐ ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการใดสมัครใจจะเปลี่ยนไปเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ของสํานักงาน ให้แจ้งความจํานงเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา