Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเย็บแผล( Suture wound), image, image, นางสาวสุชัญญา แก้วหล่อ เลขที่ 61…
การเย็บแผล( Suture wound)
ประเภทของการเย็บแผล
เย็บแบบซ้อน ( Mattress suture)
ใช้ในรายที่ต้องการความแข็งแรงด้วยและต้องการให้ขอบไม่ซ้อนกันด้วย คือในรายที่แผลลึกและยาว
เย็บแบบธรรมดา (Simple interrupted suture )
ใช้กับแผลโดยทั่วๆไป และได้ผลดีในการห้ามเลือด Running lock Stitch เพื่อเย็บได้เร็วไม่เปลืองของที่ใช้ ใช้ในการเย็บกรณีที่ไม่ต้องระวังเรื่องแผลมากนัก ใช้ห้ามเลือดออกจากขอบแผลได้ด้วย
Horizontal mattress เพิ่มแรงดึงเนื้อเยื่อเข้าหากัน
Tree corner เหมาะสำหรับแผลฉีกขาดที่มีมุม ลดการขาดเลือดของเนื้อเยื่อบริเวณมุม
Continuous suture การเลือกใช้งานใกล้เคียงกับ Simple suture แต่จะทำให้เลือดมาเลี้ยงแผลได้ลดลงและ ควบคุมความแน่นหรือหลวมหลอดแผลได้ยากกว่าการเย็บเป็นคำๆ (interrupted stitch)
ubcuticular suture เพื่อลดแรงตึงของผิวหนังด้านบน
วัตถุประสงค์ของการเย็บแผล
เพื่อส่งเสริมการหายของแผล
เพื่อดึงขอบแผลเข้าหากัน
เพื่อห้ามเลือด
ป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล
เพื่อรักษาสภาพปกติของผิวหนัง
การให้ภูมิคุ้มกันบาดทะยัก (TT)
1.ไม่เคยได้ / ได้รับมาเกิน 10 ปี : ฉีด 3 ครั้ง ครั้งละ 0.5 cc เดือนที่ 0,1,6
2.เคยได้รับครบ 3 ครั้ง ไม่เกิน 10 ปี : ไม่ฉีด เว้นแต่แผลมีการปนเปื้อนมาก (Contamination)
ฉีดกระตุ้น 1 เข็ม
3.ได้รับครบ 3 ครั้ง เกิน 10 ปี : กระตุ้น 1 ครั้ง
4.เด็กฉีดวัคซีนครั้งสุดท้ายเมื่ออายุ 12 ปี ครบ 10 ปี เมื่ออายุ 22 ปี
ฉีดTT ครบ 3 เข็ม ป้องกันได้ 10 ปี
การให้ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด
ซักประวัติแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลลิน ถ้าไม่มีประวัติแพ้ยานี้ให้
แผลปนเปื้อนไม่มาก ไม่มี FB เนื้อเยื่อกระทบกระเทือนไม่มาก ขอบแผลเรียบ : Penicillin (250)1x3ac.+hs. 5 วัน
แผลปนเปื้อน เนื้อเยื่อช้า กระรุ่งกระริ่ง ขอบไม่เรียบ มี FB นานเกิน 6 ชม. : Cloxacillin (250)1x3ac.+hs. 5 วัน
แผลสัตว์กัด คนกัด : Amoxycillin (500) 2x2pc. นาน 5 วัน
แพ้กลุ่ม Penicillin : Roxithromycin (150)1x2ac. นาน 5 วัน
ปวด : Paracetamal (500) 2 tab.prn., NSAID : Ibuprofen (400) 1x2pc
การจำแนกชนิดของบาดแผล (Classification of wound)
Incised wound คือ บาดแผลที่ถูกกระทำ ด้วยของมีคม ลักษณะบาดแผลจะเรียบชิดกัน
Lacerated wound คือ แผลที่มีการฉีกขาดหรือถูกทำลายของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังมักเกิดจากของแข็งที่ไม่มีคม
. Contused wound เป็นบาดแผลฟกชํ้าที่ผิวหนังเกิดจากถูกกระทำ ด้วยของแข็งไม่มีคม
