Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร (Drugs used in Gastrointestinal…
บทที่ 6 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
(Drugs used in Gastrointestinal tact)
[2] ยาระงับอาการคลื่นไส้และอาเจียน
(Antiemetic agents)
{2.2} ยาที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drugs)
กลไกการออกฤทธิ์ : ลดการนำกระแสประสาท CTZ และยับยั้งการกระตุ้นควบคุมการอาเจียนที่ระบบประสาท cholinergic
ผลข้างเคียง : จะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ปัจจุบันจึงให้ผ่านทางผิวหนังโดยการแปะที่หลังหู
{2.3} ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับเซอโรโตนิน
(Serotonin 5HT3-receptor antagonists)
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ปิดกั้น 5HT3-receptor ให้ผลดีในการระงับอาการคลื่นไส้จากการให้ยาเคมีบำบัด หรือหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียง : ท้องเดิน ปวดศีรษะ หลอดลมหดเกร็ง
{2.1} ยาที่ฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับฮีสตามีนชนิดที่ 1 (Histamine H1-receptor antagonists)
กลไกการออกฤทธิ์ : แย่งจับ H1 receptor ที่หูและสมอง ใช้ป้องกันหรือระงับอาการคลื่นไส้อาเจียน จากการเคลื่อนไหว ใช้ป้องกันอาหารเมารถเมาเรือ
ผลข้างเคียง : ทำให้รู้สึกง่วงซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง
{2.4} ยาที่มีฤทธิ์ปิดกั้นตัวรับโดปามีนชนิดที่ 2 (Dopamine D2-recrptor antagonists)
2.4.1)) Metoclopramide ออกฤทธิ์ปิดกั้น D2 receptor มีผลยับยั้งฤทธิ์ของ DA และมีผลต่อ serotonin ใช้ระงับอาการอาเจียนจากผู้ได้รับเคมีบำบัด
2.4.2)) Domperidone ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและเป็นยาระงับอาการอาเจียน มีฤทธิ์ต้าน DA ที่ส่วนของ peripheral ไม่เข้าในสมองส่วนกลาง
2.4.3)) Haloperidol ออกฤทธิ์แย่งจับกับ D2 receptor ที่สมองมีผลต่อการหลั่งของ DA ลดลง ระวังอาการง่วงซึมและความดันโลหิตต่ำ
2.4.4)) Chlopromazine ใช้ระงับอาการอาเจียนหลังผ่าตัดหรือแพ้รังสี หรืออาเจียนจากไตวาย ระงับอาเจียนจากการรับฮอร์โมน และรักษาอาการโรคจิต
{2.5} สารสกัดจากกัญชา (Cannabinoids)
ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นตัวรับ cannabinoids ที่ศูนย์อาเจียน ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ขณะการให้เคมีบำบัด
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นเร็ว ประสาทหลอน นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ความดันเลือดต่ำ เคลิบเคลิ้มเป็นสุข และอาจจะเกิดการติดยา
{2.6} อื่นๆ
2.6.2)) กลุ่มยานอนหลับ มีฤทธิ์ระงับอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ใช้ร่วมกับยากลุ่ม metoclopramide
2.6.1)) Cisapride ออกฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท cholinergic ทางอ้อม ใช้ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร
[1] ยารักษาแผลในทางเดินอาหาร (Ulcer healing drugs)
{1.1} ยาที่ออกฤทธิ์โดยการลดกรด (Antacids)
1.1.1)) ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์โดยทั่วไป (systemic gastric antacid))
ยาลดกรดที่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะมีส่วนหนึงถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลกรด-ด่าง
-ใช้รักษาภาวะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
ไม่เหมาะสำหรับโรค PUD
ควรระวังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และภาวะหัวใจล้มเหลว
