Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.3 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด - Coggle…
บทที่ 4.3 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เลือดและส่วนประกอบของเลือด
[1] หลักการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
{1.1} การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral intravenous infusion)
เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้น ๆ ของผิวหนังหรือหลอดเลือดดำที่อยู่ในส่วนปลายของแขนและขา
{1.2} การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำใหญ่
(Central venous therapy)
เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทาง Central line ทางหลอดเลือดดำใหญ่ ๆ ได้แก่ Subclavian vein, Internal & External jugular veins และ Right & Left Nominate veins เป็นต้น
{1.3} การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง
(Implanted vascular access device หรือ venous port)
เป็นการฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง โดยที่ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ เช่น Subclavian vein, Right & Left Nominate veins เป็นต้น
[2] ชนิดของสารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
{2.1} สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution) จะมีความเข้มข้นเท่ากับน้ำนอกเซลล์(Extracellular fluid)
{2.2} สารละลายไฮโปโทนิก (Hypotonic solution) ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่าน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์
{2.3} สารละลายไฮเปอร์โทนิก (Hypertonic solution) เป็นสารน้ำที่มีค่าออสโมลาริตี้ มากกว่า 310 m0sm/l
ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์
[3] ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการหยดของสารน้ำ
ระดับขวดสารน้ำสูงหรือต่าเกินไป
ความหนืดของสารน้ำ
ขนาดของเข็มที่แทงเข้าหลอดเลือดดำ
เกลียวปรับบังคับหยดที่ลื่นมาก
สายให้สารน้ำ มีความยาวมาก มีการหักพับงอหรือถูกกด
การผูกยึดบริเวณหลอดเลือด แน่นหรือตึงเกินไปรวมทั้งการนั่ง หรือนอนทับสายให้สารน้ำ
การเคลื่อนย้ายและการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วย
การปรับอัตราหยดผู้ป่วยเด็กที่เอื้อมมือไปหมุนปรับเล่น หรือญาติผู้ป่วยหมุนปรับเอง
[4] การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
{4.1} การเลือกตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่จะแทงเข็ม
1) เลือกหลอดเลือดดำของแขนข้างที่ผู้ป่วยไม่ถนัดก่อน
2) ให้เริ่มต้นแทงเข็มที่ให้สารน้ำที่หลอดเลือดดำส่วนปลายของแขนก่อน
6) คำนึงถึงชนิดของสารน้ำที่ให้
5) หลีกเลี่ยงการแทงเข็มบริเวณข้อพับต่าง ๆ เพราะจะทำให้หลอดเลือดแตกทะลุง่าย
4) ถ้าจำเป็นต้องผูกยึดแขนและขา ให้หลีกเลี่ยงการแทงเข็มให้สารน้ำ
3) ตรวจสอบบริเวณตาแหน่งที่จะแทงเข็มว่ามีสภาพที่เหมาะสม
เช่น ไม่มีบาดแผล
{4.2} อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ขวดสารน้ำ ต้องเตรียมให้ตรงกับใบสั่งการรักษาและตรวจสอบดูว่าสามารถใช้งานได้ปกติ ไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยรั่ว
2) ชุดให้สารน้ำ (IV Administration set) ใช้เป็นทางผ่านของสารน้ำจาก
ขวดไปสู่หลอดเลือดดำของผู้ป่วยบรรจุในซองที่ปิดผนึกมิดชิดผ่านการฆ่าเชื้อ
3) เข็มที่ใช้แทงเข้าหลอดเลือดดำส่วนปลาย ทำด้วยเทฟล่อน
4) อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เสาแขวนขวดให้สารน้ำ ยางรัดแขน (Tourniquet) แผ่นโปร่งใสปิดตำแหน่งที่แทงเข็ม เป็นต้น
[5] อาการแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
{5.1} ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ (Local complication)
1) การบวมเนื่องจากสารน้ำซึมออกนอก หลอดเลือดดำ (Infiltration)
3) การติดเชื้อเฉพาะที่ (Local infection)
4) หลอดเลือดดำอักเสบ (Phlebitis) ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มบวม
2) การมีเลือดออกและแทรกซึมเข้าใต้ผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม (Extravasations)
{5.2} ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระบบไหลเวียนของเลือด (Systemic complication)
2) การติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia หรือ Septicemia)
3) เกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (Air embolism)
1) การแพ้ยาหรือสารน้ำที่ได้รับ (Allergic reaction)
4) ให้สารน้ำเร็วเกินและมากเกินไป (Circulatory overload)
[6] การใช้กระบวนการพยาบาลในการให้สารน้ำ / การฉีดยา และ การให้สารอาหาร ทางหลอดเลือดดำ
ขั้นตอนที่1 การประเมินสภาพผู้ป่วย
การประเมินด้านร่างกาย
การประเมินด้านจิตใจ
การประเมินสิ่งแวดล้อม
การประเมินแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 2 ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีความพร้อมในการเริ่มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
วางแผนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดาโดยประยุกต์ใช้หลักการ 6 Rights
และหลักความปลอดภัย SIMPLE
ขั้นตอนที่ 4 การปฎิบัติการพยาบาล
ตรวจสอบแผนการรักษา และเขียนชื่อนามสกุลของผู้ป่วย
ตรวจสอบชื่อนามสกุล Rh. ของผู้ป่วย HN กับป้ายชื่อข้างขวด
เตรียมเครื่องใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบรายชื่อนามสกุล เตียงผู้ป่วยให้ตรงกับป้ายข้อมือผู้ป่วยอีกครั้ง
บอกให้ผู้ป่วยทราบโดยอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการให้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ
และลดความวิตกกังวล
ล้างมือให้สะอาด
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การประเมินผลการให้สารน้ำในหลอดเลือดดำ เลือด และส่วนประกอบของเลือด เป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล เป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนามาปรับปรุง
การปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนามา
ปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
[7] อาการแทรกซ้อนจากการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
บวมเนื่องจากมีสารอาหารเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นผิวหนัง (Local infiltration) เกิดขึ้นเมื่อเข็มเคลื่อน
ออกจากหลอดเลือด พบได้บ่อยในหลอดเลือดที่เล็ก บาง หรือผู้ป่วยที่มีกิจกรรมมากๆ
มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในระบบไหลเวียนของเลือด (Embolism) ที่พบบ่อยจะเป็นก้อนเลือด
(thromboembolism) และอากาศ (air embolism)
การให้สารอาหารมากเกินไป (Circulatory overload)
ไข้ (pyrogenic reactions) เกิดจากมีสารแปลกปลอมซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนเข้าสู่กระแสเลือด
[8] ภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือด
ไข้ (Febrile transfusion reaction) เกิดจากการได้รับสารที่ทาให้เกิดไข้
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) เกิดจากผู้รับแพ้สารอย่างใดอย่างหนึ่งในเลือดที่ได้รับ
ปริมาตรการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป (Volume overload)
การถ่ายทอดโรค (Transfusion-associated graft versus host disease)
เม็ดเลือดแดงสลายตัว (Hemolysis) เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่
การอุดตันจากฟองอากาศ (Air embolism) เกิดจากการไล่ฟองอากาศไม่หมดไป
ภาวะสารซิเตรทเกินปกติ เกิดจากการให้เลือดติดต่อกันเป็นจานวนมาก
ภาวะโปตัสเซียมเกินปกติ (Hyperkalemia) เกิดจากการให้เลือดที่เก็บไว้
ในธนาคารเลือดนานเกินไป
[10] การบันทึกปริมาณน้ำเข้า-ออกจากร่างกาย
(Record Intake-Output)
1) แบบฟอร์มการบันทึกควรแขวนไว้ที่เตียงผู้ป่วย เพื่อสะดวกในการจดบันทึกและ
เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ต้องสรุปลงในแผ่นรายงานประจำตัวของผู้ป่วยหรือฟอร์มปรอท
3) ร่วมกับผู้ป่วยในการวางแผนกาหนดจำนวนน้ำที่เข้าสู่ร่างกายในแต่ละช่วงเวลา
6) บันทึกจำนวนสารน้ำที่สูญเสียทางอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเดิน ของเหลวที่ระบายออกจากการ
ใช้เครื่องดูดกับสายยางจากกระเพาะ
4) จดบันทึกจำนวนน้ำและของเหลวทุกชนิดที่ให้ขณะมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหาร
5) การจดบันทึกควรสรุปทุก 8 ชั่วโมง และทุกวัน
2) อธิบายเหตุผลและความสำคัญของการวัดและการบันทึกจำนวนน้ำที่รับเข้าและขับออกจากร่างกาย