Sprain คือ การบิดตัวของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นหรือข้อต่อ เป็นบาดแผลภายในมองไม่เห็น ส่วนใหญ่จะปวด บางครั้งมีบวมร่วมด้วย เช่น ข้อพลิก
Fracture คือ การหัก ส่วนใหญ่ใช้กับกระดูก เช่น กระดูกแขนหัก กระดูกขาหัก
Puncture wound คือ บาดแผลที่ถูกกระทำ ด้วยของแหลมคม เช่น ถูกแทงด้วยมีดปลายแหลม
Penetrating wound คือ แผลที่ทะลุเข้าไปในช่องของร่างกาย เช่น มีการแทงทะลุเข้าไปในปอด หรือช่องท้อง
การประเมินบาดแผลประกอบด้วย
ดูการสูญเสียเลือด ว่ามีเลือดออกภายนอกให้เห็น หรือว่ามีเลือดออกภายใน ซึ่งต้องประเมินโดยใช้ สัญญาชีพเป็นหลัก และอื่น ๆ ประกอบ
ดูขนาดและลักษณะของบาดแผลว่ามี การถลอก ฟกช้า ห้อเลือด หรือแผลฉีกขาด หรือไม่
พิจารณาการจัดการบาดแผล
แผลที่ควรเย็บ – แผลอุบัติเหตุไม่เกิน 6 ชม. / นานเกิน 6 ไม่เกิน 12 ชม. ขอบแผลเรียบ เนื้อเยื่อไม่ช้า ไม่มี FB
แผลนานเกิน 12 ชม. ไม่เย็บ นัดทาแผลทุกวัน +- admit
refer กรณี Fx. เส้นเลือดฉีกขาด เนื้อเยื่อหายไปจนไม่สามารถดึงเอาผิวหนังมาชิดกันได้
บาดแผลที่ไม่ควรเย็บ
แผลติดเชื้อ
ยกเว้นอวัยวะสำคัญ อาจพิจารณาเย็บ
สุนัขกัด
คำแนะนำการดูแลแผลเย็บ
ระวังอย่าให้แผลสกปรก แผลห้ามถูกน้ำ เมื่อเปียกหรือถูกน้ำต้องเปลี่ยนผ้า หรือทำแผลใหม่
ควรมาทำแผลตามนัด
หากแผลบวมแดงปวดมาก ควรมาพบแพทย์ก่อนเวลานัด
การตัดไหม
บาดแผลบริเวณใบหน้า ศีรษะ นัดตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน
บาดแผลบริเวณอื่น นัดตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
บาดแผลบริเวณฝ่ามือ เท้า กลางหลัง และข้อต่างๆ นัด 10 วัน มาดูแผล เพื่อพิจารณาการตัดไหม
หลักการเย็บแผล
7.ใช้กรรไกรตัดไหมตัดให้โคนเหลือ 0.5 cms. แต่ละเปลาะห่างกันประมาณ 1cms.
ปล่อยNeedle holder มาจับที่ปลายเข็มที่โผล่มาค่อยๆหมุนเข็มตามความโค้งจนหลุดออกมา
การจับNeedle holder
ยึดหลักปราศจากเชื้อ (Sterile Technique)
ปักเข็มให้ตั้งฉากกับผิวหนัง
ใช้ข้อมือหมุนเข็มให้เสยขึ้น
จับเชือก ดึงขอบแผลให้ติดกันและผูกเงื่อนตาย
เลือกเข็มให้เหมาะสมกับแผล
อุปกรณ์ในการเย็บแผล
กรรไกรตัดไหม
Needle holder
Metzenbaum
Mayo
Forceps- Mill tissue forceps
เข็มเย็บแผล
ด้ายเย็บ
ยาชาเฉพาะที่
ยาชาเฉพาะที่ที่ผสม adrenaline เช่น 1% xylocaine with adrenaline 2% xylocaine with adrenaline ออกฤทธิ์เร็ว กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด ใช้สำหรับแผลที่เลือดออกมาก ห้ามใช้อวัยวะส่วนเช่น นิ้วมือ ใบหูนิ้วเท้า ติ่งหู เป็นต้น การคำนวณยา ขนาดยา 3-5 mg/kg
ยาชาเฉพาะที่ไม่ผสม adrenaline เช่น 1% xylocaine without adrenaline 2% xylocaine without adrenaline ใช้อวัยวะส่วนปลายได้
การคำนวณยา ขนาดยา 5-7 mg/kg
นางสาวสุชัญญา แก้วหล่อ เลขที่ 61 ห้อง A