Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารยาฉีด - Coggle Diagram
การบริหารยาฉีด
การคำนวณขนาดยา
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเตรียมยา และขั้นตอนการฉีดยา
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
1. อุปกรณ์สำหรับการเตียมยาฉีดชนิดต่างๆ มีดังนี้
1.1 ยาฉีด(Medication)
ยาสำหรับฉีดจะบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุที่เป็นหลอด(ampule) และขวด (vial)
ยาที่บรรจุในหลอดจะเป็นยาน้ำซึ่งใช้ฉีดครั้งเดียว ถ้าใช้ไม่หมดต้องทิ้งไป เพราะเมื่อหลอดยาถูกหักแล้วจะไม่สามารถรักษาให้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อได้ หลอดยาที่มีวงสีรองคอหลอดยาแสดงว่าหลอดยานั้นจะหักได้ง่ายไม่ต้องใช้เลื่อย
ยาที่บรรจุในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยาน้ำ มีทั้งแบบ single dose และ multiple dose ยาที่เป็นผงจะมีความคงตัวต่ำ จุกขวดจะเป็นยางและมีแผ่นโลหะยึดรอบริมของขอบจุกยางไว้กันปากขวดส่วนกลางของจุกยางจะบางเพื่อให้ง่ายต่อการแทงเข็มตรงส่วนกลางของจุกยางจะมีแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกปิดไว้อีกครั้งหนึ่งก่อนดูดยาออกจากขวดต้องเปิดแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกออก ขวดยาจะมีชื่อยา ปริมาณยา วิถีทางให้ยา วันหมดอายุของยา ยาบางชนิดที่เป็นผงจะบอกชื่อ และปริมาณของตัวทำละลายยาไว้ด้วย
1.2 กระบอกฉีดยา(Syringe)
กระบอกฉีดยามีตั้งแต่ 0.5-50 ml ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ กระบอก(barrel) ซึ่งมีปลาย(tip) ที่มีขนาดสวมได้พอดีกับหัวเข็มฉีดยา ส่วนที่สองคือ ลูกสูบ(plunger) กระบอกฉีดยาจะมีทั้งชนิดที่ทำด้วยพลาสติกซึ่งใช้แล้วทิ้ง และชนิดทำด้วยแก้วกระบอกฉีดยาที่ทำด้วยแก้วเมื่อล้างสะอาดแล้วและทำให้แห้งจะห่อด้วยผ้า 2 ชั้น แยกลูกสูบและกระบอกออกจากกัน ห่อส่วนที่เป็นกระบอกไว้นอกสุด เพราะเป็นส่วที่จับต้องได้ ในการเปิดห่อกระบอกฉีดยาต้องระวังไม่ให้ปนเปื้อน และให้รักษาด้านในผ้าขาวเพื่อใช้ปูรองกระบอกฉีดยาที่จัดเตรียมยาเสร็จแล้ว
1.3 เข็มฉีดยา
ส่วนมากทำจาก stainless steel และเป็นชนิดใช้ครั้งเดียว(disposable) เข็มฉีดยา ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ หัวเข็ม(hub) มีขนาดพอดีกับปลายกระบอกฉีดยา ตัวเข็ม(shaft) เป็นส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม และส่วนสุดท้ายคือ ปลายเข็ม(bevel or slaned tip)
การเลือกเข็มฉีดยา ให้พิจารณาจากความลาดเอียงหรือความยางของปลายปาด ความยาวของตัวเข็มฉีดยา และเบอร์เข็ม มีตั้งแต่เบอร์ 18-28 ถ้าเบอร์เข็มใหญ่ ตัวเข็มจะเล็ก แต่ถ้าเบอร์เข็มเล็ก ตัวเข็มจะใหญ่ การฉีดยาขึ้นอยู่กับเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ทางที่ให้ยาเข้าสู่ร่างกาย (route of administration) เช่น ฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อใช้เข็มยาวกว่าฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง และชั้นผิวหนัง
ความหนืดของยา (viscosity of the solution)
ปริมาณของยาที่จะฉีด
ขนาดรูปร่างของผู้ป่วย
ชนิดของยา เช่น ฉีดยาอินซูลิน ต้องใช้กระบอกฉีดยาสำหรับฉีดอินซูลินโดยเฉพาะการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อจะต้องเลือกใช้เข็มที่ยากกว่าการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
นอกจาอุปกรณ์ที่กล่าวมาแล้วควรเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับการผสมยาฉีด ได้แก่ ถาด ผ้ารองถาดยา อับสำลี กระปุกforceps card ยา เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วผู้เตรียมควรปฏิบัติดังนี้
ซักถามประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
อ่านและตรวจสอบรายละเอียดบนขวดยาหรือหลอดยาเกี่ยวกับชื่อยา วิถีทางการให้ยา วันหมดอายุของยา
ศึกษาเกี่ยวกับขนาด ฤทธิ์ข้างเคียง วิธีละลายยาในกรณีเป็นยาผง
คำนวณปริมาณยาฉีดที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างถูกต้อง
ดูแลบริเวณสำหรับเตรียมให้สะอาด แห้ง มีแสงสว่างเพียงพอ
ตรวจดูความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้
ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือ
1. วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุหลอด (Ampule)
ทำความสะอาดรอบคอหลอดยา และใบเลื่อยด้วยสำลีชุบ alcohol70%
เลื่อยรอบคอหลอดยาพอเป็นรอย โดยคลี่สำลีชุบ alcohol รองหลังคอหลอดยา ถ้ามียาค้างอยู่เหนือคอหลอดยาต้องไล่ยาลงไปอยู่สส่วนใต้คอหลอดยา
เช็ดรอบคอหลอดยาด้วยสำลีชุบ alcohol
คลี่สำลีชุบ alcohol ที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วหุ้มรอบบริเวณคอหลอดยาเพื่อป้องกันหลอดยาที่หักปลายแล้วบาดนิ้วมือ แล้วทำการหักหลอดยา
ฉีดซองกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
ถอดปลอกเข็มออก จับหลอดยาด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างที่ถนัด สอดเข็มเข้าหลอดยา ระวังมิให้เข็มสัมผัสกับด้านนอกและปากหลอดยา
เอียงหลอดยาให้ปลายตัดเข็มจุ่มในน้ำยา ดูดยาตามจำนวนที่ต้องการ
ตรวจสอบชื่อยาบนหลอดยาอีกครั้งหนึ่งก่อนทิ้งหลอดยา
เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้นๆ
ถ้าเตรียมยาสำหรับฉีดผู้ป่วยหลายคน ควรวางกระบอกฉีดยาที่เตรียมยาแล้วบนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และมีการ์ดยาแนบไว้เพื่อป้องกันการนำยาผิดไปฉีดผู้ป่วย
2. วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด (vial)
เขย่าขวดยาเบาๆให้ยาเข้ากัน
ทำความสะอาดจุกขวดยาด้วยสำลีชุบ alclhol70% โดยวิธีหมุนจากจุดที่แทงเข็มวนออกด้านนอกจนถึงคอขวดยา
ฉีกซองห่อกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
สวมหัวเข็มสำหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
ถอดปลอกเข็มออก ดูดอากาศเข้ากระบอกฉีดยาเท่าปริมาณยาที่ต้องการ
แทงเข็มเข้าจุกยางใช้นิ้วหัวแม่มือดันลูกสูบให้อาการเข้าขวดยาจนหมด
คว่ำขวดยาลง โดยให้นิ้วดันลูกสูบอยู่ ปรับให้ปลายตัดเข็มอยู่ในน้ำยา
ค่อยๆปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก น้ำยาจากขวดจะไหลเข้ามาในกระบอกฉีดยา เมื่อได้ยาครบตามปริมาณที่ต้องการ
ตรวจสอบชื่อยาบนขวดยาอีกครั้งหนึ่ง
เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสำหรับการฉีดยานั้นๆ
หากเตรียมยาสำหรับฉีดผู้ป่วยหลายคน ควรวางกระบอกฉีดยาบนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และแนบการ์ดยาเพื่อป้องกันการนำยาผิดไปฉีดให้ผู้ป่วย
3. วิธีเตรียมยาฉีดจากยาผงบรรจุขวด (วิธีละลายยา)
ตรวจดูตัวทำละลาย ว่ามีฝุ่นผงหรือไม่ โดยคว่ำขวดยาส่องดู หากมีฝุ่นผง ไม่ควรนำมาใช้
ทำความสะอาดจุกขวดตัวทำละลาย และจุกขวดยาด้วนสำลีชุบ alcohol70% จนถึงคอขวด ปล่อยให้แห้ง
ดูดตัวทำละลายตามปริมาณที่ต้องการ ด้วยวิธีเดียวกับการเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด เมื่อได้ตัวทำละลายแล้วให้ฉีดตัวทำละลายเข้าในขวดยาผง โดยแทงเข็มเข้าจุกขวดยาแล้วดันลูกสูบ ให้ตัวทำละลายเข้าไปในขวดยาจนหมด
ถอนเข็ม และกระบอกฉีดยาออกจากขวดยา นำปลอกเข็มที่ถอดออกมาสวมครอบเข็มไว้
เขย่าขวดให้ตัวทำละลายละลายผงจนหมดเป็นเนื้อเดียวกัน
ทำความสะอาดจุกขวดยาอีกครั้งด้วยสำลีชุบ alcohol ปล่อยให้แห้ง
ใช้กระบอกฉีดยาพร้อมเข็มชุดเดิม ดูดยาออกจากขวดตามปริมาณที่ต้องการ
หากยาที่ละลายแล้วใช้ไม่หมด และมีอายุที่จะเก็บไว้ใช้ได้ให้เขียนฉลากติดขวดไว้ เกี่ยวกับความเข้มข้นของยา วัน เดือน ปีที่ละลาย ผู้ละลาย และเก็บยาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามสลากยาที่แนบมากับยา
ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นเตรียมการก่อนฉีดยา
ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
ถามชื่อ-สกุลของผู้ป่วย รวมถึงประวัติการแพ้ยา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
เลือกบริเวณสำหรับฉีดยา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ ช้ำบวม เป็นแผล มีก้อนแข็ง หรือเป็นอัมพาต
จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วย เปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอ หากเป็นบริเวณที่ไม่ควรเปิดเผยควรปิดประตูหรือกั้นม่าน
ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ
1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal injection)
เป็นการฉีดยาเข้าในชั้นdermisเพื่อให้เกิดผลเฉพาะที่ วิธีการฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง มีดังนี้
ไล่อากาศออกจากระบอกฉีดยาจนหมดก่อน
ผิวหนังให้ตึง
แทงเข็มทำมุม 5-15 องศา กับผิวหนัง
ไม่ต้องทดสอบว่าปลายตัดเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
สังเกตบริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มนูนขึ้นมา ถ้าไม่มีตุ่มนูน แสดงว่าฉีดลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องคลึงบริเวณที่ฉีดยา
ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงิน เขียนรอบรอยนูนที่เกิดจากการฉีดยาและบอกผู้ป่วยไม่ให้ลบรอยหมึกที่เขียนไว้
2. การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous injection)
เป็นการฉีดยาเข้าในชั้น subcutaneous tissue ยาจะถูกดูดซึมได้ช้ากว่าการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ให้ปฏิบัติดังนี้
ตำแหน่งสำหรับฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
บริเวณต้นแขนส่วนกลางด้านนอก
บริเวณส่วนกลางของหน้าขา
บริเวณหน้าท้องที่อยู่ระหว่างแนวใต้ชายโครงกับแนวของ anterior superior iliac spine
บริเวณสะบัก
ทำผิวหนังให้ตึงก่อนแทงเข็ม หรือการใช้นิ้วมือจับรวบเนื้อเยื่อบริวณที่จะฉีดเข้าหากัน
การแทงเข็มถ้าใช้เข็มยาว 5/8 นิ้ว ให้แทงเข็มทำมุม 45 องศา ถ้าใช้เข็มยาว 1/2 นิ้ว ให้แทงเข็มทำมุม 90 องศา
การฉีด heparin ไม่ต้องทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
การฉีด heparin และ insulin ห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยาแล้ว
3. การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
ยาจะถูกดูดซึมเร็วเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก แต่อาจจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทหรือฉีดเข้าหลอดเลือดได้
การหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid muscle) เป็นบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าขอบล่างของ acromion process 2 นิ้ว เป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก
วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (Glutens muscle) มี 3 วิธี ดังนี้