1.1.2)) ลดกรดที่ออกฤทธิ์เฉพาะแห่ง (non-systemic gastric antacid)
Aluminium hydroxide
เป็นยาลดกรดที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุด ยาไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร
ผลข้างเคียง : ทำให้เกิดอาหารท้องผูก หากใช้เป็นเวลานานจะทำให้
เกิดภาวะฟอตเฟสในเลือดต่ำ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง
Magnesium hydroxide (Milk of Magnesium)
ยาจะทำปฎิกิริยาทางเคมีกับกรดเกลือในกระเพาะอาหาร ยาดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้น้อยมาก
ผลข้างเคียง : ระวังในผู้ป่วยโรคไต เพราะอาจทำให้เกิด hypermagnesium หากได้รับยาใรขนาดสูง จะทำให้มีอาการท้องเดินอย่างรุนแรง และทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่
Calcium carbonate
ออกฤทธิ์ลดกรดได้ดี ยาถูกดูดซึมประมาณ 15% ปริมาณยาที่ถูกดูดซึมไม่แน่นอนขึ้นกับปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และอาหารที่ได้รับประทาน
ผลข้างเคียง : ท้องผูก อุจาระแข็ง ทำให้ถ่ายลำบาก ท้องอืด เรอ คลื่นไส้ หรือมีรสเผื่อนในปาก หากใช้ยานี้เป็นเวลานานและทำการหยุดยา อาจทำให้เกิดภาวะหลั่งกรดมากหลังจากหยุดใช้ยา
ข้อควรระวังในการใช้ยากลุ่มลดกรด
ระวังการใช้ยาลดกรดร่วมกับยาชนิดเม็ดที่เคลือบสารป้องกันการแตกตัวจากกรดในกระเพาะอาหาร เพราะยาลดกรดอาจทำให้การดูดซึมของยาชนิดอื่นลดลง
ยาลดกรดมีผลทำให้ pH ของปัสสาวะเป็นด่าง ทำให้เกิดการสะสมในกระแสเลือดและอาจส่งผลให้เกิดพิษของยา
การใช้ยาลดกรดในขนาดสูงๆ จะทำให้มีค่า pH ในกระเพาะอาหารเกิน 4.5 มีผลทำให้มีการหลั่งกรดเกลือมากขึ้น และทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
การใช้ยาลดกรดร่วมกับยาปฎิชีวะนะ จะทำให้เกิดการดูดซึมของยาปฎิชีวะนะลดลง
พยาบาลกับยาที่ผู้ป่วยได้รับ
ไม่ควรใช้ยาร่วมกับยาชนิดอื่น เพราะจะทำให้ยาชนิดอื่นไม่ถูกดูดซึม
ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มนี้เป็นเวลานาน ควรแนะนำให้รับประทานอาการที่มีฟอตเฟสสูง
แนะนำวิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง
ผู้ที่ได้รับยากลุ่มนี้เป็นเวลานานควรติดตามประเมินอาการ รายงานแพทย์เมื่อต้องได้รับยา antidote
สังเกตลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ
ใช้ในการรักษาอาการปวดแสบท้อง แผลในทางเดินอาหาร อาการแสบยอดกลางอก และภาวะกรดไหลย้อน
{1.2} ยาระงับการหลั่งกรด (Anti Secretory Drugs)
การหลั่งกรดอยู่ภายใต้ความควบคุมของฮอร์โมน histamine, Ach และ gastrin ทำหน้าที่คัดหลั่งโปรตอนจากด้านใน โดยที่แลกเปลี่ยนที่กับ K
1.2.1)) ยาต้านฮีสตามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist)
กลไกการออกฤทธิ์ : ยากลุ่มนี้มีโครงสร้างคล้ายกับ histamine จึงทำให้ออกฤทธิ์กับ H2-receptor ป้องกันไม่ให้ gastrin และ Ach ไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดได้
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก : ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน และสภาวะที่มีการหลั่งกรดมากกว่าปกติ
ผลข้างเคียง : ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน ง่วงซึม ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นคัน ปวดกล้ามเนื้อ
และหากใช้ยากลุ่มนี้ในขนาดที่สูงและนาน ในผู้หญิงจะทำให้มีน้ำนมไหลออกมา
ในช่วงที่ไม่ให้นมบุตร ในผู้ชายจะทำให้จำนวนสเปิร์มลดลง และเป็นหมันได้
ขนาดยาและการบริหารยา
Nizatidine 150 mg 1x2 หรือ 300 mg hs
Ranitidine 150 mg 1x2 หรือ 300 mg hs หรือ Ranitidine 50mg/2ml
Famotidine 20 mg 1x2 หรือ 40 mg hs
Cimetidine 400 mg 1x2 หรือ 800 mg hs
1.2.2)) ยาระงับ Proton (Proton pump inhibitors)
กลไกการออกฤทธิ์ : ยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นด่างอ่อน อยู่ในรูปของ Prodrug เมื่อถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กส่วนต้นแล้ว จะถูกเปลี่ยนเป็น active form แบบไม่ผันกลับ
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก : รักษาโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหาร รวมทั้งช่วยในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการใช้ NSAIDs
ผลข้างเคียง : มีผลค่อนข้างน้อย แต่อาจพบอาการปวดศีรษะ มึนงง มีผื่นแดงตามผิวหนัง ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ เป็นต้น
ขนาดยาและการบริหารยา
Omeprazole 20 mg OD หรือ Omeprazole 40 mg (Vial)
ผสมกับ nss drip iv
ถ้าใช้ยาร่วมกับ ยาปฎิชีวะนะ จะใช้ Omeprazole 1x2 ac
ใช้รักษาลำไส้เล็ดส่วนต้น รับประทานติดต่อ 2-4 สัปดาห์
ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รับประทานติดต่อ 4-8 สัปดาห์
{1.3} ยาป้องกันการทำลายเยื่อบุทางเดินอาหาร
(Mucosal protective agents, Cytoprotective)
1.3.1)) Sucrafate
กลไกอารออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์โดยการจับกับกรดในกระเพาะอาหาร เป็นสารที่มีลักษณะเหนียวข้น เคลือแผลในทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดแผลจากกรด
ขนาดยาและการบริหารยา : รับประทาน 1 เม็ดก่อนอาหาร 1 hr และ hs
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก : ใช้ในการรักษา peptic ulcer ป้องกันการเกิดแผลที่มาจากความเครียด และบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ
ผลข้างเคียง : พบได้น้อย หากพบจะมีอาการ ท้องผูก คลื่นไส้และอาเจียน
1.3.2)) Colloidal bismuth compound
กลไกการออกฤทธิ์ : มีคุณสมบัติคล้าน sucralfate ยาออกฤทธิ์ได้ดีใน pH 2.5-3.5
ประโยชน์ในการรักษาทางคลินิก : ใช้ในการรักษาทั้งในกระเพาะอาหารและลำไส้ และสามาระกำจัดเชื้อ H. pylori ได้โโยให้ร่วมกับยาปฎิชีวะนะตัวอื่นเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพ
ผลข้างเคียง : อาจทำให้ปาก ลิ้น และอุจจาระดำ หากใช่เป็นเวลานานจะทำให้พบพิษต่อสมอง
1.3.3)) Carbenxolone
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์เพิ่มการสมานแผลทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มการสร้างการหลั่งและความเหนียวของเมือก
ผลข้างเคียง : บวมน้ำ ความดันโลหิตสูง สูญเสีย K ทางปัสสาวะ ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจเพราะอาจจะทำให้เกิดการคั่งของ Na แล้วเกิดหัวใจวาย
1.3.4)) Prostaglandins analogs
กลไกการออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ควบคุมการสร้างเยื่อเมือกในการเดินอาหาร
และมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรด parietal cells ในกระเพาะอาหาร
ขนาดยาและการบริหารยา : ยามีค่าครึ่งชีวิต หากให้ได้ผลดีควรรับประทาน 3-4 ครั้งต่อวัน
ผลข้างเคียง : ยาไปเพิ่มการหลั่งกรดมากเกินไป ทำให้ท้องเสียและปวดท้อง
มีผลทำให้มดลูกบีบตัว อาจทำให้เกิดการแท้งได้
{1.4} ยาที่ใช้ขจัดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori)
ใช้การรักษาแบบ triple therapy เนื่องจากสามารถลดการเกิด recurrence rate ของแผลในทางเดินอาหารได้ดี รับประทานติดต่อกัน 10-14 วัน
ขนาดยาและการบริหารยา
Clarithromycin 500 mg 1x2
Amoxicillin 1000 mg 1x2
ยา PPI 1x2
[3] ยารักษาอาการท้องเสีย (Antidirrheal Agents)
{3.2} สารที่มีฤทธิ์ดูดซับสารพิษที่เป็นเหตุของ
อาการท้องเสีย
