Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4.2 การบริหารยาฉีด💉 - Coggle Diagram
บทที่4.2
การบริหารยาฉีด💉
4.2.1 การคำนวณขนาดยา
การบริหารยาฉีดประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนการเตรียมยา
ขั้นตอนการฉีดยา
ตัวอย่างที่1คําสั่งการรักษาให้Morphine3mg vq6hr.
สิ่งที่ต้องเข้าใจ
ยา Morphine 1 amp มี 10 mg/ml (ดูได้จากข้าง amp ยา)
การฉีดยา Morphine เข้าทางหลอดเลือดดําต้องผสมให้เจือจางเป็น 10 ml
วิธีทำ
ผสม Morphine กับ sterile water ให้ตัวยาเจือจางเป็น 10 ml เนื่องจากยา Morphine 1 amp มี 1 ml จึงใช้ sterile water จํานวน 9 ml เมื่อเจือจางเป็น 10 cc แล้ว ความเข้มข้นจะเท่ากับ 10 mg/10 ml
Morphine 10 mg = 10 ml
ต้องการใช้ 3 mg = 3x10 ml
10
= 3 ml
4.2.2 วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
อุปกรณ์สำหรับการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
1.1 ยาฉีด (Medication)
1) ยาท่ีบรรจุในหลอดจะเป็นยาน้ําซึ่งใช้ฉีดคร้ังเดียว (single dose) ถ้าใช้ไม่หมดต้องทิ้งไป เพราะเมื่อหลอดยาถูกหักแล้วจะไม่สามารถรักษาให้อยู่ในสภาพปราศจากเชื้อได้
2) ยาที่บรรจุในขวดจะมีทั้งชนิดที่เป็นผงและยาน้ํา มีทั้งแบบ single dose และ multiple dose ยาที่เป็นผงจะมีความคงตัวต่ำ จุกขวดจะเป็นยางและมีแผ่นโลหะยึดรอบริมของขอบจุก ยํางไว้กันปากขวดส่วนกลางของจุกยางจะบางเพื่อให้ง่ายต่อการแทงเข็มตรงส่วนกลางของจุกยางจะมีแผ่น โลหะหรือฝาพลาสติกปิดไว้อีกครั้งหนึ่งก่อนดูดยาออกจากขวดต้องเปิดแผ่นโลหะหรือฝาพลาสติกออก บนหลอดยาหรือขวดยาจะมีชื่อยา ปริมาณยา วิถีทางให้ยา วันหมดอายุของยาอยู่ ยาฉีดบางชนิดท่ีเป็นผง จะบอกชื่อ และปริมาณของตัวทําละลายยาไว้ด้วย
1.2 กระบอกฉีดยา (Syringe)
กระบอกฉีดยามีหลายขนาดตั้งแต่ 0.5-50 ml ประกอบด้วย 2 ส่วน
กระบอก (barrel) ซึ่งมีปลาย (tip) ที่มีขนาดสวมได้พอดีกับหัวเข็มฉีดยา
ลูกสูบ (plunger) กระบอกฉีดยาจะมีทั้งชนิดที่ทำด้วยพลาสติกซึ่งใช้แล้วทิ้ง และชนิดทําด้วยแก้วกระบอกฉีดยาที่ ทําด้วยแก้วเมื่อล้างสะอาดแล้วและทําให้แห้งจะห่อด้วยผ้า 2 ชั้น แยกลูกสูบและกระบอกออกจากกัน ห่อส่วนที่เป็นกระบอกไว้นอกสุด
1.3 เข็มฉีดยา
ทําจาก stainless steel และเป็นชนิดใช้ครั้งเดียว (disposable) เข็มฉีดยา ประกอบด้วย 3 ส่วน
หัวเข็ม (hub) ซึ่งมีขนาดพอดีกับปลายกระบอกฉีดยา
ตัวเข็ม (shaft) เป็นส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม
ปลายเข็ม (bevel or slanted tip)
การเลือกเข็มและกระบอกฉีดยาเพื่อใช้ในการฉีดยาขึ้นอยู่กับเกณฑ์
ทางที่ให้ยาเข้าสู่ร่างกาย (route of administration)
ความหนืดของยา (viscosity of the solution)
ปริมาณของยาที่จะฉีด
ขนาดรูปร่างของผู้ป่วย
ชนิดของยา
วิธีการเตรียมยาฉีดชนิดต่างๆ
1) ซักถามประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วย
2) อ่านและตรวจสอบรายละเอียดบนขวดยาหรือหลอดยาเกี่ยวกับชื่อยา วิถีทางการให้ยา วันหมดอายุของยา (Exp.date)
3) ศึกษาเกี่ยวกับขนาดฤทธิ์ข้างเคียงวิธีละลายยาในกรณีเป็นยาผง
4) คํานวณปริมาณยาฉีดที่ผู้ป่วยควรได้รับอย่างถูกต้อง
