Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยาฉีด - Coggle Diagram
การบริหารยาฉีด
ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นเตรียมการก่อนฉีดยา
ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
ถามชื่อ - สกุลของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการแพ้ยา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
เลือกบริเวณสำหรับฉีดยา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ บวม เป็นแผลมีก้อนแข็ง หรือเป็นอัมพาต
จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วย เปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอ หากเป็นบริเวณที่ไม่ควรเปิดเผยควรปิดประตูหรือกั้นม่าน
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ
การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal injection)
วิธีการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง
ไล่อากาศออกจากกระบอกฉีดยาจนหมดก่อนฉีดยา
ผิวหนังให้ถึง
แทงเข็มทำมุม 5-15 องศา กับผิวหนัง โดยหงายปลายตัดเข็มขึ้น และแทงเข้าไปเพียงให้ปลายตัดเข็มเลยเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อย
ไม่ต้องทดสอบว่าปลายตัดเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
สังเกตบริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มนูนขึ้นมา ถ้าไม่มีตุ่มนูน แสดงว่าฉีดลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องคลึงบริเวณที่ฉีดยา
ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินหรือดำ เขียนรอบรอยนูนที่เกิดจากการฉีดยาและบอกผู้ป่วยไม่ให้ลบรอยหมักที่เขียนไว้ จนกว่าจะอ่านผลเรียบร้อยแล้ว
การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous injection)
ตำแหน่งสำหรับฉีดยาเข้าขั้นใต้ผิวหนัง
1) บริเวณต้นแขนส่วนกลางด้านนอก
2) บริเวณส่วนกลางของหน้าขา
3) บริเวณหน้าท้องที่อยู่ระหว่างแนวใต้ชายโครงกับแนวของ anteriorSuperior iliac spine ยกเว้นบริเวณรอบสะดือ 1 นิ้ว เพราะมี pain receptor มาก
4) บริเวณสะบัก
ทำผิวหนังให้ตึงก่อนแทงเข็ม หรือการใช้นิ้วมือจับรวบเนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดเข้าหากัน แต่วิธีหลังนี้จะไม่ใช้ในการฉีด heparin
การแทงเข็มถ้าใช้เข็มยาว 5/8 นิ้ว ให้แทงเข็มทำมุม 45 องศา ถ้าใช้เข็มยาว 4นิ้ว ให้แทงเข็มทำมุม 90 องศา
การฉีด hepartin ไม่ต้องทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
การฉีด heparin และ insulin ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยาแล้ว
การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
การหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
2) วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (Glutens musde)
3) วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ Vastus lateralis (กล้ามเนื้อหน้าขา)
1)วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid muscle)
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
1) ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบ alcohol70% โดยหมุนออกจากจุดที่จะแทงเข็มให้เป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ปล่อยให้ alcoholแห้ง
2) ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศ
3) ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทาผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ซึ่ง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
4) แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
5) ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง (ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง) ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่ ถ้าไม่มีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยา ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดดันลูกสูบเดินยาข้า ๆ (ถ้ามีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดให้ยกเลิกการฉีดยานั้น และเตรียมยาฉีดใหม่)
6) เมื่อยาหมดให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
7) คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
8) ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทั้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนเข็มไปทำลายต่อไป
9) จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นาที)
ล้างมือให้สะอาด
การบรรเทาความเจ็บปวดจากการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
1) เลือกเข็มเบอร์เล็กที่สุดที่เหมาะสมกับชนิดของยาและตำแหน่งที่จะฉีดยา
2) เข็มที่ใช้ฉีดยาจะต้องไม่มียาเคลือบอยู่ภายนอก เพราะยาจะระคายเคืองเนื้อเยื่อที่เข็มแทงผ่าน ทำให้ผู้ป่วยปวดและมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
1) ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบ alcohol70% โดยหมุนออกจากจุดที่จะแทงเข็มให้เป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ปล่อยให้ alcoholแห้ง
2) ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศ
3) ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทาผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ซึ่ง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
4) แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
5) ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง (ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง)ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย
เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่ ถ้าไม่มีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยา ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดดันลูกสูบเดินยาข้า ๆ (ถ้ามีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดให้ยกเลิกการฉีดยานั้น และเตรียมยาฉีดใหม่)
6) เมื่อยาหมดให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
7) คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
8) ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทั้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนเข็มไปทำลายต่อไป
9) จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นาที)
ล้างมือให้สะอาด
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาฉีด
วางแผนการพยาบาล บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์ การให้ยาต้องคำนึงถึงหลัก 6Rs (10 Rs)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล เมื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินสภาพทั้งหมดแล้วนำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูล ให้การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปฏิบัติการพยาบาล ในขั้นการเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมยาฉีด และการฉีดยาตามวิถีทางต่างๆ ตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
การประเมินผล ควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
การประเมินสภาพ การบริหารยาฉีดให้กับผู้ป่วยพยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยา
การฉีดยาโดยทั่วไปในการรักษาพยาบาล
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular injection)
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง(Subcutaneous injection)
การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous injection)
การฉีดยาเข้าผิวหนัง(intradermal injection)
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด (Vial)
1) เขย่าขวดยาเบา ๆ ให้ยาเข้ากัน
2) ทำความสะอาดจุกขวดยาด้วยสำลีชุบ alcohol70%
3) ฉีกของห่อกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
4) สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
5) ถอดปลอกเข็มออก ดูดอากาศเข้ากระบอกฉีดยาเท่าปริมาณยาที่ต้องการ
6) แทงเข็มเข้าจุกยางใช้นิ้วหัวแม่มือดันลูกสูบให้อากาศเข้าขวดยาจนหมด
7) คว่ำขวดยาลง โดยให้นิ้วดันลูกสูบอยู่ ปรับให้ปลายตัดเข็มอยู่ในน้ำยา
8) ค่อย ๆ ปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก น้ำยาจากขวดจะไหลเข้ามาในกระบอกฉีดยา เมื่อได้ยาครบตามปริมาณที่ต้องการ ถอนเข็มและกระบอกฉีดยาออกจากจุกขวดยา
9) ตรวจสอบชื่อยาบนขวดยาอีกครั้งหนึ่ง
10) เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้น ๆ
11) หากเตรียมยาสำหรับฉีดผู้ป่วยหลายคน หรือหลายชนิดพร้อมกัน ควรวางกระบอกฉีดยา (ที่เตรียมยาแล้ว) บนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และแนบการ์ดยาไว้เพื่อป้องกันการนำยาผิดชนิดไปฉีดให้ผู้ป่วย
วิธีเตรียมยาฉีดจากยาผงบรรจุขวด (วิธีละลายยา)
1) ตรวจดูตัวทำละลาย (น้ำกลั่นหรือน้ำเกลือ) ว่ามีฝุ่นผงหรือไม่ โดยคว่ำขวดยกส่องดู หากมีฝุ่นผง ไม่ควรนำมาใช้
2) ทำความสะอาดจุกขวดตัวทำละลาย และจุกขวดยาด้วยสำลีชุบalcohol7096 จนถึงคอขวด ปล่อยให้ alcohol แห้ง
3) ดูดตัวทำละลายตามปริมาณที่ต้องการ ด้วยวิธีเดียวกับการเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด เมื่อได้ตัวทำละลายแล้วให้ฉีดตัวทำละลายเข้าในขวดยาผง โดยแทงเข็มเข้าจุกขวดยาแล้วดันลูกสูบ ให้ตัวทำละลายเข้าไปในขวดยาจนหมด หลังจากนั้นปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก อากาศที่ถูกแทนที่ด้วยตัวทำละลายจะเข้ามาในกระบอกฉีดยาจนหมด ความดันในขวดยาจะเท่ากับความดันในบรรยากาศ
4) ถอนเข็ม และกระบอกฉีดยาออกจากขวดยา นำปลอกเข็มที่ถอดออกมาสวม ครอบเข็มไว้
5) เขย่าขวดให้ตัวทำละลายละลายผงจนหมดเป็นเนื้อเดียวกัน
6) ทำความสะอาดจุกขวดยาอีกครั้งด้วยสำลีชุบalcoholปล่อยให้ alcohol แห้ง
7) ใช้กระบอกฉีดยาพร้อมเข็มชุดเดิม ดูดยาออกจากขวดตามปริมาณที่ต้องการ
8) เอียงหลอดยาให้ปลายตัดเข็มจุ่มในน้ำยา ดูดยาตามจำนวนที่ต้องการ
9) ตรวจสอบชื่อยาบนหลอดยาอีกครั้งหนึ่งก่อนทิ้งหลอดยา
10) เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้น
11) ถ้าเตรียมยาสำหรับฉีดผู้ป่วยหลายคนหรือหลายชนิดพร้อมกัน ควรวางกระบอกฉีดยาที่เตรียมยาแล้วบนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และมีการ์ดยาแนบกระบอกฉีดยาไว้เพื่อป้องกันการนำยาผิดชนิดไปฉีดให้ผู้ป่วย
วิธีเตรียมยาฉีดจากยาผงบรรจุขวด (วิธีละลายยา)
1) ตรวจดูตัวทำละลาย (น้ำกลั่นหรือน้ำเกลือ) ว่ามีฝุ่นผงหรือไม่ โดยคว่ำขวดยกส่องดู หากมีฝุ่นผง ไม่ควรนำมาใช้
2) ทำความสะอาดจุกขวดตัวทำละลาย และจุกขวดยาด้วยสำลีชุบalcohol7096 จนถึงคอขวด ปล่อยให้ alcohol แห้ง
3) ดูดตัวทำละลายตามปริมาณที่ต้องการ ด้วยวิธีเดียวกับการเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด เมื่อได้ตัวทำละลายแล้วให้ฉีดตัวทำละลายเข้าในขวดยาผง โดยแทงเข็มเข้าจุกขวดยาแล้วดันลูกสูบ ให้ตัวทำละลายเข้าไปในขวดยาจนหมด หลังจากนั้นปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก อากาศที่ถูกแทนที่ด้วยตัวทำละลายจะเข้ามาในกระบอกฉีดยาจนหมด ความดันในขวดยาจะเท่ากับความดันในบรรยากาศ
4) ถอนเข็ม และกระบอกฉีดยาออกจากขวดยา นำปลอกเข็มที่ถอดออกมาสวมครอบเข็มไว้
5) เขย่าขวดให้ตัวทำละลายละลายผงจนหมดเป็นเนื้อเดียวกัน
6) ทำความสะอาดจุกขวดยาอีกครั้งด้วยสำลีชุบalcoholปล่อยให้ alcohol แห้ง
7) ใช้กระบอกฉีดยาพร้อมเข็มชุดเดิม ดูดยาออกจากขวดตามปริมาณที่ต้องการด้วยวิธีเดียวกับการเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด
8) หากยาที่ละลายแล้วใช้ไม่หมด และมีอายุที่จะเก็บไว้ใช้ได้ให้เขียนฉลากติดขวดไว้เกี่ยวกับความเข้มข้นของยา วัน เดือน ปีที่ละลาย ผู้ละลาย
และเก็บยาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามสลากยาที่แนบมากับยา