3.2.1)) Kaolin และ Pectin ออกฤทธิ์โดยยาจะไปเคลือบคลุมเยื่อเมือกในทางเดินอาหาร ช่วยป้อนกันไม่ให้สัมผัสกับสิ่งระบายเคืองต่างๆ มีฤทธิ์ดูดซับแก๊สและกรดต่างๆ และแบคทีเรีย ทำให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อน ผลข้างเคียงอาจจะทำให้อาเจียน หรือท้องผูก
3.2.2)) Activated charcoal เป็นผงถ่านสามารถดูดซับสารพิษได้เร็ว ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดิน ผลข้างเคียง คือ อุจจาระดำ
3.2.3)) เกลือ Bismuth สามารถจับกับสารพิษจากเชื้ออหิวาห์ และ E.coli ช่วยลดอาการอักเสบของลำไส้ และการเคลื่อนไหวลำไส้ที่มากเกินไป
3.2.4)) Cholestyramine ใช้บรรเทาอาการท้องเดิน ที่เกิดจากกรดน้ำดีในลำไส้มากกว่าปกติ และขับออกทางอุจจาระทำให้ลดนะรับ คอลเรสเตอรอล ผลข้างเคียงคือ ท้องผืด ท้องผูก อุจจาระตันในลำไส้
{3.3} สารที่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
3.3.1)) Opiods (Morphine ,Diphenoxylate) เป็นยาที่ให้ผลดีที่สุดในการบรรเทาอาการท้องเดิน โดยการออกฤทธิ์ที่ u-receptor ที่บริเวณเซลล์ของลำไส้เล็ก โดยมีผลยับยั้งการบีบตัวของลำไส้เล็ก ทำให้น้ำมีโอกาสดูดซึมกลับเข้าเยื่อบุลำไส้เล็ก
3.3.2)) Loperamide ใช้รักษาอาการท้องเสียมากกว่ายากลุ่มอื่น เป็นยากลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น ออกฤทธิ์จับกับ u-receptor ที่ทางเดินอาหาร ทำให้ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดิน แบบติดเชื้อที่มีการอักเสบและมีแผลที่ลำไส้
3.3.3)) Diphenoxylate ออกฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือน morphine แต่ไม่มีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ไม่มีผลต่อระบบประสาท หากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจจะทำให้เกิดการติดยาได้ ผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผื่นแดง มึนงง เวียนศีรษะ กระสับกระส่าย ท้องอืด ปากแห้ง ตาพร่ามัว
{3.1} สารที่ทำให้อุจจาระเป็นก้อน
(Bulk Forming Substance)
methylcellulose , psyllium , sterculia ,polycarbophil
สารกลุ่มนี้สามารถดูดน้ำกลับเข้าหาตัว ทำให้อุจจาระพองตัวและ
จับตัวเป็นก้อน
ใช้บรรเทาอาการอุจจาระเหลวเป็นน้ำ แต่ไม่สามารถทดแทนสารน้ำที่สูญเสียน้ำในร่างกาย
{3.4} อื่นๆ
3.4.1)) Lactobacillus acidophillius เป็นแบคทีเรียในรูปแห้งและเข้มข้น สำหรับรับประทานใช้ในผู้ป่วยท้องเดิน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในลำไส้ สร้างกรด lactic ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ไม่ควรใช้ยานี้เกิน 2 วันติดต่อกัน
3.4.2)) ผงน้ำตาลเกลือแร่ ใช้รักษาอาการท้องเสียเบื้องต้นเพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียออกไปจากอาการท้องเสียไม่จิบในปริมาณน้อยๆ จิบไปเรื่อยๆ จบบ่อยๆและควรดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงหลังการควบคุม
ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย
หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง ย่อยยาก
เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หากมีอาการท้องเสียให้พาไปพบแพทย์
ห้ามซื้อยามารับประทานเอง
ระมัดระวังอาการขาดน้ำและเกลือแร่
หากอาการไม่ดีขึ้นหลังแล้วก็ทานไป 2 วันควรไปพบแพทย์
[4] ยาระบาย (Laxative agents)
{4.3} ยาระบายที่มีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้ (Stimulant cathartics)
4.3.1)) Bisacodyl ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในเยื่อหุ้มของลำไส้ใหญ่โดยตรงทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวแรงและเร็วเกิดการกระตุ้นเยื่อบุทางเดินอาหาร PGE2 ส่งผลทำให้มีพลังน้ำและเกลือแร่เพิ่มมากขึ้น