5) ดูแลบริเวณสําหรับเตรียมยาให้สะอาด แห้ง มีแสงสว่างเพียงพอ
6) ตรวจดูความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้
7) ล้างมือให้สะอาด เช็ดมือ
2.1 วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุหลอด (Ampule)
1) ทําความสะอาดรอบคอหลอดยาและใบเลื่อยด้วยสําลีชุบalcohol70%
2) เลื่อยรอบคอหลอดยาพอเป็นรอยโดยคลี่สําลีชุบalcoholรองหลังคอหลอดยา
3) เช็ดรอบคอหลอดยาด้วยสําลีชุบ alcohol
4) คลี่สําลีชุบalcoholหรือgauzeท่ีผ่านกํารฆ่าเชื้อโรคแล้วหุ้มรอบบริเวณคอหลอด ยาเพื่อป้องกันหลอดยาที่หักปลายแล้วบาดนิ้วมือ แล้วทำการหักหลอดยา
5) ฉีกซองกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
6) สวมหัวเข็มสําหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
7) ถอดปลอกเข็มออกจับหลอดยาด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างที่ถนัด สอดเข็มเข้าหลอดยา ระวังมิให้เข็มสัมผัสกับด้านนอกและปากหลอดยา
8) เอียงหลอดยาให้ปลายตัดเข็มจุ่มในน้ํายา ดูดยาตามจํานวนที่ต้องการ
9) ตรวจสอบชื่อยาบนหลอดยาอีกครั้งหนึ่งก่อนทิ้งหลอดยา
10) เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสําหรับการฉีดยานั้น ๆ
11) ถ้าเตรียมยาสําหรับฉีดผู้ป่วยหลายคนหรือหลายชนิดพร้อมกัน ควรวาง กระบอกฉีดยาที่เตรียมยาแล้วบนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และมีการ์ดยาแนบกระบอกฉีดยาไว้เพื่อป้องกัน การนํายาผิดชนิดไปฉีดให้ผู้ป่วย
2.2 วิธีเตรียมยาฉีดจากยาน้ำบรรจุขวด (Vial)
2) ทําความสะอาดจุกขวดยาด้วยสําลีชุบalcohol70%โดยวิธีหมุนจากจุดที่ แทงเข็มวนออกด้านนอกจนถึงคอขวดยา
3) ฉีกซองห่อกระบอกฉีดยาโดยระวังมิให้เกิดการปนเปื้อน
1) เขย่าขวดยาเบาๆให้ยาเข้ากัน
4) สวมหัวเข็มสําหรับดูดยาเข้ากับปลายกระบอกฉีดยา บิดหัวเข็มให้แน่นพอประมาณ
5) ถอดปลอกเข็มออกดูดอากาศเข้ากระบอกฉีดยาเท่าปริมาณยาที่ต้องการ
6) แทงเข็มเข้าจุกยางใช้นิ้วหัวแม่มือดันลูกสูบให้อากาศเข้าขวดยาจนหมด
7) คว่ำขวดยาลง โดยให้นิ้วดันลูกสูบอยู่ ปรับให้ปลายตัดเข็มอยู่ในน้ํายา
8) ค่อย ๆ ปล่อยนิ้วท่ีดันลูกสูบออก น้ํายาจากขวดจะไหลเข้ามาในกระบอกฉีด
ยา เมื่อได้ยาครบตามปริมาณที่ต้องการ ถอนเข็มและกระบอกฉีดยาออกจากจุกขวดยา
9) ตรวจสอบชื่อยาบนขวดยาอีกครั้งหนึ่ง
10) เปลี่ยนเข็มใหม่ เลือกขนาด และความยาวที่เหมาะสมสําหรับการฉีดยานั้น ๆ
11) หากเตรียมยาสําหรับฉีดผู้ป่วยหลายคน หรือหลายชนิดพร้อมกัน ควรวาง กระบอกฉีดยา (ที่เตรียมยาแล้ว) บนถาดที่มีผ้าสะอาดปูรอง และแนบการ์ดยาไว้เพื่อป้องกันการนํายาผิด ชนิดไปฉีดให้ผู้ป่วย
2.3 วิธีเตรียมยาฉีดจากยาผงบรรจุขวด (วิธีละลายยา)
1) ตรวจดูตัวทําละลาย (น้ํากลั่นหรือน้ําเกลือ) ว่ามีฝุ่นผงหรือไม่โดยคว่าขวดยก ส่องดู หากมีฝุ่นผง ไม่ควรนํามาใช้
2) ทําความสะอาดจุกขวดตัวทําละลาย และจุกขวดยาด้วยสําลีชุบ alcohol70% จนถึงคอขวด ปล่อยให้ alcohol แห้ง
3) ดูดตัวทําละลายตามปริมาณที่ต้องการ ด้วยวิธีเดียวกับการเตรียมยาฉีดจากยา น้ําบรรจุขวด เมื่อได้ตัวทําละลายแล้วให้ฉีดตัวทําละลายเข้าในขวดยาผง โดยแทงเข็มเข้าจุกขวดยาแล้วดัน ลูกสูบ ให้ตัวทําละลายเข้าไปในขวดยาจนหมด หลังจากนั้นปล่อยนิ้วที่ดันลูกสูบออก