วิธีที่ 1
แบ่งสะโพกออกเป็น 3 ส่วน ใช้ landmark 2 แห่ง คือ anterior superior lilac spine และ coccyx ลากเส้นสมมติระหว่าง 2 จุด แบ่งเส้นสมมุติออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน ตำแหน่งที่ฉีดยาได้คือส่วนแรกนับจาก anterior superior iliac spine โดยฉีดต่ำกว่าระดับของ iliac crest ประมาณ 2-3 นิ้วมือ
วิธีที่ 2
แบ่งสะโพกออกเป็น 4 ส่วน โดยมีขอบเขตดังนี้
ด้านบน มีขอบเขตตามแนวของ iliac crest
ด้านล่าง มีขอบเขตตามแนวของก้นย้อย glutealfold
ด้านใน medial มีขอบเขตตามแนวแบ่งครึ่งจากกระดูก coccyx ขึ้นไปตามแนวแบ่งครึ่งของกระดูก sacrum
ด้านนอก lateral มีขอบเขตตามแนวด้านข้างของต้นขาและสะโพก
วิธีที่ 3
ลากเส้นจาก posterior superior iliac spine ไปยังปุ่มกระดูกต้นขา เส้นนี้ขนานกับ sciatic never ตำแหน่งที่ฉีด คือ ส่วนบนด้านนอกของเส้น ต่ำจากขอบกระดูกเชิงกราน 2-3 นิ้วฟุต
วิธีหาตำแหน่งฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Vastus lateralis) กล้ามเนื้อต้นขา ให้แบ่งหน้าขาตามความยาว ออกเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางเป็นส่วนที่เหมาะสมสำหรับฉีดยา
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ปฏิบัติดังนี้
ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบ alcohol 70% โดยหมุนออกจากจุดที่จะแทงเข็มเป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว
ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศ
ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทำผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่งคน ทำมุม 90 องศา
ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง
เมื่อยาหมดให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
คลึงบริเวณฉีดยาเบาๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย
ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทิ้งเข็ม
จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย
ล้างมือให้สะอาด
การบรรเทาความเจ็บปวดจากการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
เลือกเข็มเบอร์เล็กที่สุดที่เหมาะสมกับชนิดของยาและตำแหน่งที่จะฉีดยา
เข็มที่ใช้ฉีดยาจะต้องไม่มียาเคลือบอยู่ภายนอกก เพราะยาจะระคายเคืองเนื้อเยื่อที่เข็มแทงผ่าน
ใช้ Z-track technique ในการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง
จัดท่าให้ผู้ป่วยผ่อนคลายที่สุด จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและไม่สุขสบายลงได้
อย่าฉีดยาบริเวณที่เนื้อเยื่อแข็งตัวหรือกดเจ็บ
แทงเข็มและดึงเข็มออกจากเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็ว ในทิศทางเดียวกัน
จับกระบอกฉีดยาให้อยู่กับที่ขณะฉีด
เดินยาช้าๆ เพื่อยากระจายไปรอบๆเนื้อเยื่อได้ดี กดบริเวณที่ฉีดเบาๆหลังฉีดยายกเว้นมีข้อห้าม
กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาฉีด
การประเมินสภาพ ควรมีการประเมินผู้ป่วยก่อนให้ยา เช่น การซักประวัติการได้รับยา การแพ้ยา โรคประจำตัว
การวินิจฉัยทางการพยาบาล เช่น
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกง่าย/หยุดยาก
มีโอกาสเกิดการแพ้ยาจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
วางแผนการพยาบาล บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ต้องคำนึงถึงหลัก 6Rs (10Rs)
ปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผล ควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกครั้ง