ควรรับประทานยาทางเม็ดพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ ใช้แก้ท้องผูกแบบเสียบพลันและเรื้อรัง
ยากลุ่มนี้มีผลโดยตรงต่อ enteric neuron และกล้ามเนื้อเรียบทางเดินอาหาร ทำให้การดูดซึมน้ำและเกลือแร่ที่ทำให้ลดลง เพิ่มปริมาณเลือดของลำไส้และเร่งการบีบตัวของลำไส้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 7 วัน ใช้ในการทำความสะอาดลำไส้ก่อนผ่าตัดหรือส่องกล้องตรวจ เป็นยาที่มีฤทธิ์อ่อนที่สุดในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ใหญ่ภายใน 6-12 ชั่วโมง
4.3.2)) Anthraquinone laxatives ออกฤทธิ์ได้โดย Anthraquinone glycosides ซึ่งเป็นสารที่พบในมะขามเขตจะถูกแบคทีเรียในลำไส้ย่อยให้เป็นกลูโคส และ emodins ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นปลายประสาทลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวมากขึ้น
4.3.3)) Castor oil เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดละหุ่ง ยาจะถูกย่อยในลำไส้เล็กมีเอนไซม์ lipase จากตับอ่อนได้กรีเซอรีนและกรดริซิโนเลอิค ลดการดูดซึมรับของแล้วและเกลือแร่ castor oil รสชาติไม่น่ารับประทาน หากผสมกับน้ำหวานหรือ น้ำผลไม้ และควรรับประทานขณะท้องว่าง
{4.1} ยาที่ทำให้เกิดการเพิ่มของกากใย
(Bulk forming agents or hydeophilic laxative)
เป็นยาที่มีความปลอดภัยสูงสุดเพราะเป็นการระบายที่เลียนแบบธรรมชาติ โดยการนำสารสกัดเส้นใยอาหารเป็นยาระบาย เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกธรรมดา
กลไกการออกฤทธิ์ หลังรับประทานยาเข้าไปจะเกิดการพองตัวในลำไส้ ทำให้เพิ่มปริมาณกากในอุจจาระเกิดการเคลื่อนไหวมีตัวขับออกมา ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ช้ากว่ายากลุ่มอื่นต้องรับประทานติดต่อกัน 2-3 วันถึงจะเห็นผล
{4.4} ยาที่ช่วยหล่อลื่นและทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Lubricant or Emollient laxative)
ยากลุ่มนี้ช่วยลดความตึงผิวของก้อนอุจจาระทำให้น้ำและไขมันรวมตัวกัน เป็นผลทำให้อุจจาระนุ่มลงได้และขับถ่ายออกได้สะดวกมากขึ้น ยาจะทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มภายใน 24-48 ชั่วโมง ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่มีแรงเบ่ง
{4.2} ยาระบายที่มีแรงดึงน้ำมาก (Hyperosmotic agents)
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการดึงน้ำจากร่างกายเข้ามาในลำไส้ด้วยแรงดันออสโมติก ทำให้แรงดันในลำไส้เพิ่มขึ้น เกิดการกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวและขับถ่ายอุจจาระออกมาออกฤทธิ์เร็วภายใน 30 นาที เหมาะสำหรับเด็ก สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร
ใช้รักษาอาการท้องผูกโดยออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ มีผลให้เกิดการเร่งการขับถ่ายอุจจาระหรืออาจเพิ่มความอ่อนนุ่มในอุจจาระ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้นก่อนใช้ควรทราบสาเหตุอาการท้องผูกก่อน
การพยาบาลและคำแนะนำผู้ป่วยที่ใช้ยาระบาย
ไม่ควรใช้ยาระบายลดน้ำหนัก
หากเป็นยาระบายให้รับประทานก่อนนอนเพื่อให้ออกฤทธิ์ในตอนเช้า
การใช้ยาระบายเป็นประจำทำให้ลำไส้เกิดความเคยชินส่งผลให้เกิดอาการติดยา
ไม่ควรใช้ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปีและ หญิงตั้งครรภ์
ห้ามใช้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกหรือปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ
ห้ามเคี้ยวยา Bisacodyl หรือรับประทานพร้อมกับยาลดกรด