4) ถอนเข็มและกระบอกฉีดยาออกจากขวดยานําปลอกเข็มที่ถอดออกมาสวมครอบเข็มไว้
5) เขย่าขวดให้ตัวทําละลายละลายผงจนหมดเป็นเนื้อเดียวกัน
6) ทําความสะอาดจุกขวดยาอีกครั้งด้วยสําลีชุบalcoholปล่อยให้alcoholแห้ง
7) ใช้กระบอกฉีดยาพร้อมเข็มชุดเดิมดูดยาออกจากขวดตามปริมาณที่ต้องการด้วยวิธีเดียวกันกับการเตรียมยาฉีดจายาน้ำ
8) หากยาที่ละลายแล้วใช้ไม่หมด และมีอายุที่จะเก็บไว้ใช้ได้ให้เขียนฉลากติดขวดไว้เกี่ยวกับความเข้มข้นของยา วัน เดือน ปีที่ละลาย ผู้ละลาย และเก็บยาไว้ในที่ที่เหมาะสมตามสลากยาที่แนบมากับยา
4.2.3 ตำแหน่งและวิธีการฉีดยาบริเวณต่างๆ
ขั้นเตรียมการก่อนฉีดยา
ตรวจความพร้อมของเครื่องใช้
ถามชื่อ–สกุลของผู้ป่วยรวมถึงประวัติการแพ้ยา
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ
เลือกบริเวณสําหรับฉีดยา ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาในบริเวณที่มีการอักเสบ ช้าบวม เป็นแผล มีก้อนแข็ง หรือเป็นอัมพาต
จัดท่าและเสื้อผ้าผู้ป่วยเปิดบริเวณที่จะฉีดยาให้กว้างพอหากเป็นบริเวณที่ไม่ควรเปิดเผยควรปิดประตูหรือกั้นม่าน
ล้างมือให้สะอาดสวมถุงมือ
4.2.3.1 การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (Intradermal injection)
ไล่อากาศออกจากกระบอกฉีดยาจนหมดก่อนฉีดยา
ผิวหนังให้ตึง
แทงเข็มทํามุม5-15องศากับผิวหนังโดยหงายปลายตัดเข็มขึ้นและแทงเข้าไปเพียงให้ปลายตัดเข็มเลยเข้าไปในผิวหนังเล็กน้อย
ไม่ต้องทดสอบว่าปลายตัดเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
สังเกตบริเวณที่ฉีดจะมีตุ่มนูนขึ้นมาถ้าไม่มีตุ่มนูนแสดงว่าฉีดลึกเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง
ไม่ต้องคลึงบริเวณที่ฉีดยา
ใช้ปากกาลูกลื่นหมึกสีน้ำเงินหรือดำ เขียนรอบรอยนูนที่เกิดขึ้นจากการฉีดยาและ บอกผู้ป่วยไม่ให้ลบรอยหมึกที่เขียนไว้ จนกว่าจะอ่านผลเรียบร้อยแล้ว
4.2.3.2 การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous injection)
ตําแหน่งสําหรับฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง
1) บริเวณต้นแขนส่วนกลางด้านนอก
2) บริเวณส่วนกลางของหน้าขา
3) บริเวณหน้าท้องที่อยู่ระหว่างแนวใต้ชายโครงกับแนวของ anterior superior iliac spine ยกเว้นบริเวณรอบสะดือ 1 นิ้ว เพราะมี pain receptor มําก
4) บริเวณสะบัก
ทําผิวหนังให้ตึงก่อนแทงเข็มหรือการใช้นิ้วมือจับรวบเนื้อเยื่อบริเวณที่จะฉีดเข้าหากัน แต่วิธีหลังนี้จะไม่ใช้ในการฉีด heparin
การแทงเข็มถ้าใช้เข็มยําว5/8นิ้วให้แทงเข็มทํามุม45องศาถ้าใช้เข็มยาว1⁄2 นิ้ว ให้แทงเข็มทํามุม 90 องศา
การฉีดheparinไม่ต้องทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
การฉีดheparinและinsulinห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยาแล้ว
4.2.3.3 การฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเนื้อ
วิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
2) ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาต้ังข้ึน ไล่อากาศ
3) ถือกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทําผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
4) แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคงแทงเข็มทํามุม90องศา
5) ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง(ไม่โยกไปมาและไม่เลื่อนข้ึนลง)ด้วยมือ ข้างท่ีไม่ถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
6) เมื่อยาหมดให้ใช้สําลีกดตําแหน่งแทงเข็มขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
7) คลึงบริเวณฉีดยาเบาๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาท่ีมีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
8) ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยาแยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไตหรือภาชนะ สําหรับทิ้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนําเข็มไปทําลายต่อไป
9) จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และจัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นาที)
1) ทําความสะอาดผิวหนังบริเวณท่ีจะฉีดยาด้วยสําลีชุบ alcohol70% โดยหมุนออก จากจุดที่จะแทงเข็มให้เป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ปล่อยให้ alcoholแห้ง
10) ล้างมือให้สะอาด
การบรรเทาความเจ็บปวดจากการฉีดยาเข้าช้ันกล้ามเนื้อ
1) เลือกเข็มเบอร์เล็กที่สุดที่เหมาะสมกับชนิดของยาและตําแหน่งท่ีจะฉีดยา
2) เข็มที่ใช้ฉีดยาจะต้องไม่มียาเคลือบอยู่ภายนอกเพราะยาจะระคายเคืองเน้ือเยื่อที่เข็มแทงผ่าน ทําให้ผู้ป่วยปวดและมีอันตรายต่อเน้ือเยื่อได้
3) ใช้Z-tracktechniqueในการฉีดยาเข้าชั้นกล้ามเน้ือจะทําให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลง กว่าวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบดั้งเดิม
4) จัดท่าให้ผู้ป่วยผ่อนคลายที่สุดจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและไม่สุขสบายลงได้
5) อย่าฉีดยาบริเวณท่ีเนื้อเยื่อแข็งตัวหรือกดเจ็บ
6) แทงเข็มและดึงเข็มออกจากเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็วในทิศทางเดียวกัน
7) จับกระบอกฉีดยาให้อยู่กับที่ขณะฉีด
8) เดินยาช้าๆเพื่อให้ยากระจายไปรอบๆเน้ือเยื่อได้ดีกดบริเวณที่ฉีดเบาๆหลังฉีดยา ยกเว้นมีข้อห้าม
4.2.4 กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาฉีด
การประเมินสภาพ
การแพ้ยา
โรคประจำตัว
การซักประวัติการได้รับยา
ก่อนให้ยาควรประเมินตําแหน่งท่ี สามารถฉีดยาได้
ประเมินอาการก่อนและหลังการได้รับยา
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกง่าย/หยุดยาก เนื่องจากมีประวัติ/รอยโรค
มีโอกาสเกิดการแพ้ยาจากอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
วางแผนการพยาบาล
บริหารยาตามแผนการรักษาของแพทย์การให้ยาต้องคํานึงถึงหลัก
6Rs (10 Rs)
ปฏิบัติการพยาบาล
ขั้นการเตรียมอุปกรณ์การเตรียมยาฉีดและการฉีดยาตามวิถีทาง
ต่างๆ ตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
การประเมินผล
ควรมีการประเมินผู้ป่วยภายหลังจากได้รับยาทุกคร้ัง เพื่อป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้