Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยาฉีด - Coggle Diagram
การบริหารยาฉีด
การบรรเทาความเจ็บปวดจาก
การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
1) เลือกเข็มเบอร์เล็กที่สุดที่เหมาะสมกับชนิดของยาและตำแหน่งที่จะฉีดยา
2) เข็มที่ใช้ฉีดยาจะต้องไม่มียาเคลือบอยู่ภายนอกเพราะยาจะระคายเคืองเนื้อเยื่อที่เข็มแทงผ่านทำให้ผู้ป่วยปวดและมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
3) ใช้ z-track technique ในการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลงกว่าวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบดั้งเดิม
4) จัดท่าให้ผู้ป่วยผ่อนคลายที่สุดจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและไม่สุขสบายลงได้
5) อย่าฉีดยาบริเวณที่เนื้อเยื่อแข็งตัวหรือกดเจ็บ
6) แทงเข็มและดึงเข็มออกจากเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็วในทิศทางเดียวกัน
7) จับกระบอกฉีดยาให้อยู่กับที่ขณะฉีด
8) เดินยาข้า ๆ เพื่อให้ยากระจายไปรอบ ๆ เนื้อเยื่อได้ดีกตบริเวณที่ฉีดเบา ๆ หลังฉีดยายกเว้นมีข้อห้าม
กระบวนการพยาบาล
ในการบริหารยาฉีด
การประเมินสภาพ
การบริหารยาฉีดให้กับผู้ป่วยพยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยาเช่นการซักประวัติการได้รับยาการแพ้ยาโรคประจำตัวเป็นต้นรวมทั้งก่อนให้ยาควรประเมินตำแหน่งที่สามารถฉีดยาได้รวมทั้งการประเมินอาการก่อนและหลังการได้รับยาอีกทั้งควรมีการประเมินปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหากผู้ป่วยมีภาวะเกรีดเลือดต่ำควรงดให้ยาและปรึกษาแพทย์ถึงวิถีทางการให้ยาอื่น ๆ
การวินิจฉัย
ทางการพยาบาล
เมื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินสภาพทั้งหมดแล้วนำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูลให้การวินิจฉัยทางการพยาบาลเช่นมีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกง่าย / หยุดยากเนื่องจากมีประวัติ / รอยโรค-มีโอกาสเกิดการแพ้ยาจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
3.วางแผน
การพยาบาล
บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์การให้ยาต้องคำนึงถึงหลัก 6Rs (10 Rs)
ปฏิบัติการ
พยาบาล
ในขั้นการเตรียมอุปกรณ์การเตรียมยาฉีดและการฉีดยาตามวิถีทางต่างๆตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
การประเมินผล
ควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกครั้งเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นตอนการก่อนฉีดยา
ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
ถามชื่อ-สกุลของผู้ป่วยรวมถึงประวัติการแพ้ยา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
เลือกบริเวณสำหรับฉีดยาควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบบวมเป็นแผลมีก้อนแข็งหรือเป็นอัมพาต
จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วยเปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอหากเป็นบริเวณที่ไม่ควรเปิดเผยควรปิดประตูหรือกั้นม่าน
ล้างมือให้สะอาดสวมถุงมือ
การฉีดยาเข้าชั้นผิดหนัง
(Intradermal injection)
เป็นการฉีดยาเข้าในชั้น dermis (ชั้นหนังแท้) เพื่อให้เกิดผลเฉพาะที่ซึ่งส่วนมากเป็นการฉีดเพื่อช่วยโรคทดสอบยาหรือสารต่างๆยาหรือสารต่างๆที่ฉีดจะถูกดูดซึมช้าที่สุดบริเวณท้องแขนด้านในของปลายแขนเป็นบริเวณที่เหมาะสมที่สุดเพราะมีผิวหนังบางมีขนน้อยสีผิวจางทำให้มองเห็นปฏิกิริยาของการทดลองได้ชัดเจนจำนวนยาฉีดไม่เกิน 0.5 ml. แต่ส่วนมากจะฉีดไม่เกิน 0.1 ml เนื่องจากฉีดยาเพียงเล็กน้อยจะใช้กระบอกฉีดยาชนิด tuberculin Syringe
การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
(Subcutaneous injection)
เป็นการฉีดยาเข้าในชั้น Subcutaneous tissue ยาจะถูกดูดซึมได้ช้ากว่าการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อในชั้นใต้ผิวหนังมี pain receptor อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดมากกว่ายาที่ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังควรมีลักษณะใสละลายในน้ำมีความเข้มข้นต่ำและมีความเป็นกลางยาที่ฉีดเข้าใต้ผิวหนังส่วนมากคือ insulin และ heparin จำนวนฉีดไม่เกินครั้งละ 2 ml
ในแต่ละบริเวณการฉีดยาเข้า
ชั้นใต้ผิวหนังให้ปฏิบัติดังนี้
ตำแหน่งสำหรับฉีด
ยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
1) บริเวณต้นแขนส่วนกลางด้านนอก
2) บริเวณส่วนกลางของหน้าขา
3) บริเวณหน้าท้องที่อยู่ระหว่างแนวใต้ชายโครงกับแนวของ anterior Superior liac spine ยกเว้นบริเวณรอบสะดือ 1 นิ้วเพราะมี pain receptor มาก
4) บริเวณสะบัก
ทำผิวหนังให้ตึงก่อนแทงเข็มหรือการใช้นิ้วมือจับรวบเนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดเข้าหากัน แต่วิธีหลังนี้จะไม่ใช้ในการฉีด heparin
การแทงเข็มถ้าใช้เข็มยาว 5/8 นิ้วให้แทงเข็มทำมุม 45 องศาถ้าใช้เข็มยาว 4 นิ้วให้แทงเข็มทำมุม 90 องศา
การฉีด heparin ไม่ต้องทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
การฉีด Fiveparin และ insulin ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยาแล้ว
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อยาจะถูกดูดซึมเร็วเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก แต่อาจจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทหรือฉีดเข้าหลอดเลือดได้เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่ทนต่อการระคายเคืองได้ดียาที่มีความเหนียวข้นและระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อหรือมีส่วนผสมของน้ำมันก็สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
อุปกรสำหรับการเตรียยา
ฉีดชนิดต่างๆ
ยาฉีด
(Medication)
ยำสำหรับฉีดจะบรรจุอยู่ในภาชนะ
บรรจุที่เป็นหลอด (ampule) และขวด (vial)
กระบอกฉีดยา
(Syringe)
กระบอกฉีดยามีหลายขนาดตั้งแต่ 0.5-50 ml ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กระบอก (barrel) ซึ่งมีปลาย (tip) ที่มีขนาดสวมได้พอดีกับหัวเข็มฉีดยาส่วนที่สองคือ ลูกสูบ (plunger)
เข็มฉีดยา
ทำมาจาก Stainless steel และเป็นชนิดใช้ครั้งเดียว (disposable)
วิธีการเตรียมยาฉีด
ซักถามประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
อ่านและตรวจสอบรายละเอียดบนขวดยาหรือหลอดยาเกี่ยวกับชื่อยาวิถีทางการให้ยาวันหมดอายุของยา
ศึกษาเกี่ยวกับขนาด ฤทธิ์ข้างเคียง วิธีละลายยาในกรณีเป็นยาผง
คำนวณปริมาณยาฉีดที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างถูกต้อง
ดูแลบริเวณสำหรับเตรียมยาให้สะอาดเฮงมีแสงสว่างเพียงพอ
ตรวจดูความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้
ล้างมือให้สะอาดเช็ดมือ
การคำนวณขนาดยา
เช่น Morphine 3 mg v (q) 6 hr
สิ่งที่ต้องเข้าใจ
การฉีดยา Morphine 1 amp มี 10 mg/ml
การฉีดยา Morphine เข้าทางหลอดเลือดดำ
ต้องผสมให้เจือจางเป็น 10 ml
วิธีทำ
ผสม Morphine กับ sterile ให้ตัวยาเจือจาง
เป็น 10 ml เนื่องจากยา Morphine 1 amp มี 1 ml
จึงใช้ sterile water จำนวน 9 ml เมื่อเจื่อจางเป็น 10 cc
แล้ว ความเข้มข้นจะเท่ากับ 10 mg/10ml