Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยาฉีด - Coggle Diagram
การบริหารยาฉีด
ความหมายการฉีดยา
การฉีดสารที่เป็นของเหลวเข้าไปในเนื้อเยื่อหลอดเลือดช่องในร่างกาย
มีวัตถุประสงค์ในการเพื่อทดสอบการแพ้ยา รักษา การให้ภูมิคุ้มกันโรค
การฉีดยาเป็นการให้ยาที่ให้ผลเร็ว
ข้อเสียของการฉีดยา
มีวิธีการที่ยุ่งยาก สิ้นเปลือง
เสี่ยงต่ออันตราย
วิธีการในการฉีดยา
การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ(intramuscular injection)
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง(subcutaneous injection)
การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ(intravenous injection)
การฉีดยาเข้าผิวหนัง(intradermal injection)
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
เตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ ไว้เพื่อให้ได้ยาที่ถูกชนิด และขนาด โดยปราศจากเชื้อ
ยาอยู่ในสภาพที่พร้อมและเหมาะสมสำหรับนำไปฉีด
อุปกรณ์สำหรับการเตรียมยาฉีด
ยาฉีด(Medication)
จะบรรจุอยู่ในภําชนะบรรจุที่เป็นหลอด (ampule) และขวด (vial)
ยาที่บรรจุในหลอดจะเป็นยาน้ำซึ่งใช้ฉีดครั้งเดียว (single dose)
ถ้าใช้ไม่หมดก็ต้องทิ้ง
หลอดยาที่มีวงสีรอบคอหลอดยา แสดงว่าหลอดยานั้นจะหักได้ง่ายไม่ต้องใช้เลื่อย
ยาที่บรรจุในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยาน้ำ
มีทั้งแบบ single dose และ multiple dose
ยาที่เป็นผงจะมีความคงตัวต่ำจุกขวดจะเป็นยางและมีแผ่นโลหะยึดรอบริมของขอบจุกยาง
ส่วนกลางของจุกยางจะบางเพื่อให้ง่ายต่อการแทงเข็ม
ก่อนดูดยาออกจากขวดต้องเปิดแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกออก
บนหลอดยาหรือขวดยาจะมีชื่อยา ปริมาณยา วิถีทางให้ยา วันหมดอายุของยา
กระบอกฉีดยา (Syringe)
ส่วนประกอบของกระบอกฉีดยา
กระบอก (barrel) ซึ่งมีปลาย (tip) ที่มีขนาดสวมได้พอดีกับหัวเข็มฉีดยา
ลูกสูบ (plunger) กระบอกฉีดยาจะมีทั้งชนิดที่ทำด้วยพลาสติกซึ่งใช้แล้วทิ้งและชนิดทำด้วยแก้วกระบอกฉีดยาที่ทำด้วยแก้ว
เข็มฉีดยา
ทำจาก stainless stee เป็นชนิดใช้ครั้งเดียว (disposable)
ส่วนประกอบของเข็มฉีดยา
หัวเข็ม (hub) ซึ่งมีขนาดพอดีกับปลายกระบอกฉีดยา
หัวเข็ม (shaft) เป็นส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม
ปลายเข็ม (bevel or slanted tip)
บริเวณหัวเข็มสามารถจับต้องได้ขณะทำให้หัวเข็มและปลายหลอดฉีดยายึดติดกัน
ตัวเข็มและปลายเข็มจับต้องไม่ได้ต้องรักษาสภาวะปราศจากเชื้อไว้
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิด
อุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับการผสมยาฉีด
ถาด
ผ้ารองถาดยา
อับสำลี
กระปุก
ก่อนการลงมือผสมยาฉีดตามแผนการรักษา
ซักถามประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
อ่านและตรวจสอบรายละเอียดบนขวดยาหรือหลอดยาเกี่ยวกับชื่อยาวิถีทางการให้ยาวันหมดอายุของยา
ศึกษาเกี่ยวกับขนาด ฤทธิ์ข้างเคียง วิธีละลายยาในกรณีเป็นยาผง
คำนวณปริมาณยาฉีดที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างถูกต้อง
ดูแลบริเวณสำหรับเตรียมยาให้สะอาด แห้ง มีแสงสว่างเพียงพอ
ตรวจดูความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้
ล้ํางมือให้สะอาด เช็ดมือ
วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุหลอด (Ampule)
ทำความสะอาดรอบคอหลอดยา ใบเลื่อยด้วยสำลีชุบalcohol70%
เลื่อยรอบคอหลอดยาพอเป็นรอย โดยคลี่สำลีชุบ alcohol
เช็ดรอบคอหลอดยาด้วยสำลีชุบ alcohol
ฉีกซองกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
ถอดปลอกเข็มออก จับหลอดยาด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างที่ถนัด สอดเข็มเข้าหลอดยํา
เอียงหลอดยําให้ปลํายตัดเข็มจุ่มในน้ำยา ดูดยาตามจำนวนที่ต้องการ
ตรวจสอบชื่อยาบนหลอดยาอีกครั้งหนึ่งก่อนทิ้งหลอดยา
เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้น ๆ
วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด (Vial)
เขย่าขวดยาเบา ๆ ให้ยาเข้ากัน
ทำความสะอาดจุกขวดยาด้วยสำลีชุบ alcohol70%
ฉีกซองห่อกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
ถอดปลอกเข็มออก ดูดอากาศเข้ากระบอกฉีดยาเท่าปริมาณยาที่ต้องการ
แทงเข็มเข้าจุกยางใช้นิ้วหัวแม่มือดันลูกสูบให้อากาศเข้าขวดยาจนหมด
คว่ำาขวดยาลง โดยให้นิ้วดันลูกสูบอยู่ ปรับให้ปลายตัดเข็มอยู่ในน้ ายา
ค่อย ๆ ปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก น้ำยาจากขวดจะไหลเข้ามาในกระบอกฉีดยา ได้ยาครบตามปริมาณที่ต้องการ ถอนเข็มและกระบอกฉีดยาออกจากจุกขวดยา
ตรวจสอบชื่อยาบนขวดยาอีกครั้งหนึ่ง
ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นเตรียมการก่อนฉีดยา
ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
ถามชื่อ –สกุลของผู้ป่วย ประวัติการแพ้ยา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
เลือกบริเวณสำหรับฉีดยา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ ช้ำบวม เป็นแผล มีก้อนแข็ง
จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วย เปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอ
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ
การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal injection)
ฉีดยาเข้าในชั้น dermis (ชั้นหนังแท้) ให้เกิดผลเฉพาะที่
เป็นการฉีดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค ทดสอบยา
บริเวณท้องแขนด้านในของปลายแขนเป็นบริเวณที่เหมาะสมที่สุด เพราะมีผิวหนังบาง มีขนน้อย สีผิวจาง
ใช้กระบอกฉีดยา ชนิด tuberculin syringe
วิธีการฉีดเข้าผิวหนัง
ไล่อากาศออกจากกระบอกฉีดยาจนหมดก่อนฉีดยา
ทำผิวหนังให้ตึง
แทงเข็มทำมุม 5-15 องศา กับผิวหนังโดยหงายปลายตัดเข็มขึ้น และแทงเข้าไปเพียงให้ปลายตัดเข็มเลยเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อย
ไม่ต้องทดสอบว่าปลายตัดเข็มอยู่ในหลอดเลือด
สังเกตบริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มนูนขึ้นมา ถ้าไม่มีตุ่มนูน แสดงว่าฉีดลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องคลึงบริเวณที่ฉีดยา
ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินหรือดำ เขียนรอบรอยนูนที่เกิดจากการฉีดยา
การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous injection)
ฉีดยาเข้าในชั้น subcutaneous tissue
ยาจะถูกดูดซึมได้ช้ากว่าการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ใต้ผิวหนังมี pain receptor อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดมากกว่า
ยาควรมีลักษณะใสละลายในน้ำ มีความเข้มข้นต่ำ และมีความเป็นกลาง
ยาที่ฉีดเข้าใต้ผิวหนังส่วนมากคือ insulin และ heparin
จำนวนยาฉีดไม่เกินครั้งละ 2 mlในแต่ละบริเวณ
การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ยาจะถูกดูดซึมเร็วเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก
ยาที่มีความเหนียวข้น และระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ หรือมีส่วนผสมของน้ำมันก็สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้
การหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid muscle)
อยู่ต่ำกว่าขอบล่างของ acromion process 2 นิ้ว เป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก
ควรฉีดบริเวณส่วนกลางของกล้ามเนื้อ
มีขอบเขตเป็นรูปสามเหลี่ยม
วิธีหําตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (Glutensmuscle)
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบalcohol70%
ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศ
ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทำผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยําให้มั่นคง ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย
เมื่อยาหมดให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้น
ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยําทิ้งในชามรูปไตโดยเฉพาะเพื่อนำเข็มไปทำลายต่อไป
จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย
ล้างมือให้สะอาด
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาฉีด
การประเมินสภาพ
พยาบาลควรมีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยา
ก่อนให้ยาควรประเมินตำแหน่งที่สามารถฉีดยาได้
การประเมินอาการก่อนและหลังการได้รับยา
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
วางแผนการพยาบาล บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์การให้ยาต้องคำนึงถึงหลัก 6Rs 10Rs
ปฏิบัติการพยาบาล ในขั้นการเตรียมอุปกรณ์ การเตรียมยาฉีด และการฉีดยาตามวิถีทางต่างๆ ตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
การประเมินผลควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกครั้ง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน